WHO ประเมินศักยภาพควบคุมยาสูบไทย เสนอขึ้นภาษี ตัดวงจรบุหรี่-บุหรี่ไฟฟ้า

WHO ประเมินศักยภาพควบคุมยาสูบไทย เสนอขึ้นภาษี ตัดวงจรบุหรี่-บุหรี่ไฟฟ้า

‘บุหรี่ หรือบุหรี่ไฟฟ้า’ ล้วนเป็นอันตรายต่อสุขภาพ โดยเฉพาะกลุ่มเด็กและเยาวชน นักสูบหน้าใหม่ หากสมองของเด็กวัยรุ่นสะสมสารนิโคตินระยะยาว จะทำให้เซลล์สมองถูกทำลายได้มาก โดยเฉพาะต่อระบบความจำ และระบบทางเดินหายใจ

Keypoint:

  • WHO FCTC ประเมินความจำเป็นการดำเนินการตามกรอบอนุสัญญาว่าด้วยการควบคุมยาสูบไทย มีความก้าวหน้าแต่มีจุดด้อยช่องว่างแต่ละหน่วยงาน
  • สนับสนุนประเทศไทยห้ามนำเข้าและจำหน่ายบุหรี่ไฟฟ้าในประเทศ ย้ำอันตรายต่อสุขภาพ ป้องกันเด็กและเยาวชนเข้ามาเป็นนักสูบหน้าใหม่
  • บุหรี่เถื่อนเกลื่อนประเทศไทย ต้องตัดวงจรบุหรี่-บุหรี่ไฟฟ้าป้องกันสุขภาพเยาวชน เร่งให้ความรู้อันตรายบุหรี่ไฟฟ้าในโรงเรียน ขึ้นภาษียาเส้น 

การสำรวจล่าสุดของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ปี 2564 ชายไทยอายุมากกว่า 15 ปี ยังสูบบุหรี่สูงถึง 34.7% และผู้หญิง 1.3% ขณะที่คนไทยเสียชีวิตจากการสูบบุหรี่ปีละ 62,343 คน ตามข้อมูลจากการวิจัยของสำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ กระทรวงสาธารณสุข และเสียชีวิตจากการได้รับควันบุหรี่มือสอง 9,434 คนต่อปี

นอกจากนั้น  ตามรายงานของสถาบันเพื่อการวัดและประเมินผลด้านสุขภาพ มหาวิทยาลัยวอชิงตันดีซี สหรัฐอเมริกา (Institute for Health Metrics and Evaluation : IHME) รวมถึงค่าใช้จ่ายรักษาโรคที่เกิดจากการสูบบุหรี่มากกว่า 8 หมื่นล้านบาท ในปี 2562 และหากรวมความสูญเสียทางเศรษฐกิจ จากการเจ็บป่วยที่ขาดรายได้และเสียชีวิตก่อนเวลาจะสูงถึงมากกว่า 2 แสนล้านบาท

WHO ประเมินศักยภาพควบคุมยาสูบไทย เสนอขึ้นภาษี ตัดวงจรบุหรี่-บุหรี่ไฟฟ้า

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

บุหรี่ไฟฟ้า มหันตภัยใหม่ใกล้ตัวนักสูบรุ่นเยาว์

ทั่วโลกเดินหน้า ห้าม! 'บุหรี่ไฟฟ้า'มากขึ้น

ทำไมภาษีบุหรี่ไฟฟ้า ถึงไม่ใช่รายได้ที่ยั่งยืน

'บุหรี่ไฟฟ้า’ สารพิษเพียบ เจอ ‘ไซยาไนด์’ ในปัสสาวะคนสูบ

 

ไทยมีความก้าวหน้าในการควบคุมยาสูบ

วันนี้(16 มิ.ย. 2566) ที่ห้องประชุมประเมินจันทวิมล กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข  ดร.เอเดรียนา บลังโก มาร์กิโซ (Dr. Adriana Blanco Marquizo) หัวหน้าสำนักเลขาธิการกรอบอนุสัญญาว่าด้วยการควบคุมยาสูบขององค์การอนามัยโลก (WHO Framework Convention on Tobacco Control : WHO FCTC) และคณะ ได้ประชุมร่วมกับผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุข  เพื่อสรุปผลการประเมินความจำเป็น (Needs Assessment) การดำเนินการตามกรอบอนุสัญญาว่าด้วยการควบคุมยาสูบขององค์การอนามัยโลกของไทย

