เปิดเบื้องหลัง“ทริอาช” ซีรีส์ที่สมจริงและโดนใจ

เปิดเบื้องหลัง“ทริอาช” ซีรีส์ที่สมจริงและโดนใจ

เดินทางมาถึงช่วงสุดท้ายแล้วสำหรับซีรีส์ “ทริอาช” หลายคนสงสัยว่าผลงานเรื่องนี้สร้างออกมาได้สมจริงสมจัง คนเบื้องหลังทำงานอย่างไร

“ทริอาช” (Triage) เป็นแฟนตาซีซีรีส์ที่ผลิตโดย บริษัท ทีวี ธันเดอร์ จำกัด (มหาชน) เป็น AIS PLAY Original

ออกอากาศทุกวันจันทร์ทาง AIS PLAY เวลา 22.00 น. และทาง ช่อง 3 (33) เวลา 23.00 กำลังจะมาถึงตอนจบของเรื่องแล้ว อีกสามตอนเท่านั้น

หลังจากออกอากาศไปได้เพียง 1 EP ก็สร้างความเคลื่อนไหวในโลกโซเชียลมีเดีย ฉากนาทีชีวิตที่ถ่ายทอดออกมาได้สมจริง

จนคุณหมอหลายท่านกล่าวว่า ซีรีส์นี้ทำได้ดี ตั้งแต่รายละเอียดอาการคนไข้ ประวัติ ศัพท์เฉพาะทางการแพทย์ การทำหัตถการ และการทำ CPR

“ทริอาช” ดัดแปลงมาจากนวนิยายชื่อเดียวกันของ Sammon_Scene หรือ อิสรีย์ ศิริวรรณกุลธร ผู้เขียน ‘พฤติการณ์ที่ตาย’ ที่ ทีวี ธันเดอร์ นำมาสร้างเป็นซีรีส์ในปี 2563 โดย ผู้กำกับ มะเดี่ยว-ชูเกียรติ ศักดิ์วีระกุล

เปิดเบื้องหลัง“ทริอาช” ซีรีส์ที่สมจริงและโดนใจ

  • เมดิคอลซีรีส์ที่มีความสมจริงมากที่สุด

จารุพร กำธรนพคุณ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายงานการผลิต บริษัท ทีวี ธันเดอร์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า

เหตุผลที่เลือกเรื่องนี้มาทำซีรีส์ เพราะก่อนหน้าทำซีรีส์หมอมาแล้ว จึงอยากทำต่อไป

“เราอยากให้มีซีรีส์วายประเภทใหม่คือ Medical Drama Fantasy ซีรีส์ทางการแพทย์ แม้ยังไม่มีทุน แต่แรงทุกคนที่ใส่ ก็ทำให้มันเกิดขึ้นได้

จากบทประพันธ์ของคุณหมอแซม ในยูนิเวิร์สนี้มีหลายเรื่อง พอได้ทำเรื่อง “พฤติการณ์ที่ตาย” ซีรีส์ทางการแพทย์สืบสวนสอบสวนแล้ว ก็อยากทำต่อกับคนทำงานที่รู้ใจ 

มะเดี่ยว ดูแลเรื่องบท บอกว่าต้องเพิ่มตัวละคร จินตะ เพื่อให้การอธิบายลูป  (Loop: เรื่องที่เกิดขึ้นซ้ำเดิมกับตัวละครเดิม) ให้เข้าใจง่ายขึ้น

พอทำ บท เสร็จ ก็มี ทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ดูบทให้อีกที สุดท้ายก็มาดูกันว่า จะบาลานซ์ เรื่องยังไง ไม่ให้เป็นสารคดีทางการแพทย์เกินไป

เปิดเบื้องหลัง“ทริอาช” ซีรีส์ที่สมจริงและโดนใจ "จารุพร กำธรนพคุณ" รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายงานการผลิต

ก่อนถ่ายมีเวิร์คช็อปเตรียมความพร้อมนักแสดงทุกคน เพื่อให้เข้าใจ Mindset ความเป็นหมอ ตั้งแต่วิธีคิด ไม่ใช่แค่ให้บทไปอ่านท่องจำ

