'สุวิทย์' ลงพื้นที่กาฬสินธุ์ ปลื้มยุวชนอาสา ทำงานร่วมกับชุมชน 83 โครงการ

'สุวิทย์' ลงพื้นที่กาฬสินธุ์ ปลื้มยุวชนอาสา ทำงานร่วมกับชุมชน 83 โครงการ

“สุวิทย์” ลงพื้นที่จ.กาฬสินธุ์ ปลื้มยุวชนอาสา กว่า 800 คน ทำงานร่วมกับชุมชน 83 โครงการ เตรียมขยายผลทั่วภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคอื่นๆ ทั่วประเทศ

เมื่อวันที่ 17 มิ.ย.63 ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ รมว.การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(อว.) เดินทางลงพื้นที่มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ จ.กาฬสินธุ์ เพื่อติดตามความก้าวหน้าโครงการยุวชนอาสา เฟส 1 ในพื้นที่จังหวัดกาฬสินธุ์ ซึ่งเป็นพื้นที่นำร่อง 82 ชุมชน จากความร่วมมือของ 9 มหาวิทยาลัย และ นักศึกษาเข้าร่วมโครงการกว่า 800 คน โดยโครงการยุวชนอาสา เฟส 1 มี นักศึกษา นำเสนอโครงการในการลงพื้นที่ทำงานร่วมกับชุมชน จำนวน 83 โครงการ ประกอบด้วย มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม 18 โครงการ ทำใน 15 ตำบล 8 อำเภอ นักศึกษาเข้าร่วม 162 คน งบประมาณที่กระทรวงฯ สนับสนุน จำนวน 8,207,500 บาท มหาวิทยาลัยศรีปทุม 2 โครงการ 1 ตำบล 1 อำเภอ นักศึกษา 22 คน งบฯ 1 ล้านบาท มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ 2 โครงการ 2 ตำบล 2 อำเภอ นักศึกษา 20 คน งบฯ 980,000 บาท

มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ 34 โครงการ 34 ตำบล 11 อำเภอ นักศึกษา 214 คน งบฯ 16,230,919 บาทมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขต เฉลิมพระเกียรติ จ.สกลนคร 4 โครงการ 4 ตำบล 4 อำเภอ นักศึกษา 35 คน งบ 1,951,740 บาท มหาวิทยาลัยขอนแก่น 14 โครงการ 14 ตำบล 8 อำเภอ นักศึกษา 172 คน งบฯ 6,799,500 บาท มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตนครราชสีมา 1 โครงการ 1 ตำบล 1 อำเภอ นักศึกษา 8 คน งบฯ 490,000 บาท

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตขอนแก่น 6 โครงการ 6 ตำบล 3 อำเภอ นักศึกษา 59 คน งบ  2,934,000 และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์ 2 โครงการ 2 ตำบล 2 อำเภอ นักศึกษา 14 คน งบฯ 980,000 บาท รวม 83  โครงการ 63 ตำบล 15 อำเภอ นักศึกษา 806 คน งบฯ 39,573,659 บาท

159238266221

ทั้งนี้ ดร.สุวิทย์ ได้ร่วมรับฟังความก้าวหน้าการดำเนินงานและร่วมเสวนาร่วมกับนักศึกษาที่มีผลงานเด่นภายใต้โครงการยุวชนอาสา โดย ดร.สุวิทย์ กล่าวว่า โครงการยุวชนอาสา เป็น 1 ใน 3 โปรเจคของโครงการยุวชนสร้างชาติ ซึ่งประกอบด้วย อาสาประชารัฐ กองทุนยุววิสาหกิจเริ่มต้นและยุวชนอาสา  โดยเป้าหมายของโครงการยุวชนอาสา คือการนำนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรี 800 – 1,000 คน ไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้ศึกษาวิเคราะห์ และประมวลผลของปัญหาชุมชนในชุมชนพื้นที่เป้าหมาย 80 – 100 ตำบล ที่มีปัญหาความยากจน ความเหลื่อมล้ำ ปัญหาคุณภาพชีวิตในมิติต่างๆ เพื่อไปสร้างหรือนำองค์ความรู้หรือนวัตกรรมในสถาบันอุดมศึกษาหรือหน่วยงานภายในกระทรวงการอุดมศึกษาฯ มาบูรณาการในการแก้ปัญหา คลอบคลุม 4 ด้านได้แก่

1.พัฒนาศักยภาพที่มุ่งเน้นการพัฒนาสินค้าเกษตรและอาหารปลอดภัย 2. ยกระดับคุณภาพและรายได้ด้านการท่องเที่ยว และส่งเสริมการค้า การลงทุน 3. เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 4.การพัฒนาทุนมนุษย์ ลดความเหลื่อมล้ำ สร้างสังคมที่มีความมั่นคงและสงบสุข โดยเลือก จ.กาฬสินธุ์ เป็นจังหวัดนำร่องในการดำเนินโครงการนี้ เนื่องจากเป็นจังหวัดที่ติด 1 ใน 10 จังหวัดที่ยากจนที่สุดในประเทศ

จากนั้น ดร.สุวิทย์ ได้มอบสิทธิ์เข้าร่วมโครงการ “การพัฒนาแนวคิดเพื่อสร้างรูปแบบธุรกิจนวัตกรรม” มูลค่า 100,000 บาท จากกองทุนยุวสตาร์ทอัพ ภายใต้แผนงานยุวชนสร้างชาติของ อว.ให้แก่กลุ่มนักศึกษาที่มีศักยภาพในการต่อยอดธุรกิจ สำหรับการพัฒนาแบบจำลองหรือการพิสูจน์ความเป็นไปได้ด้านการตลาดเบื้องต้น การจัดทำแผนธุรกิจที่มีศักยภาพ และเดินทางไปเยี่ยมชมความสำเร็จโครงการยุวชนอาสา โครงการ “การยกระดับบริการบ้านพักชุมชนสู่การเป็นโฮมสเตย์มาตรฐานประเทศไทย” ที่หมู่บ้านท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านหนองแวงภูปอ เทศบาลตำบลภูปอ จ.กาฬสินธุ์ และประชุมกับหน่วยปฏิบัติการ 38 หน่วยงาน เพื่อเตรียมขยายผลเพื่อดำ เนินโครงการในเฟสที่ 2 โดยมี จ.กาฬสินธุ์ เป็นต้นแบบและขยายไปสู่การดำเนินงานในพื้นที่อื่นๆเพิ่มเติมทั้งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและพื้นที่ภาคอื่นทั่วประเทศ