เป็นโรคมะเร็งทาน 'เนื้อสัตว์'ไม่ได้จริงหรือ?

เป็นโรคมะเร็งทาน 'เนื้อสัตว์'ไม่ได้จริงหรือ?

หลายคนคงเคยได้อ่านบทความที่ส่งต่อทางสื่อต่าง ๆ หรือมีความเชื่อว่า คนที่เป็นมะเร็งควรงดการบริโภคเนื้อสัตว์ต่าง ๆ เช่น เนื้อวัว เนื้อหมู เนื้อไก่ เนื่องจากจะไปกระตุ้นให้เซลล์มะเร็งเติบโตเร็วขึ้น ถึงกับมีการงดเนื้อสัตว์เพื่อรักษามะเร็ง

Keypoint:

  • การรับประทานอาหาร เป็นส่วนหนึ่งที่จะทำให้ทุกคนสุขภาพดี รวมถึงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต แต่เมื่อเกิดโรค โดยเฉพาะโรคมะเร็ง อาหารบางชนิดก็อาจจะส่งผลเสียมากกว่าผลดี 
  • เนื้อสัตว์ เนื้อแดง คนเป็นมะเร็งสามารถรับประทานได้ แต่ต้องเป็นทานในปริมาณที่พอเหมาะ และควรรับประทานอาหารให้ครบทุกหมู่
  • ลดความเสี่ยงมะเร็ง เริ่มได้จากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม กินอาหารให้มีสารต้านอนุมูลอิสระและสารต้านการอักเสบสูง ซึ่งเป็นสารอาหารที่พบมากในอาหารจำพวกผลไม้ ผัก ธัญพืช และปลา ออกกำลังกาย งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ลดสูบบุหรี่

ข้อมูลจาก 'แพทยสภา' อธิบายถึงความเชื่อเหล่านี้มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์สนับสนุนหรือไม่อย่างไร ? ความเชื่อ ที่ว่าเนื้อสัตว์หรือแม้กระทั่งสารอาหารต่าง ๆจะไปกระตุ้นให้เซลล์มะเร็งเจริญเติบโต ถึงกับมีการงดอาหารเพื่อรักษามะเร็ง ความเชื่อนี้แท้จริงแล้วยังไม่มีหลักฐานเชิงประจักษ์ที่เชื่อถือได้มารองรับอย่างเพียงพอ

เนื่องจากเซลล์มะเร็งมักจะทำตัวเป็นกาฝากคอยรับสารอาหารจากร่างกาย ถึงแม้เราจะงดอาหาร เซลล์มะเร็งก็สามารถกระตุ้นให้เกิดกระบวนการสลายสารอาหารต่าง ๆ ในร่างกายมาใช้ได้ ในทางตรงกันข้ามการงดอาหารจะทำให้เซลล์ร่างกายอื่น ๆ ที่ยังมีความต้องการสารอาหารได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ เกิดภาวะทุพโภชนาการ (malnutrition) หรือการขาดสารอาหาร ซึ่งจะส่งผลเสียต่อร่างกายทำให้ระบบภูมิคุ้มกันทำงานลดลง ติดเชื้อได้ง่าย แผลหายช้า และเพิ่มภาวะแทรกซ้อนจากการรักษามะเร็งทั้งจากการผ่าตัด ให้ยาเคมีบำบัด หรือฉายแสง

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

ไม่อยากเสี่ยง 'โรคมะเร็ง' ลดอาหารกลุ่มเสี่ยง ช่วยได้ 30-40 %

'มะเร็งลำไส้ใหญ่' เรื่องใกล้ตัว เช็กพฤติกรรมเสี่ยง ก่อนสาย

 

เป็นมะเร็งทานเนื้อสัตว์ได้

สมาคมโภชนาการของยุโรป (European Society for Clinical Nutrition and Metabolism หรือESPEN) ให้คำแนะนำว่า ผู้ป่วยมะเร็งควรรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพเพื่อให้ได้รับสารอาหารอย่างเพียงพอ และไม่ควรงดอาหารโดยไม่จำเป็น โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่มีความเสี่ยง หรือมีภาวะทุพโภชนาการ เช่น ผู้ป่วยที่กินได้น้อย มีน้ำหนักลดโดยไม่ได้ตั้งใจเป็นมะเร็งควรงดเนื้อสัตว์หรือไม่ ?

