"มะเร็งปอด" เพชฌฆาตเงียบคร่าชีวิต เช็กปัจจัยเสี่ยง อาการของโรค และการรักษา

"มะเร็งปอด" เพชฌฆาตเงียบคร่าชีวิต เช็กปัจจัยเสี่ยง อาการของโรค และการรักษา

"มะเร็งปอด" เพชฌฆาตเงียบคร่าชีวิต "หมอมนูญ" เผยปัจจัยเสี่ยง อาการของโรค และการรักษา ชี้แม้ไม่เคยสูบบุหรี่ก็เสี่ยงป่วยโรคนี้ได้ แนะตรวจคัดกรองมะเร็งปอดประจำปีลดสูญเสีย

วันที่ 9 มิถุนายน 2565 นายแพทย์มนูญ ลีเชวงวงศ์ หรือ "หมอมนูญ" ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบทางเดินหายใจ โรงพยาบาลวิชัยยุทธ โพสต์ข้อความผ่านเพจเฟซบุ๊ก "หมอมนูญ ลีเชวงวงศ์ FC" ระบุถึงปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรค "มะเร็งปอด"

 

 

หมอมนูญ ระบุว่า ประชาชนไทยจำนวนมากยังขาดความตระหนักรู้ด้านการคัดกรองโรค "มะเร็งปอด" ส่งผลให้ผู้ป่วยส่วนใหญ่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็น "มะเร็งปอดระยะสุดท้าย" ซึ่งมักมีอัตราการรอดชีวิตต่ำ

 

หากเจอ "มะเร็งปอดในระยะที่ 4" หรือ ระยะแพร่กระจาย ผู้ป่วยจะมีอัตราการรอดชีวิตที่ 5 ปี เพียง 0-10% เท่านั้น ถ้าเราเจอมะเร็งปอดระยะ 1 หรือ 2 ซึ่งก็คือ "ระยะเริ่มต้น" ผู้ป่วยจะมีอัตราการรอดชีวิตประมาณ 5 ปี สูงถึง 53-92% แต่อย่างไรก็ตามประเทศไทยตรวจพบ "มะเร็งปอดระยะเริ่มต้น" เพียงแค่ 15% เท่านั้น

 

ดังนั้นผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งปอด ได้แก่ สูบบุหรี่, หายใจควันบุหรี่มือสอง, ควันธูป, ควันจากการเผากระดาษเงินกระดาษทอง, ควันจากเตาถ่านในการหุงต้มปิ้งย่าง, ควันจากท่อไอเสียรถยนต์, ก๊าชเรดอน, สารเคมีก่อมะเร็ง, แร่ใยหิน, โลหะหนัก, ฝุ่น PM2.5

 

หรือมีคนในครอบครัวป่วยเป็นมะเร็งปอด เคยมีประวัติเป็นมะเร็งชนิดอื่นหรือเป็นโรคเรื้อรังที่เกี่ยวกับปอด เช่น โรคถุงลมโป่งพอง พังผืดในปอดมาก่อน จึงควรใส่ใจ

 

 

สัญญาณเตือนด้านสุขภาพ

 

หากสังเกตว่าตนเองหรือคนใกล้ชิดมีอาการต่อไปนี้ควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อเข้ารับตรวจคัดกรองมะเร็งปอด เช่น เสียงแหบ เสียงเปลี่ยน ไอเรื้อรัง ไอมีเสมหะปนเลือด หายใจมีเสียงหวีด เจ็บหน้าอก เบื่ออาหาร น้ำหนักลดเป็นต้น ควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อเข้ารับตรวจคัดกรองมะเร็งปอด

 

วิธีการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ช่องอกแบบใช้รังสีต่ำ หรือ Low dose CT Scan มีความแม่นยำกว่าการเอกซเรย์ทรวงอกถึง 6 เท่า ส่งผลให้พบ "มะเร็งปอด" ได้รวดเร็วตั้งแต่ระยะเริ่มต้น ช่วยลดอัตราการเสียชีวิตจากโรคมะเร็งปอดลงได้ 20%

 

