"ประกันสังคม" อัปเดตสิทธิผู้ประกันตน ม.33 ม.39 ม.40 รับเงิน-เบิกเงิน

"ประกันสังคม" อัปเดตสิทธิผู้ประกันตน ม.33 ม.39 ม.40 รับเงิน-เบิกเงิน

สำนักงานประกันสังคม ประกันสังคม ถาม-ตอบ อัปเดตสิทธิผู้ประกันตน ม.33 ม.39 และ ม.40 สิทธิรับเงิน เบิกเงิน กรณีออกจากงาน เงินสมทบที่ถูกหักใช้ลดหย่อนภาษี กรณีเบิกเงินทดแทนหากติดเชื้อโควิด-19 

สำนักงานประกันสังคม ประกันสังคม ถาม-ตอบ อัปเดตสิทธิผู้ประกันตน ม.33 ม.39 และ ม.40 สิทธิรับเงิน เบิกเงิน เช่น กรณีออกจากงาน เงินสมทบที่ถูกหักใช้ลดหย่อนภาษี กรณีเบิกเงินทดแทนหากติดเชื้อโควิด-19 

 

 

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

- "ประกันสังคม" ถาม-ตอบสิทธิประโยชน์ผู้ประกันตน ม.33 ม.39 ม.40 ขอรับเงินต่างๆ

- "ประกันสังคม" แจ้งผู้ประกันตน ม.33 รับเงินทดแทนว่างงาน เช็กครบจบที่นี่

- เช็ก "ประกันสังคม" กองทุนเงินทดแทนช่วยเหลือลูกจ้าง กรณีเรื่องร้ายทำงาน

 

1.ออกจากงานจะได้รับสิทธิอะไรจากประกันสังคมบ้าง

ตอบ : ผู้ประกันตนจะได้รับความคุ้มครองจากกองทุนประกันสังคมต่ออีก 6 เดือน หลังจากออกจากงานใน 4 กรณี ได้แก่ เจ็บป่วย คลอดบุตร ทุพพลภาพ เสียชีวิต เงินทดแทนการขาดรายได้ระหว่างว่างงานทั้งกรณีลาออก สิ้นสุดสัญญาจ้าง ถูกเลิกจ้าง หรือออกจากงานเนื่องจากเหตุสุดวิสัย และเมื่อผู้ประกันตนอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ สามารถรับเงินสะสมชราภาพได้

 

2.เงินสมทบที่ถูกหักประกันสังคม ลดหย่อนภาษีได้หรือไม่

ตอบ ได้ ดังนี้ 

  • ผู้ประกันตนมาตรา 33 สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ตามจำนวนเงินที่จ่ายจริงไม่เกิน 9,000 บาท (750*12 เดือน = 9,000 บาท) แต่ในปี 2564 มีการลดเงินสมทบจะลดหย่อนสูงสุดไม่เกิน 5,100 บาท 
  • ผู้ประกันตนมาตรา 39 สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ตามจำนวนเงินที่จ่ายจริงไม่เกิน 5,184 บาท (432*12 = 5,184 บาท) แต่ในปี 2564 มีการลดเงินสมทบจะลดหย่อนสูงสุดไม่เกิน 3,003 บาท
  • ผู้ประกันตนมาตรา 40 สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ตามจำนวนเงินที่จ่ายจริงไม่เกิน 3,600 บาท (300*12 = 3,600 บาท) แต่ในปี 2564 มีการลดเงินสมทบ ดังนี้ 

(1) ทางเลือกที่ 1 ลดหย่อนสูงสุดไม่เกิน 700 บาท

(2) ทางเลือกที่ 2 ลดหย่อนสูงสุดไม่เกิน 1,000 บาท

(3) ทางเลือกที่ 3 ลดหย่อนสูงสุดไม่เกิน 3,000 บาท

 

3.ผู้ประกันตนมาตรา 39 ได้กลับเข้าทำงานเป็นลูกจ้างต้องทำอย่างไร

ตอบ : ผู้ประกันตนได้งานประจำในสถานประกอบการไม่ต้องทำเรื่องลาออกจากการเป็นผู้ประกันตนมาตรา 39 เนื่องจากนายจ้างจะดำเนินการขึ้นทะเบียนผู้ประกันตนย้ายมาตราเป็นมาตรา 33 ให้ภายใน 30 วันนับตั้งแต่วันที่เข้าทำงาน

