'เบิร์ด-สลา-เปาวลี-มนต์แคน' ได้รับรางวัล 'เพชรในเพลง' ปี 66

'เบิร์ด-สลา-เปาวลี-มนต์แคน' ได้รับรางวัล 'เพชรในเพลง' ปี 66

กระทรวงวัฒนธรรมจัดงานมอบรางวัล 'เพชรในเพลง' เนื่องใน 'วันภาษาไทยแห่งชาติ' ปี 2566 ในปีนี้มีศิลปินนักร้องคนดังได้รับรางวัลมากมาย

กระทรวงวัฒนธรรม โดย กรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.) จัดงานมอบรางวัล เนื่องใน วันภาษาไทยแห่งชาติ พ.ศ. 2566

โดย อิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธานมอบรางวัล ยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม, โกวิท ผกามาศ อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม ร่วมงาน ณ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย วันที่ 24 กรกฎาคม 2566

อิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวว่า เนื่องในวันภาษาไทยแห่งชาติ พุทธศักราช 2566 เพื่อระลึกถึงเหตุการณ์ในวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2505

"ซึ่งพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เสด็จพระราชดำเนินไปทรงอภิปรายเรื่อง ปัญหาการใช้คำไทย ร่วมกับทรงคุณวุฒิที่คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

\'เบิร์ด-สลา-เปาวลี-มนต์แคน\' ได้รับรางวัล \'เพชรในเพลง\' ปี 66

รัฐบาลจึงประกาศให้วันที่ 29 กรกฎาคม ของทุกปี เป็น วันภาษาไทยแห่งชาติ วธ.จึงได้จัดงานวันภาษาไทยแห่งชาติอย่างต่อเนื่อง มีวัตถุประสงค์ รณรงค์และกระตุ้นให้เยาวชน ประชาชนรู้รักภาษาไทย

ตระหนักถึงความสำคัญและคุณค่าของภาษาไทย มรดกวัฒนธรรมของชาติ เป็นการส่งเสริมการสร้างต้นแบบที่ดีแก่ประชาชน

ให้มีการใช้ภาษาไทยอย่างถูกต้อง เหมาะสม ภูมิใจในความเป็นไทย สร้างค่านิยมให้เยาวชนและประชาชนสืบสานมรดกวัฒนธรรมของชาติให้คงอยู่ สืบไป

ปีนี้ กระทรวงวัฒนธรรม โดย กรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.) ได้มอบรางวัล วันภาษาไทยแห่งชาติ 2566 ประกอบด้วย เข็มและโล่เชิดชูเกียรติ ได้แก่ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม

\'เบิร์ด-สลา-เปาวลี-มนต์แคน\' ได้รับรางวัล \'เพชรในเพลง\' ปี 66

มอบเกียรติบัตรให้แก่ สถานเอกอัครราชทูตประจำประเทศไทย ที่ส่งเสริมการใช้ภาษาไทย

ปูชนียบุคคลด้านภาษาไทย 4 รางวัล ได้แก่ ศาสตราจารย์กิตติคุณศิราพร ณ ถลาง, ศาสตราจารย์กิตติคุณอัจฉรา ชีวพันธ์, ศาสตราจารย์ชลธิรา สัตยาวัฒนา, รองศาสตราจารย์อิงอร สุพันธุ์วณิช 

ผู้ใช้ภาษาไทยดีเด่น 11 รางวัล ได้แก่ ใกล้รุ่ง อามระดิษ, ชะเอม แก้วคล้าย, ปรีชา จันเอียด, ภิรเดช แก้วมงคล, ผู้ช่วยศาสตราจารย์วรวุฒิ ภักดีบุรุษ, วราภรณ์ สมพงษ์, วิฑูรย์ ไตรรัตน์วงศ์, รองศาสตราจารย์ศานติ ภักดีคำ, ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุวนีย์ พระแก้ว, อภิชาต อินทรวิศิษฏ์, อำนวย สุวรรณชาตรี

