"กิน.กอด.โลก Kind Dining" ชวนคนรุ่นใหม่ ไม่กินเนื้อสัตว์ป่าผิดกฎหมาย

"กิน.กอด.โลก Kind Dining" ชวนคนรุ่นใหม่ ไม่กินเนื้อสัตว์ป่าผิดกฎหมาย

จากการวิจัยพบว่า กลุ่มคนมีฐานะที่ชอบการท่องเที่ยว มีการบริโภคสัตว์ป่าเพิ่มขึ้น ส่งผลให้สัตว์ป่าถูกล่า และอาจนำมาซึ่งโรคระบาดใหม่ หลายองค์กรจึงร่วมกันสร้างแคมเปญ Kind Dining กิน.กอด.โลก ขึ้น

จากการวิจัยในเดือนมิถุนายน  2564 พบว่า กลุ่มประชากรในเขตเมืองที่บริโภคเนื้อสัตว์ป่าในประเทศไทย มีอายุระหว่าง 18-30 ปี มีฐานะและชื่นชอบการเดินทางท่องเที่ยว นิยมบริโภคเนื้อสัตว์ป่าเพิ่มมากขึ้น ด้วยความอยากรู้อยากลอง รสชาติ ความตื่นเต้น แปลกใหม่ และความรู้สึกของความสำเร็จ ไม่ใช่เพื่อประทังชีวิต

ความต้องการ เนื้อสัตว์ป่า ส่งผลให้เกิดการล่า ฆ่า ค้าสัตว์ป่าอย่างผิดกฎหมาย ทำให้สัตว์ป่าลดจำนวนลง จนบางชนิดเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ และเพิ่มความเสี่ยงการติดโรคจากสัตว์ป่าสู่คน เช่น เชื้อไวรัสโควิด-19 ที่สร้างปัญหาไปทั่วโลก

Kind Dining กิน.กอด.โลก

แคมเปญ ‘Kind Dining กิน.กอด.โลก’ จึงได้เกิดขึ้น เพื่อชวนคนรุ่นใหม่ไม่กินเนื้อสัตว์ป่าผิดกฎหมาย โดยมี สกาย-วงศ์รวี นทีธร, หมอล็อต-นายสัตวแพทย์ภัทรพล มณีอ่อน และ เชฟตาม-ชุดารี เทพาคำ มาช่วยกันปกป้องและอนุรักษ์สัตวป่า ลดความเสี่ยงของโรคระบาดที่เกิดจากสัตว์ป่า

แคมเปญนี้เกิดจากความร่วมมือระหว่าง เครือข่ายเฝ้าระวังการค้าสัตว์ป่าและพืชป่า (TRAFFIC) สมาคมสัตววิทยาแห่งลอนดอน (Zoological Society of London: ZSL) กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม (อส.)

\"กิน.กอด.โลก Kind Dining\" ชวนคนรุ่นใหม่ ไม่กินเนื้อสัตว์ป่าผิดกฎหมาย แคมเปญ Kind Dining กิน.กอด.โลก

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) รัฐวิสาหกิจภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (United Nations Development Programme: UNDP)

โดยการสนับสนุนของ กองทุนสิ่งแวดล้อมโลก (Global Environment Facility: GEF) โครงการคุ้มครองสัตว์ป่าโลก (Global Wildlife Program:GWP) กองทุนเพื่อการคัดค้านการค้าสัตว์ป่าผิดกฎหมายแห่งสหราชอาณาจักร (Illegal Wildlife Trade Challenge Fund: IWTCF) โครงการกิจการระหว่างประเทศของปลาและสัตว์ป่าแห่งสหรัฐอเมริกา (U.S. Fish and Wildlife Service: USFWS)

ใจดี มีเมตตา ต่อสัตว์ป่า

Kind Dining มาจากคำว่า Kindness ความใจดี มีเมตตา และ Fine Dining การกินอาหารที่ถูกคัดสรรมาอย่างดี ทำให้รู้สึกถึงความพิเศษที่ไม่สามารถสัมผัสได้จากร้านทั่วไป เกิดเป็นแนวคิดว่า มื้อที่ดีและพิเศษที่สุด คือ มื้อที่ไม่ทำร้ายสัตว์ป่า

\"กิน.กอด.โลก Kind Dining\" ชวนคนรุ่นใหม่ ไม่กินเนื้อสัตว์ป่าผิดกฎหมาย แคมเปญ Kind Dining กิน.กอด.โลก

คนกินเนื้อสัตว์ป่าเพิ่มมากขึ้น ?

