เซจง (Sejong) 1 : เมืองหลวงบริหารแห่งใหม่ พาชม 'หอจดหมายเหตุประธานาธิบดี'

เซจง (Sejong) 1 : เมืองหลวงบริหารแห่งใหม่ พาชม 'หอจดหมายเหตุประธานาธิบดี'

รู้จัก เซจง (Sejong) เมืองหลวงบริหารแห่งใหม่ของเกาหลีใต้ย้ายจากโซล ชมที่นี่แห่งแรกแห่งเดียวของเกาหลีใต้ 'หอจดหมายเหตุประธานาธิบดี' รวมเอกสารประวัติศาสตร์กว่าจะเป็นเกาหลีใต้ จำลองห้องภายใน 'ทำเนียบสีน้ำเงิน' ให้สัมผัสใกล้ชิด ของขวัญทางการทูตล้ำความหมาย

เกาหลีใต้ ยังมีการผจญภัยฉากใหม่ๆ สำหรับนักท่องเที่ยวและนักเดินทางที่อยากเห็น อยากค้นหา และอยากสัมผัสมากกว่าเมืองหลวงอย่าง ‘กรุงโซล’ เคยมอบให้

คุณเคยเดินทางไปยัง 4 เมืองนี้หรือยัง Sejong (เซจง), Chungnam (ชุงนัม), Daejeon (แดจอน) และ Chungbuk (ชุงบุก) 4 เมืองนี้ในเกาหลีใต้ต่างก็มีเสน่ห์ของแหล่งท่องเที่ยวที่น่าประทับใจและตื่นเต้นต่างกันไป

เริ่มกันที่เมือง เซจง (Sejong)

 

เซจง (Sejong) 1 : เมืองหลวงบริหารแห่งใหม่ พาชม \'หอจดหมายเหตุประธานาธิบดี\' ย่านเศรษฐกิจนครเซจง (Sejong)

เซจง (Sejong)

ใครเป็นแฟนซีรีส์อิงประวัติศาสตร์เกาหลีคงคุ้นชื่อ เซจง เนื่องจากเป็นพระนามกษัตริย์แห่งราชวงศ์โชซอนของเกาหลี ปรากฏในซีรีส์เรื่อง Tree with Deep Roots หรือในชื่อไทย ‘จอมกษัตริย์ตำนานอักษร’ โดยมี ซง จุง-กิ รับบทเป็นกษัตริย์เซจง

เมือง ‘เซจง’ ได้รับการตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติแก่กษัตริย์เซจงมหาราช กษัตริย์องค์ที่ 4 แห่งราชวงศ์โชซอน พระองค์ทรงเป็นผู้ประดิษฐ์  Hangul หรืออักษรเกาหลี มีอนุสาวรีย์ของกษัตริย์เซจงประดิษฐานอยู่ในกรุงโซล

เมืองเซจงอยู่ห่างจากกรุงโซลลงมาทางใต้ประมาณ 121 กิโลเมตร ใช้เวลาขับรถราว 1 ชั่วโมง 25 นาที

 

เซจง (Sejong) 1 : เมืองหลวงบริหารแห่งใหม่ พาชม \'หอจดหมายเหตุประธานาธิบดี\' งานศิลปะสร้างความสุนทรีย์ ต้นไม้เพิ่มความเป็นธรรมชาติ กระจายทั่วย่านเศรษฐกิจเซจง

เมืองปกครองตนเองพิเศษเซจง

เซจง เป็นเมืองใหม่ ก่อตั้งขึ้นในปีพ.ศ.2550 ในฐานะเมืองหลวงบริหารแห่งใหม่ของเกาหลีใต้ โดยใช้พื้นที่จากหลายส่วนของจังหวัดชุงชองใต้ (South Chungcheong) และบางส่วนของจังหวัดชุงชองเหนือ (North Chungcheong) เพื่อลดความแออัดใน ‘กรุงโซล’ เมืองหลวงปัจจุบัน และเพื่อส่งเสริมการลงทุนในภาคกลางของประเทศ

