เผยวิธีสร้าง 'T-POP' อุตสาหกรรมดนตรี ให้เป็น 'Soft Power' ไทย

เผยวิธีสร้าง 'T-POP' อุตสาหกรรมดนตรี ให้เป็น 'Soft Power' ไทย

ด้วยความเชื่อมั่นในพลังของเยาวชน Youth In Charge จึงสร้างพื้นที่ให้เยาวชนได้มาร่วมพูดคุยกับบุคคลในวงการ 'T-POP' เพื่อให้เป็น 'Soft Power' ไทย ต่อไป

แพลตฟอร์ม Youth In Charge จัดงาน Youth In Charge Talk : Soft Power ไทย ไปอย่างไรต่อ ภายใต้ประเด็น อุตสาหกรรมดนตรี T-POP

เปิดโอกาสให้เยาวชนได้มีส่วนร่วมเสนอแนวทางต่อยอดอุตสาหกรรมดนตรี ร่วมกับคนในวงการดนตรี เมื่อวันศุกร์ที่ 15 ธันวาคม 2566 ณ หอศิลปวัฒนธรรมกรุงเทพมหานคร

โดยมี ดร.ณรงค์ ปรางค์เจริญ คณบดีวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล, พงศ์สิริ เหตระกูล ผู้บริหารค่ายเพลง NO1R, ผู้จัด Siam Music Festival คณะกรรมการซอฟต์เพาเวอร์สาขาดนตรี,

ปิยะพงษ์ เล็กประยูร (โปเต้ วง MEAN)ผู้บริหารค่าย Kiddo Records, อัษฎกร เดชมาก (AUTTA ศิลปินที่ใช้เพลงแรปบอกเล่าเรื่องราว และ โรจณัฐ เหล่ารุ่งเรืองชัย นักศึกษาวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมพูดคุย

Key Point

  • สถานการณ์อุตสาหกรรมดนตรีในปัจจุบัน
  • ปัญหาของคนในวงการดนตรี
  • ทางออกของปัญหาที่เกี่ยวกับ T-POP
  • T-POP จะเป็นซอฟต์เพาเวอร์ไทยได้ต้องทำอย่างไร
  • สิ่งที่คณะกรรมการยุทธศาสตร์ซอฟต์เพาเวอร์ควรจะทำ

อุตสาหกรรมดนตรี หรือ T-POP มีความเชื่อมโยงกับอุตสาหกรรมอื่น ๆ มากมายหลายมิติ ลองมาฟังความคิดเห็นจากประสบการณ์ทำงานของคนในแวดวงนี้ว่า จะทำอย่างไรให้เอื้อต่อคนรุ่นใหม่ ให้เข้ามาทำและเป็นอาชีพที่มีอนาคต

เผยวิธีสร้าง \'T-POP\' อุตสาหกรรมดนตรี ให้เป็น \'Soft Power\' ไทย Cr. Kanok Shokjaratkul

  • คนไทยมีศักยภาพ ที่หลายชาติต้องการ

พงศ์สิริ เหตระกูล ผู้บริหารค่ายเพลง NO1R, ผู้จัด Siam Music Festival และคณะกรรมการซอฟต์เพาเวอร์สาขาดนตรี กล่าวว่า ในอุตสาหกรรมดนตรี สิ่งที่เราทำอยู่มีศักยภาพที่จะป๊อปปูลาร์ ถ้าป๊อปปูลาร์ก็สามารถทำให้เกิดความนิยมในชาติได้

"ตั้งแต่ฮิปฮอป เพลงร็อค เพลงป๊อป เพลงร้องเต้น แนวร็อคสายซิงเกอร์ อิ้งค์-วรันธร เอิ๊ต-ภัทรวี ส้ม-มารี What The Duck สมอลล์รูม แกรมมี่ อาร์เอส BNK ไทบ้าน ทั้งหมดนั้นคือป๊อปปูลาร์มิวสิคของไทย มีคุณค่าสามารถส่งออกได้

