"โฟโต้การ์ด" ไอดอลเกาหลี กลยุทธ์ที่ "K-POP" ใช้กระตุ้นยอดขาย

"โฟโต้การ์ด" ไอดอลเกาหลี กลยุทธ์ที่ "K-POP" ใช้กระตุ้นยอดขาย

ปัจจุบันในยุคที่ระบบสตรีมมิงและดิจิทัลดาวน์โหลดเข้ามามีบทบาทในอุตสาหกรรมดนตรีโลก จนส่งผลกระทบต่อยอดขายแผ่นอัลบั้มที่ลดลงเป็นอย่างมาก แต่สำหรับอุตสาหกรรมเพลงป๊อปเกาหลีใต้ หรือ เคป๊อป (K-Pop) กลับไม่ได้รับผลกระทบมากนักเทียบกับประเทศอื่น ๆ

จากการรายงานของสรุปภาพรวมครึ่งปีแรกของปี 2564 (Hanteo Global K-Pop Report: 2021 Semi-annual Summary) โดย ชาร์ตฮันทอ (Hanteo Chart) ชาร์ตยอดขายอัลบั้มของเกาหลีใต้ พบว่า ยอดขายแผ่นอัลบั้มเพิ่มขึ้นถึง 34.25% เมื่อเทียบในช่วงเวลาเดียวกันกับปีที่แล้ว และเพิ่มขึ้นมาทุกปีนับตั้งแต่ปี 2559 ที่ผ่านมา 

แท้จริงแล้ว ชาวเกาหลีต่างก็ฟังเพลงผ่านระบบสตรีมมิงเหมือนกับคนทั่วไป หากแต่ว่าอุตสาหกรรมเพลงเกาหลีมีเอกลักษณ์เฉพาะที่ยังคงทำให้ตลาดอัลบั้มแบบแผ่นยังมีชีวิตและดำเนินต่อไปได้ แม้ว่าราคาอัลบั้มแบบแผ่นจะสูงกว่า ราคาอัลบั้มดิจิทัลถึง 3 เท่าก็ตาม (ราคาอัลบั้มดิจิทัลอยู่ที่ประมาณ 10,000 วอน และราคาอัลบั้มแบบแผ่นอยู่ที่ประมาณ 30,000 วอน) แล้วอะไรคือสิ่งที่ทำให้เหล่าแฟนคลับนิยมซื้ออัลบั้มแบบแผ่น 

แฟนคลับของศิลปินเกาหลีมักจะมีค่านิยมที่ว่า

“ถ้าคุณเป็นแฟนตัวจริงของศิลปินคุณจะต้องซื้ออัลบั้มแบบแผ่นด้วย” 

เมื่อศิลปินออกอัลบั้ม ไม่ว่าจะเป็นอัลบั้มซิงเกิ้ล (Single Album) มินิอัลบั้ม (Mini Album) หรืออัลบั้มเต็ม (Full Album) แฟนคลับมักจะคิดว่า หน้าที่ของตนที่จะทำให้อัลบั้มและศิลปินประสบความสำเร็จนั้น ด้วยการซื้ออัลบั้มแบบแผ่นเพื่อให้อัลบั้มนั้นทะยานขึ้นสู่อันดับ 1 ของชาร์ตเพลง จากรายงานของฮันทอยังพบว่า ยอดขายอัลบั้มในสัปดาห์แรกคิดเป็น 73% ของยอดขายอัลบั้มแบบแผ่นของปี 2563 และครึ่งปีแรกของปี 2564 ยังมีแนวโน้มที่จะสูงขึ้นอีกในปีต่อ ๆ ไป 

ยอดขายในสัปดาห์แรกนั้นสามารถใช้เป็นตัวบ่งบอกขนาดของแฟนด้อม และความจงรักภักดีของแฟนคลับที่มีต่อศิลปินได้ เพราะหมายความว่าแฟนคลับเหล่านี้ซื้ออัลบั้มทันทีอย่างไม่มีเงื่อนไข โดยไม่รอรีวิวหรือฟังเพลงก่อน เมื่อศิลปิน K-Pop ได้รับความนิยมไปยังประเทศอื่น ๆ วัฒนธรรมเหล่านี้ได้แพร่ขยายออกไปยังต่างประเทศอีกด้วย 

