เปิดบ้านเป็นห้องเรียน ความสุขของ 'วัยเก๋า' สร้างอาชีพ

เปิดบ้านเป็นห้องเรียน ความสุขของ 'วัยเก๋า' สร้างอาชีพ

ประเทศไทยเข้าสู่สังคมสูงวัยโดยสมบูรณ์ หรือ Aged Society มีผู้สูงอายุในประเทศไทยเป็นจำนวน 20.70% จากประชากรทั้งหมด

KEY

POINTS

  • ปรับบ้านให้เป็นห้องเรียน จะได้แบ่งปันความรู้และได้เรียนรู้กับเพื่อนๆผู้สูงอายุด้วยกัน
  • โดยได้ฝึกอาชีพทำยาหม่องน้ำ นำไปขายสร้างรายได้ให้กับสมาชิกทำยาหม่องน้ำอายุมากที่สุดก็ 85 ปี
  • การที่เขามีส่วนร่วมทำให้ไม่เหงาและรู้สึกมีคุณค่าในตัวเองและยังมีรายได้เพิ่มอีกด้วย

ประเทศไทยมีประชากร 65 ล้านคน เป็นผู้สูงอายุ ประมาณ 13 ล้านคน คิดเป็น 20.94% ของประชากรที่มีอายุ 60 ปี ขึ้นไป โดยข้อมูลกรมการปกครองกระทรวงมหาดไทย ณ วันที่ 30 พ.ย.2567 พบว่า ผู้สูงอายุ 60-69 ปี จำนวน 7,707,575 คน คิดเป็น 56.98% ชาย 3,505,240 คน หญิง 4,202,335 คน อายุ70-79 ปี จำนวน 3,995,021 คน คิดเป็น 20.53% ชาย 1,726,112 คน หญิง 2,268,090 คน อายุ80 ปีขึ้นไป จำนวน 1,824,851 คน คิดเป็น 13.49% ชาย 721,373 คน หญิง 1,103,478 คน  

การรวมกลุ่มกันของผู้สูงอายุเพื่อทำกิจกรรมต่างๆ เป็นทางเลือกหนึ่งที่ทำให้ผู้สูงอายุได้มีกิจกรรมทำ ไม่นั่งเหงาอยู่บ้านคนเดียวเนื่องจากลูกหลานไปทำงาน ได้ทำกิจกรรม พูดคุย พบปะกับวัยเดียวกัน หรือลูกหลานต่างวัย ได้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ มีความสุขในการใช้ชีวิต ถ้ามีสมาชิกผู้สูงอายุที่มีอายุเกิน 60 ปีบริบูรณ์ ตั้งแต่ 30 คนขึ้นไป สมาชิกอายุระหว่าง 25-59 ปี ไม่เกิน 1 ใน 4 ของสมาชิกที่มีมีอายุเกิน 60 ปีขึ้นไป สามารถจัดตั้งเป็นชมรมผู้สูงอายุได้โดยชมรมจะต้องมีสมาชิกระหว่าง 30-100 คน เพื่อให้ดูแลกันได้อย่างทั่วถึง