ด้วยความเป็นที่ตั้งของกระทรวงและหน่วยงานราชการ ทำให้เมืองใหม่เซจงเต็มไปด้วยภาพของอาคารทรงสี่เหลี่ยม ที่อยู่อาศัยที่กลายเป็นหมู่ตึกสูงกระจายตัวอยู่ทั่วไปเป็นวงกว้าง

แต่เนื่องจากได้รับการวางผังเมืองอย่างดี ทำให้เมืองใหม่เซจงแม้มีความเป็นเมือง แต่ในเรื่องของธรรมชาติก็ได้รับการคำนึงถึงและให้ความสำคัญอย่างมาก โดยรัฐบาลกำหนดให้มีการขุดทะเลสาบเทียมที่ใหญ่ที่สุดในเกาหลี มีพื้นที่ใหญ่กว่าสนามฟุตบอล 62 เท่า เปิดเป็นสวนสาธารณะ 

เซจง (Sejong) 1 : เมืองหลวงบริหารแห่งใหม่ พาชม \'หอจดหมายเหตุประธานาธิบดี\' อาคารดีไซน์ทันสมัยในย่านเศรษฐกิจเมืองเซจง มีให้ถ่ายรูปมากมาย

เซจง (Sejong) 1 : เมืองหลวงบริหารแห่งใหม่ พาชม \'หอจดหมายเหตุประธานาธิบดี\' เส้นทางจักรยาน ทางเดินเท้า เส้นทางเดินรถยนต์ แยกกันอย่างชัดเจน
 

ระหว่างหมู่ตึกสูงในเมือง ออกแบบให้มีพื้นที่สีเขียวกระจายตัวเป็นช่วงๆ ให้คนเมืองได้ใช้ประโยชน์พักผ่อนหย่อนใจ มีการปลูกต้นไม้บังส่วนล่างของผนังอาคารคอนกรีตและปลูกไว้ตามข้างทางเดินเท้า ดูร่มรื่น สบายตา มีทางจักรยานเป็นสัดส่วน หนทางสะอาดสะอ้าน

รัฐบาลเกาหลีใต้ย้ายกระทรวงและหน่วยงานราชการจำนวนมากมาอยู่ที่เซจงตั้งแต่ปีพ.ศ.2555 เซจงจึงมีฐานะเป็นเมืองศูนย์กลางราชการ และมีชื่อเป็นทางการว่า ‘เมืองปกครองตนเองพิเศษเซจง’

แต่ก็ยังมีอีกหลายหน่วยงานที่กระจายอยู่ในเมืองอื่นๆ โดยเฉพาะกรุงโซลยังคงเป็นที่ตั้งของรัฐสภาและหน่วยงานรัฐบาลสำคัญหลายแห่ง
 

เซจง (Sejong) 1 : เมืองหลวงบริหารแห่งใหม่ พาชม \'หอจดหมายเหตุประธานาธิบดี\' สถาปัตยกรรมทรงลูกบาศก์ของอาคาร ‘หอจดหมายเหตุประธานาธิบดี’

หอจดหมายเหตุประธานาธิบดี

สถานที่ที่มีเพียงหนึ่งเดียวในเกาหลีใต้และตั้งอยู่ที่นครเซจง คือ Presidential Archives (Presidential Archives of Sejong) หรือ หอจดหมายเหตุประธานาธิบดี โดดเด่นสวยงามตั้งแต่รูปลักษณ์อาคารภายนอกที่ได้รับการออกแบบให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ตั้งอยู่ริมทะเลสาบเซจง

วัตถุประสงค์ของ หอจดหมายเหตุประธานาธิบดี คือการรวบรวมบันทึกของประธานาธิบดีที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์อันยิ่งใหญ่ของสาธารณรัฐเกาหลี ซึ่งสามารถแสดงให้เห็นถึง 'เมื่อวาน วันนี้ และอนาคตของชาติ' และเพื่อเปิดมุมมองใหม่ของการวิจัยนโยบายและประวัติศาสตร์ของเกาหลี