หลายท่านอาจเคยได้ยินว่าองค์การอนามัยโลกให้ข้อมูลไว้ว่าการรับประทานเนื้อแดง (red meat) เช่น เนื้อหมู เนื้อวัว และเนื้อที่ผ่านการแปรรูป (processed meat) เช่น แฮม ไส้กรอก อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ มีการศึกษาพบว่า การรับประทานเนื้อที่ผ่านการแปรรูปเพิ่มขึ้นทุก ๆ 50 กรัมต่อวัน จะเพิ่มความเสี่ยงของมะเร็งลำไส้ใหญ่ร้อยละ 17 และการรับประทานเนื้อแดงเพิ่มขึ้นทุก ๆ 100 กรัมต่อวันจะเพิ่มความเสี่ยงของมะเร็งลำไส้ใหญ่ร้อยละ 18

เป็นโรคมะเร็งทาน \'เนื้อสัตว์\'ไม่ได้จริงหรือ?

อย่างไรก็ตามข้อมูลนี้คือ การเพิ่มความเสี่ยงในคนทั่วไปที่ยังไม่ได้เป็นมะเร็งและยังไม่มีการศึกษาที่เพียงพอในผู้ป่วยมะเร็งโดยตรง นอกจากนี้องค์การอนามัยโลกยังกล่าวว่า ไม่มีความจำเป็นต้องงดการรับประทานเนื้อแดงโดยสิ้นเชิง โดยคำแนะนำการรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพมักแนะนำให้จำกัดการรับประทานเนื้อที่ผ่านการแปรรูปให้น้อยที่สุดและรับประทานเนื้อแดงไม่เกินประมาณ 300-500 กรัมต่อสัปดาห์

 

ผู้ป่วยมะเร็งควรได้รับโปรตีนมากกว่าคนทั่วไป

ทั้งนี้ เพื่อป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือดเป็นหลัก เนื่องจากมักมีปริมาณเกลือโซเดียม ไขมันอิ่มตัว และสารอื่น ๆที่อาจก่อให้เกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดได้ในทางตรงกันข้ามผู้ป่วยมะเร็งจะมีความต้องการโปรตีนที่มากขึ้น เนื่องจากมีการอักเสบ (inflammation) ที่อาจเกิดจากตัวมะเร็งเองและการรักษาโรคมะเร็งด้วยวิธีต่าง ๆ เช่น การผ่าตัด การอักเสบจะทำให้เกิดการสลายโปรตีนในร่างกายโดยเฉพาะโปรตีน จากกล้ามเนื้อ เพื่อนำกรดอะมิโนไปใช้ในระบบต่าง ๆ เช่น ระบบภูมิคุ้มกัน การซ่อมแซมแผล

ดังนั้น ผู้ป่วยมะเร็งควรได้รับโปรตีนมากกว่าคนทั่วไป คือ 1-1.5 กรัม/น้ำหนักตัว 1 กก./วัน (คนทั่วไปควรได้รับ 0.8-1 กรัม/น้ำหนักตัว 1 กก./วัน) ซึ่งเนื้อสัตว์เป็นแหล่งของโปรตีนที่ดี การงดเนื้อสัตว์อาจทำให้ได้รับโปรตีนไม่เพียงพอ ส่งผลเสียทำให้กล้ามเนื้อลีบ ช่วยเหลือตัวเองได้ลดลง ภูมิคุ้มกันทำงานผิดปกติ เกิดการติดเชื้อได้ง่าย

