แห่แชร์เยอะมาก! 'ตรรกะวิบัติ..ของคนโกง'

แห่แชร์เยอะมาก! 'ตรรกะวิบัติ..ของคนโกง'

ชาวโซเชียลแห่แชร์เยอะมาก! "ตรรกะวิบัติ..ของคนโกง" มุมมองจากนักวิชาการสื่อสาธารณะ

เพจเฟซบุ๊ค Time Chuastapanasiri โพสต์ข้อความพร้อมภาพ ระบุว่า "ตรรกะวิบัติ" ที่คนไทยใช้เข้าข้างคนโกง และทำให้สังคมไทยเต็มไปด้วยวัฒนธรรมการสร้างปัญหาคอร์รัปชั่น ด้วยนิสัยคนไทย ที่เป็นผู้ใช้เหตุผลต่ำ หรือ ตรรกะวิบัติมากมาย
เขียนไว้นานแล้ว ลองเอาไปตรวจสอบตัวเรากันดูนะครับ

คุณเป็น A หรือ B เวลาที่คุยกับคนอื่น?
1. ตำหนิผู้พูด
A: “เขาเป็นคนทำผิดนะ”
B: “ดัดจริต! ว่าแต่คนอื่น ดูตัวเองก่อนเถอะ ดีตายล่ะ?”


2. ใส่ความผู้พูด
A: “เขาเป็นคนโกงนะ”
B: “อิจฉาที่เขารวยกว่าละสิ ทำได้ดีไม่เท่าเขาก็ริษยาเขานะสิ”


3. ประวิงเวลา
A: “เขาทุจริตนะ อัยการ ชี้มูลความผิด ทำสำนวนฟ้องแล้ว”
B: “แค่ฟ้องเฉยๆ เรื่องยังไม่จบ รอให้คดีถึงที่สิ้นสุดก่อนสิ”
A: “เขาทุจริตจริงแน่ๆ เพราะศาลพิพากษาแล้ว”
B: “แค่ศาลชั้นต้น เรื่องยังไม่จบ รอให้คดีถึงที่สิ้นสุดก่อนสิ”
A: “เขาทุจริตชัวร์ เพราะอุทธรณ์แล้วยังแพ้ ศาลพิพากษาไม่รอลงอาญา”
B: “แค่ศาลอุทธรณ์ เรื่องยังไม่จบ รอให้คดีถึงที่สิ้นสุดก่อนสิ”
A: “เขาทุจริตแน่นอนแล้วนะ เพราะศาลฎีฏาพิพากถือเป็นที่สิ้นสุด”
B: “ศาลไทยเอนเอียง ต้องรอให้ศาลโลกวินิจฉัยนะ ถึงจะสิ้นสุด”
A: "......เออ งงแปร๊บป!"


4. ใช้ความกลัวเข้าขู่
A: “เขาเจตนาฉ้อฉลนะ”
B: “พูดอย่างนี้ ปากไม่ดี ระวังจะโดนเข้ากับตัวเองสักวัน”


5. ปฏิเสธผลลัพธ์
A: “โกงไปแล้ว ถึงคืนก็ยังผิด”
B: “ก็เขาคืนแล้ว ยังจะเอาอะไรกับเขาอีก”


6. ทำลายความน่าเชื่อถือ
A: “หลักฐานมัดตัวเขาชัดเจนนะว่าผิดจริง”
B: “ศาลเอนเอียงอคติ เลือกข้างมีวาระเพราะไม่ชอบหน้า”


7. อ้างประโยชน์ ความดี และน่าสงสาร
A: “คนเก่ง กับ คนดี ความผิด กับความถูก มันคนละเรื่องกันนะ”
B: “แต่เขาเป็นคนดี คนเก่ง มีผลงาน และเคยช่วยเหลือสังคมตั้งหลายครั้ง”


8. เหมารวม
A: “เขาโกงและทำแบบนี้มาหลายครั้งแล้ว”
B: “ใครๆ ก็โกงทั้งนั้นแหละ คนอื่นเขาก็ทำ ถ้าตัวเองเป็นเขาก็ต้องทำเหมือนเขานั่นแหละ”


9. ปฏิเสธความเกี่ยวข้อง
A: “เขาทุจริตสร้างความเสียหายจริงๆ นะ”
B: “เป็นเจ้าทุกข์เหรอ เที่ยวไปเดือดร้อนแทนคนอื่น เจ้าทุกข์เขายังไม่เอาเรื่องเลย”


10. ลดทอนหลักการคุณค่า
A: “สังคมต้องยกย่องคนดีไม่ใช่เหรอ”
B: “ดัดจริต! คิดว่าตนเองดี เที่ยวตัดสินคนอื่น เอาอะไรมาบอกว่าอันไหนดี อันไหนเลว ใช้อะไรเป็นตัววัด?!"


11. อ้างเวรกรรม
A: “คนทำผิดแล้วหนีกระบวนการยุติธรรมมันถูกละหรือ”
B: “คนเลวถึงหนียังไงก็หนีเวรกรรมไปไม่พ้นหรอก รอให้เวลาเป็นเครื่องพิสูจน์”


12. ตัดบทสนทนา
A: “สังคมไทยควรให้โอกาสคนโกงหรือ?”
B: “เรื่องของเขา เราไม่เกี่ยว เขาจะดี จะเลวก็ช่างเขาเถิด ทำใจเราให้บริสุทธิ์ก็แล้วกัน”


13. อ้างคนส่วนมาก
A: “เรื่องนี้เขาทำผิดพลาดจริงๆ”
B: “ถึงจะผิด แต่คนส่วนใหญ่ก็ยังนิยม สนับสนุนเขาอยู่นะ”


14. อ้างเจตนา
A: “ผลสอบสวนชี้ออกมาว่าเขาทุจริต โกงจริงนะ”
B: “แต่เขาไม่ได้มีเจตนา เขารู้เท่าไม่ถึงการณ์นะ”


15. แก้ต่างความไม่รู้
A: “เขาทำผิดกฎหมายหลายๆ ข้อเลยนะ”
B: “เขาไม่รู้กฎหมาย ไม่ผิด ถือเป็นบกพร่องโดยสุจริต”


16. กลบเกลื่อนความเสียหาย
A : "เขาทุจริตจริงๆ นะ บาทเดียวก็ถือว่าโกง"
B: "โอ๊ย เสียหายเพียงเล็กน้อย ไม่เห็นต้องถือสาหาความเลย"


เพราะคนไทยเถียงแบบนี้และมองไม่พ้นตัวตน-ตัวคน
ประเทศไทยถึงไม่ไปไหนสักที!
‪#‎ตรรกะวิบัติ‬ ‪#‎เถียงอย่างไรก็ไม่ชนะ‬