ในประเทศไทย มนต์แคน แก่นคูน มียอดสูงกว่า แบล็คพิงค์ เมื่อดู 10 ลิสต์ในยูทูบคือไทยอีสาน ผมเล่นดนตรีอยู่ในวงพาราไดซ์แบงคอก มีเวอร์ชั่นหมอลำ เล่นให้ฝรั่งแล้วเห็นสายตาเขาและเซิ้งกับเรา มันชัดเจนว่าเรามีของ มันคือ T-POP

วงการดนตรีตอนนี้ ผู้ที่เข้ามาส่วนใหญ่ไม่ได้ต้องการผลักดันวงการ เราทำเพื่อตัวเองก่อน พอมีพลังมากพอแล้ว การผลักดันวงการมันจะตามมาเอง

ล่าสุด มีการเปลี่ยนแปลงวงการในทางที่ดีขึ้น ผู้จัดรับฟังฟีดแบค จากเวทีไม่มีหลังคา ฝนตก อุปกรณ์เสียหาย เฟสติวัลปีนี้ก็มีหลังคา ซึ่งเยี่ยมมาก มาตรฐานเท่าเทียมสากลมากขึ้น ฟร้อนเฮาส์หรือบอร์ดฟังเสียงก็ต้องอยู่ตรงนี้ระยะนี้ มีการแชร์ในเรื่องนี้มากขึ้น ซาวนด์เช็คต่าง ๆ อุปกรณ์ต่าง ๆ มันดีขึ้น

เผยวิธีสร้าง \'T-POP\' อุตสาหกรรมดนตรี ให้เป็น \'Soft Power\' ไทย Cr. Kanok Shokjaratkul

ซีนที่กำลังเติบโตคือการตลาด วงอินดี้มีตลาดของเขาเอง แรป ฮิปฮอปที่หลุดจากเมนสตรีมไปแล้ว ก็ไปเป็น Niche Market อยู่ในซาวนด์คลาวด์ แรปเปอร์หัดทำบีทกันเอง ยูทูบกันเอง ถ่ายกันเอง มีผู้เล่นหน้าใหม่แบบนั้น 

คนไทยมีศักยภาพ แต่ไม่ค่อยมีคนรู้ว่าทำอะไร เรื่องต่าง ๆ ในเน็ตฟลิกซ์ มีทีมงานเป็นคนไทย คนทำซาวนด์แทร็คก็เป็นคนไทย

สิ่งที่ต้องทำมี 4-5 อย่าง 1) สวัสดิการ ทำให้อาชีพฟรีแลนซ์มีสวัสดิการสักที เขาไม่มีประกันสังคม ทำให้ฐานของคนแข็งแรง มีค่าแรงขั้นต่ำ เมืองไทยไม่มีไลฟ์เฮาส์แบบญี่ปุ่น มีดนตรีบางประเภทเท่านั้นที่เหมาะกับผับบาร์ 2) ความปลอดภัย ไททศมิตร ไปเล่นแล้วคนมาล้อมเพราะไม่ไปถ่ายรูปกับเขา คนนั่งโต๊ะก็ติดเวทีใกล้มากถ้าถือมีดยื่นมาก็ตายได้ทุกวัน

3) ไม่มีการซัพพอร์ตศิลปินไปต่างประเทศ ขณะที่เกาหลีขอเงินทำเพลงได้ ขอค่าทำ MV ขอค่าฟีเจอริ่งได้ ศิลปินถ้าอยากไปต้องออกเอง 4) ดึงผู้ซื้อจากต่างประเทศมาดูในเมืองไทย เรามีเฟสติวัลใหญ่ระดับท็อปของประเทศที่มีศิลปินไทยล้วน ๆ 300-400 วง