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

สังคมสูงวัย ไม่ใช่ภาระ 'คาเฟ่ อเมซอน' ให้โอกาสสู่ตลาดงาน

เปิดเหตุผล ILO และที่มา 65 ปี ไทยต้องขยายอายุผู้ประกันตน

ห้องเรียนสำหรับผู้สูงอายุ เสริมทักษะใช้ชีวิต

สำหรับ ชุมชนพลอยไพลิน เขตดอนเมือง"เป็นการรวมกลุ่มกันของผู้สูงอายุ ประมาณ 10 คนภายใต้การนำ “ดำรงค์ มณีสุวรรณ” ประธานชุมชน ให้ทุนตั้งต้น หมื่นกว่าบาท ทำยาหม่องน้ำจำหน่าย โดยมีอดีตครูสอนภาษาอังกฤษวัย 75 ปี “บัณฑิตย์ บูรณะพิมพ์” เอื้อเฟื้อบ้านเป็นที่ทำการของกลุ่ม พร้อมแบ่งพื้นที่ออกเป็นห้องเรียนสอนทักษะด้านต่างๆให้กับสมาชิกในกลุ่มตามความสนใจ ด้านภาษาต่างประเทศต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ภาษาอังกฤษ ญี่ปุ่น สเปน และยังมีห้องเรียนสำหรับติววิชาการเพื่อเตรียมสอบเข้าคณะวิศวกรรมศาสตร์อีกด้วย

“ห้องเรียนต่างๆ ที่เปิดสอนนั้นเด็กที่มาเรียนจะเป็นลูกหลานคนในชุมชน ส่วนผู้สอนก็จะเป็นสมาชิกในกลุ่มบ้าง หรือบางคนก็เป็นเครือข่าย ผู้สูงอายุด้วยกันที่อาสามาสอน ประมาณ ป้าสอนหลาน พี่สอนน้อง เราก็เลยปรับบ้านให้เป็นห้องเรียน จะได้แบ่งปันความรู้และได้เรียนรู้กับเพื่อนๆผู้สูงอายุด้วยกัน ได้ฝึกอาชีพทำยาหม่องน้ำ นำไปขายสร้างรายได้ให้กับสมาชิกทำยาหม่องน้ำอายุมากที่สุดก็ 85 ปีการที่เขามีส่วนร่วมทำให้ไม่เหงาและรู้สึกมีคุณค่าในตัวเองและยังมีรายได้เพิ่มอีกด้วย”

สำหรับกลุ่มผู้สูงอายุชุมชนพลอยไพลิน ได้รับการสนับสนุนจาก บริษัททางยกระดับดอนเมือง จำกัด (มหาชน) และฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม สำนักงานเขตดอนเมือง มาช่วยอบรมสร้างอาชีพให้กับผู้สูงอายุจนสามารถทำเป็นอาชีพสร้างรายได้และสามารถพึ่งพาตนเองได้

เปิดบ้านเป็นห้องเรียน ความสุขของ \'วัยเก๋า\' สร้างอาชีพ

พัฒนาชุมชน สร้างอาชีพ เพิ่มรายได้

ป้าบัณฑิตย์ มองว่าถ้าได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานของรัฐและ ภาคเอกชน และแหล่งเงินทุน ในอนาคตก็อยากพัฒนาผลิตภัณฑ์ขายทางออนไลน์และทำผลิตภัณฑ์อื่นๆ เพิ่มขึ้น ซึ่งสำนักงานเขตดอนเมือง มีโครงการสอนอาชีพ ทำไข่เค็ม เพาะเห็ดแปรรูปแหนมเห็ด ซึ่งนักพัฒนาสังคมชำนาญการ มองว่าชุมชนพลอยไพลิน มีศักยภาพสามารถพัฒนาอาชีพเพิ่มเติมได้ และมีโอกาสที่จะพัฒนาไปสู่การเป็นวิสาหกิจชุมชน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความพร้อมของสมาชิกในชุมชนด้วย

ทั้งนี้การสนับสนุนให้ผู้สูงอายุรวมกลุ่มกันสร้างอาชีพ และพัฒนาผลิตภัณฑ์ของตนเองไปสู่การเป็นวิสาหกิจชุมชนได้ เป็นแนวทางการสร้างอาชีพอย่างยั่งยืนได้อีกทางหนึ่ง “นิตยา ทองพิมล” นักพัฒนาสังคมชำนาญการ สำนักงานเขตดอนเมือง กล่าวว่าสำหรับชุมชนที่รวมตัวกันสร้างอาชีพและมีความเข้มแข็ง สำนักงานเขตมีงบประมาณสนับสนุนให้ชุมชนละ 200,000 บาทและมีเจ้าหน้าที่ให้คำแนะนำการเขียนโครงการเพื่อขอรับการสนับสนุนได้ เป็นการส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีอาชีพและสร้างรายได้ด้วยตัวเอง ไม่ต้องพึ่งพิงลูกหลาน   

