เช็กที่นี่ ทำไม 'เตียง' ไอซียูผู้ป่วยโควิด-19 ใน กทม.ถึงวิกฤติ ?

เช็กที่นี่ ทำไม 'เตียง' ไอซียูผู้ป่วยโควิด-19 ใน กทม.ถึงวิกฤติ ?

การระบาดของโควิด-19 ที่ยังคงรุนแรงจากยอด ‘ผู้ป่วยหนัก’ อยู่ที่1,526 ราย ‘ใส่เครื่องช่วยหายใจ’433 ราย ขณะที่ กรมการแพทย์ แจง‘สถานการณ์เตียง’ กทม.ที่ยังน่าห่วง โดยกลุ่มผู้ป่วยสีแดงเหลือเพียง 20 เตียง และสีเหลืองรองรับได้ราว 300 เตียงเท่านั้น

สถานการณ์การระบาดของโควิด-19 วานนี้ (23 มิ.ย. 64) พบผู้ติดเชื้อรายใหม่กว่า 3,174 ราย เสียชีวิตกว่าครึ่งร้อย 51 ราย ทำให้การระบาดระลอกใหม่ตั้งแต่เดือน เม.ย. 2564 มียอดผู้เสียชีวิตสะสมสูงถึง 1,650 รายแล้ว ขณะที่ภาพรวมของการเสียชีวิตจากสถานการณ์โควิด-19 มีผู้เสียชีวิตรวม 1,744 ราย โดยตัวเลขล่าสุด มี ผู้ป่วยหนัก 1,526 ราย ใส่เครื่องช่วยหายใจ 433 ราย

  • เล็งเพิ่ม รพ.สนาม 4 มุมเมือง

นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข(สธ.) ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีสธ.จะเข้าไปช่วยเหลือในพื้นที่กทม.มากขึ้นหรือไม่ เพราะ 'เตียง' อยู่ในระดับที่วิกฤติ ว่า สธ.เข้าไปช่วยเหลือทุกพื้นที่อยู่แล้ว แม้ว่าจะไม่มีอำนาจในการบริหารจัดการระบบสาธารณสุขในกรุงเทพมหานคร แต่ก็ต่างช่วยเหลือเกื้อกูลกัน และในส่วนของ รพ.บุษราคัม ก็มีการรับผู้ป่วยต่างชาติระดับสีเหลืองแล้ว และสิ่งที่ สธ.กำลังเร่งดำเนินการคือจะต้องเปิด 'เตียง' และห้องไอซียู รพ.หลักให้มากที่สุด โดยจะต้องไปยกระดับ เพิ่มศักยภาพ รพ.สนาม ให้เป็นแบบ รพ.บุษราคัม ให้มากขึ้น

นายอนุทิน กล่าวอีกว่า รพ.สนาม 4 มุมเมืองจะต้องเกิดขึ้นแล้ว และใช้ประสบการณ์และสิ่งที่ทำมาที่ รพ.บุษราคัม ในการจัดตั้ง รพ.ที่ขาดแต่ห้องไอซียู แต่มียา ออกซิเจนและเครื่องไฮโฟลวพร้อม สามารถจัดได้ภายใน 7 วัน เป็นการอัพเกรดจาก รพ.สนาม ที่มีอยู่แล้วในจังหวัดต่างๆ 4 มุมเมือง รอบกทม.โดยพิจารณารพ.ที่รองรับได้ราว 200 เตียง

หากหาได้ 5 แห่ง ก็รองรับได้ 1,000 เตียง พอๆ กับศักยภาพ รพ.บุษราคัม ที่รองรับได้ราว 1,200 เตียง เพราะในเดือน ส.ค. รพ.บุษราคัม จะต้องคืนให้กับอิมแพคอารีนาแล้ว นอกจากนี้ อาจจะยกระดับจากศูนย์นิมิตร์บุตร หรืออินดอสเตเดียม เพื่อรองรับผู้ป่วยสีเหลืองด้วย จะต้องทำทุกอย่างให้ทันกับสถานการณ์ ส่วนบุคลากรก็อาจจะต้องใช้รูปแบบของรพ.บุษราคัมที่มีการสับเปลี่ยนจากต่างจังหวัดทุก 2 สัปดาห์

