สัญญาณ!! 'ผู้ป่วยอาการหนัก' ไม่มีที่รักษา โควิดไทยวิกฤตหรือไม่?

สัญญาณ!! 'ผู้ป่วยอาการหนัก' ไม่มีที่รักษา โควิดไทยวิกฤตหรือไม่?

หลังจากผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์ในหลายพื้นที่ หลายกิจกรรม พบว่า มีจำนวนตัวเลขผู้ป่วยรายใหม่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนเกิดคำถามว่าขณะนี้ สถานการณ์โควิด 19 ในไทยเข้าขั้นวิกฤตหรือไม่? แล้วหากมี'ผู้ป่วยอาการหนัก'เพิ่มขึ้นทุกวัน จะทำเช่นใด?

'ผู้ป่วยโควิด 19' ที่มีอาการรุนแรง เกิดจากการที่เชื้อไวรัสลงไปที่ถุงลมปอดทำให้เกิดภาวะปอดอักเสบ เมื่อเกิดปอดอักเสบขึ้นออกซิเจนในถุงลมไม่สามารถเติมเข้าไปในเลือดได้อย่างเพียงพอ ทำให้ปริมาณออกซิเจนในเลือดต่ำลง จนร่างกายเกิดภาวะขาดออกซิเจน 

'ผู้ป่วยโควิด 19' ที่มีภาวะปอดอักเสบในช่วงต้น อาจจะยังไม่มีอาการเหนื่อย ออกซิเจนในเลือดยังปกติ แต่ถ้าให้ผู้ป่วยกลุ่มทำกิจกรรมเช่นลุกนั่งหรือปั้นจักรยาน จะพบว่าค่าออกซิเจนในเลือดต่ำลง เรียกว่ามีภาวะ exercise induced hypoxemia การทำเช่นนี้จะสามารถช่วยวินิจฉัยผู้ป่วยโควิด 19 ที่มีภาวะปอดอักเสบได้แต่เนิ่นๆ หากภาวะปอดอักเสบมากขึ้นจนระดับออกซิเจนในเลือดต่ำลง ผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับการช่วยหายใจด้วยออกซิเจน หรือถ้าอาการรุนแรงมากอาจต้องได้รับการใส่ท่อช่วยหายใจ

 

  • ถ้าผู้ป่วยอาการหนักมากขึ้น โควิดไทยเข้าขั้นวิกฤต

ทุกวันของการรายงานสถานการณ์โควิด 19 จะเห็นได้ว่าจำนวน 'ผู้ป่วยอาการหนัก' ปอดอักเสบจนใส่ท่อช่วยหายใจ จำนวนเพิ่มขึ้น โดย สถานการณ์การระบาดของโควิด-19 วันที่ 23มิ.ย.64 พบผู้ติดเชื้อรายใหม่กว่า 3,174 ราย เสียชีวิตเกินครึ่งร้อย (51ราย) ทำให้การระบาดระลอกใหม่ตั้งแต่เดือน เม.ย. 2564 มียอดผู้เสียชีวิตสะสมสูงถึง 1,650 รายแล้ว ขณะที่ภาพรวมของการเสียชีวิตจากสถานการณ์โควิด-19 มีผู้เสียชีวิตรวม 1,744 ราย โดยตัวเลขล่าสุด มี‘ผู้ป่วยอาการหนัก’ 1,526 ราย ‘ใส่เครื่องช่วยหายใจ’ 433 ราย 

162446417449

พ.อ.(พ) นพ.ครรชิต ปิยะเวชวิรัตน์ อาจารย์ที่ปรึกษา แผนกโรคปอดและเวชบำบัดวิกฤต กองอายุรกรรม โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า และผู้รั้งตำแหน่งนายกสมาคมเวชบำบัดวิกฤตแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่าสถานการณ์โควิด 19 ในปัจจุบันจะเห็นได้ว่ามีคนไข้ติดเชื้อรายใหม่จำนวน 3,000 กว่าคน ซึ่งในจำนวนนี้ถ้าเทียบกับช่วงแรกของการเกิดโควิด 19 อาจจะเรียกได้ว่าวิกฤต เพราะมีผู้ป่วยจำนวนมากเมื่อเทียบกับเตียงสำหรับผู้ป่วยโควิดในโรงพยาบาลที่มีจำนวนจำกัด และการเพิ่มแต่เตียงโดยบุคลากรไม่ได้เพิ่มตามก็ไม่สามารถแก้ปัญหาได้ 