เปิดบ้านเป็นห้องเรียน ความสุขของ \'วัยเก๋า\' สร้างอาชีพ       

“อัจฉรา เจริญพร”ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการอาวุโส สายงานพัฒนาความยั่งยืนองค์กร บริษัททางยกระดับดอนเมือง จำกัด (มหาชน)กล่าวกับ “กรุงเทพธุรกิจ”ว่าการสร้างอาชีพ (Job Creation)ให้กับชุมชนให้สามารถประกอบอาชีพได้อย่างยั่งยืน เป็น 1 ใน 4 นโยบายด้านความยั่งยืนในการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน ทั้งในด้านความปลอดภัย สิ่งแวดล้อม การสร้างอาชีพ และการสนับสนุนการศึกษา ซึ่งนอกจากสร้างอาชีพแล้วยังอบรมให้ความรู้ในการผลิตและการตลาดสนับสนุนให้ชุมชนสามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์ของตนเองไปสู่การเป็นวิสาหกิจชุมชนซึ่งช่วยให้ชาวบ้านมีรายได้และสามารถพึ่งพาตนเองได้มากขึ้น

โดยดอนเมืองโทลเวย์ได้ร่วมมือกับฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม สำนักงานเขตดอนเมือง สร้างอาชีพให้กับกลุ่มผู้สูงอายุที่มีความเปราะบาง เพื่อให้สามารถเข้าถึงโอกาสในการจ้างงานได้ง่ายช่วยให้พวกเขามีรายได้และสามารถพึ่งพาตนเองได้ตั้งแต่ปี 2566 มีการฝึกอบรมอาชีพไปแล้ว 40 ชุมชน โดยมี 4 ชุมชนที่รวมกลุ่มทำกิจกรรมด้วยกันสม่ำเสมอ ประกอบด้วย ชุมชนพลอยไพลิน อบรมทำยาหม่องน้ำ ชุมชนปิ่นเจริญ 1 ผลิตภัณฑ์ผ้ามัดย้อม ชุมชนปิ่นทอง ผลิตภัณฑ์ยาหม่องเขียวพญายอ และ ชุมชนเทพประทาน ทำสบู่ขมิ้นน้ำผึ้งทอง   

"นอกจากให้การสนับสนุนพัฒนาทักษะแล้ว และยังซื้อผลิตภัณฑ์มาแจกให้กับผู้ใช้ทาง ช่วงเทศกาลสงกรานต์ และช่วงปีใหม่ การดำเนินการเหล่านี้ไม่เพียงแต่ช่วยให้ผู้สูงอายุและชาวบ้านในชุมชนมีรายได้ แต่ยังช่วยสร้างการรับรู้และสนับสนุนผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นอีกด้วย และสนับสนุนให้ชุมชนสามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์ของตนเองไปสู่การเป็นวิสาหกิจชุมชนซึ่งช่วยให้ชาวบ้านมีรายได้และสามารถพึ่งพาตนเองได้ยั่งยืนมากขึ้น" อัจฉรา กล่าว 

เปิดบ้านเป็นห้องเรียน ความสุขของ \'วัยเก๋า\' สร้างอาชีพ

ขณะที่ “ชุมชนเทพประทาน” ที่ทำสบู่ขมิ้นน้ำผึ้งทองคำ ที่อ.ภูณิศา จากศูนย์ฝึกอาชีพจตุจักร มาสอนให้ สมาชิก 20 กว่าคนทำขาย ก็ได้รับความนิยมมากเช่นกัน เพราะใช้วัตถุดิบที่มีคุณภาพของไทย ทั้ง ขมิ้น น้ำผึ้งและทองคำ สร้างรายได้เพิ่มให้กับสมาชิกในกลุ่ม ที่ก่อนหน้านี้มีชื่อเสียงทางด้านทำพวงมาลัยขายช่วงเทศกาลสงกรานต์ 