ผู้ใช้ภาษาไทยถิ่นดีเด่น 6 รางวัล ได้แก่ เกษร แสนศักดิ์, พันตรีฉลอง จิตรตรง, ชายชื้น คำแดงยอดไตย, เทวี บุตรตั้ว, พจนีย์ เพ็งเปลี่ยน, เอื้องคำ คำสันทราย

\'เบิร์ด-สลา-เปาวลี-มนต์แคน\' ได้รับรางวัล \'เพชรในเพลง\' ปี 66

รางวัลเพชรในเพลง โดย กรมศิลปากร มีผู้ได้รับรางวัล 14 รางวัล ประกอบด้วย

รางวัลเชิดชูเกียรติพิเศษ 2 รางวัล ได้แก่ คณะนักร้องประสานเสียงสวนพลู, สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส

รางวัลการประพันธ์เพลงดีเด่นด้านภาษาไทย 4 รางวัล ได้แก่

คำร้องเพลงไทยสากล กมลศักดิ์ สุนทานนท์, ปิติ ลิ้มเจริญ, รัฐวิชญ์ อนันต์พรสิริ

คำร้องเพลงไทยลูกทุ่ง ประภาส ชลศรานนท์ (โก๋ ลำลูกกา), สลา คุณวุฒิ

\'เบิร์ด-สลา-เปาวลี-มนต์แคน\' ได้รับรางวัล \'เพชรในเพลง\' ปี 66

รางวัลการขับร้องเพลงดีเด่นด้านภาษาไทย จำนวน 8 รางวัล ได้แก่

ผู้ขับร้องเพลงไทยสากลชาย ธงไชย แมคอินไตย์, กิตติธัช แก้วอุทัย (ธัช เพลงเอก)

ผู้ขับร้องเพลงไทยสากลหญิง อิสริยา คูประเสริฐ, กุลมาศ สารสาส (ขนมจีน) 

ผู้ขับร้องเพลงไทยลูกทุ่งชาย มนต์แคน แก่นคูน, ปรัชญา ธรรมโชติ (โบ๊ท เพลงเอก) 

ผู้ขับร้องเพลงไทยลูกทุ่งหญิง พรพิมล เฟื่องฟุ้ง (เปาวลี พรพิมล), อรทัย ดาบคำ (ต่าย อรทัย)

\'เบิร์ด-สลา-เปาวลี-มนต์แคน\' ได้รับรางวัล \'เพชรในเพลง\' ปี 66

นอกจากนี้ ยังได้มอบรางวัล การประกวดเพลงแรป 'มนต์รักษ์ภาษาไทย' 5 รางวัล

การอ่านทำนองเสนาะ 'สดับถ้อยร้อยกรองไทย' ครั้งที่ 2 จำนวน 6 รางวัล

และรางวัลการประกวดการแต่งบทเพลงและการแสดงพื้นบ้าน 'ฉ่อย' จำนวน 5 รางวัล

ในช่วงท้าย มีการแสดงจากศิลปินที่ได้รับรางวัลเพชรในเพลง ประกอบด้วย

\'เบิร์ด-สลา-เปาวลี-มนต์แคน\' ได้รับรางวัล \'เพชรในเพลง\' ปี 66

เพลง 'พ่อเนื้อทอง' โดย เปาวลี พรพิมล 

เพลง 'หนาวนี้พี่ห่วงใย' โดย โบ๊ท ปรัชญา เพลงเอก

เพลง 'หนึ่งราตรี' โดย ธัช กิตติธัช เพลงเอก 

เพลง 'ขอบคุณที่เดินจากไป' โดย อิสริยา คูประเสริฐ

เพลง 'อยู่ดี ๆ ก็คิดถึง' โดย ขนมจีน 

\'เบิร์ด-สลา-เปาวลี-มนต์แคน\' ได้รับรางวัล \'เพชรในเพลง\' ปี 66

การแสดงพื้นบ้าน 'ฉ่อย' 

การแสดงคณะนักร้องประสานเสียงสวนพลู

นิทรรศการปูชนียบุคคลด้านภาษาไทย ผู้ใช้ภาษาไทยดีเด่น ผู้ใช้ภาษาไทยถิ่นดีเด่น ผู้มีคุณูปการต่อการใช้ภาษาไทย และ นิทรรศการรางวัลเพชรในเพลง