แต่ปัจจุบันมีโรงพยาบาลสนาม มีสถานที่กักกันของรัฐ และ Hospitel ต่างๆ ที่จะช่วยดูแลผู้ป่วยที่มีไม่มีอาการหรืออาการไม่รุนแรง ทำให้ไม่ต้องมาแออัดในโรงพยาบาล ดังนั้น ความคับคั่งในโรงพยาบาลลดลง จนในช่วงสัปดาห์นี้ที่มีจำนวนผู้ป่วยใหม่เพิ่มขึ้นมาก และเพิ่มแบบกระจุกตัวในบางจังหวัด เช่นกรุงเทพฯ ชลบุรี สงขลา ทำให้มีปริมาณผู้ป่วยหนักเพิ่มขึ้นมากตามไปด้วย จนเตียงในโรงพยาบาลและเตียงไอซียูสำหรับผู้ป่วยวิกฤตเริ่มไม่เพียงพอ  

   

  • 'โควิด 19' วิกฤตหรือไม่?ขึ้นอยู่กับ 'ฉีดวัคซีนโควิด 19'

การจะบอกได้ว่าสถานการณ์ 'โควิด 19' ในไทยเป็นเช่นใด ขึ้นอยู่กับอัตราการ 'ฉีดวัคซีนโควิด 19' ว่าจะเป็นไปตามแผนหรือไม่ ซึ่งถ้าเป็นไปตามแผนอย่างที่รัฐบาลกำหนดภายในเดือนนี้ เดือนหน้าก็สามารถเดินต่อได้ และยังขึ้นกับการปฏิบัติตัวของพวกเราทุกคนด้วย หากทุกคน 'ฉีดวัคซีนโควิด 19' แล้วยังรักษามาตรการป้องกันตนเองอย่างเคร่งครัด สวมใส่หน้ากากอนามัย/หน้ากากผ้า ล้างมือบ่อยๆ เว้นระยะห่างทางสังคม หลีกเลี่ยงกิจกรรมหรือพื้นที่แออัด เชื่อว่าสถานการณ์โควิดจะดีขึ้น

"ในทางกลับกันหากฉีดวัคซีนแล้ว แต่ไม่ปฎิบัติตามมาตรการป้องกันตนเอง การแพร่ระบาดรุนแรงกลับมาแน่ เพราะการ 'ฉีดวัคซีนโควิด 19' ไม่ได้หมายความว่าจะไม่ติดเชื้อโควิด แต่การฉีดวัคซีนเพื่อลดอาการรุนแรงของการป่วย และลดการเสียชีวิต ฉะนั้น อยู่ที่มาตรการของภาครัฐว่าเป็นไปได้ตามแผนที่วางไว้ การปรับแผนให้เข้ากับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง และขึ้นอยู่กับพวกเราทุกคนที่ต้องช่วยกัน” พ.อ.(พ)นพ.ครรชิต กล่าว

ปัจจุบันแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านปอด ในไทยมีประมาณ 500 คน ขณะที่แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชบำบัดวิกฤต หรือหมอไอซียู มีเพียง 200 คน ดังนั้นไอซียูในหลายๆโรงพยาบาล อาจจะเป็นแพทย์สาขาอื่นๆ มาช่วยดูแลผู้ป่วยโควิด เพราะต้องยอมรับว่าแต่เดิมแพทย์ไอซียูนั้นขาดแคลนอยู่แล้ว เมื่อเกิดโควิด 19 ทำให้ขาดแคลนหนักเข้าไปอีก 

162446419846

พ.อ.(พ)นพ.ครรชิต กล่าวต่อไปว่า 'โควิด 19' ไม่ได้ดูเพียงตัวเลขรายวันว่ามีผู้ติดเชื้อรายใหม่มากน้อย หรือดูตัวเลขผู้ป่วยอาการหนัก ผู้ป่วยใส่เครื่องช่วยหายใจเท่านั้น ต้องดูผู้ป่วยกลับบ้านด้วย ซึ่งตอนนี้มีผู้ป่วยรักษาหายกลับบ้านได้มากกว่านอนรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาล แต่ถ้ามีผู้ป่วยมากกว่านี้สาธารณสุขไทยอาจจะไม่สามารถรับมือได้