ขณะที่ญี่ปุ่น ถ้าจะมีระดับนี้ต้องมีไลน์อัพระดับโลกมารวมตัวกัน ทำไมไม่พาเจ้าของ Coachella มาดู หรืออันไหนที่อยากให้เขาดู ก็พาเขามาดูในเมืองไทย ค่าเครื่องบิน ค่าโรงแรม ถูกมากเมื่อเทียบกับสิ่งที่รัฐบาลทำอยู่ 5) กฎหมายลิขสิทธิ์ ต้องมีความเหมาะสม

เผยวิธีสร้าง \'T-POP\' อุตสาหกรรมดนตรี ให้เป็น \'Soft Power\' ไทย

Cr. Kanok Shokjaratkul

ตอนนี้วงไทยที่ไปเล่นต่างประเทศได้เพราะทำเพลงประกอบซีรีส์วายแล้วได้รับความนิยมมากในประเทศจีน ทำให้เกิดการจ้างไปทัวร์

ช่องว่างของเราคือ เรารวยน้อยกว่าเกาหลี แต่คุณภาพไม่ใช่ ประเทศไทยไม่เคยขาดแคลนคุณภาพความสามารถส่วนตัวเลย เรามีคนในวงการที่อยู่ดี ๆ ก็ไปตัดต่อหนังให้อเวนเจอร์ มีคนเขียนเกมเก่ง ๆ อยู่ในต่างประเทศ เรามีทุกครีเอทีพ

แต่สิ่งที่เราขาดคือ ระบบ โครงสร้าง เราไปเทียบเกาหลีไม่ได้ เขาทำมาก่อน 20 ปิ ประเทศเขารวยกว่าเรา 3 เท่า เงินทุนในอุตสาหกรรมดนนตรีก็ใหญ่กว่าเรา บริษัทก็ใหญ่กว่าแกรมมี่ 4เท่า แล้วมีอยู่4 บริษัท

คนไทยมีของ อย่างเพลงซอมบี้ของวงแคนเบอรี่ เป็นเพลงด่าสงคราม ด่าทหารเป็นซอมบี้พวกผีดิบ ในต่างประเทศ ถ้าได้ยินเพลงนี้เขาจะตะโกนร้องตามกัน แต่เมืองไทยเอาเพลงซอมบี้มาใส่จังหวะสามช่าแล้วเต้น เราเอามันอย่างเดียว ผมเห็นภาพแบบนี้บ่อย ฝรั่งหรือญี่ปุ่น ที่เห็นจะพูดว่าโอ อะเมซิ่งไทยแลนด์ คือไม่แคร์ว่ามันจะร้องว่าอะไร

เผยวิธีสร้าง \'T-POP\' อุตสาหกรรมดนตรี ให้เป็น \'Soft Power\' ไทย Cr. Kanok Shokjaratkul

เราเป็นประเทศที่ซีนปาร์ตี้กลางคืนเดินไปขอเพลงได้ ถ้าดีเจต่างประเทศมาเล่น ไปขอเพลงเขาไม่ได้นะ แต่ดีเจบ้านเราเดินไปขอเพลงพี่เบิร์ดแล้วต่อด้วยเพลงนี้ ๆได้ เขาจะเล่นให้แล้วใส่บีทยกล้อให้ด้วย

เรื่องความมันเราไม่แพ้เกาหลี เรามีบีทของเรา มีเฟสติวัลในแบบของเรา มีวิถีความมันของเรา นี่คือสิ่งที่เขาพยายามหาในบ้านเรา เขาไม่ได้อยากจะหาวงที่เหมือนวง BTS อีกวงในเมืองไทย หรือวงเอ็กซ์เจแปนก็มีแต่ในญี่ปุ่นเท่านั้น หน้าตาแบบนั้นไม่มีในอเมริกา

การได้แรงบันดาลใจจากต่างประเทศไม่ผิด แต่เราต้องมีความเป็นตัวของตัวเองที่ไม่เหมือนใคร ถ้าเราทำอย่างนั้นได้ แล้วเป็นกระแสในประเทศ มันจะเกิดการส่งออกได้ด้วยตัวเอง โดยไม่ต้องไปขวนขวายขายของเหมือนคนอื่น

