ปรากฏการณ์ "ฮันเตอร์มูน" ค่ำคืนวันออกพรรษา ณ เจดีย์ภูเขาทอง

ปรากฏการณ์ "ฮันเตอร์มูน" ค่ำคืนวันออกพรรษา ณ เจดีย์ภูเขาทอง

ประมวลภาพ ปรากฏการณ์ "ฮันเตอร์มูน" ( Hunters Moon) ค่ำคืน "วันออกพรรษา" ปี 2564 ณ เจดีย์ภูเขาทอง จ.พระนครศรีอยุธยา

ประมวลภาพ "ดวงจันทร์เต็มดวง" ในคืน "วันออกพรรษา" 2564 ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน  11 ตามปฏิทินทางจันทรคติ และปีนี้ตรงกับวันที่ 21 ตุลาคม 2564 ตามปฏิทินสากล (หลังวันเข้าพรรษา 3 เดือน) อิงแอบข้างเจดีย์องค์ใหญ่ ก่อนลงสะท้อนผิวน้ำที่เอ่อล้นเจ้าพระยาเข้าท่วมไร่นาเรือกสวน

ปรากฏการณ์ \"ฮันเตอร์มูน\" ค่ำคืนวันออกพรรษา ณ เจดีย์ภูเขาทอง

ซึ่งชื่อของ “ดวงจันทร์เต็มดวง” ในแต่ละเดือนนั้นใถูกตั้งขึ้นโดยชนพื้นเมืองในแต่ละพื้นที่ ตามสภาพแวดล้อม และฤดูกาลที่เปลี่ยนแปลงไปซึ่งเป็นเพียงชื่ออย่างไม่ทางการของบางวัฒนธรรม และไม่ได้เป็นชื่อที่ใช้อย่างเป็นทางการ มีที่มาจากหลากหลายพื้นที่ ทั้งตำนานของชาวแองโกล-แซกซัน (Anglo-Saxon) และตำนานพื้นเมืองในทวีปอเมริกาเหนือ

ปรากฏการณ์ \"ฮันเตอร์มูน\" ค่ำคืนวันออกพรรษา ณ เจดีย์ภูเขาทอง

โดย สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (NARIT) ได้นำเกร็ดความรู้เกี่ยวกับการเรียกชื่อ “ดวงจันทร์เต็มดวง” ในแต่ละเดือน ซึ่งเรียบเรียงโดย ฟ้าประกาย เจียรคุปต์ เจ้าหน้าที่สารสนเทศดาราศาสตร์สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (สดร.) อธิบายไว้ดังนี้

 

มกราคม : วูลฟ์ มูน (Wolf Moon) 

ในเดือนมกราคมของทุกปี เป็นช่วงเวลาฤดูหนาวที่หิมะตก ชาวบ้านมักจะยินเสียงหมาป่าหอน ท่ามกลางอากาศหนาวเหน็บ จึงเป็นที่มาของชื่อ วูลฟ์ มูน (Wolf Moon)

กุมภาพันธ์ : สโนว์มูน (Snow Moon) 

ในเดือนกุมภาพันธ์ เป็นช่วงที่หิมะที่ตกหนักที่สุด ทำให้ชื่อของหิมะ (Snow) ถูกนำไปตั้งชื่อ ดวงจันทร์เต็มดวงในเดือนนี้ว่า สโนว์มูน (Snow Moon)

มีนาคม : เวิร์มมูน (Worm Moon)

ในเดือนมีนาคม เป็นช่วงสิ้นสุดฤดูหนาว หิมะเริ่มละลาย พื้นดินเริ่มอ่อนตัวลงและบรรดาไส้เดือนเริ่มโผล่ออกมาจากพื้นดิน จึงเป็นที่มาขอชื่อดวงจันทร์เต็มดวงในเดือนนี้ว่า เวิร์มมูน (Worm Moon)

เมษายน : พิงค์มูน (Pink Moon)

ในเดือนเมษายน เป็นช่วงเวลาของท้องทุ่งต่าง ๆ เต็มไปด้วยสีชมพูของดอกฟล็อกซ์ เป็นที่มาของการตั้งชื่อดวงจันทร์เต็มดวงของเดือนนี้ว่า พิงค์มูน (Pink Moon)