อย่างไรก็ตาม ขณะนี้สมาคมอุรเวชช์แห่งประเทศไทยและสมาคมเวชบำบัดวิกฤตแห่งประเทศไทย ได้มีให้ความรู้ให้แก่แพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ สำหรับการดูแลผู้ป่วยโควิด 19 ในด้านต่างๆ ผ่านทางระบบออนไลน์ เพื่อแก้ปัญหาแพทย์เฉพาะทางไม่เพียงพอ   

ข่าวที่เกี่ยวข้อง : สรุปยอดฉีดวัคซีนโควิด-19 ทั่วประเทศ กว่า 8 ล้านโดส

                      ต้านไม่ไหว!ผลการทดลองเบื้องต้น ‘สายพันธุ์เดลต้า’ หนีภูมิ ‘Sinovac’ 2เข็ม

                      เชคที่นี่ทำไม'เตียง' ไอซียูผู้ป่วยโควิด-19 ในกทม.ถึงวิกฤต??

  • ระบุ'ฉีดวัคซีนโควิด 19 ไม่เป็นไปตามแผน เปิดประเทศอาจระบาดเพิ่ม

“สำหรับนโยบายของรัฐบาลที่จะเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวใน 120 วันนั้น หากการฉีดวัคซีนโควิด 19 ไม่เป็นไปตามแผน นักท่องเที่ยวที่เข้ามาไม่อยู่ในพื้นที่ที่กำหนดจนครบ 14 วันก่อนออกไปพื้นที่อื่น อาจจะทำให้มีการระบาดเพิ่มขึ้นจึงขึ้นอยู่กับว่าสามารถทำได้ตามแผนจริงหรือไม่ เพราะเราอาจมีแผนมีมาตรการป้องกันที่ดี แต่การปฎิบัติอาจจะทำไม่ได้ตามแผนจนเกิดปัญหาขึ้น” พ.อ.(พ)นพ.ครรชิต กล่าว 

ขณะที่การกลายพันธุ์ของไวรัสโควิด 19 เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการแพร่ระบาดของสายพันธุ์ใหม่ๆ โดยเฉพาะ 'สายพันธุ์เดลต้า'(อินเดีย) พ.อ.(พ)นพ.ครรชิต กล่าวอีกว่า จริงๆ ประเทศไทยมี 'ผู้ป่วยโควิด 19' สายพันธุ์อังกฤษ 'สายพันธุ์อินเดีย' สายพันธุ์แอฟริกา สายพันธุ์บราซิล แต่ที่แพร่ระบาดมากสุดคือ 'สายพันธุ์อังกฤษ'

162446417495

ส่วน 'สายพันธุ์อินเดีย' ซึ่งหากไม่มีการป้องกันดีๆ ย่อมมีการแพร่ระบาดได้ง่ายและรุนแรงกว่า 'สายพันธุ์อังกฤษ' การกลายพันธุ์ของไวรัสเกิดขึ้นได้ตลอด อยู่ที่ว่าสายพันธุ์ไหนจะรุนแรงมากขึ้น การป้องกันโดยการ 'ฉีดวัคซีนโควิด 19' จึงเป็นทางออกที่จะลดอาการรุนแรง ลดการเสียชีวิตจากโควิด 19 ได้ ดังนั้นขอให้มีวัคซีนที่ประสิทธิภาพดี พวกเราฉีดวัคซีนให้ครบและดูแลตัวเองอย่างดี อย่าให้มีการติดเชื้อรุนแรง จนอาการหนักต้องเข้าห้องไอซียู เพราะหากมีผู้ป่วยมากกว่านี้ ไอซียูของไทยจะไม่เพียงพอ

