"สุวัจน์" ชี้ "ทางออกเศรษฐกิจไทย" ใช้จุดแข็งสร้างแพลตฟอร์มใหม่

"สุวัจน์" ชี้ "ทางออกเศรษฐกิจไทย" ใช้จุดแข็งสร้างแพลตฟอร์มใหม่

"สุวัจน์" ชี้ "ทางออกเศรษฐกิจไทย" ใช้จุดแข็ง เกษตร อาหาร ท่องเที่ยว SOFT POWER และ LOCATION สร้างแพลตฟอร์มใหม่ทางเศรษฐกิจ  การเมืองต้องมีเสถียรภาพและมืออาชีพ

นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ ประธานพรรคชาติพัฒนา และอดีตรองนายกรัฐมนตรี ได้บรรยายพิเศษในโอกาสปฐมนิเทศนักศึกษา วธอ.รุ่นที่ 7 ของสถาบันวิทยาการธุรกิจและอุตสาหกรรมเมื่อวันเสาร์ ที่ 11 มิถุนายน 2565 ที่ โรงแรมฮอลิเดย์อินน์ หัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

นายสุวัจน์ ได้กล่าวถึง 3 เรื่อง สำคัญที่นักศึกษาควรต้องติดตาม คือ 1. สถานการณ์ของโลกในปัจจุบัน ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว  2. สถานการณ์ของประเทศไทยในช่วงที่เกิดผลกระทบจาก COVID  3. แนวทางการฟื้นฟูเศรษฐกิจหลัง COVID และสถานการณ์การสู้รบของยูเครนและรัสเซีย เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับเศรษฐกิจไทย 

\"สุวัจน์\" ชี้ \"ทางออกเศรษฐกิจไทย\" ใช้จุดแข็งสร้างแพลตฟอร์มใหม่

สถานการณ์ของโลกในปัจจุบัน จากผลกระทบของ COVID และสถานการณ์การสู้รบระหว่างยูเครนกับรัสเซีย ก่อให้เกิดผลกระทบอย่างรุนแรง 6 เรื่อง คือ 1. ภาวะเงินเฟ้อที่เกิดขึ้นในสหรัฐอเมริกาและยุโรป ซึ่งสูงมากประมาณ 8 - 10 % สูงสุดในรอบ 40 ปี ของสหรัฐอเมริกาและสูงที่สุดนับแต่มีเงินยูโรเกิดขึ้นนับจากปี ค.ศ.1999 อันเนื่องจากการใช้จ่ายเงินจากการต่อสู้กับปัญหา COVID รวมทั้งราคาพลังงานที่แพงขึ้น และการขาดแคลนอาหารและราคาอาหารที่สูงขึ้น 2.การขึ้นดอกเบี้ยเพื่อแก้ไขปัญหาเงินเฟ้อของธนาคารกลางของสหรัฐอเมริกาและยุโรป ทำให้ดอกเบี้ยทั่วโลกสูงขึ้นจึงจะมีผลต่อตลาดเงินและการลงทุน 3. เศรษฐกิจโลกจะชะลอตัวลงอาจโตเพียง 2.5% จากปัญหาเงินเฟ้อ น้ำมันและอาหารแพง และกำลังซื้อที่ถดถอยทั่วโลก และห่วงโซ่การผลิตที่หยุดการทำงาน 4.โลกกำลังเกิดวิกฤติด้านอาหารขาดแคลนและราคาแพงจากสงคราม โรคระบาด ปัญหาโลกร้อนและประชากรที่เพิ่มขึ้น 5. ปัญหาโลกร้อนที่มีผลกระทบกับภัยธรรมชาติและรูปแบบอุตสาหกรรมต่างๆ ที่ต้องปรับตัวและ 6. เกิด NOW WORD ORDER การจัดระบบโลกใหม่ จากปัญหาสงครามและเศรษฐกิจ ก่อให้เกิดการตัดขาดจากกัน (Decoupling) มีการแบ่งกลุ่มที่ชัดเจน คือ กลุ่มสหรัฐอเมริกา และ NATO และสหภาพยุโรป และกลุ่มของรัสเซียและจีน ที่จะมีผลต่อการลงทุนและเศรษฐกิจโลก