ประเทศไทยไม่เคยขัดสนคนมีความสามารถ แต่เราขัดสนระบบ ถ้าระบบมันถูก 15 ปีมันก็ได้ผลแล้ว ขอให้ทุกคนพยายามยืนระยะให้ได้ แล้วไปด้วยกัน"

เผยวิธีสร้าง \'T-POP\' อุตสาหกรรมดนตรี ให้เป็น \'Soft Power\' ไทย

Cr. Kanok Shokjaratkul

  • ต้องมีระบบ ที่เอื้อต่อการพัฒนาวงการดนตรี

ปิยะพงษ์ เล็กประยูร (โปเต้ วง MEAN) ผู้บริหารค่าย Kiddo Records กล่าวว่า ตอนนี้ วงการดนตรีดีขึ้น มีการแข่งขันที่หลากหลายมากขึ้น

"วงที่เป็นไอดอลกรุ๊ป เกิร์ลกรุ๊ป บอยกรุ๊ป คึกคักขึ้นมาก มีวงใหม่ ๆ ศิลปินหน้าใหม่ออกมามากมาย เพลงมีคุณภาพ โปรดักชั่นก็เข้มแข็งมาก

ถ้ามองย้อนกลับไปก่อนหน้า คือ เอาตัวเองให้รอดก่อน อย่างวงของผม ความยากลำบากคือจะทำให้เป็นมืออาชีพได้อย่างไร จะสร้างสรรค์ให้มันเป็นอาร์ต ก็มีเรื่องการตลาดเข้ามา ค่ายต่าง ๆ คำนึงถึงเรื่องการลงทุนให้องค์กรอยู่รอด

ผมทำมาสิบกว่าปี เพิ่งเป็นอาชีพได้ 3 ปีที่แล้วนี่เอง ที่กล้าบอกทุกคนว่าทำอะไร หลาย ๆ คนที่อยู่ในอุตสาหกรรมสร้างสรรค์มีปัญหาเหมือนกัน คือค่อย ๆ ทยอยออก

เผยวิธีสร้าง \'T-POP\' อุตสาหกรรมดนตรี ให้เป็น \'Soft Power\' ไทย Cr. Kanok Shokjaratkul

นักร้องเพลงเก่งมาก นักแต่งเพลงเก่งมาก แยกย้ายกันไป เพราะไม่มีเงินผ่อนรถ มันเป็นปัญหาโครงสร้าง ต้องทำระบบให้คนในวงการยืนระยะได้ ซึ่งคนออกแบบโครงสร้างช่วยได้

ผู้บริหารค่ายเพลง หรือ ค่ายเพลงจะอยู่ไม่ได้ ถ้าไม่มีศิลปินใหญ่มีชื่อเสียงมาซัพพอร์ต ตอนนี้ต้องเอาศิลปินตัวใหญ่มาเป็นตัวหลักแล้วดึงไปสู่ศิลปินตัวเล็กกว่า ให้คนเข้ามาฟังศิลปินของคนอื่นได้

ทุกค่ายเพลงเรียนรู้จากในวงการ ขณะที่เพลงเรากำลังจะออก แต่ค่ายโน้นออกก่อน เราก็ดูสถิติ เวิร์คไม่เวิร์ค ค่ายเพลงประเทศเราแข่งกันดุเดือดมาก แต่ถ้าถอยออกจากสงครามนี้ออกมา เราก็จะเป็นทีมชาติ ที่รู้จักกัน

สำหรับเพื่อน ๆ ที่ยังทำงานกันอยู่ ก็ต้องพยายามเอาตัวเองไปอยู่ในโอกาส ในพื้นที่ ไปประกวดร้องเพลง ใครชอบอะไรก็เอาตัวเองไปอยู่ตรงนั้น มันจะพาเราไปเอง อย่าปิดกั้นตัวเอง ให้กำลังใจตัวเองมาก ๆ เส้นทางมันอีกยาวไกล"