ไม่เพียงแค่นั้น อัลบั้มของศิลปินเกาหลียังมีความแตกต่างจากอัลบั้มของศิลปินจากฝั่งตะวันตก หรือ ประเทศอื่น ๆ ที่มักจะเป็นอัลบั้มในกล่องพลาสติกขนาด 15 x 15 เซนติเมตร แบบที่คุ้นเคย แต่อัลบั้มศิลปินเกาหลีนั้นมี “ลูกเล่น” ที่แตกต่างกันออกไป ไม่ว่าจะเป็นบรรจุภัณฑ์ที่มีขนาดไม่เท่ากัน และสีสันที่แตกต่างกันออกไป มาพร้อมของแถมมากมาย อาทิ โปสเตอร์ โปสการ์ด โฟโต้บุ๊ก และโฟโต้การ์ด ทำให้ผู้ซื้อรู้สึกคุ้มค่ากับเงินที่จ่าย 

\"โฟโต้การ์ด\" ไอดอลเกาหลี กลยุทธ์ที่ \"K-POP\" ใช้กระตุ้นยอดขาย \"โฟโต้การ์ด\" ไอดอลเกาหลี กลยุทธ์ที่ \"K-POP\" ใช้กระตุ้นยอดขาย อัลบั้มของศิลปิน K-Pop ที่มีขนาดแตกต่างกันออกไป

 

จุดเริ่มต้นของกลยุทธ์โฟโต้การ์ด

อีกกลยุทธ์หนึ่งที่วงการ K-POP นำมาใช้เพื่อกระตุ้นยอดขาย นั่นก็คือการทำโฟโต้การ์ดรูปของศิลปินทั้งแบบเดี่ยวหรือแบบกลุ่มในอิริยาบถพิเศษที่หาไม่ได้จากที่ใด แถมมากับอัลบั้มด้วย โดยที่โฟโต้การ์ดนี้มาในรูปแบบของการสุ่มที่ผู้ซื้อจะไม่สามารถเลือกการ์ดเองได้ 

แม้ว่ากลยุทธ์การทำโฟโต้การ์ดมาให้แฟนคลับได้สะสมนั้นไม่ใช่เรื่องใหม่แต่อย่างไร ในวงการกีฬาอย่าง NBA ลีกบาสเก็ตบอลที่มีชื่อเสียงที่สุดของโลกเอง ก็มีการจำหน่ายการ์ดสะสมของนักกีฬา (Trading Cards) หรือในวงการอนิเมะ ที่มีการ์ดเกมโปเกม่อนไว้ให้สะสมด้วยเช่นกัน ซึ่งอันที่จริงวงการเพลงในญี่ปุ่น หรือ J-POP เริ่มใช้กลยุทธ์นี้ก่อน K-POP ด้วยซ้ำ แต่กลยุทธ์นี้ก็ยังสร้างรายได้ให้แก่อุตสาหกรรมเพลง K-POP ได้อย่างมากมาย 

ศิลปินที่คาดว่าเป็นวงแรกที่มีการนำโฟโต้การ์ดมาใส่ในอัลบั้มก็คือ “Girl’s Generation” (เกิลส์ เจเนเรชัน) ในอัลบั้ม “Oh!” อัลบั้มเต็มชุดที่ 2 ของวง ซึ่งในแต่อัลบั้มนั้นจะมีโฟโต้การ์ดสมาชิก 1 ใบแถมมากับอัลบั้มด้วย นั่นหมายความว่า การซื้อหนึ่งอัลบั้มก็อาจจะไม่ได้โฟโต้การ์ดของสมาชิกที่เป็นเมน (Main/ Bias) สมาชิกที่ตนชอบมากที่สุดก็เป็นได้ หรือถ้าต้องการสะสมการ์ดให้ครบคอลเล็กชันก็ต้องซื้ออัลบั้มอย่างน้อยที่สุด 9 อัลบั้ม ตามจำนวนสมาชิก (ในขณะนั้น) แต่เนื่องจากโฟโต้การ์ดนั้นถูกใส่อัลบั้มมาในรูปแบบสุ่ม จึงไม่มีอะไรการันตีเลยว่าจะได้การ์ดที่ไม่ซ้ำแบบกัน  