“ตอนนี้ประเทศไทยหลายพื้นที่ระบบสุขภาพเข้าขั้นวิกฤต หากไม่สามารถลดจำนวนผู้ป่วยใหม่หรือจำนวนผู้ป่วยใหม่ยังมากกว่าผู้ป่วยที่หายกลับบ้าน จะมีปัญหาผู้ป่วยหนักไม่มีที่รักษา และอาจจะทำให้ยอดผู้เสียชีวิตพุ่งสูงขึ้น แม้ว่าจะทำการเพิ่มจำนวนเตียง แต่บุคลากร แพทย์ พยาบาลไม่เพิ่มขึ้น ก็ไม่สามารถนำเตียงนั้นมาใช้รักษาผู้ป่วยได้ พวกเราทุกคนสามารถช่วยลดจำนวนผู้ป่วยใหม่โดยการปฏิบัติตามคำแนะนำ สวมหน้ากากผ้า/หน้ากากอนามัย ล้างมือก่อนสัมผัสใบหน้า เว้นระยะห่าง ไม่ทำกิจกรรมรวมกลุ่ม และรับการฉีดวัคซีนโควิดพ.อ.(พ)ครรชิต กล่าวทิ้งท้าย

162446417513

  • สถานการณ์ 'ผู้ป่วยโควิด 19' ระหว่างวันที่ 1 มิ.ย.-23 มิ.ย.2564

1 มิ.ย. 64

  • ผู้ป่วยใหม่ 2,230 ราย
  • ผู้เสียชีวิต 38 ราย
  • อาการหนัก 1,236ราย
  • ใส่เครื่องช่วยหายใจ 378 ราย
  • หายป่วยกลับบ้าน 3,390 ราย

2 มิ.ย. 64

  • ผู้ป่วยใหม่ 3,440 ราย
  • เสียชีวิต 38 ราย
  • อาการหนัก 1,247 ราย
  • ใส่เครื่องช่วยหายใจ 381 ราย
  • หายป่วยกลับบ้าน 2,843 ราย

3 มิ.ย. 64

  • ผู้ป่วยใหม่ 3,886 ราย
  • เสียชีวิต 39 ราย
  • อาการหนัก 1,208 ราย
  • ใส่เครื่องช่วยหายใจ 373 ราย
  • หายป่วยกลับบ้าน 3,626 ราย

4 มิ.ย. 64

  • ผู้ป่วยใหม่ 2,631 ราย
  • เสียชีวิต 31 ราย
  • อาการหนัก 1,182 ราย
  • ใส่เครื่องช่วยหายใจ 376 ราย
  • หายป่วยกลับบ้าน 2,493 ราย

5 มิ.ย. 64

  • ผู้ป่วยใหม่ 2,817 ราย
  • เสียชีวิต 36 ราย
  • อาการหนัก 1,195 ราย
  • ใส่เครื่องช่วยหายใจ 361 ราย
  • หายป่วยกลับบ้าน 3,396 ราย

6 มิ.ย. 64

  • ผู้ป่วยใหม่ 2,671 ราย
  • เสียชีวิต 23 ราย
  • อาการหนัก 1,209 ราย
  • ใส่เครื่องช่วยหายใจ 361 ราย
  • หายป่วยกลับบ้าน 2,424 ราย

7 มิ.ย. 64

  • ผู้ป่วยใหม่ 2,419 ราย
  • เสียชีวิต 33 ราย
  • อาการหนัก 1,233 ราย
  • ใส่เครื่องช่วยหายใจ 355 ราย
  • หายป่วยกลับบ้าน 2,999 ราย

8 มิ.ย. 64

  • ผู้ป่วยใหม่ 2,662 ราย
  • เสียชีวิต 28 ราย
  • อาการหนัก 1,281 ราย
  • ใส่เครื่องช่วยหายใจ 359 ราย
  • หายป่วยกลับบ้าน 2,483 ราย

9 มิ.ย. 64

  • ผู้ป่วยใหม่ 2,680 ราย
  • เสียชีวิต 35 ราย
  • อาการหนัก 1,286 ราย
  • ใส่เครื่องช่วยหายใจ 355 ราย
  • หายป่วยกลับ บ้าน 4,253 ราย

10 มิ.ย. 64

  • ผู้ป่วยใหม่ 2,310 ราย
  • เสียชีวิต 43 คน
  • อาการหนัก 1,295 ราย
  • ใส่เครื่องช่วยหายใจ 359 ราย
  • หายป่วยกลับบ้าน 3,035 ราย

