ทำไมภาษีบุหรี่ไฟฟ้า ถึงไม่ใช่รายได้ที่ยั่งยืน

ทำไมภาษีบุหรี่ไฟฟ้า ถึงไม่ใช่รายได้ที่ยั่งยืน

การเสนอให้เก็บภาษีสิ่งที่ย้อนแย้งกับสภาพความเป็นจริง ซึ่งการ “เก็บภาษีบุหรี่ไฟฟ้า” ก็คือมีนัยต้องการทำให้บุหรี่ไฟฟ้าถูกกฎหมายนั่นเอง

ว่ากันว่าขณะนี้มีความพยายามที่จะทำให้ “บุหรี่ไฟฟ้า” ถูกกฎหมายสามารถนำเข้าได้ และรัฐสามารถจัดเก็บภาษีนำเข้าเป็นรายได้ของประเทศได้

ขณะเดียวกันก็มีความพยายามสื่อสารให้สังคมรับรู้ว่า “ทำไมบุหรี่ไฟฟ้าไม่ควรถูกกฎหมาย” โดยอ้างถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในระดับระหว่างประเทศ อย่างองค์การอนามัยโลก พูดไว้ได้ชัดเจนว่า “หากทำให้บุหรี่ไฟฟ้าถูกกฎหมาย” จะมีผลเสียมากกว่าผลได้ เพราะไม่ว่าจะเก็บภาษีได้เท่าไหร่ ก็อาจจะต้องนำมาเป็นค่าใช้จ่ายในการดูแลสุขภาพ ทั้งที่สามารถป้องกันได้

เพราะการสูบบุหรี่ทำให้ ก่อให้เกิดโรคต่างๆ มากมาย  ที่เกิดขึ้นทั้งกับคนที่สูบ ครอบครัว เสียงาน เสียค่าใช้จ่ายรักษาตัวเองเพราะโรคภัยที่เกิดจากการสูบบุหรี่ 

ที่สำคัญรายได้ที่เกิดขึ้นไม่ใช่รายได้ภาษีที่ยั่งยืน เพราะว่าเงินที่ได้มาจะต้องนำส่วนหนึ่งมาใช้จ่ายรักษาพยาบาล และความสูญเสียต่อการเสียรายได้ จึงไม่คุ้ม  

ขณะที่รายได้ของบริษัทบุหรี่อยู่ที่ราว 3 ล้านล้านบาท แต่การจัดเก็บภาษีจะได้ราว 6,000 ล้านบาท ซึ่งถือว่ายังน้อยเกินไปเมื่อเทียบรายได้ของบริษัทบุหรี่  

ที่สำคัญ “บุหรี่” เป็นสินค้าถูกกฎหมาย แต่ก็ยังมีการลักลอบหนีภาษี องค์การอนามัยโลกและธนาคารโลกจึงแนะให้ทุกประเทศควบคุมยาสูบ ซึ่งในแง่เศรษฐศาสตร์ องค์การอนามัยโลกระบุในปี 2004 ว่า บุหรี่ยิ่งสูบยิ่งจน

มีข้อมูลว่า บริษัทบุหรี่แห่งหนึ่งมีรายได้เมื่อปี 2565 ถึง 1.1 ล้านล้านบาท ถ้าเทียบกับงบประมาณรายจ่ายของไทยในปีเดียวกันอยู่ที่ 3.1 ล้านล้านบาท ประมาณการรายรับ 2.4 ล้านล้านบาท แสดงว่าการผลักดันให้บุหรี่ไฟฟ้าถูกกฎหมายเป็นความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจที่บริษัทบุหรี่ต้องผลักดันอย่างยิ่ง ซึ่งไทยเคยมีประสบการณ์ปล่อยให้บุหรี่ลดราคาเมื่อปี 2560 มาแล้ว จึงไม่ควรทำให้บุหรี่ไฟฟ้าถูกกฎหมาย

ข้อเสนอให้เก็บภาษีบุหรี่ไฟฟ้า เป็นคำแนะนำสำหรับประเทศที่ไม่มีการห้ามบุหรี่ไฟฟ้า เพราะการเก็บภาษีจะทำให้ราคาสูงขึ้น เยาวชนเข้าถึงยากขึ้น แต่ประเทศไทยห้ามบุหรี่ไฟฟ้า เพราะเป็นสิ่งผิดกฎหมาย

การเสนอให้เก็บภาษีสิ่งที่ย้อนแย้งกับสภาพความเป็นจริง ซึ่งการ “เก็บภาษีบุหรี่ไฟฟ้า” ก็คือมีนัยต้องการทำให้บุหรี่ไฟฟ้าถูกกฎหมายนั่นเอง  และสิ่งที่ควรทำในเชิงเศรษฐศาสตร์การเมือง คือการรับฟังข้อมูลจากฝ่ายสนับสนุนบุหรี่ไฟฟ้าฝ่ายเดียว ไม่ฟังข้อมูลฝ่ายสุขภาพ และการแสวงหาประโยชน์จากการดำเนินการของรัฐ เป็นการใช้อำนาจรัฐเพื่อให้ได้มาซึ่งผลประโยชน์หรือผลตอบแทนโดยไม่ได้สร้างความมั่งคั่งขึ้นในด้านเศรษฐกิจ

ที่สำคัญประเทศที่เปิดให้ซื้อขายบุหรี่ไฟฟ้าได้ ปรากฏว่าเยาวชนสูบเพิ่มขึ้น อย่างสหรัฐอเมริกา ซานฟรานซิสโก เป็นเมืองแรกที่ห้ามแล้ว  

ขณะเดียวกัน “บุหรี่มวน” ที่มีการซื้อขายกันมานาน จนเป็นสินค้าเสพติด การห้ามทันทีคงยาก สิ่งที่หลายประเทศดำเนินการ และองค์การอนามัยโลกและธนาคารโลกเสนอแนะก็คือ ตั้งเป้าหมายลดอัตราการสูบลง เพราะอย่างไรเสียการสูบบุหรี่ก็เป็นอันตรายต่อสุขภาพ

ทว่า หากประเทศไทยมีการอนุญาตจัดเก็บภาษีนำเข้า“บุหรี่ไฟฟ้า”เมื่อใด อนาคตสินค้าชนิดนี้จะถูกกฎหมายก็อยู่ไม่ไกลแล้วเช่นกัน