ดร.เอเดรียนา กล่าวว่าการประเมินความจำเป็นการดำเนินการตามกรอบ FCTC ของประเทศไทยนั้น  เป็นการทำงานระหว่างภาครัฐ ภาคเศรษฐกิจ ภาคสาธารณสุข และภาคการศึกษา ซึ่งการเข้าไปทบทวนการควบคุมยาสูบของประเทศไทย พบว่ามีความก้าวหน้า และมีความมุ่งมั่นในเรื่องดำเนินการ แสดงให้เห็นถึงเจตจำนงของประเทศ และรัฐบาลไทยที่ให้ความสำคัญเรื่องคุณภาพของประชากรมากกว่าเศรษฐกิจ

WHO ประเมินศักยภาพควบคุมยาสูบไทย เสนอขึ้นภาษี ตัดวงจรบุหรี่-บุหรี่ไฟฟ้า

"เราได้ไปพบกับหลากหลายองค์กร และได้เห็นว่าการควบคุมเรื่องยาสูบ บุหรี่ บุหรี่ไฟฟ้าในประเทศไทย ไม่ได้ดำเนินการเฉพาะในส่วนของกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) แต่เป็นการทำงานร่วมกันของหลายๆ กระทรวง ซึ่งถือเป็นหนึ่งจุดแข็งของประเทศไ แต่ทั้งนี้ ในการดำเนินการยังคงมีช่องว่างในบางส่วน สิ่งที่เราเห็นเชื่อว่าในบางส่วน สามารถที่จะปรับปรุงให้มากขึ้น ทั้งในเรื่องระดับจังหวัด หรือระดับชาติ" ดร.เอเดรียนา กล่าว

 

หนุนไทยคงมาตรการห้ามนำเข้าและขายบุหรี่ไฟฟ้า

คณะ WHO FCTCได้เดินทางมาไทยระหว่างวันที่ 12-16 มิ.ย.เพื่อประเมินความจำเป็น (Needs Assessment) ในการดำเนินการตามกรอบอนุสัญญาว่าด้วยการควบคุมยาสูบขององค์การอนามัยโลก ทั้งการทบทวนกฎหมาย ยุทธศาสตร์ นโยบาย มาตรการควบคุมยาสูบของไทย โดยเฉพาะประเด็นเรื่องบุหรี่ไฟฟ้า

ทั้งนี้ ได้แลกเปลี่ยนข้อมูลการดำเนินงานควบคุมยาสูบของไทยจากหลายหน่วยงาน ได้แก่ คณะกรรมควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบแห่งชาติ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงการคลัง กระทรวงมหาดไทย กระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)  องค์การสหประชาชาติ

องค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติประจำประเทศไทย สำนักงานโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติประจำประเทศไทย และภาคีเครือข่ายด้านการควบคุมยาสูบของไทย โดยใน 20 ปีที่ผ่านมา ตั้งแต่ไทยเป็นภาคีต่อ WHO FCTC ได้ดำเนินตามกรอบอนุสัญญาฉบับนี้เป็นที่ประจักษ์และเป็นผู้นำในการควบคุมยาสูบทั้งระดับภูมิภาคและระดับโลก 