เผยวิธีสร้าง \'T-POP\' อุตสาหกรรมดนตรี ให้เป็น \'Soft Power\' ไทย Cr. Kanok Shokjaratkul

อัษฎกร เดชมาก (AUTTA) ศิลปินที่ใช้เพลงแรปบอกเล่าเรื่องราว กล่าวว่า การสนับสนุนจากภาครัฐเป็นเรื่องสำคัญ

"ถ้าพูดในแง่การพัฒนาซอฟต์เพาเวอร์ สวัสดิการ เป็นเรื่องหนึ่งที่จะต้องพูดถึง การสนับสนุนการผลิต อย่างเกาหลี หรือ การสนับสนุนการส่งออก ไปถึง กฎหมายลิขสิทธิ์ กฎหมายสวัสดิการ เหล่านี้รวมกันมันถึงจะมีพื้นฐานที่แน่น สร้างซอฟต์เพาเวอร์ได้

เด็กรุ่นถัดไปจะเก่งกว่ารุ่นเรา อยากให้ซัพพอร์ตกันเยอะ ๆ อยากให้เกิดการตั้งคำถามที่สร้างสรรค์ในวงการดนตรี และวงการต่าง ๆ มันจะช่วยเหลือกันได้ต่อไป"

เผยวิธีสร้าง \'T-POP\' อุตสาหกรรมดนตรี ให้เป็น \'Soft Power\' ไทย Cr. Kanok Shokjaratkul

  • คนไทยต้องปรับตัว ปรับมายเซ็ท ให้ทันโลก

ดร.ณรงค์ ปรางค์เจริญ คณบดีวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า อย่าเคลมว่าการเล่นดนตรีคือซอฟต์เพาเวอร์

"Creative Economy กับ Soft Power มันคล้ายกัน แต่ไม่ใช่เรื่องเดียวกัน ที่น่ากลัวที่สุด ตอนนี้ทุกคนทำอะไรก็บอกว่าฉันสนับสนุนซอฟต์เพาเวอร์ ได้ทำความดีให้ประเทศแล้ว

ซึ่งไม่ถูก มันยังไม่ถึงจุดนั้น ต้องวางแผนมากกว่านั้น ต้องทำไปพร้อม ๆ กัน แต่เราจะรอให้เกิดโครงสร้างก่อนไม่ได้

ผมทำงานอยู่ที่อเมริกา ทุกปีเขาส่งค่าลิขสิทธิ์มาให้ ผมไม่ต้องไปดูว่าใครเล่นของเราบ้าง เพราะระบบโครงสร้างของเขามันเข้มแข็ง สามารถซัพพอร์ตศิลปินให้เลี้ยงตัวเองได้ ประเทศเราต้องไปถึงจุดนั้น

เผยวิธีสร้าง \'T-POP\' อุตสาหกรรมดนตรี ให้เป็น \'Soft Power\' ไทย

Cr. Kanok Shokjaratkul

ถ้าพูดในแง่ของมหาวิทยาลัย สถานศึกษาต้องเปลี่ยน เขาไม่ได้แค่มาเรียนหนังสือ เขาอยากมาเพื่อให้มีอนาคตที่ดีขึ้น มีชีวิตที่ดีขึ้น มีงานที่เขารักคือดนตรี

เราไม่ใช่แค่สอนดนตรี เราต้องปรับมายเซ็ท ให้น้องเห็นไอดอลที่สามารถประกอบอาชีพได้เลี้ยงตัวเองได้ น้องสามารถเข้ามาอยู่ในกลไกนี้ได้ สิ่งที่รัฐบาลจะต้องทำคือเริ่มตั้งโจทย์

ผมทำเพลงคลาสสิก ไม่ได้ทำ T-POP ร้อยเปอร์เซนต์ เอาเพลงที่แต่งแล้วพาน้อง ๆ ไปเล่นพิณกับแคนกับวงออร์เคสตราจีนที่หางโจว คนจีนชอบมากเลย คนอเมริกันที่ได้ดูก็ติดต่อมาว่าให้ไปเล่นที่อเมริกาด้วย

