ความเสี่ยงคือ‘โอกาส’ สร้างการเติบโต‘ที คิว อาร์’

ความเสี่ยงคือ‘โอกาส’  สร้างการเติบโต‘ที คิว อาร์’

อุตสาหกรรมดาวรุ่งในยุคการระบาดโควิด-19 คงต้องยกให้ “ธุรกิจประกัน”เมื่อธุรกิจมีการเติบโตระดับสูง !สะท้อนผ่านเป็นธุรกิจที่มีการเติบโตอย่างต่อเนื่องและโอกาสในการเติบโตสูง โดยประเมินอัตราการเติบโตของอุตสาหกรรมประกันเฉลี่ยต่อปีเป็นตัวเลขสองหลัก

ฉะนั้น ผู้ประกอบการธุรกิจประกันจำเป็นต้องกระจายความเสี่ยงของตนเองออกไปด้วย จึงเป็นที่มาของธุรกิจเป็นนายหน้าประกันภัยต่อ (Reinsurance Broker)ที่เป็นตัวกลางในการให้บริการจัดหาสัญญาประกันภัยต่ออย่างครบวงจรโดยให้บริการตั้งแต่การให้คำปรึกษาแก่บริษัทประกันภัยเพื่อจัดหาสัญญาประกันภัยต่อแบบสัญญาและสัญญาประกันภัยต่อแบบเฉพาะราย

บริษัท ที คิว อาร์ จำกัด (มหาชน) หรือ TQRประกอบธุรกิจนายหน้าประกันภัยต่อ (Reinsurance Broker) โดยให้บริการจัดหาสัญญาประกันภัยต่ออย่างครบวงจรไอพีโอน้องใหม่กำลังจะเข้าระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) จำนวน 60 ล้านหุ้นมูลค่าที่ตราไว้ (พาร์) 0.50 บาทต่อหุ้น คาดเข้าซื้อขาย (เทรด) ในไตรมาส 1 ปีนี้

โดยมี อัญชลิน-นภัสนันท์พรรณนิภาผู้ก่อตั้งและหุ้นใหญ่ บริษัท ทีคิวเอ็มคอร์ปอเรชั่น หรือ TQMถือหุ้นใหญ่ใน TQR สัดส่วน44.35% (ตัวเลข ณ หลังเสนอขายหุ้นIPO)

ชนะพันธุ์ พิริยะพันธุ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารTQRเล่าให้ หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจฟังว่าครอบครัวพรรณนิภาเข้ามาถือหุ้นตั้งแต่วันแรกที่ก่อตั้งบริษัทในปี 2555 ตอนนั้นยอมรับไม่รู้ธุรกิจจะประสบความสำเร็จหรือไหม แต่เมื่อมีนักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จมาร่วมลงทุนทำให้มีความอุ่นใจขึ้น ซึ่ง 1-2 ปีแรกธุรกิจขาดทุนสุทธิทำให้บริษัทลำบาก แต่ได้ครอบครัวพรรณนิภาเข้าใจและใส่เงินเพิ่มทุนเข้ามา

ทั้ง “อัญชลิน-นภัสนันท์” ไม่เคยเข้ามายุ่งเกี่ยวกับการบริหารงาน จะเจอทั้งสองคนปีละ 1 ครั้ง ในวันประชุมผู้ถือหุ้นเท่านั้น...โดยทั้งสองคนให้เหตุผลว่าไม่ถนัด เคยทำแต่ในแง่รีเทล(รายย่อย) ซึ่งธุรกิจ TQR มีความแตกต่างจากธุรกิจ TOM ดังนั้นให้บริหารธุรกิจไปเลยหากมีปัญหาค่อยมาคุยกัน

ทุกความเสี่ยงคือโอกาสเติบโตของ TQR !

ดังนั้น แผนระดมทุนคือ การเตรียมความพร้อมพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ประกันภัยใหม่ๆ สะท้อนผ่านนำเงินไปใช้ในการลงทุนพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อส่งเสริมประสิทธิภาพในการให้บริการ (Operational Efficiency Improvement Platform) การลงทุนพัฒนาแบบจำลองทางการเงิน (Financial Model) สำหรับธุรกิจการประกันภัย

สอดรับการเติบโตระดับตัวเลขสองหลัก มองว่าหลังจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 จะมีความเปลี่ยนแปลงความเสี่ยงในรูปแบบใหม่เพิ่มขึ้นอีกมากในธุรกิจประกัน เช่น ประกันการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกที่ประเทศญี่ปุ่น มีการทำประกันภัยมูลค่า 2,000 ล้านยูโร ซึ่งประกันภัยดังกล่าวตลาดเมืองไทยยังไม่รู้จัก  

ดังนั้น ในแผนธุรกิจบริษัทยังร่วมวิเคราะห์และพัฒนาการประกันภัยรูปแบบใหม่ๆ ร่วมกับคู่ค้า ตลอดจน ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ประกันภัยรูปแบบใหม่จากต่างประเทศและนำมาประยุกต์ให้สอดคล้องกับธุรกิจประกันภัยของประเทศไทยเช่น ผลิตภัณฑ์ประกันภัยกลุ่มงานอีเวนต์ (event cancellation)ที่ปัจจุบันเริ่มมีผู้ประกอบการรับจัดงานติดต่อบริษัทเข้าไปคุยบ้างแล้ว หรือ การประกันภัยไซเบอร์ (Cyber Insurance) เป็นต้น

ขณะที่ผลประกอบการ 3 ปี ย้อนหลัง (2560-2562) บริษัทมีกำไรสุทธิ 23.62 ล้านบาท 32.88 ล้านบาท 44.04 ล้านบาท ตามลำดับ ขณะที่งวด 9 เดือน (ม.ค.-ก.ย.2563) มีกำไรสุทธิ 68.62 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 79.54% เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 38.22  ล้านบาท สร้างสถิติสูงสุดใหม่นับตั้งแต่จัดตั้งบริษัทในปี 2555

ณ ปัจจุบัน แบ่งประเภทธุรกิจเป็น 2 กลุ่มคือธุรกิจนายหน้าประกันภัยต่อแบบทั่วไปเป็นตัวกลางระหว่างบริษัทประกันภัยและบริษัทรับประกันภัยต่อ โดยดำเนินการจัดหาสัญญาประกันภัยต่อแบบสัญญา และสัญญาประกันภัยต่อแบบเฉพาะราย สำหรับประกันภัยทุกประเภท