WHO ประเมินศักยภาพควบคุมยาสูบไทย เสนอขึ้นภาษี ตัดวงจรบุหรี่-บุหรี่ไฟฟ้า

“องค์การอนามัยโลก ขอสนับสนุนให้รัฐบาลใหม่ของไทยคงมาตรการห้ามนำเข้าและขายบุหรี่อิเล็กทรอนิกส์และผลิตภัณฑ์ยาสูบแบบใหม่ทุกชนิด ควรรักษากฎหมายนี้ต่อไป และบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวด เพื่อคุ้มครองเด็กและเยาวชนจากบุหรี่ไฟฟ้า ซึ่งเป็นวิธีที่ดีที่สุดสำหรับประเทศที่มีรายได้ปานกลางอย่างไทย และควรเร่งรณรงค์พิษภัยของการเสพติดบุหรี่ไฟฟ้าในระบบการศึกษา นอกจากนี้ ควรให้ความสำคัญถึงการป้องกันการแทรกแซงโดยอุตสาหกรรมยาสูบตามแนวปฏิบัติข้อ 5.3 ของกรอบอนุสัญญาฯ ทั้งในกลุ่มข้าราชการและเจ้าหน้าที่ภาครัฐ ทั้งฝ่ายนิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการที่มีหน้าที่ในการกำหนดและปฏิบัติตามนโยบายเพื่อการควบคุมยาสูบ”  ดร.เอเดรียนา กล่าว

ขึ้นภาษียาเส้น ปรับโครงสร้างฐานภาษีสอดคล้องอัตราเงินเฟ้อ

สำหรับมาตรการทางภาษีไทยควรวางแผนภาษียาเส้นระยะยาว และปรับโครงสร้างฐานภาษีให้สอดคล้องกับอัตราเงินเฟ้อและคำนึงถึงด้านสุขภาพเป็นสำคัญตามแนวปฏิบัติข้อที่ 6 มาตรการราคาและภาษีของ FCTC  

"ขณะนี้ไทยจัดเก็บภาษียาเส้นในระดับที่ต่ำมากเมื่อเทียบกับบุหรี่ซิกาแรต ยาเส้นที่มีปริมาณการผลิตไม่เกิน 12,000 กิโลกรัมต่อปี เก็บภาษี 0.025 บาทต่อกรัม ส่วนยาเส้นที่มีปริมาณการผลิตเกิน 12,000 กรัมต่อปี เก็บภาษี 0.10 บาทต่อกรัม ทำให้ราคาขายปลีกยาเส้นต่อซองต่ำกว่าบุหรี่ซิกาแรต 5-6 เท่า โดยให้กระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับกระทรวงการคลัง จัดทำอัตราภาษีใหม่ที่เหมาะสมกับและสอดคล้องกับการเจ็บป่วยจากโรคที่เกิดจากยาสูบ”

ดร.เอเดรียนา กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ ควรส่งเสริมงานควบคุมยาสูบให้กระจายลงพื้นที่ โดยดำเนินการผ่านคณะกรรมการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบระดับจังหวัด และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อให้มาตรการและบริการต่าง ๆ ลงสู่ประชาชนในพื้นที่มากขึ้น และสนับสนุนให้ไทยให้สัตยาบันต่อพิธีสารว่าด้วยการขจัดการค้าผลิตภัณฑ์ยาสูบผิดกฎหมาย

WHO ประเมินศักยภาพควบคุมยาสูบไทย เสนอขึ้นภาษี ตัดวงจรบุหรี่-บุหรี่ไฟฟ้า

ปัญหาบุหรี่เถื่อนระบาดหนักมากขึ้นในไทย ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนและกระทบต่อรายได้จากการจัดเก็บภาษียาสูบของไทย และสนับสนุนบริการรักษาการเลิกสูบบุหรี่อย่างมีประสิทธิภาพ

"หากไทยสามารถดำเนินการครบทุกมาตรการที่เสนอแนะ ส่งผลให้ไทยสามารถควบคุมและป้องกันปัญหาจากยาสูบทุกชนิดได้อย่างมีประสิทธิภาพ และบรรลุเป้าหมายที่รัฐบาลไทยต้องการให้อัตราการสูบยาสูบลดลง 14% ภายในปี 2570 " 

ขับเคลื่อนงานควบคุมยาสูบ ลดจำนวนคนสูบบุหรี่

ศ.นพ.ประกิต วาทีสาธกกิจ ประธานมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ กล่าวว่า องค์การอนามัยโลกเคยประเมินสมรรถนะการควบคุมยาสูบของประเทศไทยเมื่อปี 2551 มีข้อเสนอให้ไทย 1.ขึ้นภาษีบุหรี่ซิกาแรตตามการเปลี่ยนแปลงของค่าครองชีพ 2.ขึ้นภาษียาเส้นมวนเองให้สูงขึ้น 3.ปรับกฎหมายให้ห้ามสูบบุหรี่ในทุกพื้นที่สาธารณะ 4.จัดบริการให้คำปรึกษาเพื่อเลิกบุหรี่ในระบบบริการปฐมภูมิ

