ชวนหญิงไทยต้าน 'มะเร็งเต้านม' พร้อมฉีดHPV ป้องมะเร็งปากมดลูก 1 พ.ย.นี้

ชวนหญิงไทยต้าน 'มะเร็งเต้านม' พร้อมฉีดHPV ป้องมะเร็งปากมดลูก 1 พ.ย.นี้

เดือนตุลาคม เป็นเดือนที่ทั่วโลกร่วมกันรณรงค์ต้านภัยมะเร็งเต้านม(Breast Cancer Awareness Month) ซึ่ง ‘มะเร็งเต้านม’ เป็นปัญหาสาธารณสุขของทุกประเทศและ เป็นมะเร็งร้ายอันดับ 1 ของผู้หญิงทั่วโลก

Keypoint:

  • รณรงค์ต้านมะเร็งเต้านม มะเร็งร้ายอันดับ 1 คร่าชีวิตผู้หญิง เผยผู้ป่วยมะเร็งเต้านมรายใหม่ประมาณ 17,000 รายต่อปี เสียชีวิตประมาณ 4,800 รายต่อปี
  • ขณะที่มะเร็งปากมดลูก พบผู้ป่วยมากขึ้น ดีเดย์ 1 พ.ย.นี้ ฉีดวัคซีน HPV แก่ผู้หญิงอายุระหว่าง 11-20 ปี  จำนวน 1 ล้านคน
  • ป้องกันมะเร็งเต้านม -มะเร็งปากมดลูกในผู้หญิง ขอให้เข้ารับการตรวจคัดกรอง ฝากสปสช. เพิ่มสิทธิประโยชน์คัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยเครื่องเมมโมแกรม ในผู้หญิงกลุ่มเสี่ยงที่อายุมากกว่า 35 ปีขึ้นไป

จากข้อมูลขององค์การอนามัยโลกพบว่า ปัจจุบันมีผู้ป่วยมะเร็งเต้านมรายใหม่ทั่วโลกประมาณ 2.3 ล้านคน เสียชีวิตราว 685,000 คนต่อปี ส่วนในประเทศไทย ข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุขปี 2565 พบว่าหญิงไทยเป็นมะเร็งเต้านมมากที่สุด จำนวน 38,559 คน ส่วนมากพบในหญิงอายุ 60 ปีขึ้นไป มากที่สุดจำนวน 19,776 คน รองลงมา คือ อายุ 50-59 ปี จำนวน 12,181 คน และอายุ 40-49 ปี จำนวน 5,177 คน คาดการณ์ว่าในปี 2566 จะพบผู้ป่วยมะเร็งเต้านมรายใหม่ราว 22,000 คนต่อปี

‘โรคมะเร็งเต้านม’ เป็นภัยเงียบใกล้ตัวของผู้หญิงไทย โดยมีปัจจัยหลักสำคัญที่ไม่สามารถควบคุมได้ คือเรื่องของอายุ รวมถึงปัจจัยเสี่ยงอย่างปัจจัยทางด้านพันธุกรรม ถ้ามีประวัติครอบครัวญาติโดยเฉพาะญาติฝ่ายตรงเป็นมะเร็งเต้านม หรือมะเร็งรังไข่ โดยเฉพาะเป็นตอนอายุน้อย ๆ หรือว่าเป็นหลายคน เราควรต้องมีการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมที่เร็วขึ้น เพราะอาจมีพันธุกรรมที่เกี่ยวข้องกับมะเร็งเต้านม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

สปสช. แจง ตรวจยีนมะเร็งเต้านม ในผู้ป่วยเสี่ยงสูง ครอบคลุมทุกสิทธิการรักษา

เช็กสิทธิบัตรทอง "ตรวจมะเร็งเต้านม" ใครใช้สิทธิได้บ้าง?