อาคารภายนอกออกแบบให้ดูเหมือนเป็นกล่องโปร่งใสภายในกล่องโปร่งใสอีกชั้น เมื่อมองจากระยะไกลตัวอาคารจึงดูเหมือนลูกบาศก์โปร่งใสขนาดมหึมา 

กล่องโปร่งใสแบบนี้ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้ ‘พลังงาน’ โดยชั้นภายนอกที่โปร่งใสของลูกบาศก์ทำงานเป็นระบบท่อเย็นแนวตั้ง ทำให้อาคารเย็นลงในช่วงฤดูร้อน ในขณะเดียวกันก็ช่วยระบายอากาศตามธรรมชาติในช่วงฤดูใบไม้ผลิและฤดูใบไม้ร่วง

รูปลักษณ์อาคารที่ดูเหมือนกล่องนี้ได้รับแรงบันดาลใจจาก กล่องเก็บตราประทับแห่งชาติ ซึ่งประธานาธิบดีเกาหลีใต้ใช้ลงนามในเอกสารการบริหารและการทูตอย่างเป็นทางการ

วัสดุหลักของ ‘กล่องเก็บตราประทับแห่งชาติ’ ทำด้วย ทองเหลือง และ ไม้ ได้รับการตีความใหม่เป็น หิน และ กระจก (ตามลำดับ) หมายถึง ประวัติศาสตร์และปัจจุบัน

รูปทรงลูกบาศก์ยังมีความหมายถึง พื้นดิน บูรณภาพ ความสำเร็จ และเป็นการแสดงออกถึงความสำคัญและความคงทนของบันทึกของประธานาธิบดี

ภายใน ‘หอจดหมายเหตุของประธานาธิบดี’ ประกอบด้วยส่วนจัดแสดงวัตถุ-เอกสาร ห้องเสมือนจริง พิพิธภัณฑ์วัฒนธรรม ห้องนิทรรศการพิเศษ และร้านกาแฟ

 

เซจง (Sejong) 1 : เมืองหลวงบริหารแห่งใหม่ พาชม \'หอจดหมายเหตุประธานาธิบดี\' โถงต้อนรับนักท่องเที่ยวภายใน 'หอจดหมายเหตุประธานาธิบดี'

รถยนต์พิธีทางการ – ใบหน้าจากตัวอักษร

หอจดหมายเหตุประธานาธิบดี (Presidential Archives of Sejong) มีพิธีเปิดเมื่อวันที่ 14 มกราคม 2559 ประกอบด้วยชั้นเหนือพื้นดิน 4 ชั้น และชั้นใต้ดิน 2 ชั้น ก่อนเข้าไปในอาคาร เราต้องวางกระเป๋าที่นำติดตัวไปผ่านเครื่องเอ็กซ์เรย์ 

Presidential Archives of Sejong (หอจดหมายเหตุประธานาธิบดี) ต้อนรับผู้มาเยือนด้วยด้วยโถงขนาดใหญ่ เพดานสูงราวเข้ามาในมหาวิหาร

เซจง (Sejong) 1 : เมืองหลวงบริหารแห่งใหม่ พาชม \'หอจดหมายเหตุประธานาธิบดี\' การฉาย mapping ภายในโถงต้อนรับหอจดหมายเหตุฯ

เซจง (Sejong) 1 : เมืองหลวงบริหารแห่งใหม่ พาชม \'หอจดหมายเหตุประธานาธิบดี\'

เซจง (Sejong) 1 : เมืองหลวงบริหารแห่งใหม่ พาชม \'หอจดหมายเหตุประธานาธิบดี\' จาก Mappingโมเสกอักษรภาษาเกาหลีกลายเป็นภาพใบหน้าประธานาธิบดี

ผนังอาคารราบเรียบเหนือเคาน์เตอร์อินฟอร์เมชั่นดึงดูดสายตาทันทีจากการใช้ประโยชน์เป็นจอภาพ mapping  มีลูกเล่นให้ติดตามตรงการฉายภาพโมเสกตัวอักษรเกาหลีเล็กๆ ขึ้นไปบนผนัง แล้วโมเสกนั้นค่อยๆ รวมตัวกันเป็นภาพใบหน้าประธานาธิบดีแห่งเกาหลีใต้ตามวาระที่ผ่านมา