เราไปถ่ายกันที่ จ.เชียงใหม่ สองเดือน ไปดูมา 6 โรงพยาบาล แล้วก็เซ็ทห้อง ER ห้องฉุกเฉิน ให้เหมือนจริงที่สุด

ใน EP.1 มะเดี่ยว ทำเป็น Long Take เกิดขึ้นจากไอเดียของ อั้ม (ณัฐพงษ์ อรุณเนตร) ผู้กำกับร่วม 

ที่รู้สึกว่าต้องถ่ายทอดความรู้สึกของ หมอติณห์ แบบเรียลไทม์ แล้วค่อยมาแบ่งว่าจะให้ เส้นความสัมพันธ์ กราฟชีวิตตัวละครขึ้นตอนไหน

การถ่ายทำฉาก Long Take ทุกคนต้องเข้าใจเป็น เส้นเดียวกัน ถูกต้องเป๊ะ คน 60 ชีวิต ต้องรู้ว่าใครทำอะไรอยู่ตรงไหน อะไรเสร็จก่อนหลัง คุณหมอก็มาร่วมบล็อกกับเราด้วย

ความยาก คือ ความลื่นไหลทั้งหมดในนั้น ต้องถูกหมด ต้องสัมพันธ์กับการแพทย์ แล้วต้องนับเวลาได้ ถ่ายทำกันทั้งหมด 24 เทค ก็ไม่มีใครท้อ

เปิดเบื้องหลัง“ทริอาช” ซีรีส์ที่สมจริงและโดนใจ

ในส่วนของ นักแสดง  ก็ต้องมีวิธีคิด มีความมุ่งมั่นแบบหมอที่เชื่อว่าจะช่วยคนนี้ให้รอด น้องทั้งสี่คน เราไม่ได้ Cast แค่หน้าตา ไม่ใช่แค่เล่นได้

ทัศนคติ ต้องได้ด้วย นิสัยเป็นอย่างไร มาอยู่กองกับเราเป็นเดือน ๆ เข้าใจโปรดักชั่นไหม ชีวิตมันไม่ได้ง่าย ถ้าคุณคิดว่ามันได้มาง่าย ๆ คุณก็ไม่ทุ่มเท แม้จะมีการวางตัวไว้แล้วก็เปลี่ยนได้

ซีน ER ตั้งแต่ เวิร์คช็อป จนกระทั่งวันถ่าย ดูมอนิเตอร์ตรวจเทปกี่ครั้ง ก็ร้องไห้ทุกครั้ง ไม่ได้ร้องเพราะเรื่องดีจังเลย แต่ร้องไห้ เพราะดอกผลของความตั้งใจ

ทริอาช สร้างคนที่อยากจะเป็นนักแสดง คนที่อยากจะสร้างงาน ไม่มีหรอกทำน้อยได้มาก ต้องตั้งใจมาก ๆ หน้าที่นักแสดงต้องรับผิดชอบเต็มร้อย

ส่วนเรื่องต่อไป เราก็หาอะไรใหม่ ๆ ที่เราอยากทำ เราคงไม่หยุด ซีรีส์ทางการแพทย์

มันเป็นเรื่องที่ท้าทาย สนุก ยังทำอะไรได้อีกเยอะ เป็น งานศิลปะ ที่เราอยากสร้าง เทรนด์ ใหม่ ๆ ที่ตอบได้ว่า ทำเรื่องนี้แล้วมันได้อะไร"

เปิดเบื้องหลัง“ทริอาช” ซีรีส์ที่สมจริงและโดนใจ

มะเดี่ยว-ชูเกียรติ ศักดิ์วีระกุล ผู้กำกับ

  • เบื้องหลังการถ่ายทำ "ทริอาช"

มะเดี่ยว-ชูเกียรติ ศักดิ์วีระกุล ผู้กำกับการแสดง กล่าวว่า หลังจากอ่านนิยายเรื่องนี้แล้วรู้สึกสนุก