\"โฟโต้การ์ด\" ไอดอลเกาหลี กลยุทธ์ที่ \"K-POP\" ใช้กระตุ้นยอดขาย

โฟโต้การ์ดของสมาชิกวง Girl's Generation จากอัลบั้ม Oh! จุดกำเนิดของกลยุทธ์นี้ในวงการ K-Pop

เครดิตรูป: เว็บไซต์  K-Pop Holic

 

กลยุทธ์นี้ส่งผลให้อัลบั้มนี้ทำยอดขายไปได้ถึง 197,934 อัลบั้ม ครองตำแหน่งอัลบั้มที่มียอดขายสูงสุดในเกาหลีใต้ปี 2554 นี่จึงเป็นกลยุทธ์ใหม่ที่สร้างยอดขายให้ค่ายต้นสังกัด “เอสเอ็ม เอ็นเตอร์เทนเมนต์” (SM Entertainment) อย่างเป็นกอบเป็นกำ หลังจากนั้นเพียงหนึ่งปี ทุกศิลปิน ทุกค่ายเพลงต่างพากันมาใช้กลยุทธ์นี้ 

กว่า 11 ปีแล้ว ที่วงการ K-Pop ใช้กลยุทธ์โฟโต้การ์ดในการกระตุ้นยอดขายอัลบั้ม ยิ่งในสถานการณ์โควิด 19 ที่แพร่ระบาดระบาดอย่างหนักในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา จนไม่สามารถจัดคอนเสิร์ตแบบออฟไลน์และงานแจกลายเซ็น (Fan Sign) แบบเห็นหน้ากันได้ ยิ่งทำให้แต่ละค่ายเพลงแต่ละค่ายให้ความสำคัญกับการทำอัลบั้มให้มีความพิเศษ และออกมาหลากหลายเวอร์ชันมากยิ่งขึ้น พร้อมแข่งขันกันพัฒนารูปแบบของการ์ดต่าง ๆ อย่างไม่มีที่สิ้นสุด เพื่อเป็นแรงจูงใจให้ผู้บริโภคหันมาซื้ออัลบั้มให้มากยิ่งขึ้น เพราะนี่แทบจะเป็นหนทางเดียวที่จะสร้างรายได้ให้แก่ค่ายเพลงในเวลานี้  

\"โฟโต้การ์ด\" ไอดอลเกาหลี กลยุทธ์ที่ \"K-POP\" ใช้กระตุ้นยอดขาย โฟโต้การ์ศิลปินไอดอลเกาหลี

 

จนปัจจุบันในหนึ่งอัลบั้มไม่ได้มีเพียงโฟโต้การ์ดใบเดียวอีกต่อไป เช่นในกรณีของ “Golden Child” (โกลเดน ชายด์) ได้ปล่อยอัลบั้มเต็มชุดที่ 2 “Game Changer” พร้อมโฟโต้การ์ดมากถึง 10 แบบ และวงนี้มีสมาชิกทั้งสิ้น 10 คน เท่ากับว่ามีโฟโต้การ์ดให้สะสมถึง 100 แบบ โดยในแต่ละอัลบั้มจะมีโฟโต้การ์ดมาให้เพียง 2 ใบเท่านั้น อัลบั้มนี้ทำยอดขายไปได้มากกว่า 121,600 อัลบั้ม ในสัปดาห์แรก ซึ่งเป็นยอดขายที่สูงที่สุดของวงตั้งแต่ที่เดบิวต์มา 

\"โฟโต้การ์ด\" ไอดอลเกาหลี กลยุทธ์ที่ \"K-POP\" ใช้กระตุ้นยอดขาย อัลบั้ม Game Changer และ DDARA (R02 Repack) ของ Golden Child ที่มีโฟโต้การ์ดให้สะสมกว่า 100 แบบ

 