เซจง (Sejong) 1 : เมืองหลวงบริหารแห่งใหม่ พาชม \'หอจดหมายเหตุประธานาธิบดี\' รถประจำตำแหน่งประธานาธิบดีเกาหลีใต้

ด้านในสุดของห้องโถงนี้ จัดแสดง ยานพาหนะใช้งานในพิธีทางการ เช่นการทูตและพิธีทางการโดยประธานาธิบดีหรือบุคคลระดับสูงที่เป็นตัวแทนของประเทศ 

บนพื้นห้องมีเครื่องหมายให้ยืนถ่ายรูป แล้วจะได้รูปคู่รถยนต์คันนี้ในมุมที่เห็นตัวรถและป้ายทะเบียนตรานกฟินิกซ์ซึ่งบ่งบอกว่าเป็นรถประธานาธิบดีเกาหลีใต้

เซจง (Sejong) 1 : เมืองหลวงบริหารแห่งใหม่ พาชม \'หอจดหมายเหตุประธานาธิบดี\' ห้อง The Presidential Emblem

เซจง (Sejong) 1 : เมืองหลวงบริหารแห่งใหม่ พาชม \'หอจดหมายเหตุประธานาธิบดี\' รู้จักอดีตประธานาธิบดีเกาหลีใต้

เซจง (Sejong) 1 : เมืองหลวงบริหารแห่งใหม่ พาชม \'หอจดหมายเหตุประธานาธิบดี\' ภาพใบหน้าที่เกิดจากศิลปะการซ้อนทับตัวอักษร

ด้านซ้ายมือของพื้นที่จัดแสดงรถยนต์ในงานพิธีการ เป็นประตูทางเข้าสู่ ห้อง The Presidential Emblem มองไกลๆ ก็คือภาพใบหน้าของอดีตประธานาธิบดีเกาหลีใต้ แต่หากเดินเข้าไปใกล้หรือมองจากด้านข้างจะพบว่าแท้จริงแล้ว ภาพใบหน้านี้เกิดจากการนำตัวอักษรภาษาเกาหลีมาเรียงซ้อนกัน และตัวอักษรเกาหลีเหล่านี้ก็คือชื่อโครงการต่างๆ หรือผลงานของประธานาธิบดีแต่ละท่าน

เมื่อเดินชมชั้น 1 (ground floor) เสร็จแล้ว มัคคุเทศก์แนะนำให้กดลิฟต์ขึ้นไปชมชั้น 4 แล้วค่อยๆ เดินลงมาชมแต่ละชั้น

 

เซจง (Sejong) 1 : เมืองหลวงบริหารแห่งใหม่ พาชม \'หอจดหมายเหตุประธานาธิบดี\' ชั้น 4 : นิทรรศการประวัติการปกครองและการเมืองเกาหลีใต้

ระบบประธานาธิบดีเกาหลีไต้

ชั้น 4 จัดแสดงเนื้อหาที่ขึ้นป้ายไว้ว่า The Role of the President (บทบาทของประธานาธิบดี) ประกอบด้วยภาพถ่ายในอดีต เอกสารลายมือ วัตถุโบราณตั้งแต่ยุคเกาหลีถูกรุกรานยึดครอง การเรียกร้องอิสรภาพ

รวมทั้งประวัติโดยละเอียดของการเลือกตั้งระบบประธานาธิบดีเกาหลีได้ที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี พ.ศ.2491 จากระบบการเลือกตั้งทางอ้อม สู่ระบบการเลือกตั้งโดยตรงต่อหน้ารัฐบาลรัฐสภา และในที่สุดก็กลับไปสู่ระบบการเลือกตั้งโดยตรงซึ่งดำเนินมาจนถึงปัจจุบัน

เซจง (Sejong) 1 : เมืองหลวงบริหารแห่งใหม่ พาชม \'หอจดหมายเหตุประธานาธิบดี\' เอกสารหลักฐานประวัติศาสตร์การเมืองการปกครองเกาหลีใต้