“พรชัย เกียรติเทเวศร์” ประธานชุมชนเทพประทาน เล่าถึงวิธีการทำให้ทุนตั้งต้นของสมาชิกที่มีอยู่ 10,000-20,000 บาท งอกเงยเพิ่มขึ้นด้วยการประชาสัมพันธ์ในการประชุมกลุ่มผู้นำชุมชนเขตดอนเมืองซึ่งมีอยู่ประมาณ 95 ชุมชน รวมทั้งในอนาคตจะทำเพจ สบู่ขมิ้นน้ำผึ้งทองคำ เพื่อจำหน่ายทางออนไลน์อีกทางหนึ่ง 

สำหรับในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ดอนเมืองโทลเวย์ได้ซื้อยาหม่องน้ำ“ชุมชนพลอยไพลิน” 4,000 ขวด เป็นเงิน 80,000 บาท เพื่อนำไปบรรจุในกระเป๋ากันง่วงเพื่อมอบให้ผู้ใช้ทาง สมาชิกมีรายได้เฉลี่ยคนละ 3,000 บาท นอกจากนี้ยังมี ผลิตภัณฑ์ยาหม่องเขียวพญายอ ชุมชนปิ่นทอง จำนวน 2,000 ขวดจำนวน 40,000 บาท และสบู่ขมิ้นน้ำผึ้งทองชุมชนเทพประทาน จำนวน 2,000 ก้อนจำนวน 60,000 บาท และยังอุดหนุน ผลิตภัณฑ์ผ้ามัดย้อมชุมชนปิ่นเจริญ 1 จำนวน 270 ผืน เป็นเงิน 21,600 บาท

การรวมกลุ่มของผู้สูงอายุเพื่อสร้างอาชีพและสร้างรายได้ภายใต้การสนับสนุนของภาคเอกชนและหน่วยงานภาครัฐ เป็นการส่งเสริมให้ผู้สูงอายุ มีอาชีพ มีรายได้ ลดการพึ่งพิงไม่เป็นภาระของครอบครัว  สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ในสังคมอย่างมีคุณค่า มีศักดิ์ศรีในตัวเอง สร้างความมั่นคงในชีวิตอย่างยั่งยืน ล่าสุดมีสถาบันการเงินอย่างธนาคารออมสิน ที่เขาไปให้การสนับสนุนเงินทุน และสถาบันการศึกษาคือ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิเข้าไปช่วยเหลือทางด้านแพ็กเกจจิ้งและการตลาดให้กับกลุ่มผู้สูงอายุอีกด้วย 

เปิดบ้านเป็นห้องเรียน ความสุขของ \'วัยเก๋า\' สร้างอาชีพ

เปิดบ้านเป็นห้องเรียน ความสุขของ \'วัยเก๋า\' สร้างอาชีพ

เปิดบ้านเป็นห้องเรียน ความสุขของ \'วัยเก๋า\' สร้างอาชีพ

เปิดบ้านเป็นห้องเรียน ความสุขของ \'วัยเก๋า\' สร้างอาชีพ

เปิดบ้านเป็นห้องเรียน ความสุขของ \'วัยเก๋า\' สร้างอาชีพ

เปิดบ้านเป็นห้องเรียน ความสุขของ \'วัยเก๋า\' สร้างอาชีพ

เปิดบ้านเป็นห้องเรียน ความสุขของ \'วัยเก๋า\' สร้างอาชีพ

เปิดบ้านเป็นห้องเรียน ความสุขของ \'วัยเก๋า\' สร้างอาชีพ

เปิดบ้านเป็นห้องเรียน ความสุขของ \'วัยเก๋า\' สร้างอาชีพ