นอกจากนี้ เพื่อเพิ่มความน่าสนใจและน่าเก็บสะสมให้กับการ์ด หลายค่ายเพลงจึงได้การ์ดที่มีรูปทรงที่แตกต่างกันออกไป ไม่จำเป็นต้องเป็นสี่เหลี่ยม อาจจะเป็นวงกลม วงรี หรือใช้วัสดุชนิดอื่น เช่น พลาสติกแข็ง การ์ดสามมิติ (Lenticular) การ์ดโฮโลแกรม (Hologram) ที่มีความมันวาวแบบโลหะ อีกด้วย ตัวอย่างเช่น อัลบั้ม “เซมิโคลอน” (Semicolon) อัลบั้มพิเศษของ “Seventeen” (เซเวนทีน) ที่นอกจากจะมีโฟโต้การ์ดแบบปกติแล้ว ยังมีการ์ดรูปวงกลม วงรี และการ์ดรูปคู่ของสมาชิกเพิ่มเข้ามาด้วย

สิ่งที่น่าสนใจคือ อัลบั้มนี้มีหน้าปกอัลบั้มถึง 14 ปก คือปกสมาชิกแต่ละคน 13 ปก และปกรวมสมาชิกอีก 1 ปก เรียกได้ว่าเป็นอัลบั้มที่มีการสุ่มตั้งแต่หน้าปกเลยทีเดียว โดยอัลบั้มนี้สามารถทำยอดขายได้มากกว่า 1 ล้านอัลบั้ม 

\"โฟโต้การ์ด\" ไอดอลเกาหลี กลยุทธ์ที่ \"K-POP\" ใช้กระตุ้นยอดขาย

อัลบั้ม Semicolon ของ Seventeen เวอร์ชัน Mingyu และ Wonwoo ที่มีการ์ดหลากหลายรูปแบบ

 

หลังจากนั้น ในแต่ละอัลบั้มของเซเวนทีนจะมีอัลบั้มที่เรียกว่า Carat Version ตามมา ที่เป็นปกของแต่ละสมาชิก และมีโฟโต้การ์ดมากกว่า 20 ใบ ภายในอัลบั้ม ซึ่งช่วยกระตุ้นยอดขายได้อย่างดี ส่งผลให้ในปีที่แล้ว เซเวนทีนทำยอดขายไปได้กว่า 3.7 ล้านชุด จากการปล่อยมินิอัลบั้มออกมา 2 ชุด คือ “Your Choice” และ “Attacca

\"โฟโต้การ์ด\" ไอดอลเกาหลี กลยุทธ์ที่ \"K-POP\" ใช้กระตุ้นยอดขาย อัลบั้ม Attacca ของ Seventeen Carat Version ปก Joshua, Mingyu, Dino และ Wonwoo ที่ทำออกมาในรูปแบบแฟ้ม รวมถึงตัวอย่างการ์ดที่แถมมากับอัลบั้ม 

 

สำหรับอัลบั้มเต็มชุดที่ 4 "Face the Sun" ของ Seventeen นี้ ที่กำลังวางแผงในวันที่ 27 พ.ค. นี้ มีทั้งสิ้น 5 เวอร์ชัน และ ยังมี Carat Version ตามออกมาด้วย ทำให้ในขณะนี้มียอดสั่งซื้ออัลบั้มทะลุ 2 ล้านชุดไปเป็นที่เรียบร้อย ทำให้กลายเป็นวงที่มียอดพรีออเดอร์มากที่สุดในประวัติศาสตร์

 

ประเภทของโฟโต้การ์ด

หากจะแบ่งประเภทของโฟโต้การ์ดตามประเภทของการได้มา จะสามารถแบ่งออกคร่าว ๆ ได้ดังนี้ 

  1.  โฟโต้การ์ดสุ่มอัลบั้ม (Random Photocards)  

เป็นโฟโต้การ์ดรูปศิลปินที่แถมมากับอัลบั้ม ซึ่งด้านหน้าเป็นรูปภาพศิลปินในอิริยาบถต่าง ๆ และด้านหลังมักจะเป็นชื่อศิลปิน หรือลายเซ็นของสมาชิกวง หรือชื่ออัลบั้ม ซึ่งโฟโต้การ์ดเหล่านี้จะถูกบรรจุมาอยู่ในอัลบั้มโดยที่ไม่สามารถเลือกได้ 