พฤษภาคม : ฟลาวเวอร์มูน (Flower Moon)

ในเดือนพฤษภาคม เป็นช่วงฤดูใบไม้ผลิ ที่มีดอกไม้บานสะพรั่งในช่วงเดือนนี้ จึงเป็นที่มาของการเรียกชื่อดวงจันทร์เต็มดวงในเดือนนี้ว่า ฟลาวเวอร์มูน (Flower Moon)

มิถุนายน : สตรอเบอร์รี่มูน (Strawberry Moon)

ในเดือนมิถุนายน เป็นช่วงที่สตรอเบอร์รี่สุก และเป็นช่วงของการเก็บเกี่ยวผลสตรอเบอร์รี่ในเดือนนี้ จึงเป็นที่มาของการเรียกชื่อดวงจันทร์เต็มดวงในเดือนนี้ว่า สตรอเบอร์รี่มูน (Strawberry Moon)

กรกฎาคม : บัคมูน (Buck Moon) 

ในเดือนกรกฎาคม เป็นช่วงเวลาที่เหล่ากวางตัวผู้จะมีเขาใหม่งอกออกมาจากหัวในช่วงเดือนนี้ จึงเป็นที่มาของการเรียกชื่อดวงจันทร์เต็มดวงในเดือนนี้ว่า บัคมูน (Buck Moon

สิงหาคม : สเตอร์เจียนมูน (Sturgeon Moon) 

ในเดือนสิงหาคม เป็นช่วงเดือนที่บริเวณทะเลสาบที่ทำการประมงของชนเผ่าอัลกอนควิน มีปลาสเตอร์เจียนจำนวนมากอาศัยอยู่ จึงเรียกดวงจันทร์เต็มดวงเดือนนี้ว่า สเตอร์เจียนมูน (Sturgeon Moon)

กันยายน : คอร์นมูน (Corn Moon)

ในเดือนกันยายน เป็นช่วงเวลาการเก็บเกี่ยวข้าวโพด ในช่วงเดือนนี้ จึงเป็นที่มาของการเรียกชื่อดวงจันทร์เต็มดวงในเดือนนี้ว่า คอร์นมูน (Corn Moon)

ตุลาคม : ฮันเตอร์มูน (Hunter’s Moon)

ในเดือนตุลาตม เป็นช่วงที่ผู้คนที่อาศัยอยู่ในซีกโลกเหนือ เตรียมตัวเพื่อที่จะเข้าสู่ฤดูหนาว โดยการล่าสัตว์ หรือฆ่าสัตว์ที่เลี้ยงไว้ เพื่อถนอมอาหารไว้ใช้ในช่วงฤดูหนาวที่กำลังจะมาถึง จึงเรียกดวงจันทร์เต็มดวงเดือนนี้ว่า ฮันเตอร์มูน (Hunter’s Moon)

ปรากฏการณ์ \"ฮันเตอร์มูน\" ค่ำคืนวันออกพรรษา ณ เจดีย์ภูเขาทอง

พฤศจิกายน : บีเวอร์มูน (Beaver Moon)

ในเดือนพฤศจิกายน เป็นช่วงที่ฝูงบีเวอร์กระตือรือร้นที่จะเตรียมตัวเพื่อเข้าสู่ฤดูหนาว และเป็นช่วงเวลาที่บรรดานักล่าสัตว์จะวางกับดักได้ง่าย เพื่อจับตัวบีเวอร์เพื่อนำเอาขนไปใช้ประโยชน์ จึงเรียกดวงจันทร์เต็มดวงเดือนนี้ว่า บีเวอร์มูน (Beaver Moon)

ธันวาคม : โคลด์มูน (Cold Moon) 

ในเดือนธันวาคม เป็นช่วงเดือนที่ประเทศบนซีกโลกเหนือเข้าสู่ฤดูหนาว จึงเรียกดวงจันทร์เต็มดวงเดือนนี้ว่า โคลด์มูน (Cold Moon)