"ผู้ป่วยมะเร็งสามารถรับประทานเนื้อสัตว์ได้ในปริมาณที่เหมาะสม โดยอาจใช้หลักอาหารที่ดีต่อสุขภาพซึ่งถือเป็นทางสายกลาง ได้แก่ ควรรับประทานเนื้อสัตว์และโปรตีนจากแหล่งอื่นที่หลากหลาย ทั้งเนื้อปลา เนื้อไก่ เนื้อหมู เนื้อวัว นมและไข่ รับประทานเนื้อแปรรูปให้น้อย รับประทานเนื้อแดงได้ในปริมาณที่เหมาะสม คือไม่เกิน 300-500 กรัมต่อสัปดาห์ เหล่านี้จะทำให้ได้รับโปรตีนที่เพียงพอโดยไม่เพิ่มความเสี่ยงต่อโรคอื่น ๆ"

ยิ่งผู้ป่วยที่กินได้น้อย มีน้ำหนักลดเยอะ ยิ่งไม่ควรจำกัดเนื้อสัตว์ เนื่องจากมักรับประทานในปริมาณที่ไม่เพียงพออยู่แล้ว อีกทั้งควรปรึกษาบุคลากรทางการแพทย์เพื่อให้การดูแลรักษาทางโภชนาการที่เหมาะสมต่อไป

"ผู้ป่วยมะเร็งไม่จำเป็นต้องงดเนื้อสัตว์เนื่องจากมีความต้องการโปรตีนเพิ่มขึ้น การงดอาจทำให้ได้รับโปรตีนไม่เพียงพอปริมาณโปรตีนที่แนะนำ คือ 1 - 1.5 กรัม/น้ำหนักตัว 1 กก./วัน"

เป็นโรคมะเร็งทาน \'เนื้อสัตว์\'ไม่ได้จริงหรือ?

แม้ว่าจะตรวจพบเชื้อมะเร็งเต้านม…แต่คุณก็สามารถชะลอการแพร่กระจาย หรือลดเปอร์เซ็นต์ความรุนแรงของโรคได้ ด้วยการเลือกกินอาหารที่ถูกต้องเหมาะสม แล้วอาหารประเภทไหนกันนะ…ที่ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมควรกินและไม่ควรกิน

สำหรับผู้ป่วยมะเร็งจะมีความต้องการโปรตีนที่เพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะช่วงที่อยู่ในระหว่างกระบวนการรักษา ไม่ว่าจะฉายแสงหรือให้ยาเคมีบำบัด ซึ่งเนื้อสัตว์ถือว่าเป็นโปรตีนคุณภาพดี มีกรดอะมิโนจำเป็นที่ครบถ้วน เป็นแหล่งวิตามินบี 12 ธาตุเหล็ก สังกะสี ซิลีเนียม ดังนั้น การได้รับโปรตีนคุณภาพดีที่เพียงพอ จะช่วยป้องกันไม่ให้ผู้ป่วยเกิดภาวะทุพโภชนาการ ซึ่งอาจส่งผลทำให้ภูมิต้านทานลดลงและเจ็บป่วยแย่ลงได้

ความเกี่ยวข้องของเนื้อสัตว์กับโรคมะเร็ง

ไม่ใช่เนื้อสัตว์ทุกชนิดที่เพิ่มความเสี่ยงต่อโรคมะเร็ง แต่เป็นเนื้อแดง (Red meat) ได้แก่ วัว แกะ หมู และเนื้อสัตว์ที่ผ่านการแปรรูป (Processed meat) เนื้อสัตว์ที่เติมเกลือหรือสารกันบูดประเภทไนเตรท ไนไตรท์ ลงไป เช่น ไส้กรอก ซึ่งปัญหาของเนื้อแดงและเนื้อสัตว์แปรรูปที่อาจเพิ่มความเสี่ยงของโรคมะเร็งมีประเด็นสำคัญ 3 ด้าน คือ

1. การใช้สารไนไตรท์ ไนเตรท ในการผลิตเนื้อสัตว์แปรรูป

2. อุณหภูมิที่ใช้ในการปรุงเนื้อสัตว์ คือ ความร้อนสูง เช่น การปิ้ง ย่าง ทอด

3. ปริมาณการกินที่มากเกินไป

เป็นโรคมะเร็งทาน \'เนื้อสัตว์\'ไม่ได้จริงหรือ?