11 มิ.ย. 64

  • ผู้ป่วยใหม่ 2,290 ราย
  • เสียชีวิต 27 ราย
  • อาการหนัก 1,287 ราย
  • ใส่เครื่องช่วยหายใจ 352 ราย
  • หายป่วยกลับบ้าน 5,711 ราย

12 มิ.ย. 64

  • ผู้ป่วยใหม่ 3,277 ราย
  • เสียชีวิต 29 ราย
  • อาการหนัก 1,242 ราย
  • ใส่เครื่องช่วยหายใจ 362 ราย
  • หายป่วยกลับบ้าน 5,273 ราย

13 มิ.ย. 64

  • ผู้ป่วยใหม่ 2,804 ราย
  • เสียชีวิต 18 ราย
  • อาการหนัก 1,215 ราย
  • ใส่เครื่องช่วยหายใจ 351 ราย
  • หายป่วยกลับบ้าน 4,143 ราย

14 มิ.ย. 64

  • ผู้ป่วยใหม่ 3,355 ราย
  • เสียชีวิต 17 ราย
  • อาการหนัก 1,261 ราย
  • ใส่เครื่องช่วยหายใจ 360 ราย
  • หายป่วยกลับบ้าน 3,530 ราย

15 มิ.ย. 64

  • ผู้ป่วยใหม่ 3,000 ราย
  • เสียชีวิต 19 ราย
  • อาการหนัก 1,249 ราย
  • ใส่เครื่องช่วยหายใจ 365 ราย
  • หายป่วยกลับบ้าน 4,774 ราย

16 มิ.ย. 64

  • ผู้ป่วยใหม่ 2,331 ราย
  • เสียชีวิต 40 ราย
  • อาการหนัก 1,306 ราย
  • ใส่เครื่องช่วยหายใจ 364 ราย
  • หายป่วยกลับบ้าน 4,947 ราย

17 มิ.ย. 64

  • ผู้ป่วยใหม่ 3,129 ราย
  • เสียชีวิต 30 ราย
  • อาการหนัก 1,313 ราย
  • ใส่เครื่องช่วยหายใจ 376 ราย
  • หายป่วยกลับบ้าน 4,651 ราย

18 มิ.ย. 64

  • ผู้ป่วยใหม่ 3,058 ราย
  • เสียชีวิต 22 ราย
  • อาการหนัก 1,360 ราย
  • ใส่เครื่องช่วยหายใจ 378 ราย
  • หายป่วยกลับบ้าน 4,094 ราย

19 มิ.ย. 64

  • ผู้ป่วยใหม่ 3,667 ราย
  • เสียชีวิต 32 ราย
  • อาการหนัก 1,343
  • รายใส่เครื่องช่วยหายใจ 383 ราย
  • หายป่วยกลับบ้าน 4,948 ราย

20 มิ.ย. 64

  • ผู้ป่วยใหม่ 3,682 ราย
  • เสียชีวิต 20 ราย
  • อาการหนัก 1,374 ราย
  • ใส่เครื่องช่วยหายใจ 390 ราย
  • หายป่วยกลับบ้าน 2,401 ราย

21 มิ.ย. 64

  • ผู้ป่วยใหม่ 3,175 ราย
  • เสียชีวิต 29 ราย
  • อาการหนัก 1,436 ราย
  • ใส่เครื่องช่วยหายใจ 395 ราย
  • หายป่วยกลับบ้าน 2,030 ราย

22 มิ.ย. 64

  • ผู้ป่วยใหม่ 4,059 ราย
  • เสียชีวิต 35 ราย
  • อาการหนัก 1,479 ราย
  • ใส่เครื่องช่วยหายใจ 410 ราย
  • หายป่วยกลับบ้าน 2,047 ราย

23 มิ.ย. 64

  • ผู้ป่วยใหม่ 3,174 ราย
  • เสียชีวิต 51 ราย
  • อาการหนัก 1,526 ราย 
  • ใส่เครื่องช่วยหายใจ 433 ราย
  • หายป่วยกลับบ้าน1,941 ราย