สมาคมสัตววิทยาแห่งลอนดอน (ZSL) และ TRAFFIC ได้วิจัยเพื่อศึกษาการบริโภคเนื้อสัตว์ป่าของคนไทยในเขตเมือง พบว่า ในรอบปีที่ผ่านมา ร้อยละ 32 มีการบริโภคเนื้อสัตว์ป่า และเนื้อสัตว์ป่าที่ผิดกฎหมาย และมีแนวโน้มจะบริโภคอีกในอนาคต

ดร. ไอลีน ลาร์นี่ ผู้อำนวยการ ZSL ประจำประเทศไทย กล่าวว่า ผลวิจัยทำให้เราเข้าใจทัศนคติและพฤติกรรมการบริโภคเนื้อสัตว์ป่าในประเทศไทยมากขึ้น

“เพื่อยุติการบริโภคเนื้อสัตว์ป่าผิดกฎหมาย แคมเปญ Kind Dining กิน.กอด.โลกถูกออกแบบให้มีกิจกรรมหลากหลายทั้งออนไลน์และออฟไลน์” 

สร้างสังคมปกป้องสัตว์ป่า

ธัญญา เนติธรรมกุล อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช (อส.) มีความเห็นว่า การรณรงค์หยุดการบริโภคเนื้อสัตว์ป่าผิดกฎหมายมีความจำเป็นอย่างยิ่ง

“เมื่อหยุดการบริโภคก็จะช่วยให้สัตว์ป่ามีชีวิตและทำหน้าที่ในธรรมชาติของเขาสอดคล้องกับภารกิจของกรมอุทยานฯ ในการอนุรักษ์ คุ้มครอง และฟื้นฟูทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่า”

ดารารัตน์ วีระพงษ์ ผู้จัดการอาวุโส เครือข่ายเฝ้าระวังการค้าสัตว์ป่าและพืชป่า (TRAFFIC) กล่าวว่า การปกป้องสัตว์ป่าต้องทำพร้อมกันหลายภาคส่วน

“จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องสร้างความเปลี่ยนแปลงทั้งทางสังคมและพฤติกรรม ควบคู่ไปกับการบังคับใช้กฎหมาย เพื่อลดความต้องการบริโภคเนื้อสัตว์ป่า รวมถึงการเกิดโรคอุบัติใหม่”                                                              

ยุทธศักดิ์ สุภสร ผู้ว่าการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) มองว่า นักท่องเที่ยวและผู้จัดการท่องเที่ยว ควรมีจิตสำนึกในการท่องเที่ยวเสียใหม่

“ททท.ให้ความสำคัญกับการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน สัตว์ป่าและสิ่งแวดล้อมมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดและมักได้รับผลกระทบจากการท่องเที่ยว แคมเปญ Kind Dining จึงเป็นแบบอย่างของทิศทางการท่องเที่ยวไทยในอนาคต”

\"กิน.กอด.โลก Kind Dining\" ชวนคนรุ่นใหม่ ไม่กินเนื้อสัตว์ป่าผิดกฎหมาย แคมเปญ Kind Dining กิน.กอด.โลก

สหประชาชาติพร้อมผลักดันเต็มที่

ม.ร.เรอโนด์ เมเยอร์ ผู้แทนโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ UNDP ประจำประเทศไทย กล่าวว่า ประเทศไทยเริ่มมีคนมองเห็นปัญหานี้แล้ว และต้องรณรงค์ต่อไป  

“ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เริ่มมีการรณรงค์ให้คนหันมาสนใจเรื่องการอนุรักษ์สัตว์ป่ามากขึ้น คนจำนวนมากเริ่มเข้าใจว่า การบริโภคเนื้อสัตว์ป่าผิดกฎหมายเป็นเรื่องที่ยอมรับไม่ได้ สวนทางกับกระแสอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมที่เพิ่มมากขึ้น

แคมเปญ Kind Dining ได้รับความร่วมมือและการสนับสนุนจากหลายภาคส่วน ทั้งนักวิชาการ ผู้มีชื่อเสียง องค์กรพันธมิตรต่างๆ มั่นใจว่าจะมีผู้ร่วมให้คำมั่นสัญญากับการรณรงค์ครั้งนี้มากมาย”

แคมเปญนี้ นำเสนอคลิปวิดีโอ 4  ชุด เผยแพร่ทาง Facebook และ YouTube โดย แล้วยังมีกิจกรรม Kindness Delivery ในช่วงเดือนธันวาคมถึงมกราคม โดย เซฟตาม และร้านมีนามีข้าว จ.เชียงใหม่ จะดัดแปลงเมนูปลอดเนื้อสัตว์ป่า แจกจ่ายให้บุคคลทั่วไปได้ลิ้มลองพร้อมคิวอาร์โค้ด www.kind-dining.com

ประชาชนสามารถเลือกเข้าร่วมทีมสัตว์ป่าที่ชื่นชอบได้จากทั้งหมด 5 ทีม โดยคลิกให้คำมั่นสัญญาเพื่อรับตราประจำทีมสำหรับการแชร์ผ่านสื่อโซเชียล และติดแฮชแท็ก #SayNotoIllegalWildMeat และ #KindDining

ร่วมให้คำมั่นสัญญาไม่บริโภคเนื้อสัตว์ผิดกฎหมาย ได้ที่ www.kind-dining.com