ที่อยากบอกคือ การเอาวัฒนธรรมออกไปโดยที่ไม่มีการวางแผนสนับสนุนมันไม่ใช่ซอฟต์เพาเวอร์ สิ่งที่เราทำเป็นตัวอย่างให้น้อง ๆ เห็น ว่ามันสามารถทำการตลาดได้ อาชีพนี้สามารถเลี้ยงตัวเองได้

ของเกาหลี การผลิตศิลปินคนหนึ่ง มีมุมเยอะมาก ลงทุนกันแรงมาก เพราะสเกลเขาคือทั่วโลก เงินลงเยอะได้ เพราะได้เงินคืนมาจากทั่วโลก ค่ายเพลงของไทยยังไปสเกลนั้นไม่ได้ เพราะต้นทุนมีไม่เยอะ

เผยวิธีสร้าง \'T-POP\' อุตสาหกรรมดนตรี ให้เป็น \'Soft Power\' ไทย Cr. Kanok Shokjaratkul

ตอนนี้สิ่งที่เราทำคือ พยายามไปคุยกับทุกค่าย แต่ละค่ายก็มีบุคลิกไม่เหมือนกัน ถ้าทุกคนเข้ามาให้มหาวิทยาลัยเป็นเซ็นเตอร์ เราจะเทรนให้คุณประหยัดเวลา ได้เทรนในสิ่งที่ค่ายต้องการ เสร็จจากค่ายก็ไปต่อได้เลย มันต้องเป็นความร่วมมือแบบนี้

ถ้าต่างคนต่างทำ ต่างอยากให้คุ้มทุน แต่ทุนมีไม่เยอะพอจะสร้างของที่ดีมาก ๆ ออกมา สแตนดาร์ดไม่สูง ตลาดก็แพงไม่ได้ เราอยากให้ของดีมีคุณภาพมันเกิดขึ้นในประเทศ และคุ้มกับเงิน

เมื่อ 2-3 สองสามเดือนก่อนมีการประกวดทั่วโลก มีกติกา 2 ข้อ 1) ดาวน์โหลดตัวอย่างเครื่องดนตรีไทยที่อัพโหลดไว้ในเว็บไซต์เข้าไปใส่ในเพลงของตัวเอง 2) ดาวน์โหลดฟุตเทจการท่องเที่ยวประเทศไทยใส่เข้าไปในเพลงแล้วสร้างมิวสิควิดีโอขึ้นมา

แต่การประกวดนี้สเกลมันใหญ่ไม่ได้เพราะคนรู้น้อย ถ้าเขามีทุนมากกว่าอาจทำให้คนไทยทุกคนรู้ก็ได้ ซึ่งถ้ามี 200-300 คนที่ทำแล้วเปิดตามผับตามบาร์ไปเรื่อย ๆ มันก็สร้างการรับรู้

เผยวิธีสร้าง \'T-POP\' อุตสาหกรรมดนตรี ให้เป็น \'Soft Power\' ไทย Cr. Kanok Shokjaratkul

หน้าที่ของเราด้านการศึกษาคือ การผลักดันให้คนเข้ามาแล้วบอกว่า อยากได้เด็กแบบนี้ มหาวิทยาลัยช่วยเทรนเขาให้หน่อย น้องจบออกมาจะได้ทางลัดวิธีการเรียนรู้แล้วก็ไปทำงานได้เลย ไม่ใช่ออกไปแล้ว ไปหาทางเอง 3-4 ปี เสียเวลา

เราแต่งเพลงที่อเมริกา ปีละ 2800 เหรียญ แต่เมืองไทย 2800 เหมือนกันแต่เปลี่ยนค่าเงิน เราเป็นคนอเมริกา มีบ้านอยู่อเมริกา เราไม่ต้องอยู่ประเทศนี้ก็ได้ แต่กลับมาไทยเพราะรู้สึกว่าที่นี่เป็นบ้าน ทั้ง ๆ ที่ไม่มีใครจ้างเราแพง ๆ แต่งเพลง

