กรมทางหลวง อัพเดท! น้ำท่วมทางหลวง ยังไม่สามารถผ่านได้ 16 แห่ง

กรมทางหลวง อัพเดท! น้ำท่วมทางหลวง ยังไม่สามารถผ่านได้ 16 แห่ง

กรมทางหลวง อัพเดท! สถานการณ์อุทกภัยพบทางหลวงถูกน้ำท่วม/ดินสไลด์ในพื้นที่ 8 จังหวัด จำนวน 21 สายทาง 38 แห่ง ทางหลวงที่การจราจรผ่านได้ 22 แห่ง การจราจรผ่านไม่ได้ 16 แห่ง

เมื่อวันที่ 29 ต.ค.64 นายสราวุธ ทรงศิวิไล อธิบดีกรมทางหลวง เปิดเผยว่า ตามที่ นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กำชับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับมือสถานการณ์อุทกภัย โดยให้ดำเนินการตามแผนบรรเทาสาธารณภัยอย่างเคร่งครัด

พร้อมวางแนวทางป้องกัน–ฟื้นฟู–เยียวยาหลังสถานการณ์คลี่คลายในทุกมิติ พร้อมทั้งเฝ้าระวังตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบอย่างทันท่วงที และประชาสัมพันธ์การดำเนินการให้ประชาชนให้รับทราบมีรายละเอียด สถานการณ์ประจำวันที่ 29 ตุลาคม 2564 เวลา 12.30 น. จังหวัดที่การจราจรผ่านไม่ได้ 7 จังหวัด 12 สายทาง 16 แห่ง รายละเอียดดังนี้

1.จังหวัดขอนแก่น 2 สายทาง 2 แห่ง ได้แก่

- ทล.2 ท่าพระ – ขอนแก่น พื้นที่ อ.เมือง ช่วง กม.ที่329 (จุดกลับรถใต้สะพานบ้านกุดกว้าง) ระดับน้ำสูง 200 ซม.

- ทล.12 ขอนแก่น – พรหมนิมิต พื้นที่ อ.เมือง ช่วง กม.ที่565 (จุดกลับรถใต้สะพานลำน้ำพอง)

2.จังหวัดมหาสารคาม 1 แห่ง ได้แก่ ทล.213 มหาสารคาม – หนองขอน พื้นที่ อ.กันทรวิชัย ช่วง กม.ที่ 5 (อุโมงค์ท่าขอนยาง) ระดับน้ำสูง 210 ซม. ลำน้ำชีล้นตลิ่ง มีระดับน้ำสูงขึ้น ผนังกั้นน้ำถูกกัดเซาะ ทำการปิดทางลอดอุโมงค์ใต้สะพาน

กรมทางหลวง อัพเดท! น้ำท่วมทางหลวง ยังไม่สามารถผ่านได้ 16 แห่ง

3. จังหวัดนนทบุรี 1 แห่ง ได้แก่ ทล.307 แยกสวนสมเด็จ – สะพานนนทบุรี พื้นที่ อ.ปากเกร็ด ช่วง กม.ที่0 (จุดกลับรถใต้สะพานนนทบุรี) ระดับน้ำสูง 80 ซม.

4. จังหวัดอ่างทอง จำนวน 2 แห่ง 2 สายทาง ได้แก่

- ทล.32 อ่างทอง – ไชโย พื้นที่ อ.ไชโย ช่วงกม.ที่ 57 (จุดกลับรถบางศาลา) ระดับน้ำสูง 45 ซม. ใช้ทางกลับรถข้างหน้าแทน

- ทล.33 นาคู – ป่าโมก พื้นที่ อ.ป่าโมก ช่วงกม.ที่36 (จุดกลับรถใต้สะพานฝั่งป่าโมก) ระดับน้ำสูง 20 ซม. เนื่องจากมีคันดินขวางถนน

5. จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำนวน 6 แห่ง 3 สายทาง ได้แก่

- ทล.32 นครหลวง – อ่างทอง พื้นที่ อ.บางปะหัน ช่วงกม.ที่32 (จุดกลับรถคลองกะท่อ) ระดับน้ำสูง 1.6 ม. และ ช่วง กม.ที่33 จุดกลับรถใต้ท่อ Box Cul. (วัดค่าย)