“ถ้าอาการเหลืองน้อยมา รพ.สนาม ที่จะมีการยกระดับได้เพิ่มมากขึ้น ในรพ.หลักก็สามารถดูแลผู้ป่วยหนักได้มากขึ้น การยกระดับจากป่วยกลางไปป่วยหนักก็ช้าลง หรือไม่ต้องไปถึงขั้นนั้นโดยผู้ป่วยดีขึ้น และหายป่วย ซึ่งสธ.ก็ต้องปรับระบบการรักษาพยาบาลให้สอดคล้องกับสถานการณ์” นายอนุทินกล่าว

  • 'เตียง' ไอซียู รพ.รัฐ ในกทม.เหลือ 20 เตียง


นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวถึงปัญหา 'เตียง' รองรับผู้ป่วยโควิด-19 ในพื้นที่ กทม.เริ่มขาดแคลน โดยเฉพาะเตียงไอซียู ว่า กรุงเทพมหานคร เป็นคนบริหารจัดการภาพรวม แต่ขณะนี้เตียงไอซียู เตียงสีแดงในภาครัฐเหลือ 20 เตียง จาก 400 กว่าเตียง ตอนนี้เหมือนกับว่ารพ.รัฐแต่ละแห่งไม่มีเตียงไอซียูว่างเลย จึงมีผลต่อการการส่งต่อผู้ป่วยหนักไม่ค่อยได้ ตอนนี้ในภาคของการรักษาโรคนั้นหนักมากๆ หนักมากว่า 10 วันแล้ว ก่อนหน้านี้เคยบอกว่าหากมีผู้ป่วยมากวันละ 500-600 คน เตียงไอซียูก็จะตึงไปด้วย แต่สถานการณ์ปัจจุบันพบว่าเกือบจะ 2 เดือนแล้ว ที่พื้นที่กทม.มีผู้ป่วยมากกว่าวันละ 1 พันรายขึ้นไป

“อย่าง รพ.ราชวิถีก่อนหน้านี้มีการขยายเตียงไอซียูที่โรงจอดรถ 10 เตียง ก็รับผู้ป่วยไป 12 ราย รพ.นพรัตน์ เพิ่งขยายไอซียูเสร็จเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาจำนวน 9 เตียง ก็เต็มแล้ว รพ.รามาธิบดี รพ.ศิริราช รพ.จุฬาลงกรณ์ ขยายเป็นโคฮอตไอซียู แทบจะเต็มไปเรียบร้อย ซึ่งตลอด 1 เดือนที่ผ่านมา พยายามขยายศักยภาพ และรับได้เพิ่มขึ้นพอสมควร แต่ 10 วันหลังมานี้ตึงมาก” นพ.สมศักดิ์กล่าว


นพ.สมศักดิ์ กล่าวด้วยว่า การที่มีผู้ป่วยอาการหนักมากขึ้นนั้น ตรงไปตรงมาคือเกิดจากสายพันธุ์อัลฟา (อังกฤษ) ที่ยังครองการระบาดอยู่ และตอนนี้ก็มีเดลตา (อินเดีย) ที่กำลังเข้ามาชิงพื้นที่ ทั้ง 2 สายพันธุ์สามารถแพร่เชื้อได้เร็ว สมมติถ้ามองว่าอัตราการเปลี่ยนแปลงอาการเป็นสีเหลือง สีแดงเท่าเดิม แต่จำนวนผู้ป่วยมีมากขึ้นในแต่ละวัน ตัวคูณมากขึ้น ก็ส่งผลให้มีการจัดเตียงสีเหลือง สีแดงมากขึ้นด้วย แต่ทั้ง 2 สายพันธุ์ ทำให้อาการมากขึ้นด้วย โอกาสที่ผู้ป่วยจะมีอาการเปลี่ยนไปเป็นสีเหลือง สีแดงก็มากขึ้นด้วย ในแง่ของความรุนแรง และจำนวนที่เพิ่มมากขึ้น ทำให้เกิดปัญหากับเตียงผู้ป่วยที่จะรองรับ

