ททท. เพิ่มพื้นที่ ‘อนุรักษ์ท้องฟ้ามืด’ 18 แห่ง ‘Dark Sky’ In Thailand

ททท. เพิ่มพื้นที่ ‘อนุรักษ์ท้องฟ้ามืด’ 18 แห่ง ‘Dark Sky’ In Thailand

การท่องเที่ยวเชิงดาราศาสตร์ หรือ การดูดาว ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น หลังเปิดตัวพื้นที่ 'อนุรักษ์ท้องฟ้ามืด' Dark Sky’ In Thailand ไปเมื่อปีที่แล้ว 12 แห่ง

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ร่วมกับ สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) ผลักดัน พื้นที่อนุรักษ์ท้องฟ้ามืดในประเทศไทย (Dark Sky in Thailand) ให้เป็นรูปแบบการท่องเที่ยวแนวใหม่ ที่ไม่มีมลภาวะทางแสง

สุรชัย ท้วมสมบูรณ์ ที่ปรึกษาสถาบันวิจัยดาราศาสตร์ กล่าวว่า Dark Sky Park มีทั้งหมด 4 แบบได้แก่

1.อุทยานท้องฟ้ามืด เช่น เขาใหญ่ ผาแต้ม ผาหลวง ภูเขียว เป็นพื้นที่ราชการ เป็นเขตรักษาพันธุ์ฯ

2.ชุมชนอนุรักษ์ท้องฟ้ามืด เช่น บ้านออนใต้ สันกำแพง จ.เชียงใหม่ ได้รับการส่งเสริมสนับสนุนเป็นอย่างดีจากอบต.และเทศบาล จัดงานทีหนึ่ง มีคน 4000-5000 ไปดูดาวกัน

ททท. เพิ่มพื้นที่ ‘อนุรักษ์ท้องฟ้ามืด’ 18 แห่ง ‘Dark Sky’ In Thailand

3.เขตอนุรักษ์ท้องฟ้ามืดในพื้นที่ส่วนบุคคล เช่น รีสอร์ต โรงแรม ร้านอาหาร ไร่ส่วนตัว สามารถขอการรับรองเป็นพื้นที่ท้องฟ้ามืดส่วนบุคคล ทั้งภาครัฐและเอกชน ถ้าทำแล้วพื้นที่มาชนกันพอดีมันจะทำให้เกิดเขตอนุรักษ์ท้องฟ้ามืดที่กว้างใหญ่ได้ ในต่างประเทศมีแล้ว

4.เขตอนุรักษ์ท้องฟ้ามืดในพื้นที่ชานเมือง เช่น สวนสัตว์ขอนแก่น เป็นแห่งแรกของประเทศไทย

ททท. เพิ่มพื้นที่ ‘อนุรักษ์ท้องฟ้ามืด’ 18 แห่ง ‘Dark Sky’ In Thailand

  • ประกาศ 'พื้นที่อนุรักษ์ท้องฟ้ามืด 'เพิ่มอีก 18 แห่ง ปี 66

ยุทธศักดิ์ สุภสร ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) กล่าวว่า AMAZING DARK SKY IN THAILAND #Season 2 เป็นโครงการส่งเสริมการตลาด ระหว่าง ททท.กับสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ สดร.

มุ่งสนับสนุนการท่องเที่ยวเชิงประสบการณ์ (Experience-based-Tourism) เรียนรู้ด้านดาราศาสตร์ (Dark Sky Tourism) ส่งมอบประสบการณ์มิติใหม่ สร้างความหมาย มีคุณค่า มากกว่าเดิม

ผลการขึ้นทะเบียนเขตอนุรักษ์ท้องฟ้ามืดในประเทศไทย ปี 2566 มีทั้งสิ้น 18 แห่ง ประกอบด้วย