เซจง (Sejong) 1 : เมืองหลวงบริหารแห่งใหม่ พาชม \'หอจดหมายเหตุประธานาธิบดี\' วัตถุจัดแสดงที่ห้องนิทรรศการ ชั้น 4

เซจง (Sejong) 1 : เมืองหลวงบริหารแห่งใหม่ พาชม \'หอจดหมายเหตุประธานาธิบดี\'

มัคคุเทศก์กล่าวว่า บอร์ดนิทรรศการพูดถึงความรับผิดชอบและหน้าที่ต่างๆ ของประธานาธิบดีเกาหลี เช่น 

  • ประธานาธิบดีมีสิทธิและความรับผิดชอบในการสร้างองค์กรของรัฐ 
  • ประธานาธิบดีเป็นตัวแทนของรัฐที่ติดต่อกับรัฐต่างประเทศ มีความรับผิดชอบและหน้าที่ในการปกป้องเอกราช บูรณภาพแห่งดินแดน ความต่อเนื่องของรัฐและรัฐธรรมนูญ

น่าเสียดายที่บอร์ดส่วนใหญ่เป็นภาษาเกาหลี เราไม่สามารถทำความเข้าใจได้ด้วยตนเอง

 

เซจง (Sejong) 1 : เมืองหลวงบริหารแห่งใหม่ พาชม \'หอจดหมายเหตุประธานาธิบดี\' การจำลอง ‘ห้องรับรอง’ ภายใน BLue House หรือ 'ทำเนียบสีน้ำเงิน'

สัมผัสชีวิตประจำวันประธานาธิบดีเกาหลีใน Blue House

เมื่อก่อน ชอง วา แด (Cheong Wa Dae) หรือ ทำเนียบประธานาธิบดีเกาหลีใต้ ในกรุงโซลซึ่งมีหลังคาสีน้ำเงินจึงเรียกกันอีกชื่อว่า Blue House นักท่องเที่ยวยืนดูได้จากนอกรั้วไกลๆ 

แต่ห้องนิทรรศการบนชั้น 3 ของ ‘หอจดหมายเหตุประธานาธิบดี’ ที่มีชื่อว่า The President’s Space (พื้นที่ของประธานาธิบดี) ทำให้เรามีโอกาสเหมือนเข้าไปเดินอยู่ใน Blue House หรือ ‘ทำเนียบสีน้ำเงิน’

เซจง (Sejong) 1 : เมืองหลวงบริหารแห่งใหม่ พาชม \'หอจดหมายเหตุประธานาธิบดี\' ห้องทำงานประธานาธิบดีในทำเนียบสีน้ำเงิน

เซจง (Sejong) 1 : เมืองหลวงบริหารแห่งใหม่ พาชม \'หอจดหมายเหตุประธานาธิบดี\' ห้องถ่ายทอดการแถลงข่าวภายในทำเนียบสีน้ำเงิน

นิทรรศการชั้นนี้จัดแสดงการจำลองห้องต่างๆ ตามแบบใน ‘ทำเนียบสีน้ำเงิน’ ทั้งดีไซน์และเฟอร์นิเจอร์ อาทิ ห้องทำงานประธานาธิบดี (The President’s Private Office) ห้องรับรองแขกระดับรัฐพิธีและรัฐต่อรัฐ (Reception Room) 

ไม่เว้นแม้แต่ ห้อง Chunchugwan (ชุนซุกวาน) ห้องที่เป็นศูนย์ข่าวและใช้บันทึกเทปถ่ายทอดการปราศรัยของประธานาธิบดีในทำเนียบสีน้ำเงิน ก็จำลองมาให้ผู้เข้าชมได้ลองไปยืนเข้ากล้องในตำแหน่งที่ประธานาธิบดีทำหน้าที่

 

เซจง (Sejong) 1 : เมืองหลวงบริหารแห่งใหม่ พาชม \'หอจดหมายเหตุประธานาธิบดี\' แบบจำลองการบริหารจัดการแหล่งน้ำ โครงการพระราชดำริในรัชกาลที่ 9 ของประเทศไทย ได้รับการจัดแสดงไว้ในห้อง Presidential Gifts