ข้อแนะนำการบริโภคโปรตีนสำหรับผู้ป่วยมะเร็ง

1. กรณีผู้ป่วยโรคมะเร็งมีน้ำหนักตัวลดลงมาก สูญเสียกล้ามเนื้อ และมีภาวะทุพโภชนาการ มีภาวะโลหิตจางและขาดธาตุเหล็ก แนะนำให้กินอาหารที่มีโปรตีนและธาตุเหล็กสูง เช่น เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน มื้อละ 2-3 ช้อนโต๊ะ และกินโปรตีนจากแหล่งอื่นร่วมด้วย เช่น ไข่แดง ปลา นมวัว ถั่วเหลือง ถ้าไม่พอเสริมอาหารทางการแพทย์

2. อาหารที่มีโปรตีนที่แนะนำ คือ เนื้อปลา อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3-4 ครั้ง กินไข่ทั้งฟอง วันละ 1-2 ฟอง รวมทั้งสัตว์ปีก อาหารทะเล ถั่วเหลือง เต้าหู้ สามารถเลือกกินได้และกินให้หลากหลาย

3. เนื้อสัตว์ทุกชนิด ควรใช้การ ต้ม นึ่ง ยำ หรือทอดที่ไม่ใช้น้ำมันทอดซ้ำ ไม่แนะนำให้ใช้การปิ้งหรือย่าง

4. ควรปรุงอาหารโดยใช้ผักหรือกินผักร่วมด้วยในมื้ออาหาร เพื่อให้ได้รับสารพฤกษเคมีที่มีประโยชน์ในการลดความเสี่ยงการเป็นมะเร็ง

10 วิธีลดความเสี่ยงมะเร็ง

1. เลิกบุหรี่

ในแต่ละปี มะเร็งปอดคร่าชีวิตผู้คนไปมากที่สุดในบรรดามะเร็งชนิดต่าง ๆ ทั้งหมด ดังนั้นหากคุณติดบุหรี่ การเลิกสูบเสียแต่วันนี้จะเป็นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมครั้งสำคัญ ที่สุดที่จะลดความเสี่ยงจากมะเร็งปอดและโรคอื่น ๆ ที่มีสาเหตุมาจากบุหรี่ เลิกบุหรี่อาจไม่ใช่เรื่องง่าย แต่คุณสามารถขอคำปรึกษาถึงวิธีการเลิก แบบต่างๆ จากแพทย์ได้ ทั้งการรักษาด้วยยาหรือการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ซึ่งวิธีการเหล่านี้ จะช่วยทำให้คุณเลิกบุหรี่ได้อย่างถาวร

2. ทานอาหารที่มีประโยชน์

หลายคนคงยังจำได้ดีเวลา ถูกพ่อแม่บังคับให้กินผักและก็คง ไม่ได้คิดว่า พวกท่านจะทราบอะไรดี ๆ ที่พวกเราไม่รู้ แต่การถูกบังคับให้กินผักนี้ กลับเป็นประโยชน์ล้นเหลือ ต่อตัวเราเอง เพราะผักจำพวก บร็อคโคลี่  กะหล่ำดอก กะหล่ำปลี และกะหล่ำดาวที่น้อยคนจะโปรดปรานนั้น กลับอุดม ไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุที่จำเป็นในการต่อสู้กับมะเร็ง