ในปัจจุบัน ค่ายเพลงมักจะทำอัลบั้มออกมาอย่างต่ำ 2 เวอร์ชัน โดยในอัลบั้มแต่ละเวอร์ชัน จะมีคอนเซ็ปต์ที่แตกต่างกันออกไป และแน่นอนว่าของที่อยู่ในอัลบั้มก็ย่อมมีความแตกต่างกันออกไป รวมถึงโฟโต้การ์ดด้วย เช่น “Dimension : Dilemma” อัลบั้มเต็มชุดแรกของ “ENHYPEN” (เอ็นไฮเพน) มีด้วยกัน 3 เวอร์ชันคือ “SCYLLA” (สคิลลา) พร้อมคอนเซ็ปต์ชายหนุ่มลึกลับในบรรยากาศยุควิคตอเรียน “CHARYBDIS” (คาริบดิส) กับคอนเซ็ปต์วัยรุ่นชานเมืองยุค 90 และ “ODYSSEUS” (โอดิสเซียส) มาในคอนเซ็ปต์ทีมรักบี้ชายหาด (Beach Rugby Team) 

\"โฟโต้การ์ด\" ไอดอลเกาหลี กลยุทธ์ที่ \"K-POP\" ใช้กระตุ้นยอดขาย Dimension : Dilemma อัลบั้มเต็มชุดแรกของ ENHYPEN  ที่มี 3 เวอร์ชัน (+ 1 เวอร์ชันพิเศษ) มีโฟโต้การ์ด 2 แบบ คือการ์ดปรกติและการ์ดแบบโฮโลแกรมที่มีความมันวาว

 

  1. โฟโต้การ์ดพิเศษแบบจำนวนจำกัด (Limited Edition Photo Cards)  

เป็นโฟโต้การ์ดพิเศษที่มีจำนวนจำกัด มีเงื่อนไขการให้ เช่น เฉพาะการสั่งซื้อ 450 คนแรกในรอบแรกของเว็บไซต์หลักของค่ายเพลง หรือ เป็นอัลบั้มรุ่นพิเศษที่มีจำนวนจำกัด โดยอาจจะเป็นการ์ดชนิดปกติ หรือเป็นรูปโพลารอยด์ (Polaroid) พร้อมลายเซ็นของศิลปิน 

\"โฟโต้การ์ด\" ไอดอลเกาหลี กลยุทธ์ที่ \"K-POP\" ใช้กระตุ้นยอดขาย

โฟโต้การ์ดพิเศษแบบจำนวนจำกัดของ ENHYPEN จากอัลบั้ม Carnival ที่มาในรูปแบบรูปโพลารอยด์ มีจำนวนเพียง 450 ใบเท่านั้น

เครดิตภาพ: @nas_ae_, @Versailles, @Haruka_chim และ @_ssenge

 

  1. โฟโต้การ์ดพรีออเดอร์ (Pre-order Benefit Photocards: POBs)  

เป็นการ์ดพิเศษที่ได้มาจากการพรีออเดอร์อัลบั้มก่อนอัลบั้มจะวางขายจริงในช่วงเวลาที่กำหนด ซึ่งแต่ละเว็บไซต์ที่ให้สังซื้อจะได้การ์ดที่แตกต่างกันออกไป ทั้งอิริยาบถที่ถ่าย หรือเสื้อผ้าของศิลปิน และด้านหลังของการ์ดจะมีชื่อที่มีของการ์ดเช่นเว็บไซต์ที่จัดจำหน่ายพิมพ์ไว้อยู่ด้วย อย่างไรก็ตาม หากเป็นศิลปินแบบกลุ่มบอยแบนด์ หรือ เกิร์ลกรุ๊ป จะได้การ์ดหนึ่งใบต่อหนึ่งอัลบั้มและไม่สามารถเลือกการ์ดสมาชิกที่ต้องการได้ แต่หากซื้ออัลบั้มครบจำนวนสมาชิกจะการันตีเลยว่าได้การ์ดไม่ซ้ำ ครบจำนวนสมาชิกอัลบั้ม 