 

 

4.ผู้ประกันตนจะถูกตัดสิทธิกรณีสงเคราะห์บุตรเนื่องจากสาเหตุใดบ้าง

ตอบ : สาเหตุที่ผู้ประกันตนถูกตัดสิทธิกรณีสงเคราะห์บุตร ได้แก่ บุตรอายุครบ 6 ปีบีบูรณ์ , บุตรเสียชีวิต , ยกบุตรให้เป็นบุตรบุญธรรมของผู้อื่น , ความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุด

 

5.ผู้ประกันตนติดเชื้อโควิด-19 เบิกเงินทดแทนได้หรือไม่ 

ตอบ : ผู้ประกันตนตัดเชื้อโควิด-19 สามารถเบิกเงินกดแทนการขาดรายได้ ดังนี้

1. ผู้ประกันตนตามมาตรา 33 กรณีลาป่วย : ผู้ประกันตนหยุดพักรักษาตัว รับค่าจ้าง 30 วันแรกจากนายจ๋าง แต่หากเกิน 30 วัน (ในปีปฏิทิน) สามารถเบิกเงินทดแทน การขาดรายได้จากประกันสังคม โดยได้รับร้อยละ 50 ของค่าจ้างไม่เกิน 15,000 บาทครั้งละไม่เกิน 90 วัน ปีละไม่เกิน 180 วัน

2. ผู้ประกันตนตามมาตรา 39 รับเงินทดแทนการขาดรายได้ร้อยละ 50 โดยคิดจากฐานอัตราการนำส่งเงินสมทบ (4,800 บาท) ครั้งละไม่เกิน 90 วัน ปีละไม่เกิน 180 วัน

3.ผู้ประกันตนตามมาตรา 40 รับเงินทดแทนการขาดรายได้

  • เงินทดแทนการขาดรายได้วันละ 300 บาท กรณีที่เข้ารับการรักษาประเภทผู้ป่วยใน /โรงพยาบาลสนาม / Hospitel ตั้งแต่ 1 วันขึ้นไป
  • เงินทดแทนการขาดรายได้วันละ 200 บาท กรณีมีความเห็นแพทย์ให้หยุดพักรักษาตัวหรือพักกักตัวที่บ้าน (Home Isolation) หรือแยกกักตัวในชุมชน (Community Isolation) ตั้งแต่ 3 วันขึ้นไป
  • เงินทดแทนการขาดรายได้ครั้งละ 50 บาท (เฉพาะผู้ประกันตนทางเลือกที่ 1 และ 2) กรณีไปพบแพทย์ แต่ไม่ได้เข้ารับการรักษาประเภทผู้ป่วยในและไม่ได้มีความเห็นแพทย์ให้หยุดพักรักษาตัวหรือพักกักตัว โดยต้องมีใบรับรองแพทย์มาแสดงต่อสำนักงานประกันสังคม

 

ผู้ประกันตนตามมาตรา 33 และ 39 ต้องส่งเงินสมทบ 3 เดือน ภายในระยะเว้ลา 15 เดือน ก่อนวันรับบริการทางการแพทย์ ตามหลักเกณฑ์เงื่อนไขฯ

 

ผู้ประกันตนตามมาตรา 40 ต้องส่งเงินสมทบ 3 เดือน ภายในระยะเวลา 4 เดือนก่อนเดือนที่ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยตามหลักเกณฑ์เงื่อนไขฯ

 

ทั้งนี้ การวินิจฉัยจะพิจารณาจากเอกสารหลักฐานและใบรับรองแพทย์

 

"ประกันสังคม" อัปเดตสิทธิผู้ประกันตน ม.33 ม.39 ม.40 รับเงิน-เบิกเงิน

 

"ประกันสังคม" อัปเดตสิทธิผู้ประกันตน ม.33 ม.39 ม.40 รับเงิน-เบิกเงิน