รวมทั้งเป็นส่วนประกอบสำคัญในตำรับอาหารต้านมะเร็ง นอกจากนี้ ผลเบอร์รี่ ถั่วแดง และชาเขียวก็ได้ชื่อว่าอุดมไปด้วยสาร ต้านอนุมูลอิสระ เช่นเดียวกับ ไวน์แดง ช็อกโกแลต และถั่วพีแกน ซึ่งสาร ต้านอนุมูลอิสระเหล่านี้ช่วย ร่างกายต่อต้านปฏิกิริยาเคมีที่ส่งผลร้ายต่อเซลล์ปกติ ซึ่งในท้ายที่สุดอาจ กลายเป็นเซลล์มะเร็ง อย่างไรก็ตาม ควรเลือกรับประทานแต่พอประมาณ

เป็นโรคมะเร็งทาน \'เนื้อสัตว์\'ไม่ได้จริงหรือ?

3. ออกกำลังกายให้มากขึ้น

การออกกำลังกายนานครั้งละ 30 นาที 5 วันต่อสัปดาห์ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งหลายชนิด อาทิ มะเร็งปอด มะเร็งเต้านม มะเร็งต่อมลูกหมาก และมะเร็งลำไส้ การออกกำลังกาย ในที่นี้ไม่จำเป็น ต้องเป็นการออกกำลังกายอย่างหนักหน่วงแบบนักกีฬาการเล่นโยคะ เดินหรือเต้นแอโรบิก ก็ถือเป็นการ ออกกำลังกายที่ช่วยต่อสู้กับ มะเร็งได้ดีที่สุดเช่นกัน นอกจากนี้การออกกำลังกายยังช่วยไม่ให้คุณเป็น โรคอ้วน ซึ่งมีความสัมพันธ์กับการเกิดมะเร็งหลายชนิด

4.ตรวจและหาให้เจอแต่เนิ่นๆ

มีหลักฐานยืนยันมากมายจนไม่อาจปฏิเสธว่า ยิ่งตรวจพบมะเร็งเร็วขึ้นเท่าไร โอกาสที่จะ รักษาจนหายก็มีมากขึ้นเท่านั้น และ การตรวจเจอแต่เนิ่นๆ ก็ยังช่วยให้ การรักษาฟื้นฟู ทำได้เร็วขึ้นโดย มีผลข้างเคียงน้อยลง ดังนั้น เพื่อเพิ่มโอกาสในการเอาชนะมะเร็งควร ตรวจร่างกายอย่าง สม่ำเสมอและขอคำแนะนำ จากแพทย์เรื่องการตรวจ คัดกรองมะเร็ง ที่เหมาะกับวัยของคุณ (เช่น ผู้หญิงในวัย 40 ปีขึ้นไปควร ทำแมมโมแกรมเพื่อตรวจหามะเร็งเต้านม) แม้มะเร็งอาจไม่แสดงอาการใน ระยะเริ่มแรก แต่การตรวจคัดกรองที่ เหมาะสมช่วยให้สามารถพบมะเร็งได้เกือบทุกชนิด 

5.ดื่มแต่พอดี

การดื่มแอลกอฮอล์ที่มากเกินไปเป็นผลร้ายต่อตับมากเป็นพิเศษ การดื่มแอลกอฮอล์ (โดย เฉพาะหากคู่มากับการสูบบุหรี่)เป็นสาเหตุ หลักในการเกิดมะเร็งช่องปากและลำคอ อีก ทั้งมีส่วนเกี่ยวพันกับมะเร็งชนิดอื่นๆ ด้วย แม้แพทย์จะแนะนำให้ผู้ที่เสี่ยงต่อการเป็นโรค หัวใจดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณที่พอเหมาะ แต่หากคุณสามารถจำกัดการดื่มลงให้เหลือ แค่ 2 แก้วต่อวันจะเป็นการดีที่สุด 

เป็นโรคมะเร็งทาน \'เนื้อสัตว์\'ไม่ได้จริงหรือ?