\"สุวัจน์\" ชี้ \"ทางออกเศรษฐกิจไทย\" ใช้จุดแข็งสร้างแพลตฟอร์มใหม่

สถานการณ์ด้านเศรษฐกิจของไทย ขณะนี้จากผลกระทบของ COVID และสงคราม  ทำให้เราต้องกู้เงินมาใช้จ่ายเพื่อต่อสู้กับปัญหา COVID  ทำให้ภาระด้านหนี้สาธารณะสูงกว่า 60%  ของ GDP และหนี้ครัวเรือนสูงกว่า 90% ของ GDP ซึ่งอาจจะกระทบต่อเครดิต    ด้านเสถียรภาพด้านการเงินและการคลัง  การขาดดุลงบประมาณแผ่นดินในแต่ละปีประมาณ 700,000 ล้าน และงบการลงทุนในงบประมาณแผ่นดินที่เหลือในสัดส่วนน้อยลงเพียงประมาณ 20%  เศรษฐกิจปีนี้ GDP อาจโตไม่ถึง 3%  นักท่องเที่ยวยังไม่กลับมาเป็นปกติ  แต่ก็เริ่มจะกลับมา ปีนี้อาจได้ไม่เกิน 10 ล้านคน จาก 40 ล้านคนที่เคยมา ปัญหาที่ประชาชนเดือดร้อนกันมากขณะนี้ คือ น้ำมันแพง ราคาไฟฟ้า และราคาสินค้าอุปโภคบริโภค ขึ้นราคา ท่ามกลางภาวะรายรับรายได้ของประชาชนที่กำลังลำบาก  เงินเฟ้อของประเทศปีนี้อาจถึง 5%

\"สุวัจน์\" ชี้ \"ทางออกเศรษฐกิจไทย\" ใช้จุดแข็งสร้างแพลตฟอร์มใหม่

จากสถานการณ์ด้านต่างๆของโลกรอบตัวเราในปัจจุบันและสถานการณ์ด้านเศรษฐกิจของประเทศไทยในขณะนี้ เราต้องร่วมกันหาทางออกเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจให้กลับมาและสร้าง Platform ใหม่ให้กับเศรษฐกิจของประเทศ  เพื่อความยั่งยืนและชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชน โดย FOCUS ต่อแนวทางต่างๆประมาณ 7 เรื่อง คือ

\"สุวัจน์\" ชี้ \"ทางออกเศรษฐกิจไทย\" ใช้จุดแข็งสร้างแพลตฟอร์มใหม่

1.หลังจากปัญหา COVID เริ่มคลี่คลายไปในทางที่ดีต้องเตรียมโครงการต่างๆในการกระตุ้นเศรษฐกิจไทยอย่างต่อเนื่องเพื่อการฟื้นตัว ต้องเตรียมงบประมาณให้เพียงพอถ้าจำเป็นต้องกู้เงินเพิ่ม  ก็ต้องระมัดระวังเรื่องเครดิตและเสถียรภาพ  ต้องกระตุ้นด้วยการสร้างงานอย่างจริงจัง ไม่เน้นประชานิยม  เหมือนให้เบ็ดไปตกปลา  ไม่ใช่ให้ปลาอย่างเดียว

\"สุวัจน์\" ชี้ \"ทางออกเศรษฐกิจไทย\" ใช้จุดแข็งสร้างแพลตฟอร์มใหม่

2.ปรับโครงสร้างการบริหารและการผลิตของภาครัฐและเอกชนให้สอดคล้องกับเทคโนโลยีในปัจจุบัน  ให้เกิดความทันสมัย  การผสมผสานระหว่าง เทคโนโลยีดิจิตอล  เทคโนโลยีชีวภาพ  และวิทยาศาสตร์ชีวภาพ  ได้ก่อให้เกิดสิ่งใหม่ในโลกยุคปัจจุบันมากมาย อาทิเช่น AI ,ROBOTICS ,BLOCKCHAIN ,เงินดิจิตอล ,พลังงานทดแทน ,รถยนต์ไฟฟ้า ,เศรษฐกิจดิจิตอล ,เศรษฐกิจ BCG ต่างๆ ซึ่งเราต้องปรับตัวให้ทันด้วยการใช้และพัฒนาเทคโนโลยีต่างๆ อย่างจริงจัง