ของขวัญล้ำค่า

เมื่อเดินลงมาถึงชั้น 2 จะพบกับพื้นที่ Presidential Gifts เราจะได้ชมการจัดแสดงของขวัญล้ำค่าจากราชวงศ์ ผู้นำประเทศและบุคคลผู้มีชื่อเสียงทั้งในและต่างประเทศของเกาหลีใต้ ได้รับการรวบรวมเก็บรักษาและจัดแสดงไว้ที่นี่

เซจง (Sejong) 1 : เมืองหลวงบริหารแห่งใหม่ พาชม \'หอจดหมายเหตุประธานาธิบดี\'

ของขวัญจาก บารัก โอบามา มอบให้ อี มย็อง-บัก ในโอกาสเยือนทำเนียบขาว สหรัฐอเมริกา ค.ศ.2009

เซจง (Sejong) 1 : เมืองหลวงบริหารแห่งใหม่ พาชม \'หอจดหมายเหตุประธานาธิบดี\' ของขวัญจัดแสดงภายในห้อง Presidential Gifts

เซจง (Sejong) 1 : เมืองหลวงบริหารแห่งใหม่ พาชม \'หอจดหมายเหตุประธานาธิบดี\' เซจง (Sejong) 1 : เมืองหลวงบริหารแห่งใหม่ พาชม \'หอจดหมายเหตุประธานาธิบดี\' เซจง (Sejong) 1 : เมืองหลวงบริหารแห่งใหม่ พาชม \'หอจดหมายเหตุประธานาธิบดี\' ของขวัญจัดแสดงภายในห้อง Presidential Gifts

ของขวัญแต่ละชิ้นมีความงดงาม สะท้อนความสัมพันธ์ ความเชื่อ งานฝีมือ ศิลปวัฒนธรรมของแต่ละชนชาติที่ต่างก็มีเอกลักษณ์เรื่องราวแตกต่างกันไป

อาทิ เครื่องปั้นดินเผา เครื่องกระเบื้อง เรือใบจำลอง ตุ๊กตา แจกัน หนังสือ และเครื่องประดับ ทุกชิ้นเขียนข้อความกำกับเป็นภาษาเกาหลี

เดินเข้ามาในพื้นที่นี้เหมือนเดินอยู่ในพิพิธภัณฑ์ระดับนานาชาติ เต็มไปด้วยของล้ำค่าทั้งความหมายและงานฝีมือเชิงช่าง

 

เซจง (Sejong) 1 : เมืองหลวงบริหารแห่งใหม่ พาชม \'หอจดหมายเหตุประธานาธิบดี\' ทางเข้าห้องนิทรรศการพิเศษ Return of The Korean Provisional Government

ห้องนิทรรศการพิเศษ

เมื่อเดินกลับลงมาถึงชั้น 1 ด้านขวามือของรถยนต์ประธานาธิบดีมีทางเชื่อมไปยังอีกอาคาร เป็น ห้องนิทรรศการพิเศษชุด Return of The Korean Provisional Government (การกลับมาของรัฐบาลเฉพาะกาลของเกาหลี)

นิทรรศการพูดถึงหลังจากขบวนการเรียกร้องเอกราช 3-1 ในปี พ.ศ.2462 (ค.ศ.1919) ซึ่งมีชาวเกาหลีมากกว่าสองล้านคนเข้าร่วม จึงมีการก่อตั้ง ‘รัฐบาลเฉพาะกาลของเกาหลี’ ขึ้นในเซี่ยงไฮ้ 

เป็นการก่อตั้งโดยชาวเกาหลีผู้มีจิตวิญญาณแห่งอิสรภาพ ซึ่งลี้ภัยสงครามไปอยู่ที่เมืองจีนในเวลานั้น อุทิศตนในการจัดตั้งรัฐบาลระบอบสาธารณรัฐประชาธิปไตยที่มีพื้นฐานอยู่บนรัฐธรรมนูญและนำประเทศกลับคืนมาด้วยความพยายามทางการทูตและการทหารต่างๆ