5.กำหนดแผนควบคุมยาสูบแห่งชาติ โดยเพิ่มความเข้มแข็งของการควบคุมยาสูบทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค 6.สร้างบุคลากรควบคุมยาสูบรุ่นใหม่ 7.เพิ่มการรณรงค์พิษภัยยาสูบผ่านสื่อหลัก ไทยก็ได้ดำเนินการตามข้อแนะนำหลัก ๆ เช่น การมีแผนควบคุมยาสูบแห่งชาติ

WHO ประเมินศักยภาพควบคุมยาสูบไทย เสนอขึ้นภาษี ตัดวงจรบุหรี่-บุหรี่ไฟฟ้า

การกำหนดในกฎหมายให้มีคณะกรรมการควบคุมยาสูบจังหวัด แต่ยังมีบางเรื่องที่ไม่มีความคืบหน้าเท่าที่ควร เช่น แผนการขึ้นภาษียาเส้นมวนเอง การบริการรักษาการเลิกสูบบุหรี่ที่ยังไม่เข้มแข็ง และยังขาดงบประมาณรณรงค์พิษภัยยาสูบผ่านสื่อต่าง ๆ

ทั้งนี้ การประเมินความต้องการในการเพิ่มความเข้มแข็งของการควบคุมยาสูบของไทยครั้งนี้ จะได้ข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์สำหรับรัฐบาลไทยในการขับเคลื่อนงานควบคุมยาสูบ เพื่อลดจำนวนคนสูบบุหรี่ให้เหลือน้อยที่สุดต่อไป

รัฐบาลใหม่คงกม.ห้ามขายบุหรี่ไฟฟ้า ป้องกันนักสูบหน้าใหม่

ศ.นพ.ประกิต กล่าวต่อว่า ข้อมูลล่าสุดมีประเทศห้ามขายบุหรี่ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นจาก 32 ประเทศเมื่อ 2 ปีก่อน เพิ่มเป็น 37 ประเทศ และอีก 2 เขตปกครองพิเศษ ประเทศที่เพิ่มขึ้นคือ นอร์เวย์ สปป.ลาว มอริเชียส วานูวาตู  ปาเลา กาบูเวร์ดี และเขตปกครองพิเศษ ฮ่องกง และไต้หวัน

ขณะที่มาเลเซียที่เคยถูกจัดอยู่ในประเทศที่ห้ามขาย เนื่องจากหลายรัฐมีการห้ามขายบุหรี่ไฟฟ้า แต่ปัจจุบันมาเลเซียอนุญาตให้บุหรี่ไฟฟ้าขายได้ภายใต้การควบคุมแล้ว

WHO ประเมินศักยภาพควบคุมยาสูบไทย เสนอขึ้นภาษี ตัดวงจรบุหรี่-บุหรี่ไฟฟ้า

ทั้งนี้ แนวโน้มคือประเทศต่าง ๆ ทยอยออกกฎหมายห้ามขายและห้ามนำเข้าบุหรี่ไฟฟ้าเป็นการตัดไฟแต่ต้นลม เพื่อป้องกันวัยรุ่นจากการเข้าถึงบุหรี่ไฟฟ้า ทำได้ง่ายกว่าการเปิดให้ขายได้ถูกกฎหมาย  ดังที่ประเทศที่อนุญาตให้ขายบุหรี่ไฟฟ้าได้ประสบปัญหาการระบาดของบุหรี่ไฟฟ้าในวัยรุ่น จึงอยากขอให้รัฐบาลใหม่ยังคงกฎหมายห้ามขายบุหรี่ไฟฟ้าของไทยไว้ และมีการบังคับใช้กฎหมายห้ามขายอย่างเข้มงวด ซึ่งจะป้องกันเด็กและเยาวชนจากการสูบบุหรี่ไฟฟ้าได้ดีกว่า