“ไวรัส HPV” ต้นเหตุมะเร็งปากมดลูก รู้สิทธิ เช็กก่อน ป้องกันได้

 

สวย เริด เชิด สู้มะเร็งเต้านม

ในระยะแรกของการเป็นมะเร็งเต้านมจะไม่แสดงอาการ ไม่เจ็บ ไม่ปวด จะปรากฏอาการผิดปกติให้เห็นเมื่ออยู่ในระยะที่ก้อนมะเร็งมีการอักเสบ และลุกลามไปทั่วแล้ว ซึ่งเสี่ยงต่อการเสียชีวิตสูงมาก กลุ่มเสี่ยงมะเร็งเต้านม พบในหญิงที่มีอายุมากขึ้น โดยเฉพาะอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป มีประวัติครอบครัวเป็นมะเร็งเต้านม มะเร็งรังไข่ หรือมีประวัติเคยเป็นมะเร็งเต้านมมาก่อน หรือเคยมีก้อนบริเวณเต้านมที่ผลการตรวจพบว่าผิดปกติ มีประจำเดือนครั้งแรกก่อนอายุ 12 ปี หมดประจำเดือนหลังอายุ 55 ปี

วันนี้ (19 ต.ค.2566) มูลนิธิเครือข่ายมะเร็ง สถาบันมะเร็งแห่งชาติ จัดENHANCING WOMEN'SCANCER CARE:THAILAND WOMEN CANCER POLICY FORUMเนื่องในโอกาสเดือนแห่งการรณรงค์ต้านภัยมะเร็งเต้านม  โดยมี นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข  (รมว.สธ.) เป็นประธานเปิดงาน พร้อมเปิดการประชุมเพื่อหารือและเสริมสร้างนโยบายมะเร็งในสตรี และโอกาสของการดูแลมะเร็งในสตรี ภายใต้หัวข้อ ‘Enhancing Women’s Cancer Care: Thailand Women Cancer Policy Forum’

ชวนหญิงไทยต้าน \'มะเร็งเต้านม\' พร้อมฉีดHPV ป้องมะเร็งปากมดลูก 1 พ.ย.นี้

นพ.ชลน่าน กล่าวว่าในเดือนตุลาคมของทุกปี ทั่วโลกจะร่วมกันรณรงค์ต้านภัยมะเร็งเต้านม เดือนนี้จึงมีความสำคัญกับเดือนตุลาคมทั่วโลกร่วมกันรณรงค์ต้านภัยมะเร็งเต้านม ดังนั้น เดือนนี้จึงมีความสำคัญกับสุภาพสตรี ประเทศไทยก็ร่วมรณรงค์ในหลายกิจกรรม เพื่อสร้างความตระหนักรู้ต่อการต่อสู้กับมะเร็ง ในปีนี้ พญ.นวลสกุล บำรุงพงษ์ คณะที่ปรึกษา รมว.สธ. ได้มอบคำขวัญรณรงค์ต่อต้านมะเร็งในสตรีว่า ‘สวย เริด เชิด สู้มะเร็ง’ หรือ ‘Women Power No Cancer’

 

ดีเดย์ 1พ.ย.นี้ ฉีดวัคซีน HPV ป้องกันมะเร็งปากมดลูก

ทั้งนี้  สถิติจากสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ พบว่า ปัจจุบันมีผู้ป่วยมะเร็งเต้านมรายใหม่ประมาณ 17,000 รายต่อปี เสียชีวิตประมาณ 4,800 รายต่อปี ส่วนมะเร็งปากมดลูก มีผู้ป่วยรายใหม่ประมาณ 5,400 รายต่อปี เสียชีวิต 2,200 รายต่อปี  ซึ่งสาเหตุที่มะเร็งปากมดลูก มีอัตราตายสูงมาก เนื่องจากผู้ป่วยส่วนใหญ่มาหาหมอเมื่อมีอาการป่วยแล้ว ซึ่งเป็นระยะที่ 3 หรือ 4 ดังนั้น ปัญหาคือมาหาหมอช้า ทำให้อัตราตายสูง

"มะเร็งเต้านม เป็นมะเร็งที่พบมากเป็นอันดับ 1 ในมะเร็งเพศหญิง แต่อัตราเสียชีวิตน้อยกว่ามะเร็งปากมดลูก ตัวเลขตายอยู่ที่ร้อยละ 40  ขณะที่ มะเร็งปากมดลูก อัตราตายเยอะสูงเกือบร้อยละ 50 "นพ.ชลน่าน กล่าว

กระทรวงสาธารณสุขจึงกำหนดเรื่องมะเร็งครบวงจร เป็นหนึ่งในนโยบายการดำเนินงานปี 2567 ครอบคลุมทั้งด้านการส่งเสริม การป้องกัน การคัดกรอง การวินิจฉัยและรักษา ตลอดจนการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง

ชวนหญิงไทยต้าน \'มะเร็งเต้านม\' พร้อมฉีดHPV ป้องมะเร็งปากมดลูก 1 พ.ย.นี้

ขณะเดียวกัน รัฐบาลได้แถลงนโยบายต่อรัฐสภา ซึ่งมีเรื่องการป้องกันมะเร็งอย่างชัดเจน ด้วยนโยบายการฉีดวัคซีนป้องกันการติดเชื้อไวรัสเอชพีวี (HVP) เพื่อป้องกันมะเร็งปากมดลูก ให้กับเด็กหญิงอายุ 11-20 ปี ทั้งในและนอกระบบสถานศึกษา จำนวน 1 ล้านคนภายในสิ้นปี 2566 ซึ่งเป็นนโยบายเร่งด่วน (Quick win) 100 วันด้วย โดยจะมีการเริ่มนโยบายวันที่ 1 พ.ย.2566 นี้

รวมทั้ง ยังพัฒนาระบบบริการสุขภาพสาขามะเร็ง ให้ครอบคลุมประชาชนในทุกเขตสุขภาพมีการดูแลรักษาส่งต่ออย่างเป็นระบบ และเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลได้ตามสิทธิ หรือ มะเร็งรักษาได้ทุกที่ (Cancer Anywhere) เพื่อลดอัตราการป่วยและเสียชีวิตจากโรคมะเร็งของประชาชน

ชวนหญิงไทยต้าน \'มะเร็งเต้านม\' พร้อมฉีดHPV ป้องมะเร็งปากมดลูก 1 พ.ย.นี้

อย่างไรก็ตาม ในส่วนของมะเร็งปากมดลูก ถ้าทำให้ผู้ป่วยเข้าสู่การรักษาเร็ว จะทำให้ตัวเลขตายลดลงได้ถึงครึ่งหนึ่ง โดยปัจจุบันมีการพัฒนาอุปกรณ์คัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยตนเอง เป็นการเก็บตัวอย่างเชื้อในช่องคลอด แล้วส่งไปตรวจในห้องแล็บ ซึ่งเป็นหนึ่งในชุดสิทธิประโยชน์ของ สปสช.ที่ทำให้การตรวจคัดกรองที่ง่ายและสะดวก ทำให้ตรวจจับได้เร็ว มะเร็งหลายชนิดรักษาหายได้ อาทิ มะเร็งเต้านม ถ้าตรวจเจอระยะแรก มีโอกาสรักษาหายขาดถึงร้อยละ 90 ดังนั้น ต้องสร้างความตระหนักรู้เรื่องมะเร็งอย่างครบวงจรให้แก่ประชาชน

นพ.ชลน่าน กล่าวอีกว่า จากข้อมูลทางวิชาการ พบว่าความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งเต้านม พบสูงในผู้หญิงที่มีประจำเดือนก่อนอายุ 12 ปี แล้วประจำเดือนหมดหลังอายุ 55 ปี และที่สำคัญคือ มะเร็งเต้านมมีความเกี่ยวข้องกับฮอร์โมนเพศหญิง ข้อมูลระบุชัดเจนว่าผู้หญิงที่มีลูก 3 คนขึ้นไป มีความเสี่ยงต่อมะเร็งเต้านมน้อยกว่าคนที่ไม่มีลูก ดังนั้น เรื่องนี้จะสอดคล้องกับนโยบายส่งเสริมการมีบุตร จึงต้องฝากว่า ต้องรณรงค์ให้เรามีลูก เพื่อป้องกันมะเร็งเต้านม และเพื่อสร้างความสมดุลให้กับโครงสร้างประชากรของประเทศด้วย

สำหรับ การป้องกันมะเร็งในผู้ชาย ทาง สปสช. มีโครงการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ และมะเร็งท่อน้ำดีจากพยาธิใบไม้ในตับ เนื่องจากพบว่าความเสี่ยงจะเกิดในกลุ่มชายภาคเหนือและอีสานถึงร้อยละ 88 และพบมากในวัยทำงานถึงร้อยละ 45 จึงมีการตั้งเป้าคัดกรองพยาธิใบไม้ในตับ 1 แสนราย ซึ่งเทคโนโลยีปัจจุบันสามารถเก็บปัสสาวะตรวจได้