3.ต้องเตรียมตัวต่อสู้ปัญหาเรื่องโลกร้อนเพราะจะกระทบต่อการส่งออกของสินค้าไทยในเรื่องมาตรการกีดกันทางการค้า  ถ้าระบบการผลิตไปมีผลต่อการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและก่อให้เกิดภาวะโลกร้อน ก็จะเจอกับกำแพงภาษีต่างๆ ก็จะกระทบการส่งออก  การปรับกระบวนการผลิตของ SME  และผู้ประกอบการที่เป็นห่วงโซ่การผลิตให้ทันกับอุตสาหกรรมใหม่ๆ ที่มากับภาวะโลกร้อน เช่น อุตสาหกรรมรถยนต์ไฟฟ้า  ซึ่งจะมีผลต่อ SME ที่เคยผลิตชิ้นส่วนต่างๆให้กับรถยนต์ที่วิ่งด้วยน้ำมัน  ว่าจะปรับตัวกันอย่างไรให้อยู่ได้และไทยจะยังเป็นผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่ของโลกต่อไป

\"สุวัจน์\" ชี้ \"ทางออกเศรษฐกิจไทย\" ใช้จุดแข็งสร้างแพลตฟอร์มใหม่

4.ต้องปรับโครงสร้างราคาพลังงานไม่ให้กระทบต่อประชาชนโดยเฉพาะราคาน้ำมันและราคาไฟฟ้า  ราคาน้ำมันมีองค์ประกอบที่สำคัญ 3 ส่วน  คือ  ราคาน้ำมันดิบ  ค่าการกลั่น  และค่าการตลาด ต้องศึกษารายละเอียดของโครงสร้างราคา คือ ค่าการกลั่นของโรงกลั่นน้ำมัน และค่าการตลาดของปั๊มน้ำมันต่างๆ ให้เกิดความเหมาะสม และเป็นธรรมกับทุกฝ่าย โดยเฉพาะผู้บริโภค  ในเรื่องราคาไฟฟ้า วันนี้ไฟฟ้าที่ผลิตจากพลังงานทดแทนต่างๆ ราคาถูกลงมาก เช่น พลังงานไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ ลงทุน  4 – 5 ปี ก็คืนทุนแล้ว  ควรนำพลังงานทดแทนต่างๆ มาเป็นพลังงานหลักของประเทศ  เพื่อลดสัดส่วนของการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานฟอสซิล จะสามารถลดราคาค่าไฟให้กับประชาชนได้เป็นอย่างมาก  และเมื่อค่าไฟและน้ำมัน ไม่แพงก็จะเป็นโครงสร้างพื้นฐานด้านการลงทุนให้กับประเทศด้วย

5.ปรับโครงสร้างผู้สูงอายุ  โดยขณะนี้มีผู้สูงอายุวัย 60 ปี ประมาณ 12 ล้านคน ผู้อยู่ในวัยทำงาน (15 – 59 ปี) มีประมาณ 43 ล้านคน สัดส่วนประชากรในวัยทำงานต่อผู้สูงอายุประมาณ  3.6 : 1  แต่อีก 20 ปี จะประมาณ  1.8 : 1  จะมีผลกระทบต่อกำลังการผลิตของประเทศ  และภาระด้านสวัสดิการต่างๆ  ผู้สูงอายุคือ  พลังที่สำคัญ เป็นผู้มากประสบการณ์  ควรต่ออายุการทำงานให้สูงขึ้นเป็นจากเกษียณ 60 ปี เป็น 70 ปี ทั้งภาครัฐและเอกชน