ตอนนี้เรารันออร์เคสตราด้วย มันไม่ค่อยมีคนดู Thailand Philharmonic Orchestra ก็ต้องเล่น The Lord of The Ring เล่นคริสต์มาสต์ เล่นดิสนีย์ เล่นในวันเด็ก เราต้องสร้างผู้ฟังจนกว่าเขาจะชอบ เราไม่อยากมีนักดนตรี 60 ล้านคน เราอยากมีนักดนตรี 1 ล้านคน มีคนฟัง 70 ล้านคน คือมันโตไม่ได้ถ้าไม่มีคนฟัง

เผยวิธีสร้าง \'T-POP\' อุตสาหกรรมดนตรี ให้เป็น \'Soft Power\' ไทย Cr. Kanok Shokjaratkul

เราให้ความสำคัญกับเรื่อง AI เอฟเฟคที่กำลังจะเข้ามาเปลี่ยนชีวิตน้อง ๆ ทุกคน ไม่ได้ให้ความสำคัญเฉพาะธุรกิจดนตรี ปีนี้มีน้องใช้ AI ทำรูปภาพฉายขึ้นไปบนเวทีประกอบเพลงที่ตัวเองเล่น

การทำดนตรีโดยการเขียนของ AI มันน่ากลัว เราจะมีสัมมนาเรื่องเอไอในปี 67 เชิญมิวสิคทรานสฟอร์ม มิวสิคโปรแกรม เข้ามาพูดเรื่องอนาคตของการทำเพลง เป็นเรื่องที่ต้องเตรียมกันทุกวงการ

อีกอย่าง น้องต้องหาตัวเองให้ได้เร็ว รู้จักตัวเองให้เร็ว สไตล์เพลงไหน เช่น เก่งเพลงแรป ปี 1-2 ต้องรู้แล้ว สเต็ปต่อไป อีก 2 ปีต้องหาตรงนั้น

ตอนนี้เราเปลี่ยนหลักสูตรใหม่ 4 บวก 4 คือ 4 ปี 4 เดือน จบปริญญาตรีและปริญญาโทพร้อมกัน ประหยัดไปปีครึ่ง แล้วไปเรียนต่อเรื่องดิจิทัลมาร์เก็ตติ้งหรืออะไรก็ไปเลย

เผยวิธีสร้าง \'T-POP\' อุตสาหกรรมดนตรี ให้เป็น \'Soft Power\' ไทย Cr. Kanok Shokjaratkul

นี่เป็นเรื่องใหม่ที่มหาวิทยาลัยต้องปรับตัว ไม่งั้นอยู่ไม่ได้ ถ้าเราไม่ตอบโจทย์ลูกค้า ไม่ช่วยลูกค้าว่าเขาต้องการอะไร

ขอฝากคณะกรรมการยุทธศาสตร์ซอฟต์เพาเวอร์ ตอนนี้ทุกคนแยกเป็นก้อน เรามีลูกค้าต่างประเทศเยอะ ทำไมไม่มาร่วมกัน แล้วกรรมการดนตรีจัดคอนเสิร์ตในประเทศไทย เชิญคนต่างประเทศเข้ามาดู คุณก็จะได้ของ

ในส่วนของซีรีส์วาย หรือการเป็นเมืองของ LGBTQ สนับสนุนสิทธิมนุษยชน จะทำให้ประเทศเรามีเศรษฐกิจ คุณไม่ต้องพยายามผลักดันอาหารก็ได้ ถ้าผลักดันหนังเกี่ยวกับอาหาร ถ้าหนังได้อาหารจะได้ ถ้าดนตรีดัง แฟชั่นจะมา บิวตี้จะมา ท่องเที่ยวก็รอรับเลย เดี๋ยวได้เอง"