National Comprehensive Cancer Network (NCCN) ระบุว่า กลุ่มเสี่ยงสูงที่จะเกิดมะเร็งปอด ได้แก่ ผู้ที่มีอายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป และมีประวัติการสูบบุหรี่มากกว่า 20 pack-year ควรได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปอดประจำปี ด้วย Low dose CT Scan ในขณะที่ผู้ที่อาจมีปัจจัยเสี่ยงหรือผู้ที่ใส่ใจสุขภาพก็สามารถปรึกษาแพทย์เพื่อขอเข้ารับตรวจคัดกรองด้วยวิธีดังกล่าวได้เช่นกัน เพราะมะเร็งปอดคร่าชีวิตคนไทยปีละ 2 หมื่นกว่าคน ถือเป็นภัยสุขภาพที่คุกคามร่างกายอย่างเงียบๆ

 

ทั้งนี้ "หมอมนูญ" ยังระบุอีกว่า เปรียบเทียบข้อดีและข้อจำกัดของแต่ละวิธีในการคัดกรองมะเร็งปอด

 

เอกซเรย์ทรวงอก หรือ chest X-ray ทำได้ง่ายและรวดเร็ว เสียค่าใช้จ่ายน้อย แต่มีประสิทธิภาพไม่มากพอที่จะคัดกรองมะเร็งปอดในระยะเริ่มต้นที่มีขนาดเล็กกว่า 1 เซนติเมตร และถ้าอยู่ในตำแหน่งที่หัวใจ กระบังลม หรือกระดูกมาบดบังยิ่งทำให้มองไม่เห็นก้อนผิดปกติได้

 

ส่วนการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ หรือ CT Scan มีความแม่นยำสูงกว่ามาก แต่เป็นวิธีที่ได้รับกัมมันตภาพรังสีมากกว่าเอกซเรย์ปอดถึง 120 เท่า

 

ส่วนวิธีการตรวจเอกเรย์คอมพิวเตอร์ช่องอกแบบใช้รังสีต่ำ หรือ low-dose CT Scan มีความแม่นยำกว่าเอกซเรย์ทรวงอก เห็นก้อนขนาดตั้งแต่ 2-3 มิลลิเมตรขึ้นไป เห็นได้ทุกตำแหน่ง เพราะเห็น 3 มิติ ส่งผลให้พบมะเร็งปอดได้รวดเร็วตั้งแต่ระยะเริ่มต้น ช่วยลดอัตราการเสียชีวิตจากโรคมะเร็งปอดลงได้ 20%

 

ดังนั้น การตรวจเอกเรย์คอมพิวเตอร์ช่องอกแบบใช้รังสีต่ำจึงเป็นวิธีการตรวจคัดกรองมะเร็งปอดที่มีมาตรฐานและมีประสิทธิภาพ คนไข้ได้รับกัมมันตภาพรังสีน้อยกว่าการทำเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ธรรมดา 8 เท่า เปรียบได้กับได้รับกัมมันตภาพรังสีจากการทำเอกซเรย์ปอด 15 ครั้ง

 

ยกตัวอย่างผู้ป่วยหญิงอายุ 80 ปี ไม่สูบบุหรี่ ไม่ไอ ไม่เหนื่อย น้ำหนักลด 7 กิโลกรัมในเวลา 6 เดือน ตรวจ CEA ค่ามะเร็งในเลือดสูง 19 (ค่าปกติน้อยกว่า 4.3) เอกซเรย์ปอดเฉพาะด้านหน้าไม่พบอะไรผิดปกติ (ดูรูป) คอมพิวเตอร์ทรวงอกในวันเดียวกัน เห็นก้อนขนาด 2.5 เซนติเมตรที่ปอดข้างซ้ายด้านล่าง อยู่ด้านหลังของหัวใจ จึงทำให้เอกซเรย์ปอดไม่เห็นก้อนผิดปกติ (ดูรูป)

 

\"มะเร็งปอด\" เพชฌฆาตเงียบคร่าชีวิต เช็กปัจจัยเสี่ยง อาการของโรค และการรักษา

 

\"มะเร็งปอด\" เพชฌฆาตเงียบคร่าชีวิต เช็กปัจจัยเสี่ยง อาการของโรค และการรักษา

 

\"มะเร็งปอด\" เพชฌฆาตเงียบคร่าชีวิต เช็กปัจจัยเสี่ยง อาการของโรค และการรักษา

 

\"มะเร็งปอด\" เพชฌฆาตเงียบคร่าชีวิต เช็กปัจจัยเสี่ยง อาการของโรค และการรักษา