เปิดกลยุทธ์ ‘ตลาดทุน’ จับมือพันธมิตรเพิ่มสินค้า-นักลงทุน

เปิดกลยุทธ์ ‘ตลาดทุน’ จับมือพันธมิตรเพิ่มสินค้า-นักลงทุน

เปิดยุทธศาสตร์ตลาดทุนไทย จับมือพันธมิตรเพิ่มโกลบอลโปรดักท์-ขยายฐานนักลงทุน พร้อมกันนี้ ยังยื่นขอไลเซ่นส์ศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล

161457222611 นับตั้งแต่ปี 2563 สถานการณ์แพร่ระบาดเชื้อไวรัสโคโรนา สายพันธ์ุใหม่ 2019 (โควิด-19) ส่งผลกระทบต่อธุรกิจและบรรยากาศการลงทุน ถือเป็นความท้าทายครั้งใหญ่ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) วิกฤติโควิด-19 เป็นตัวเร่งให้ตลาดทุนต้องปรับตัวและพัฒนาให้เร็วขึ้น ทั้งการนำเทคโนโลยีดิจิทัล และผลิตภัณฑ์ใหม่ที่เชื่อมโยงกับต่างประเทศมากยิ่งขึ้น เพื่อให้สอดรับกับตัวเลข เปิดบัญชีของนักลงทุนมากขึ้นกว่าปกติเฉลี่ยที่ 2 แสนบัญชี แต่ในปีที่ผ่านมาเปิดบัญชีใหม่สูงถึง 6 แสนบัญชี

“หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ” เปิดแผนตลาดทุนไทยปี 2564 ผ่าน ภากร ปีตธวัชชัย กรรมการและผู้จัดการ ตลท. บอกว่า วางเป้าหมาย 4 แผนงานคือ 1.การขยายสินค้าที่อ้างอิงหลักทรัพย์ต่างประเทศ 2.การขยายฐานนักลงทุน 3.หนุนให้เอสเอ็มอี, สตาร์ทอัพ เข้าถึงแหล่งระดมทุน และ 4.หนุนให้บริษัทใน10อุตสาหกรรมที่ภาครัฐส่งเสริมเข้าจดทะเบียน

โดยตลท. จะขยายแผนงานในรูปแบบ “พาร์ทเนอร์ชิพโมเดล” เนื่องจากปัจจุบัน ตลท.ทำงานคนเดียวไม่ได้แล้ว ต่อจากนี้ต้องมีพาร์ทเนอร์ที่หลากหลาย อย่างในปีนี้ตลท. จะทำงานร่วมกับบริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ซึ่งมีการกำหนดแนวทางและวิธีการทำงานร่วมกัน ซึ่งตลาดหลักทรัพย์ฯได้กำหนดเป้าหมายเป็น KPI ใช้ประเมินการทำงานอย่างชัดเจน ขณะที่ในช่วงปีถัดไปขยายความร่วมมือกับบริษัทจดทะเบียน(บจ.) และบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) เพิ่มมากขึ้น

หนึ่งในเรื่องที่ตลท. ทุ่มเทและผลักดันให้เกิดขึ้นให้ได้ มีการนำเสนอแก่บล.คือ “การนำสินค้าต่างประเทศมาจดทะเบียนในไทย” ในรูปแบบ DR,DW และ ETF ให้มากยิ่งขึ้น เนื่องจากช่วงโควิด-19 (มี.ค.-เม.ย.2563) เป็นช่วงตลาดหุ้นไทยได้รับผลกระทบโควิด-19 หนัก ซึ่งสงสารนักลงทุนที่เราไม่มีทางเลือกการลงทุนให้ เพราะตลาดหลักทรัพย์ฯมีแต่หุ้นไทย ซึ่งเป็นความรู้สึกที่แย่ที่สุดของผมเลย ที่ไม่มีสินค้าให้เขาเลือกในการกระจายความเสี่ยงการลงทุนได้

อย่างไรก็ตามเราต้องมีสิินค้าโกลบอลโปรดักท์ ที่เป็นmulti-asset class ซึ่งมีทั้งหุ้น ตราสารหนี้ สินค้าคอมมูนิตี้ เพื่อเป็นทางเลือกแก่นักลงทุนในการกระจายการลงทุน สำหรับสาเหตุที่ตอนนี้นักลงทุนสนใจลงทุนในคริปโตเคอเรนซี เพราะ เป็นการกระจายการลงทุน แม้เป็นคริปโตเคอเรนซีจะเป็นสินค้าที่เหมาะกับการเก็งกำไรก็ตาม