“เป็นเรื่องของหมอคนหนึ่งที่ติด Loop จากการช่วยน้องคนหนึ่งจากอุบัติเหตุไม่ได้ แล้วสงสัย

จนพบว่าการติด Loop ของเขา มันมีจุดประสงค์บางอย่างของจักรวาลนี้ของผู้ควบคุมชีวิต เพื่อให้เขาได้เรียนรู้บางสิ่ง

จะแยกเป็นสองส่วน หนึ่งคือ เรื่องทางการแพทย์ สองคือ เรื่องตัวละคร ทำไมเขาต้องมาสนใจคนนั้นขนาดนั้น

แล้วทำไมถึงต้องมา แก้เวรแก้กรรม กัน มันไปได้หลายทางมาก ไสยศาสตร์ ก็ได้ วิทยาศาสตร์ ก็ได้ เราก็มาดูความเป็นไปได้ที่จะเฉลยเรื่องนี้

รวบประเด็นว่ามันเกี่ยวกับอะไร ต้องมาสร้างสตอรี่ให้พวกเขา ให้เกี่ยวข้องกันยังไง ทำไมเขาถึงจะต้องมาเจอกัน แล้วแก้ปัญหาเหล่านี้ไปด้วยกัน

คนอ่านนิยาย จะเป็นคนละกลุ่มที่ดูซีรีส์ คนที่ดู ซีรีส์ ก็คาดหวังแบบหนึ่ง

เปิดเบื้องหลัง“ทริอาช” ซีรีส์ที่สมจริงและโดนใจ ส่วน เรื่องทางการแพทย์ คนเขียนบทและนักแสดงทุกคนก็ต้องไปเวิร์คช็อป

มีการแบ่งงานกับ อั้ม (ผู้กำกับร่วม) ดูเรื่องรายละเอียด ส่วนเรื่อง Long Take หรือ แอ็คชั่น เราเป็นคนไปช่วยดู

เราตัดสินใจสร้าง ห้อง ER เองเลย บล็อกไฟข้างหลังทั้งหมดไปยืมจากบริษัทที่ทำเครื่องมือทางการแพทย์

เราก็ไป บล็อกกิ้ง ถ่ายกวาดไป 360 องศา ไฟตั้งตรงไหน สปอตลงตรงนี้ ใครจะอยู่ตรงนี้ กล้องจะเคลื่อนมายังไง เป็นดีเทลที่ต้องใช้ความร่วมมือเยอะ

พอถึงตอนจริงก็ถ่ายไป คนอยู่ในนั้น 50-60 คน (ในช่วงโควิดหนักๆ) ไม่ได้มีแต่คิวนักแสดง

มีการดูกล้อง การแพน จังหวะเข้าออก แล้วหมอเวลาเปลี่ยนเตียง ก็ต้องถอดถุงมือ แล้วใส่ถุงมือใหม่ ถ่ายกันทั้งหมด 24 เทค

ทริอาช มีทั้งหมด 13 ตอน ถ่ายจบภายในสองเดือน โดยไม่มีใครบาดเจ็บล้มตาย แล้วได้งานขนาดนี้ ผลเกินความคาดหมาย ถ้าทุกคนไม่ตั้งใจ มันไม่ออกมาอย่างนี้หรอก

สำหรับคนที่ยังไม่เปิดใจดู ซีรีส์วาย ก็ไม่ต้องทำอะไร คนจะดู เขาก็ดู

อย่าง อั้ม ผู้กำกับก็เป็นชายแท้ แล้วเขาก็ไม่ได้ดู ซีรีส์วาย มาก่อน ซึ่งก็ไม่ได้ผิดอะไรที่เขาจะไม่ได้ดู เราเองก็ไม่ได้ดูทุกเรื่อง

เปิดเบื้องหลัง“ทริอาช” ซีรีส์ที่สมจริงและโดนใจ

งานศิลปะ มันมีพื้นที่และเวลาของมันที่คนจะตัดสินใจเลือกดูหรือไม่ดู เราไม่ได้อยากให้คนมาดูเรื่องนี้ เพราะมันเป็น ซีรีส์วาย