\"โฟโต้การ์ด\" ไอดอลเกาหลี กลยุทธ์ที่ \"K-POP\" ใช้กระตุ้นยอดขาย

โฟโต้การ์ดพรีออเดอร์ของวง ENHYPEN อัลบั้ม Dimension : Dilemma จากเว็บไซต์ Weverse

 

  1. โฟโต้การ์ดแฟนไซน์ หรือ การ์ดอีเวนต์ (Fansign Event Photocards)  

เป็นการ์ดพิเศษที่ได้มาจากการ์ดเข้าร่วมกิจกรรมแฟนไซน์ ทั้งแบบออฟไลน์และออนไลน์ มีลักษณะเช่นเดียวกับโฟโต้การ์ดพรีออเดอร์ 

ในส่วนของแฟนไซน์นั้น แฟนคลับผู้โชคดีจะได้รับอัลบั้มพร้อมลายเซ็นและวิดีโอคอลกับศิลปิน โดยผู้ที่จะได้รับสิทธิ์เข้าร่วมแฟนไซน์นั้นมักจะมาจากการสุ่ม ซื้อ 1 อัลบั้มจะได้ 1 สิทธิ์ ดังนั้นยิ่งแฟนคลับซื้ออัลบั้มมากเท่าไหร่ย่อมมีสิทธิ์ได้เข้าร่วมแฟนไซน์มากขึ้นเท่านั้น (แต่บางกิจกรรมก็ใช้วิธีการสุ่ม เพียงแค่ซื้ออัลบั้มเดียวก็มีสิทธิ์ลุ้นเข้าไซน์)

การจัดแฟนไซน์จึงเป็นเหมือนโอกาสทองของค่ายเพลงที่จะกระตุ้นยอดขายอัลบั้มให้สูงขึ้น ศิลปินบางวงจึงจัดแฟนไซน์หลายครั้งเพื่อให้ได้ยอดขายที่สูงขึ้น อย่างเช่น Golden Child ช่วงอัลบั้ม Game Changer มีการจัดแฟนไชน์เฉพาะกับเว็บไซต์ เอเวอร์ไลน์ (Everline) เว็บไซต์เดียวทั้งสิ้น 18 ครั้ง  

\"โฟโต้การ์ด\" ไอดอลเกาหลี กลยุทธ์ที่ \"K-POP\" ใช้กระตุ้นยอดขาย ตัวอย่างการ์ดอีเวนต์จากงานแฟนไซน์ต่าง ๆ ของวง The Boyz 

 

  1. เทรดดิ้งการ์ด (Trading Cards: TCs)  

เป็นการ์ดที่ขายแยกออกมาเนื่องในโอกาสพิเศษ เช่น ฉลองครบรอบการเดบิวต์ การจัดคอนเสิร์ต การออกยูนิตย่อยพิเศษ (Sub-unit) มีจำนวนการ์ดหลายสิบใบ มีทั้งภาพเดี่ยวของสมาชิกวง ภาพคู่ และภาพครบวง แต่ในการจัดจำหน่ายนั้นมักจะจำกัดไม่เกิน 10 ใบต่อหนึ่งซอง 

เทรดดิ้งการ์ดนี้มักจะทำมาจากกระดาษแข็ง ทำให้มีผิวสัมผัสการ์ดที่แตกต่างจากการ์ดปกติ เช่น เทรดดิ้งการ์ดจากดิจิทัลซิงเกิ้ล “Bittersweet” ของ “Wonwoo” (วอนอู) และ “Mingyu” (มินกยู) จากวง Seventeen มีทั้งสิ้น 42 แบบ โดยแต่ละซองจะมีเทรดดิ้งการ์ดมาให้เพียง 6 ใบเท่านั้น 

\"โฟโต้การ์ด\" ไอดอลเกาหลี กลยุทธ์ที่ \"K-POP\" ใช้กระตุ้นยอดขาย เทรดดิ้งการ์ดจากดิจิทัลซิงเกิ้ล Bittersweet ของ Wonwoo และ Mingyu จากวง Seventeen

 

  1. โฟโต้การ์ดจากสินค้าที่ระลึก (Official Goods/ Merch Photo Cards)  