  • ไอซียูกทม.ขยายยากแล้ว


“ตอนนี้เตียงไอซียูขยายยากแล้ว เพราะทุกรพ. ทั้งรัฐ โรงเรียนแพทย์ มีการขยายศักยภาพไปมาก รวมถึงนำแพทย์ฝึกหัด เรสซิเดนท์ของสาขาต่างๆ เข้ามาช่วยกันทำงาน แม้กระทั่ง รพ.มงกุฎวัฒนะ ที่มีการตั้งไอซียูสนามก็รับผู้ป่วยไปเต็มเอี๊ยดแล้ว ดังนั้น แต่ละแห่งค่อนข้างขยายไอซียูเพิ่มยาก เพราะฉะนั้น ตอนนี้ก็ต้องพยายามเอาคนที่ป่วยเข้า รพ.ให้เร็ว ซึ่งจริงๆ เตียงสำหรับผู้ป่วยสีเขียวของภาครัฐก็ค่อนข้างตึง ใช้วิธีหมุนวันต่อวัน คนไข้หายกลับบ้านไปก็รับผู้ป่วยรายใหม่เข้ามา ฮอทพิเทลที่ตั้งขึ้นก็รับจนเต็มเกือบหมด แทบจะวันต่อวันที่ต้องหมุนกันเอา แต่ยังมีรพ.เอกชน ที่ตรวจสอบล่าสุดแล้วยังมีฮอทพิเทลว่างอยู่กว่า 2 พันเตียง"

  • ปัญหาใช้แล็ปไร้มาตรฐานตรวจ

นพ.สมศักดิ์ กล่าวด้วยว่า หากเจอผู้ป่วยแล้วต้องนำเข้ารพ.เร็วเพื่อดูอาการ หากเริ่มมีอาการก็ให้ยาฟาวิพิราเวียร์ ถ้ายังไม่มีอากรก็ให้ยาฟ้าทะลายโจร หวังว่าจะลดการเปลี่ยนแปลงอาการจากเขียวเป็นเหลือง จากเหลืองเป็นแดงได้ เพราะฉะนั้น คนที่ป่วยแบบที่มีใบแล็ปถูกต้องก็รีบไปฮอทพิเทล อย่างไรก็ตาม อีกส่วนหนึ่งที่จะช่วยได้ คือ แคมป์คนงาน โรงงานที่เจ้าของให้บริษัทแล็ปไปตรวจ โดยใช้แล็ปที่ไม่ได้มาตรฐาน เมื่อตรวจเจอแล้วประสานเข้ามาที่ 1668 เพื่อหาเตียงนั้น เจ้าหน้าที่กลับต้องมาทำหน้าที่ในการตรวจสอบและหาใบรับรองการตรวจแล็ปที่ถูกต้องให้ด้วย เพราะใบแล็ปที่โรงงานใช้เอกชนไปตรวจนั้นบางแห่งได้มาตรฐาน บางแห่งไม่ได้มาตรฐาน เรื่องนี้ได้แจ้งไปยังกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (สบส.) ทราบเรื่องแล้ว

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  

  • ‘ผู้ป่วยหนัก’ เดือนมิ.ย.ใส่ท่อช่วยหายใจพุ่งไม่หยุด

หากย้อนกลับไปดูที่ข้อมูล ผู้ป่วยหนัก และ ใส่เครื่องช่วยหายใจ ตั้งแต่ต้นเดือน มิถุนายน ที่ผ่านมาจะพบว่า ระดับของผู้ป่วยรายใหม่ ซึ่งแตะที่ 2 – 3 พันรายต่อวัน เสียชีวิตอยู่ในระดับ 30-40 ราย และมีอัตรา ‘ผู้ป่วยหนัก’ ‘ใส่เครื่องช่วยหายใจ’  เกือบจะคงที่และมีแนวโน้มสูงขึ้นต่อเนื่องมากว่าครึ่งเดือน

1 มิ.ย. 64

  • ผู้ป่วยใหม่ 2,230 ราย
  • ผู้เสียชีวิต 38 ราย
  • อาการหนัก 1,236ราย
  • ใส่เครื่องช่วยหายใจ 378 ราย

2 มิ.ย. 64

  • ผู้ป่วยใหม่ 3,440 ราย
  • เสียชีวิต 38 ราย
  • อาการหนัก 1,247 ราย
  • ใส่เครื่องช่วยหายใจ 381 ราย

3 มิ.ย. 64

  • ผู้ป่วยใหม่ 3,886 ราย
  • เสียชีวิต 39 ราย
  • อาการหนัก 1,208 ราย
  • ใส่เครื่องช่วยหายใจ 373 ราย

4 มิ.ย. 64

  • ผู้ป่วยใหม่ 2,631 ราย
  • เสียชีวิต 31 ราย
  • อาการหนัก 1,182 ราย
  • ใส่เครื่องช่วยหายใจ 376 ราย

