'ฟังมากกว่าพูด เรียนรู้ด้วยกัน' ศิลปะทำงานร่วม 'ต่าง Gen'

'ฟังมากกว่าพูด เรียนรู้ด้วยกัน' ศิลปะทำงานร่วม 'ต่าง Gen'

เมื่อโลกของการทำงานเปลี่ยน ปัญหาเด็กเกิดน้อย และโควิด-19 ทำให้ 'ธุรกิจการศึกษา' บุคลากร คณาจารย์ ต้องเปลี่ยนการเรียนการสอนให้ต่างไปจากเดิม ขณะเดียวกัน ด้านการบริหาร ก็ต้องปรับสู่ OKR (Objective key result) หรือ วัดผลความสำเร็จเป็นหลัก

Key Point :

  • รูปแบบการทำงานที่เปลี่ยนไป คนรุ่นใหม่ให้ความสำคัญกับสมดุลชีวิต และความยืดหยุ่นในการทำงาน ทำให้ปัจุจบัน ไม่ใช่องค์กรเลือกคน แต่คนทำงานเป็นผู้เลือกงาน
  • ขณะเดียวกัน 'ธุรกิจการศึกษา' อีกหนึ่งธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์เด็กเกิดน้อย และโควิด-19 ส่งผลให้บุคลากร คณาจารย์ ต้องปรับวิธีการเรียนการสอนให้ต่างไปจากเดิม
  • ผศ.ดร.ศิริเดช คำสุพรหม คณบดีวิทยาลัยนานาชาติ DPU มองว่า การทำงานต้องเปลี่ยน โดยให้น้ำหนักเรื่อง วัดผลความสำเร็จเป็นหลัก เน้นฟังมากกว่าพูด เรียนรู้ไปพร้อมกับคนทุก Gen เพื่อความสำเร็จ คุณภาพของนักศึกษา

 

ในโลกการทำงาน การใช้ชีวิต สภาพแวดล้อมรอบตัวทุกอย่างล้วนมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ทักษะสำคัญที่ทุกคนต้องมี คือ การปรับตัวเพื่อให้เท่าทันและรองรับสิ่งรอบข้าง ขณะเดียวกันการทำงานในองค์กรที่มีผู้คนหลากหลายมุมมอง ความคิด และรูปแบบการทำงานที่แตกต่างจากเดิม คนรุ่นใหม่ให้ความสำคัญกับ Work life Balance ทำงานได้จากทุกที ทำเท่าที่ต้องการ และคนทำงานเป็นผู้เลือกงาน ไม่ใช่องค์กรเลือกคน

 

'ธุรกิจการศึกษา' อีกหนึ่งธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์เด็กเกิดน้อย และการแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลให้บุคลากร คณาจารย์ของมหาวิทยาลัยต้องปรับวิธีการเรียนการสอนให้ต่างไปจากเดิม มีการนำเทคโนโลยี นวัตกรรมการเรียนการสอนเข้ามาใช้มากขึ้น รวมถึงการแข่งขันสูง หากไม่ปรับการจัดการศึกษา สภาพแวดล้อมให้สอดคล้องกับไลฟ์สไตล์ของนักศึกษาอาจจะอยู่ไม่รอด มหาวิทยาลัย จึงต้องเปลี่ยนแนวทางการทำงานให้ตอบโจทย์นวัตกรรมการศึกษา ตลาดแรงงาน และคนรุ่นใหม่

 

\'ฟังมากกว่าพูด เรียนรู้ด้วยกัน\' ศิลปะทำงานร่วม \'ต่าง Gen\'

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

 

เปิดอิสระฟังมากเรียนรู้ด้วยกัน

 

ผศ.ดร.ศิริเดช คำสุพรหม คณบดีวิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ (มธบ.) หรือ DPU ผู้บริหารรุ่นใหม่ที่ทลายกำแพงการทำงานในยุคเดิมๆ ของบุคลากรทางการศึกษา คณาจารย์ไม่ใช่เป็นศูนย์กลางให้นักศึกษาต้องทำตามเพียงอย่างเดียว แต่ยังเปิดให้นักศึกษา คนรุ่นใหม่ได้มีพื้นที่แสดงความคิดเห็น พัฒนาตนเอง ร่วมแลกเปลี่ยน และเข้าสู่ฝ่ายบริหารเพื่อขับเคลื่อนวิทยาลัย มหาวิทยาลัย

 

การทำงานตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน จะให้ความอิสระแก่คณาจารย์ และบุคลากรเจ้าหน้าที่ เพราะการทำงานกับอาจารย์ ซึ่งมีอัตลักษณ์ความเป็นตัวของตนเอง และเป็นผู้ที่มีเหตุผล ย่อมที่จะมีบางอย่างที่เขายึดติด สิ่งที่จะทำให้พวกเขามีความเชื่อมั่นในการทำงานต้องให้อิสระ ไม่เข้มงวดเรื่องของเวลา แต่จะพิจารณาจากความรับผิดชอบ และผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น นั่นคือ ความสำเร็จ คุณภาพของนักศึกษา

 

ตลอดเวลาการทำงาน จึงให้น้ำหนักเรื่อง OKR (Objective key result) หรือ วัดผลความสำเร็จเป็นหลัก เพราะการทำงานยุคนี้ต้องให้อิสระ หมดยุคที่จะมาประเมินจากการเข้างาน เนื่องจากอยู่ที่ไหนก็ทำงานได้ และหลักการทำงานจะเน้นฟังมากกว่าพูด และเรียนรู้ไปพร้อมกับคนทุกเจน เพราะได้ประสบการณ์เรียนรู้เมื่อครั้งไปเรียนต่างประเทศ อาจารย์ที่สอนเขาพร้อมที่จะเรียนรู้ไปกับนักศึกษา และยอมรับว่าไม่รู้ ทั้งที่ผู้สอนส่วนใหญ่มักจะมองว่าสิ่งที่เขารู้ถูกต้องที่สุด 