- ทล.3263 อยุธยา – ไผ่กองดิน พื้นที่ อ.บางบาล ช่วง กม.ที่10 และ กม.ที่11

- ทล.3412 บางบาล – ผักไห่ พื้นที่ อ.บางบาล ช่วง กม.ที่13 – 15 เป็นช่วงๆ ระดับน้ำสูง 25 ซม. ใช้เส้นทางเลี่ยง ทช.4047 บริเวณแยกวัดไผ่ล้อมและแยกวัดกอไผ่ และช่วง กม.ที่ 17 – 23 เป็นช่วงๆระดับน้ำสูง 20 ซม. ใช้เส้นทางเลี่ยง ทล.3501 ออกแยกป่าโมก

6. จังหวัดสุพรรณบุรี จำนวน 3 แห่ง 2 สายทาง ได้แก่

- ทล.33 สุพรรณบุรี – นาคู พื้นที่ อ.เมือง ช่วงกม.ที่9 (สะพานคลองทับน้ำ) ระดับน้ำสูง 1 ม. ใช้ทางกลับรถข้างหน้าแทน

- ทล.340 สาลี – สุพรรณบุรี พื้นที่ อ.บางปลาม้า ช่วงกม.ที่49 (สะพานสาลี) ด้านทิศใต้ ระดับน้ำสูง 35 – 40 ซม., กม.ที่59 (สะพานศาลเจ้าแม่ทับทิม) ระดับน้ำสูง 1.75 ม. ใช้ทางกลับรถข้างหน้าแทน

7. จังหวัดนครปฐม จำนวน 1 แห่ง ได้แก่ ทล.338 พุทธมณฑลสาย4 – นครชัยศรี พื้นที่ อ.สามพราน ช่วงกม.ที่24 – 25 (จุดกลับรถใต้สะพานฝั่งนครปฐม) ระดับน้ำสูง 50 ซม. จุดกลับรถผ่านไม่ได้ ใช้ทางกลับรถข้างหน้าแทน

โดยแขวงทางหลวงในพื้นที่เร่งให้ความช่วยเหลือดูแลประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์น้ำท่วม น้ำป่าไหลหลาก ดินสไลด์ พร้อมเร่งระบายน้ำและบำรุงรักษาเส้นทาง โดยบูรณาการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนและให้ประชาชนได้รับความสะดวกปลอดภัยจากการสัญจรโดยเร็วที่สุดอย่างต่อเนื่อง 24 ชั่วโมง

ทั้งนี้ กรมทางหลวงได้สั่งการให้ สำนักงานทางหลวง แขวงทางหลวง หมวดทางหลวงทั่วประเทศ เฝ้าระวัง และติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด หากมีพื้นที่ใดประสบปัญหา เจ้าหน้าที่จะเข้าพื้นที่เพื่อช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนทันที ตามนโยบายนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม นอกจากนี้กรมทางหลวงได้ติดตั้งป้ายเตือนและอุปกรณ์ความปลอดภัย อุปกรณ์นำทาง ในบริเวณทางหลวงที่ถูกน้ำท่วม พร้อมเฝ้าระวังสถานการณ์จนกว่าจะคลี่คลาย

โดยขอให้ประชาชนผู้ใช้ทางโปรดใช้ความระมัดระวังในการเดินทาง ปฏิบัติตามป้ายเตือน ป้ายแนะนำ และคำแนะนำของเจ้าหน้าที่อย่างเคร่งครัด หากประชาชนต้องการสอบถามสภาพเส้นทาง สภาพการจราจร หรือ ต้องการความช่วยเหลือสามารถติดต่อ ได้ที่สำนักงานทางหลวง แขวงทางหลวง หมวดทางหลวงในพื้นที่ และสายด่วนกรมทางหลวง 1586 (โทรฟรีทุกเครือข่ายตลอด 24 ชั่วโมง) และสามารถติดตามการรายงานสถานการณ์สภาพเส้นทางและเส้นทางเลี่ยงได้ที่ทวิตเตอร์กรมทางหลวง @prdoh1