เซจง (Sejong) 1 : เมืองหลวงบริหารแห่งใหม่ พาชม \'หอจดหมายเหตุประธานาธิบดี\' ผู้ร่วมเจรจาสันติภาพเพื่อคาบสมุทรเกาหลี

เซจง (Sejong) 1 : เมืองหลวงบริหารแห่งใหม่ พาชม \'หอจดหมายเหตุประธานาธิบดี\' นิทรรศการพิเศษชุด Return of The Korean Provisional Government

เมื่อญี่ปุ่นยอมจำนน ‘รัฐบาลเฉพาะกาลของเกาหลี’จึงเดินทางกลับประเทศ แม้ไม่ได้รับการยอมรับว่าเป็นรัฐบาลอย่างเป็นทางการและเป็นสมาชิกของมหาอำนาจพันธมิตรเนื่องจากข้อจำกัดระหว่างประเทศ แต่ชาวเกาหลีต่างยินดีต่อการที่รัฐบาลเฉพาะกาลเกาหลีกลับมายังเกาหลี

โดย มร.อี ซึง-มัน (Rhee Seung-man) ได้รับคะแนนเสียงให้เป็นประธานาธิบดีคนแรกแห่งสาธารณรัฐเกาหลี ระหว่างเดือนสิงหาคม พ.ศ.2491 จนถึงเมษายน พ.ศ. 2503 ซึ่งอยู่ในช่วงที่มีความตึงเครียดของสงครามเย็นในคาบสมุทรเกาหลี

รายละเอียดปลีกย่อยขั้นตอนการเรียกร้องอิสรภาพเข้มข้นอย่างไรกว่าจะเป็นเกาหลีใต้ปัจจุบัน นักเดินทางและผู้สนใจสามารถชมได้ในนิทรรศการชุดนี้

 

เซจง (Sejong) 1 : เมืองหลวงบริหารแห่งใหม่ พาชม \'หอจดหมายเหตุประธานาธิบดี\' ภายในสนามบินนานาชาติชองจู

วิธีเดินทางจากกรุงเทพฯ ไปเซจง (Sejong)

เซจงอยู่ห่างจากเมือง ชองจู (Cheongju) ซึ่งเป็นที่ตั้งของ สนามบินนานาชาติชองจู (Cheongju International Airport) ใช้เวลาขับรถประมาณ 1 ชั่วโมง 30 นาที 

ข้อมูลเดือนสิงหาคม 2566 สายการบิน t’way (ทีเวย์) เปิดเที่ยวบินตรงจากท่าอากาศยานนานาชาติดอนเมืองไปยังสนามบินนานาชาติชองจู ด้วยเครื่อง Boeing 737-800 วันละ 1 เที่ยวบิน ออกเดินทางเวลา 00.05 น. ใช้เวลาบิน 5 ชั่วโมง 40 นาที

เซจง (Sejong) 1 : เมืองหลวงบริหารแห่งใหม่ พาชม \'หอจดหมายเหตุประธานาธิบดี\'  สายการบิน t’way ก่อนนำเครื่องลงยังสนามบินนานาชาติชองจูยามเช้า

เซจง (Sejong) 1 : เมืองหลวงบริหารแห่งใหม่ พาชม \'หอจดหมายเหตุประธานาธิบดี\' บรรยากาศภายในสนามบินนานาชาติชองจู

เซจง (Sejong) 1 : เมืองหลวงบริหารแห่งใหม่ พาชม \'หอจดหมายเหตุประธานาธิบดี\'

นมกล้วยยอดฮิต มีจำหน่ายที่ร้านเบเกอรี่ภายในสนามบินนานาชาติชองจู

เซจง (Sejong) 1 : เมืองหลวงบริหารแห่งใหม่ พาชม \'หอจดหมายเหตุประธานาธิบดี\' ถังขยะดีไซน์เป็นทรงกระเป๋าเดินทางภายในสนามบินนานาชาติชองจู

 

หมายเหตุ : สัปดาห์หน้าโปรดติดตาม ‘สวนรุกขชาติแห่งชาติ เซจง’