การ์ดที่แถมมากับสินค้าที่ระลึกต่าง ๆ ของศิลปินอย่างเป็นทางการ เช่น แท่งไฟ หรือที่เรียกว่า บง (Light Stick) ชุดปฏิทินพร้อมโฟโต้บุ๊ก หรือ ซีซันกรีตติ้ง (Season Greeting) เสื้อยืด หมอนรองคอ แก้ว ฯลฯ

\"โฟโต้การ์ด\" ไอดอลเกาหลี กลยุทธ์ที่ \"K-POP\" ใช้กระตุ้นยอดขาย \"โฟโต้การ์ด\" ไอดอลเกาหลี กลยุทธ์ที่ \"K-POP\" ใช้กระตุ้นยอดขาย ชุดซีซันกรีตติ้งของ The Boyz ประจำปี 2565

 

ตลอดจนการเป็นสมาชิกรายปี (Membership) ซึ่งมีทั้งสุ่มโฟโต้การ์ดให้และได้โฟโต้การ์ดครบเซ็ต 

\"โฟโต้การ์ด\" ไอดอลเกาหลี กลยุทธ์ที่ \"K-POP\" ใช้กระตุ้นยอดขาย Member Kit ของวง ENHYPEN ซึ่งนอกจากจะได้ของเหล่านี้แล้ว ยังได้ชมคอนเทนต์สุดพิเศษ พร้อมส่วนลดในการซื้อบัตรคอนเสิร์ตและอื่น ๆ อีกมากมาย

 

  1. โฟโต้การ์ดจากสินค้าที่ศิลปินไปร่วมงานหรือเป็นพรีเซ็นเตอร์ (Brand Cooperation/ Brand Ambassadors Photo Cards)

การ์ดที่แถมมากับการซื้อผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่ศิลปินไปร่วมงานด้วย เช่น นิตยสารต่าง ๆ ที่ศิลปินไปขึ้นปก สำหรับนิตยสารวัยรุ่นไทยในปัจจุบันก็ใช้กลยุทธ์นี้ด้วยเช่นกัน แต่มักจะแถมเป็นโปสการ์ด ไม่ใช่โฟโต้การ์ดแบบในเกาหลีใต้

\"โฟโต้การ์ด\" ไอดอลเกาหลี กลยุทธ์ที่ \"K-POP\" ใช้กระตุ้นยอดขาย โฟโต้การ์ดของ The Boyz ที่แถมมากับนิตยสาร The Star ที่สมาชิกของวงไปขึ้นปก

 

รวมไปถึงสินค้าที่ศิลปินเป็นพรีเซ็นเตอร์ ตามเงื่อนไขที่แต่ละแบรนด์กำหนด ไม่ว่าจะเป็นซื้อสินค้าที่กำหนด หรือ มียอดซื้อสินค้าที่ครบตามจำนวนที่กำหนด อย่างไรก็ตาม ไม่มีการกำหนดรูปแบบตายตัวว่าจะได้การ์ดครบทั้งเซ็ตจากการซื้อสินค้านั้น ๆ ในครั้งเดียว หรือจะเป็นการสุ่มให้การ์ด ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของแต่ละสินค้า 

\"โฟโต้การ์ด\" ไอดอลเกาหลี กลยุทธ์ที่ \"K-POP\" ใช้กระตุ้นยอดขาย

ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวแบรนด์หนึ่งแถมโฟโต้การ์ดของ The Boyz เมื่อซื้อผลิตภัณฑ์ที่กำหนด

 

เนื่องด้วยปริมาณโฟโต้การ์ดที่มากมายขนาดนี้ ทำให้เหล่าแฟนคลับหลายคนไม่สามารถซื้อสินค้าเหล่านั้นเพื่อให้ได้โฟโต้การ์ดมาได้หมด หรือซื้อมาแล้วแต่ไม่ได้โฟโต้การ์ดของสมาชิกที่เป็นเมนของตน จึงได้เกิดการแลกเปลี่ยนโฟโต้การ์ดกันระหว่างแฟนคลับ ต่อมาเมื่อมีแฟนคลับมากขึ้น ทำให้เกิดความต้องการมากขึ้น จึงได้พัฒนารูปแบบมาเป็นการซื้อขายการ์ดกัน จนตอนนี้สามารถพูดได้อย่างเต็มปากว่าราคาโฟโต้การ์ดนั้นมีมูลค่าสูงกว่าอัลบั้มเสียอีก