6.ใช้กลไกกระจายอำนาจมาเสริมสร้างประสิทธิภาพในการบริหารประเทศและลดความเหลื่อมล้ำ  กรณี COVID ก็เป็นตัวอย่างของความสำเร็จ  ที่มีความร่วมมือจากผู้นำท้องถิ่นต่างๆที่เข้ามาช่วยกันแก้ไขปัญหาการช่วยระดมการจัดหาวัคซีน หน้ากากอนามัย เจลล้างมือ และร่วมมือกันรักษาระยะห่าง ความร่วมมือของท้องถิ่นทำให้เราฝ่าวิกฤติมาได้

\"สุวัจน์\" ชี้ \"ทางออกเศรษฐกิจไทย\" ใช้จุดแข็งสร้างแพลตฟอร์มใหม่

7.สร้างแพลตฟอร์มใหม่ด้านเศรษฐกิจของไทยซึ่งมีจุดแข็งที่ใครมาแข่งกับเราไม่ได้คือ  ภาคเกษตร - อาหาร,การท่องเที่ยว - Soft Power และภูมิศาสตร์ของประเทศ  สร้างประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางการผลิตอาหารของโลกจากพื้นฐานสินค้าเกษตรที่เรามีอยู่  เช่น  ข้าว  ข้าวโพด  มันสำปะหลัง  น้ำมันปาล์ม  อ้อย  และยางพารา  และใช้ระบบอุตสาหกรรมมาสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าเกษตร  เพิ่มมูลค่าด้านการส่งออก  การสร้างงาน  การสร้างห่วงโซ่การผลิต  การสร้าง SME ต่างๆ ต้องมีแผนการทำงานด้านที่ชัดเจนต้องต่อยอดการท่องเที่ยวของไทย  ขยายเวลาการพำนักของนักท่องเที่ยวและขยายค่าใช้จ่ายต่อวัน จะเพิ่มรายได้อีกมหาศาล  เพิ่มจำนวนนักท่องเที่ยว  สร้างสินค้าด้านการท่องเที่ยวใหม่ๆ ให้เกิดขึ้น  ให้ประเทศไทยเป็นเมือง Wellness ของโลก  เมืองอาหารอร่อยของโลก  เป็น High End Destination เมืองท่องเที่ยววิถีชีวิตแบบชาวพุทธและสร้างตลาดท่องเที่ยวแบบ  Digital Nomad  จะทำให้เราขยายฐานนักท่องเที่ยวได้อีกเยอะ  ส่งเสริมต่อยอดเรื่องการใช้ Soft Power ของไทยที่มีวัฒนธรรม   ด้านอาหาร  การแต่งกาย  ศิลปะ  ดนตรี  กีฬา  มาใช้ประโยชน์ในการส่งเสริมภาพลักษณ์ด้านการท่องเที่ยวและการลงทุน มีการจัดตั้งกองทุน  Soft Power เพื่อมาพัฒนาและสร้าง Soft Power ของไทยสู่ตลาดโลกให้เกิดประโยชน์ด้านเศรษฐกิจ  ต้องวางแผนการพัฒนาประเทศให้สอดคล้องกับภูมิศาสตร์ของประเทศไทยที่ได้เปรียบ ที่เป็นศูนย์กลางของ ASEAN ให้สอดคล้องกับภูมิรัฐศาสตร์ที่อยู่รายล้อมไทย  สร้างไทยให้เป็นระเบียงเศรษฐกิจใหม่ของภูมิภาคนี้ในการเชื่อมโยงกับโลก   ก็จะทำให้ไทยเป็นฐานด้านการลงทุน  การค้า Logistic และการท่องเที่ยวของโลกต่อไป

อนึ่ง สิ่งที่สำคัญที่สุดที่จะทำให้ทุกอย่างสำเร็จคือ การเมืองต้องมีเสถียรภาพและคุณภาพทั้งด้านนโยบายและตัวบุคคลเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้นักลงทุน  และมีมืออาชีพมาช่วยกันบริหารประเทศ  และลดความขัดแย้งของการเมือง