5 มิ.ย. 64

  • ผู้ป่วยใหม่ 2,817 ราย
  • เสียชีวิต 36 ราย
  • อาการหนัก 1,195 ราย
  • ใส่เครื่องช่วยหายใจ 361 ราย

6 มิ.ย. 64

  • ผู้ป่วยใหม่ 2,671 ราย
  • เสียชีวิต 23 ราย
  • อาการหนัก 1,209 ราย
  • ใส่เครื่องช่วยหายใจ 361 ราย

7 มิ.ย. 64

  • ผู้ป่วยใหม่ 2,419 ราย
  • เสียชีวิต 33 ราย
  • อาการหนัก 1,233 ราย
  • ใส่เครื่องช่วยหายใจ 355 ราย

8 มิ.ย. 64

  • ผู้ป่วยใหม่ 2,662 ราย
  • เสียชีวิต 28 ราย
  • อาการหนัก 1,281 ราย
  • ใส่เครื่องช่วยหายใจ 359 ราย

9 มิ.ย. 64

  • ผู้ป่วยใหม่ 2,680 ราย
  • เสียชีวิต 35 ราย
  • อาการหนัก 1,286 ราย
  • ใส่เครื่องช่วยหายใจ 355 ราย

10 มิ.ย. 64

  • ผู้ป่วยใหม่ 2,310 ราย
  • เสียชีวิต 43 คน
  • อาการหนัก 1,295 ราย
  • ใส่เครื่องช่วยหายใจ 359 ราย

11 มิ.ย. 64

  • ผู้ป่วยใหม่ 2,290 ราย
  • เสียชีวิต 27 ราย
  • อาการหนัก 1,287 ราย
  • ใส่เครื่องช่วยหายใจ 352 ราย

12 มิ.ย. 64

  • ผู้ป่วยใหม่ 3,277 ราย
  • เสียชีวิต 29 ราย
  • อาการหนัก 1,242 ราย
  • ใส่เครื่องช่วยหายใจ 362 ราย

13 มิ.ย. 64

  • ผู้ป่วยใหม่ 2,804 ราย
  • เสียชีวิต 18 ราย
  • อาการหนัก 1,215 ราย
  • ใส่เครื่องช่วยหายใจ 351 ราย 

14 มิ.ย. 64

  • ผู้ป่วยใหม่ 3,355 ราย
  • เสียชีวิต 17 ราย
  • อาการหนัก 1,261 ราย
  • ใส่เครื่องช่วยหายใจ 360 ราย

15 มิ.ย. 64

  • ผู้ป่วยใหม่ 3,000 ราย
  • เสียชีวิต 19 ราย
  • อาการหนัก 1,249 ราย
  • ใส่เครื่องช่วยหายใจ 365 ราย

16 มิ.ย. 64

  • ผู้ป่วยใหม่ 2,331 ราย
  • เสียชีวิต 40 ราย
  • อาการหนัก 1,306 ราย
  • ใส่เครื่องช่วยหายใจ 364 ราย

17 มิ.ย. 64

  • ผู้ป่วยใหม่ 3,129 ราย
  • เสียชีวิต 30 ราย
  • อาการหนัก 1,313 ราย
  • ใส่เครื่องช่วยหายใจ 376 ราย

18 มิ.ย. 64

  • ผู้ป่วยใหม่ 3,058 ราย
  • เสียชีวิต 22 ราย
  • อาการหนัก 1,360 ราย
  • ใส่เครื่องช่วยหายใจ 378 ราย

19 มิ.ย. 64

  • ผู้ป่วยใหม่ 3,667 ราย
  • เสียชีวิต 32 ราย
  • อาการหนัก 1,343 ราย
  • ใส่เครื่องช่วยหายใจ 383 ราย

20 มิ.ย. 64

  • ผู้ป่วยใหม่ 3,682 ราย
  • เสียชีวิต 20 ราย
  • อาการหนัก 1,374 ราย
  • ใส่เครื่องช่วยหายใจ 390 ราย

21 มิ.ย. 64

  • ผู้ป่วยใหม่ 3,175 ราย
  • เสียชีวิต 29 ราย
  • อาการหนัก 1,436 ราย
  • ใส่เครื่องช่วยหายใจ 395 ราย