นพ.ชลน่าน กล่าวด้วยว่า ได้ฝากไปยัง สปสช. ให้พิจารณาการเพิ่มสิทธิประโยชน์ในการคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยเครื่องเมมโมแกรม ในผู้หญิงกลุ่มเสี่ยงที่อายุมากกว่า 35 ปีขึ้นไป เรื่องนี้มีการคุยเบื้องต้นแล้ว เนื่องจากที่ผ่านมา สปสช. ดูแลเรื่องการรักษามะเร็งเต้านม

ชวนหญิงไทยต้าน \'มะเร็งเต้านม\' พร้อมฉีดHPV ป้องมะเร็งปากมดลูก 1 พ.ย.นี้

ส่วนกรณีไม่มีอาการ แต่อยากตรวจเมมโมแกรม สิทธิประโยชน์ของ สปสช. ยังไม่ครอบคลุม จึงได้พูดคุยกับ สปสช. ว่าน่าจะเพิ่มสิทธิประโยชน์ตรงนี้ แต่เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาคอขวดในการดูแลผู้ป่วย จึงจะต้องกำหนดกลุ่มปัจจัยเสี่ยงอันดับแรกคือ เพศหญิงอายุ 35 ปีขึ้นไป ผู้ที่มีประจำเดือนเร็วและหมดช้า ผู้ที่มีภาวะอ้วน และผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่ ซึ่งเป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็ง

บริการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม

คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บอร์ด สปสช.) มีมติเพิ่ม 'บริการตรวจคัดกรองเพื่อค้นหาการกลายพันธุ์ของยีนโรคมะเร็งเต้านม BRCA1/BRCA2' เป็นสิทธิประโยชน์ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ มอบให้กับคนไทยอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป ที่เป็นผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่มีความเสี่ยงสูง และญาติสายตรงที่มีประวัติครอบครัวตรวจพบยีนกลายพันธุ์ 

สำหรับในปีงบประมาณ 2566 นี้ สปสช. ยังคงดำเนินการสิทธิประโยชน์นี้ต่อเนื่อง ค้นหาการกลายพันธุ์ของยีนโรคมะเร็งเต้านม โดยผู้ที่ได้รับสิทธิบริการ คือผู้ป่วยมะเร็งเต้านมตามเกณฑ์ที่มีความเสี่ยงสูง ได้แก่ 
1.ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยโรคมะเร็งเต้านมเมื่ออายุไม่เกิน 45 ปี 
2.ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยโรคมะเร็งเต้านมที่อายุ 46-50 ปี ร่วมกับ มีประวัติเคยเป็นโรคมะเร็งซ้ำหลายครั้ง หรือ มีญาติสายตรง (พ่อ แม่ พี่ น้อง หรือ บุตรของผู้ป่วยมะเร็งเต้านม) อย่างน้อย 1 คน ที่มีประวัติโรคมะเร็งเต้านม มะเร็งรังไข่ มะเร็งตับอ่อน หรือมะเร็งต่อมลูกหมาก
3.ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยโรคมะเร็งเต้านมเมื่ออายุมากกว่าหรือเท่ากับ 50 ปี ร่วมกับข้อใดข้อหนึ่ง ดังนี้ 
 3.1 มีประวัติญาติสายตรงอย่างน้อย 1 คน ที่เป็นโรคมะเร็งเต้านมที่ได้รับการวินิจฉัยเมื่ออายุไม่เกิน 50 ปี หรือ มะเร็งเต้านมในผู้ชาย หรือ มะเร็งรังไข่ หรือ มะเร็งตับอ่อน หรือมะเร็งต่อมลูกหมาก 
 3.2 มีประวัติผู้ป่วยในครอบครัวอย่างน้อย 3 คนที่เป็นมะเร็งเต้านม 
 3.3 มีประวัติในครอบครัวสายตรงอย่างน้อย 2 คนที่เป็นมะเร็งเต้านม หรือมะเร็งต่อมลูกหมาก 
 4.ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมทุกช่วงอายุ ที่เป็นมะเร็งเต้านมแบบ triple negative หรือเป็นมะเร็งเต้านมในผู้ชาย

ชวนหญิงไทยต้าน \'มะเร็งเต้านม\' พร้อมฉีดHPV ป้องมะเร็งปากมดลูก 1 พ.ย.นี้

 

ชวนหญิงไทยตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก 

โรคมะเร็งปากมดลูกเป็นปัญหาสาธารณสุขของประเทศไทย จัดอยู่ในอันดับ 5 ของมะเร็งที่พบบ่อยในผู้หญิงไทยและมีอัตราการเสียชีวิตที่สูง แต่รักษาให้หายได้หากพบในระยะแรกเริ่ม และเพื่อลดจำนวนหญิงไทยที่เจ็บป่วยด้วยโรคนี้

การคัดกรองมะเร็งปากมดลูกระยะแรกเริ่มเพื่อนำไปสู่การรักษาจึงเป็นมาตรการสำคัญ โดยได้บรรจุเป็นสิทธิประโยชน์กองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สำหรับหญิงไทยอายุ 30-59 ปี ทุกคนและทุกสิทธิการรักษา โดยดำเนินการร่วมกับหน่วยบริการ(สถานพยาบาล) บริการตรวจคัดกรองด้วยวิธีแปปสเมียร์ ซึ่งเป็นวิธีที่แพร่หลายและใช้โดยทั่วไปในประเทศไทยมากว่า 70 ปี หรือวิธีวีไอเอที่เป็นการตรวจโดยชโลมปากมดลูกด้วยน้ำส้มสายชู 

ทั้งนี้ ตั้งแต่ปี 2563 เป็นต้นมา คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บอร์ด สปสช.) ได้เห็นชอบให้เริ่มดำเนินการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยเอชพีวี ดีเอ็นเอ เทสต์ (HPV DNA test) แทนการตรวจด้วยแปปสเมียร์หรือวีไอเอ ซึ่งเป็นไปตามข้อแนะนำ (Guideline) การคัดกรองมะเร็งปากมดลูกฉบับปรับปรุงเดือนกันยายน 2561 ของราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทยเพื่อเพิ่มประสิทธิผลของบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก

การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยเอชพีวี ดีเอ็นเอ เทสท์ นั้น เป็นการตรวจหาดีเอ็นเอของเชื้อไวรัสเอชพีวีที่ก่อให้เกิดมะเร็งปากมดลูก เป็นวิธีการตรวจมะเร็งปากมดลูกที่มีประสิทธิภาพและคุ้มค่า ทำให้สามารถตรวจพบผู้ป่วยในระยะแรกเริ่มเพิ่มขึ้นและเข้าสู่การรักษาได้โดยเร็วก่อนลุกลาม ช่วยให้อุบัติการณ์และการเสียชีวิตจากมะเร็งปากมดลูกลดลงเมื่อเทียบกับวิธีคัดกรองในปัจจุบัน ทั้งยังมีต้นทุนค่าใช้จ่ายที่ใกล้เคียงกัน

ส่วนรูปแบบของบริการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยเอชพีวี ดีเอ็นเอ เทสท์ จะเป็นวิธีคัดกรองมะเร็งปากมดลูกลำดับแรกในกลุ่มหญิงไทยทุกคนที่มีอายุ 30-59 ปี หรือหญิงไทยทุกคนที่มีอายุ 15-29 ปี ที่เป็นกลุ่มเสี่ยง เช่น มีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุน้อย มีคู่นอนหลายคน หรือมีเพศสัมพันธ์ที่เสี่ยงติดเชื้อ-ไม่ได้ป้องกัน เป็นต้น 

กรณีที่ผลการตรวจไม่พบเชื้อจะเข้าสู่กระบวนการคัดกรองทุก 5 ปี และในกรณีที่ตรวจพบเชื้อจะทำการตรวจยืนยันซ้ำและเข้าสู่กระบวนการรักษาต่อไป

วิธีการใช้บริการ 
1.ติดต่อหน่วยบริการหรือสถานพยาบาลในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ แจ้งขอใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติก่อนรับบริการ พร้อมแสดงบัตรประชาชน 

2.หรือจองคิวเข้ารับบริการได้ง่ายๆ ผ่านแอปพลิเคชันเป๋าตัง กระเป่าสุขภาพ เลือกสิทธิสุขภาพดีป้องกันโรค และเลือกตรวจคัดกรองมะเร็งสตรี

3.หรือขอรับชุดตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกโดยการเก็บสิ่งส่งตรวจด้วยตนเอง (HPV Self Sampling) ที่หน่วยบริการที่เข้าร่วม เช่น ร้านยา คลินิกการพยาบาล ฯลฯ