6.มีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย

เพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัยไม่เพียงช่วยป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์เท่านั้น แต่ยังเป็นกุญแจสำคัญ ในการลดความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งปากมดลูก ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญในการเสียชีวิตของผู้หญิงไทยและผู้หญิงทั่วโลก เชื่อกันว่ ประมาณร้อยละ 70 ของมะเร็งปากมดลูกมีสาเหตุมาจาก Human Papillomavirus (HPV) ที่สำคัญ เชื้อ HPV นี้ยังเพิ่มความเสี่ยงในการเป็น มะเร็งที่ทวารหนักและอวัยวะเพศอีกด้วย แต่ปัจจุบันมีการพัฒนา วัคซีนชนิดใหม่ซึ่งมีประสิทธิภาพในการป้องกันเชื้อ HPV และได้รับการ รับรองให้ใช้ได้

7.หลีกเลี่ยงแสงแดด

รังสีอัลตร้าไวโอเล็ต (ยูวี) ในแสงแดดเป็นสาเหตุหลักของ มะเร็งผิวหนัง ซึ่งส่วนมากแล้วสามารถป้องกันได้ง่ายๆ 2 วิธี คือ ใช้ครีมกันแดดที่มีค่า SPF ตั้งแต่ 30 ขึ้นไปเมื่อต้องอยู่กลางแจ้งและพยายามหลีกเลี่ยงการเผชิญแสง แดดโดยตรงในช่วง เวลา 10.00 - 16.00 น. ซึ่งเป็นช่วงที่รังสียูวีมีความเข้ม สูงสุด 

8.นอนหลับให้สนิท

ผลการศึกษาพบว่าสารเมลาโทนิน ซึ่งเป็นฮอร์โมน ที่สมองผลิตใน ระหว่าง การนอนหลับมีคุณสมบัติในการต่อสู้กับมะเร็ง แต่เมลาโทนินจะช่วยป้องกัน มะเร็งได้ อย่างมีประสิทธิภาพ ก็ต่อเมื่อการนอนนั้นเป็นการนอนหลับอย่าง สนิทต่อเนื่องในห้องมืดเท่านั้น 

9.สืบสาวเรื่องราวครอบครัว

มะเร็งหลายชนิดมักเกี่ยวข้องกับพันธุกรรม หรือพูดง่ายๆ ก็คือ โรคมะเร็ง สามารถสืบทอดจากรุ่นสู่รุ่นได้ ดังนั้น การได้ทราบว่าคนในครอบครัวของคุณ มีประวัติเจ็บป่วยด้วยมะเร็ง ชนิดใดถือเป็นก้าวแรกที่สำคัญในการป้องกันมะเร็ง โดยการพยายามหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยง และควรแจ้งประวัติการเจ็บป่วย ของคนในครอบครัวให้แพทย์ทราบ เพื่อแพทย์จะสามารถให้คำแนะนำ และดูแลคุณได้อย่างเหมาะสม 

10.หลีกเลี่ยงการเผชิญกับสารเคมีอันตราย

สารจำพวก ยาฆ่าแมลง น้ำยาทำความสะอาด น้ำมันเบนซินนั้นเต็มไปด้วย สารเคมีอันตรายที่เกี่ยวโยงกับการเกิดมะเร็ง แม้การควบคุมสิ่งแวดล้อม รอบตัวจะไม่ใช่เรื่องง่าย แต่การจำกัดหรือหลีกเลี่ยงการใช้สาร เคมีเหล่านี้ ในบ้านหรือที่ทำงาน ย่อมเป็นการลดโอกาสในการ สัมผัสกับสารก่อมะเร็ง นอกจากนี้ ควรหลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์ที่ใช้สารกันไฟ หรือ PBDE ซึ่งมักจะใช้ กับผ้าเฟอร์นิเจอร์และสินค้า อิเล็กโทรนิกต่างๆ ด้วยเช่นกัน

อ้างอิง :แพทยสภา , โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์