ททท. เพิ่มพื้นที่ ‘อนุรักษ์ท้องฟ้ามืด’ 18 แห่ง ‘Dark Sky’ In Thailand

  • อุทยานท้องฟ้ามืด (Dark Sky Park) จำนวน 5 แห่ง ได้แก่

1.อุทยานแห่งชาติแม่วงก์ (ลานชมดาว) จ.กำแพงเพชร

2.อุทยานแห่งชาติตาพระยา (ลานกลางเต้นท์กลางดง) จ. สระแก้ว

3.อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ จ. นครราชสีมา

4.อุทยานแห่งชาติศรีน่าน (ดอยเสมอดาว) จ. น่าน

5.วนอุทยานน้ำตกผาหลวง จ. อุบลราชธานี

  • ท้องฟ้ามืดในพื้นที่ส่วนบุคคล (Dark Sky Properties) จำนวน 11 แห่ง ได้แก่

6.มีลา การ์เดน รีทรีท คอทเทจรีสอร์ท จ. สระบุรี

7.คีรีมาลา อีโค่ แคมป์ จ. ราชบุรี

8.ฟาร์มแสงสุข จ. ระยอง

9.ไร่เขาน้อยสุวณา จ. นครราชสีมา

10.ต้นข้าวหอมบ้านอ้อมดอย จ. เชียงใหม่

11.วิลลา เดอ วิว บูทีค รีสอร์ท เชียงดาว จ. เชียงใหม่

12.เชียงดาวฟาร์มสเตย์ จ. เชียงใหม่

13.บ้านสวน ป่าโป่งดอย จ. เชียงใหม่

14.เดอะ ทีค รีสอร์ท จ. เชียงใหม่

15.พูโตะ จ. เชียงใหม่

16.อ่าวโต๊ะหลี จ. พังงา

  • ท้องฟ้ามืดในพื้นที่ชานเมือง (Dark Sky Suburbs) จำนวน 2 แห่ง ได้แก่

17.สวนสัตว์ขอนแก่น จ. ขอนแก่น

18.ซัมมิท กรีนวัลเล่ย์ เชียงใหม่ จ. เชียงใหม่ ททท. เพิ่มพื้นที่ ‘อนุรักษ์ท้องฟ้ามืด’ 18 แห่ง ‘Dark Sky’ In Thailand

สำหรับ Dark Sky in Thailand ปี 65  หรือ AMAZING DARK SKY IN THAILAND #Season 1 ที่ประกาศไปแล้ว เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2565 จำนวน 12 แห่ง มีดังนี้

1.อุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดัง จ.เชียงใหม่ ประเภท อุทยานท้องฟ้ามืด

2.อุทยานแห่งชาติผาแต้ม จ.อุบลราชธานี ประเภท อุทยานท้องฟ้ามืด

3.เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว-ทุ่งกระมัง จ.ชัยภูมิ ประเภท อุทยานท้องฟ้ามืด

4.อุทยานแห่งชาติป่าหินงาม จ.ชัยภูมิ ประเภท อุทยานท้องฟ้ามืด

5.อุทยานแห่งชาติภูแลนคา จ.ชัยภูมิ ประเภท อุทยานท้องฟ้ามืด

6.ชุมชนออนใต้ อ.สันกำแพง จ.เชียงใหม่ ประเภท ชุมชนอนุรักษ์ท้องฟ้ามืด

7.ไร่องุ่นไวน์ อัลซิดินี่ อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา ประเภท เขตอนุรักษ์ท้องฟ้ามืดส่วนบุคค8

8.โรงแรมเรนทรี เรซิเดนซ์ เขาใหญ่ จ.นครราชสีมา ประเภท เขตอนุรักษ์ท้องฟ้ามืดส่วนบุคคล

9.สนามมวกเหล็ก เอทีวี อำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี ประเภท เขตอนุรักษ์ท้องฟ้ามืดส่วนบุคคล

10.บ้านไร่ยายชะพลู อ.มวกเหล็ก จ.สระบุรี ประเภท เขตอนุรักษ์ท้องฟ้ามืดส่วนบุคคล

11.เดอะเปียโน รีสอร์ทอ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา ประเภท เขตอนุรักษ์ท้องฟ้ามืดส่วนบุคคล

12.ไร่องุ่นไวน์กราน-มอนเต้ อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา ประเภท เขตอนุรักษ์ท้องฟ้ามืดส่วนบุคคล

ททท. เพิ่มพื้นที่ ‘อนุรักษ์ท้องฟ้ามืด’ 18 แห่ง ‘Dark Sky’ In Thailand

ผู้สนใจสมัครขอรับการขึ้นทะเบียนเป็นเขตอนุรักษ์ท้องฟ้ามืดในประเทศไทยได้ที่ https://darksky.narit.or.th/

ดาวน์โหลดคู่มือการท่องเที่ยวดูดาว ‘ชวนเธอไปชมดาว’ ได้ที่ https://citly.me/81xbd