สำหรับราคาของโฟโต้การ์ดที่สูงที่สุดมักจะเป็นโฟโต้การ์ดพิเศษแบบจำนวนจำกัด เนื่องจากมีเพียงไม่กี่ใบในโลกเท่านั้น อย่างเช่น โฟโต้การ์ดของ “Jungkook” (จองกุก) แห่งวง “BTS” (บีทีเอส) จากอีเวนต์ “Butterful Lucky” ด้วยจำนวนที่มีเพียง 60 ใบในโลกเท่านั้น ทำให้ถูกประมูลไปด้วยราคา 3,213 ดอลลาร์ ถือว่าเป็นโฟโต้การ์ดศิลปินเกาหลีที่มีมูลค่าสูงที่สุดนับตั้งแต่เคยมีการซื้อขายกันมา 

\"โฟโต้การ์ด\" ไอดอลเกาหลี กลยุทธ์ที่ \"K-POP\" ใช้กระตุ้นยอดขาย

 

ขณะที่โฟโต้การ์ดของศิลปิน K-Pop ที่มาจากประเทศญี่ปุ่น ไม่ว่าจะเป็นโฟโต้การ์ดชนิดใดล้วนแต่มีราคาสูงกว่าโฟโต้การ์ดอัลบั้มเวอร์ชันเกาหลีใต้ทั้งสิ้น เนื่องจากญี่ปุ่นขายอัลบั้มแพงกว่า

\"โฟโต้การ์ด\" ไอดอลเกาหลี กลยุทธ์ที่ \"K-POP\" ใช้กระตุ้นยอดขาย ตัวอย่างอัลบั้มเวอร์ชันญี่ปุ่น ที่มักจะทำเป็นปกสมาชิกในวงในแบบ Limited Editon แถมพร้อมการ์ดสมาชิกวงตามปก

 

ส่วนในประเทศไทยเอง ศิลปิน นักร้อง บอยแบนด์ เกิร์ลกรุ๊ป จำนวนไม่น้อย หรือแม้แต่ผลิตภัณฑ์ที่มีดารานักแสดงเป็นที่มีแฟนคลับจำนวนมากเป็นพรีเซนเตอร์ หันมาใช้กลยุทธ์โฟโต้การ์ดนี้ด้วยเช่นกัน ซึ่งนี่อาจจะเป็นกลยุทธ์ที่ทำให้วงการ T-POP กลับมาคึกคักอีกครั้ง

\"โฟโต้การ์ด\" ไอดอลเกาหลี กลยุทธ์ที่ \"K-POP\" ใช้กระตุ้นยอดขาย \"โฟโต้การ์ด\" ไอดอลเกาหลี กลยุทธ์ที่ \"K-POP\" ใช้กระตุ้นยอดขาย

ศิลปินไทยเริ่มหันมาใช้กลยุทธ์โฟโต้การ์ดกันมากขึ้น โดยมีทั้งแบบได้ครบเซ็ตและแบบสุ่ม

 

หากเป็นคนภายนอกที่ไม่ใช่แฟนคลับได้ทราบราคาของโฟโต้การ์ดเหล่านี้แล้วคงตกใจไม่น้อย และแปลกใจว่าทำไมถึงเอาเงินมาลงกับกระดาษใบเล็ก ๆ ที่มีราคามหัศจรรย์แบบนี้ แต่มันคือความสุข ความอิ่มใจเวลาที่ได้โฟโต้การ์ดเมนที่รักยิ่งมาครอบครอง ยิ่งได้เป็นโฟโต้การ์ดใบที่หายากด้วยแล้ว ก็เท่ากับเป็นการปลดล็อกความสำเร็จ (Achievement) ไปอีกขั้นหนึ่ง และยังเป็นคุณค่าทางใจที่ประเมินค่าไม่ได้สำหรับแฟนคลับทุกคน  

 

ที่มา: Allkpop, CNN Philippines, Hanteo News, Korea Joongang Daily, Kpopholics, RapplerSoompi, Villag Pipol