ทั้งนี้ ในปีนี้ ตลท. จะทุ่มเต็มที่ในการผลักดัน “ขยายสินค้าที่อ้างอิงหลักทรัพย์ต่างประเทศ” มากที่สุด เน้นการนำสินค้าจากต่างประเทศเข้ามาจดทะเบียนในไทย ทั้งในรูปแบบ DR DW และ ETF ที่นักลงทุนใช้กระจายลงทุนได้ หรือ “Asset Allocation”ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และต้องมีการคุ้มครองนักลงทุนที่ดีเช่นเดิม

ทั้งนี้คาดจะเห็นภาพสินค้าตัวใหม่ๆ ทยอยออกมาในครึ่งปีหลัง โดยช่วงแรกจะเป็นสินค้าในประเทศที่พัฒนาแล้วก่อน เช่น สหรัฐ ยุโรป จีน ญี่ปุ่น อังกฤษ แต่เชื่อว่าหลังจากนั้นจะมีสินค้าประเทศเพื่อนบ้านตามมา หากสินค้าในรูปแบบนี้ได้รับความสนใจและมีปริมาณการซื้อขายเพิ่มมากขึ้น ด้านความร่วมมือกับเพื่อนบ้านเป็นไปตามความร่วมมือทางเศรษฐกิจ ACMECS

สำหรับการขยายฐานนักลงทุน “ภากร” บอกว่า เทรนด์เติบโตนักลงทุนสูงขึ้น จากการเปิดบัญชีใหม่ถึง 6 แสนบัญชีปีก่อน เนื่องจากมีเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาทำให้เปิดบัญชีเป็นเรื่องง่าย ซึ่งตลท. กำลังศึกษาใช้ประโยชน์จากตรงนี้ ร่วมกับทางบล. เพราะคนที่ยังไม่เปิดบัญชีมีอีกมากทั้งกลุ่มนักลงทุนหน้าใหม่ นักลงทุนอายุน้อย (เจนซี) และคนรอบๆ ประเทศ ในส่วนของตลท. และบล .กำลังอยู่ระหว่างการศึกษาความต้องการลงทุนของคนกลุ่มเหล่านี้ให้ชัดเจน

ด้านการผลักดันกระดานดิจิทัล ตลท. เดินหน้าสู่การเป็นตลาดทุนดิจิทัลเต็มรูปแบบโดยจัดตั้งบริษัท ศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลไทย จำกัด ภายใต้กลุ่มตลท.ขับเคลื่อนการพัฒนา “แพลตฟอร์มสินทรัพย์ดิจิทัลครบวงจร” ครอบคลุมตั้งแต่การเชื่อมต่อกับระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัลในตลาดแรก ทุกรายที่มีผลิตภัณฑ์ที่ตอบสนองความต้องการของผู้ลงทุนและผู้ระดมทุน การซื้อขายเปลี่ยนมือในตลาดรองคือ ศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล รวมไปถึงการให้บริการกระเป๋าสินทรัพย์ดิจิทัลเก็บรักษาโทเคนดิจิทัล เพิ่มช่องทางใหม่สำหรับผู้ต้องการระดมทุน อีกทั้งยังสร้างโอกาสการลงทุนในสินทรัพย์ทางเลือก

ทั้งนี้ ตลท.ได้ยื่นขอใบอนุญาตศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล (Digital Asset Exchange)แล้ว ขณะนี้อยู่ระหว่างรอก.ล.ต.อนุมัติ โดยตั้งเป้าหมายให้เกิดการระดมทุนโทเคนดิจิทัลบนแพลตฟอร์มนี้ในปีนี้ ส่วนความคืบหน้าจัดตั้งกระดานซื้อขายที่ 3 เพื่อให้บริษัทเอสเอ็มอีและสตาร์ทอัพ เข้ามาจดทะเบียน คาดชัดเจนไตรมาส 3 นี้ ส่วนการสนับสนุนอุตสาหกรรมใหม่เข้ามาจดทะเบียน ซึ่งเป็น 10 อุตสาหกรรมที่ภาครัฐส่งเสริมนั้น ขณะนี้อยู่ระหว่างการออกเกณฑ์ ซึ่งเฮียริ่งเสร็จไปแล้ว รอก.ล.ต.อนุมัติเกณฑ์

“ภากร” ทิ้งท้ายว่า ไม่จำเป็นต้องสร้างสตาร์ทั้งดวง แต่เริ่มจากจุดแข็งทีละจุด สร้างสตาร์ดวงเล็กๆ ทีละดวงเก่งด้านไหนก็ทำด้านนั้น ให้เกิด “success story” จากนั้นค่อยๆ ขยายจุดแข็งมาร่วมกันบนอีโคซิสเต็มที่ทุกคนสามารถเข้าถึงไ