แต่เราทำเพราะมันเป็น ซีรีส์เรื่องหนึ่ง ที่ตัวละครเราข้ามผ่านอะไรไปหมด ก็คือคนที่เขารักกัน ก็เท่านั้นเอง

คำว่า ซีรีส์วาย มันเป็นนิยามสำหรับ Category หนึ่ง เป็นเพศของมัน เราไม่อยากให้มาจำกัดว่า นี่คือหนังหรือซีรีส์ที่มันเป็นเพศนั้น เพศนี้ มันเป็นซีรีส์ของทุกคน

ถ้าคนเขาไม่ดูเรื่องนี้ ก็เหมือนคนไม่ชอบดูหนังผี ไม่ชอบดูหนังบู๊ เรามีรสนิยมที่หลากหลาย วันหนึ่งเขาอาจจะลองอะไรแปลก ๆ ใหม่ๆ

เช่น เขาอาจจะไม่ได้สนใจว่าคู่เอกของเรื่อง เป็นผู้ชายเหมือนกัน แต่เขาอาจจะอยากรู้ว่า หมอ ER เขาทำงานกันยังไง

มันเป็นคุณูปการที่เราเริ่มต้นทำงานโดยมองว่า มันไม่ได้เป็นแค่ซีรีส์วาย เราไม่ได้จำกัดตัวเองอยู่ตรงนั้น แล้วเราเชื่อว่า คนดูทั้งโลก พร้อมที่จะดู”

เปิดเบื้องหลัง“ทริอาช” ซีรีส์ที่สมจริงและโดนใจ (ซ้ายสุด) อั้ม-ณัฐพงษ์ อรุณเนตร ผู้กำกับร่วม

  • ปรากฎการณ์ผลกระทบของผีเสื้อ

อั้ม-ณัฐพงษ์ อรุณเนตร ผู้กำกับร่วม กล่าวว่า ความท้าทายของเรื่องคือ Loop ของเวลา

“ตั้งแต่อ่านบท ภาพแรกที่เราเห็น คือ Long Take ของหมอติณห์ เราช็อกตั้งแต่เปิดหน้าแรก

เรื่องวน Loop ความท้าทายของการเล่าเรื่องอยู่ที่ตัวละครติดอยู่ใน Loop เวลา ต้องมีการลำดับภาพอย่างไร

ขอไวท์บอร์ดเลย ให้ทีมงานทุกคนมาช่วยกัน เขียนทุกอย่างเต็มกระดาน ตั้งแต่ 12345  

Loop มันจะเป็นยังไง ส่งผลกระทบใด ๆ ถึงกันยังไง เช่น อันนี้มันรอบที่สี่นะ อันนั้นไม่ใช่ ๆ

เรื่องของ Loop เวลา เป็นเรื่องที่พลาดไม่ได้ เช่น คนนี้ตายแล้ว จะมาเล่นดี๊ด๊าขึ้นมา มันก็ไม่ได้ หรือจะสนิทกันเกินไปไม่ได้ เพราะยังไม่รู้จักกัน

แล้วต้องคำนึงถึง Butterfly effect (กฎที่ส่งผลกระทบถึงกัน เช่น พายุที่เกิดขึ้นจากอากาศ หรือสิ่งเล็กๆ น้อยๆ การกระพือปีกของผีเสื้อก็ทำให้เกิดพายุได้) ถ้าเราแก้สิ่งนี้มันจะส่งผลกระทบอะไรในภายหน้า  

สิ่งที่ยากที่สุดคือ มันมีฉากทางการแพทย์เยอะ โชคดีที่มีคุณหมอสองคนช่วย มีอะไรก็ต้องถามเขา ถ้าพี่ไม่ผ่าน เราก็ไม่ผ่าน"

- เปิดใจนักแสดงซีรีส์ทริอาช 

- ทริอาช เมดิคอลซีรีส์

 

 

เปิดเบื้องหลัง“ทริอาช” ซีรีส์ที่สมจริงและโดนใจ