22 มิ.ย. 64

  • ผู้ป่วยใหม่ 4,059 ราย
  • เสียชีวิต 35 ราย
  • อาการหนัก 1,479 ราย
  • ใส่เครื่องช่วยหายใจ 410 ราย

23 มิ.ย. 64

  • ผู้ป่วยใหม่ 3,174 ราย
  • เสียชีวิต 51 ราย
  • อาการหนัก 1,526 ราย
  • ใส่เครื่องช่วยหายใจ 433 ราย
  • 24 มิ.ย. 
  • ผู้ป่วยใหม่ 4,108 ราย
  • เสียชีวิต31ราย
  • อาการหนัก 1,564 ราย
  • ใส่เครื่องช่วยหายใจ 445 ราย

 

  • ‘เตียง’ รองรับ ‘ผู้ป่วยโควิด’ มีเท่าไหร่

ทั้งนี้ ข้อมูล จากกระทรวงสาธารณสุข ระบุว่า ประเทศไทยมีไอซียูรวมทั้งหมดประมาณ 6,000 เตียง และมีเครื่องช่วยหายใจที่สามารถใช้ในห้องไอซียู ประมาณ 10,000 เครื่อง แบ่งเป็น ชนิดมีศักยภาพสูงสุดช่วยสนับสนุนการตัดสินใจของแพทย์ ใช้งานในระดับวิกฤตสูงสุด 4,000 เครื่อง และกลุ่มขีดความสามารถสูง มีความซับซ้อนขึ้น มีระบบการวัดผลมากขึ้นแสดงผลใช้งานหลากหลายอีกประมาณ 6,000 เครื่อง

  • ภาพรวมของ 'เตียง' เดือนเมษายน 2564 ทุกชนิดทั่วประเทศ ทั้งหมด 40,524 เตียง

ห้องความดันลบ (AIIR) 704 ห้อง

ห้องเตียงรวมความดันลบ (Modified AIIR) 1,688 เตียง

ห้องแยก (Isolated room) 9,206 ห้อง

หอผู้ป่วยรับเฉพาะกลุ่มโควิด (Cohort ward) 22,435 เตียง

ฮอสพิเทล (Hospital) 158 เตียง

ไอซียู (Cohort ICU) 6,333 เตียง

  • สำหรับใน กทม. และปริมณฑล แยกตามสังกัด รพ. พบว่า มีทั้งหมด 16,422 เตียง ได้แก่

กรมการแพทย์ เตียงทั้งหมด 413 เตียง

กรมควบคุมโรค เตียงทั้งหมด 157 เตียง

กรมสุขภาพจิต เตียงทั้งหมด 69 เตียง

กระทรวงกลาโหม เตียงทั้งหมด 354 เตียง

กรุงเทพมหานคร เตียงทั้งหมด 166 เตียง

โรงพยาบาลตำรวจ เตียงทั้งหมด 167 เตียง

โรงพยาบาลสนาม เตียงทั้งหมด 8,742 เตียง

โรงเรียนแพทย์ เตียงทั้งหมด 862 เตียง

เอกชน เตียงทั้งหมด 5,492 เตียง

  • ล่าสุดสถานการณ์เตียงในกรุงเทพ และปริมณฑล ณ วันที่ 21 มิ.ย. 2564 จากกรมการแพทย์

ห้องสำหรับผู้ป่วยสีแดง ห้องไอซียูความดันลบ ครองเตียง 268 เตียง ว่าง 46 เตียง

หอผู้ป่วยวิกฤตที่ดัดแปลงเป็นห้องความดันลบ ครองเตียง 689 เตียง ว่าง 68 เตียง

ห้องไอซียูรวม ครองเตียง 267 เตียง ว่าง 34 เตียง

ห้องสำหรับผู้ป่วยสีเหลือง ห้องแยก ครองเตียง 3,529 เตียง ว่าง 527 เตียง

ห้องสามัญ ครองเตียง 6,582 ว่าง 1,458 เตียง

ห้องสำหรับผู้ป่วยสีเขียว hospitel ครองเตียง 10,263 ว่าง 3,267 เตียง

เตียงสนาม ครองเตียง ว่าง 803 เตียง.

162446058214

  • ‘สถานการณ์เตียง’ รพ.สนาม กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

(ข้อมูล 21 มิถุนายน 64)

มีเตียงพร้อมรับ 12,529 เตียง

ใช้อยู่ 3,105 เตียง

คงเหลือ 9,424 เตียง

162442397536