 

จึงได้นำมาเป็นหลักในการเป็นอาจารย์ สอนหนังสือนักศึกษา ตลอดจนการทำงาน  เพราะทุกคนอยากทำงานและมีความก้าวหน้า ปลอดภัยในงานที่ทำ หรือการสร้างความมั่นคงในการทำงาน บุคคลากรทุกคนจึงจะได้รับโอกาสในการพัฒนาตนเอง และเรียนรู้สิ่งใหม่ๆอยู่เสมอ 

 

\'ฟังมากกว่าพูด เรียนรู้ด้วยกัน\' ศิลปะทำงานร่วม \'ต่าง Gen\'

 

'ความมั่นคง' แรงจูงใจทำงาน

 

ผศ.ดร.ศิริเดช เล่าต่อว่า แรงจูงใจของการทำงานแต่ละคนแตกต่างกัน ซึ่งถ้าในมุมงานวิชาการ งานสอน งานวิจัย แรงจูงใจ คือ ความมั่นคงของการทำงาน และจะมีความมั่นคงได้ต้องดูจากจำนวนนักศึกษาเพิ่มขึ้น เพราะเมื่อนักศึกษาเพิ่มขึ้น อาจารย์ก็จะมีความมั่นคงในหน้าที่การงานมากขึ้น อีกทั้งสะท้อนให้เห็นว่าสิ่งที่อาจารย์ทำมาประสบความสำเร็จ เห็นผลชัดเจน

 

“เมื่ออาจารย์ บุคลากรเจ้าหน้าที่ปลอดภัยในงานและอาชีพ มีความมั่นคงในหน้าที่การงาน พวกเขาจะทำงานอย่างเต็มที่ ดังนั้น แรงจูงใจของการทำงานที่วิทยาลัยบริหารธุรกิจนวัตกรรมและการบัญชี (CIBA), วิทยาลัยนานาชาติ หรือ มหาวิทยาลัย ไม่ใช่ค่าตอบแทนเพียงอย่างเดียว แต่จะเป็นเรื่องของความปลอดภัยในอาชีพ อีกทั้ง มหาวิทยาลัยได้มีการพัฒนายกระดับคุณภาพอาจารย์และบุคลากรอยู่เสมอ เปิดโอกาสให้ศึกษาต่อ อบรมทักษะใหม่ ด้วยสภาพแวดล้อม การทำงานที่ยืดหยุ่น ไม่กดดัน”

 

\'ฟังมากกว่าพูด เรียนรู้ด้วยกัน\' ศิลปะทำงานร่วม \'ต่าง Gen\'

 

ลดช่องว่างสร้างความเข้าใจต่าง Gen

 

ช่วงโควิด-19 อาจารย์ บุคลากรมหาวิทยาลัยต้องเปลี่ยนรูปแบบการทำงาน เน้นสอนออนไลน์ ทำงานผ่านเทคโนโลยีมากขึ้น ส่งผลให้คณาจารย์ทุกคน ไม่ว่าจะเป็น อาจารย์อาวุโสอายุ 60 ปี หรืออาจารย์รุ่นใหม่ก็ต้องปรับการเรียนการสอนมาสอนออนไลน์ ทุกคนต้องเรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ๆ ซึ่งได้มอบหมายให้อาจารย์รุ่นใหม่คอยช่วยเหลืออาจารย์อาวุโส ในการใช้เครื่องมืออุปกรณ์ต่างๆ ซึ่งเป็นความโชคดี ที่อาจารย์ในคณะเขาพร้อมที่จะปรับตัว เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ยอมรับความต่างในแต่ละ Gen

 

“ความแตกต่างในแต่ละ Gen ต้องทำให้พวกเขายอมรับความคิดเห็นซึ่งกันและกัน ทำงานร่วมกัน ซึ่งแต่ละคนก็จะมีวิธีคิด เรียนรู้ต่างกัน ต้องแลกเปลี่ยนกัน ที่สำคัญไม่มีใครคิด หรือทำเหมือนเราได้ 100 % ยิ่งในองค์กรที่มีคน 3 เจน วัยอาวุโส วัยกลางคน และคนรุ่นใหม่ แรกๆ ต้องทำให้เกิดความร่วมมือกัน ซึ่งเราโชคดีที่แม้เราจะมีบุคลากรที่แตกต่างกันตามวัย แต่ทุกคนพร้อมปรับตัว เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ที่เข้ามา”

 

Output-Outcome นศ.คือผลสำเร็จ

 

การทำงานต้องกำหนดกลยุทธ์ที่ชัดเจน ซึ่งมุ่งเน้นให้นักศึกษาได้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ เรียนรู้จากการลงมือทำ และการจัดการเรียนการสอนเพื่อคุณภาพการศึกษาที่ดี โดยมีการนำเทคโนโลยี ศาสตร์ใหม่ๆ ในการบริหารมาใช้ ยิ่งในปัจจุบันโลกมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา การทำงานต้องมีเป้าหมายชัด มีความยืดหยุ่น วางแนวปฎิบัติให้บุคลากรได้เข้าใจ และร่วมขับเคลื่อน

 

“เมื่อกำหนดกลยุทธ์ให้นักศึกษามีความทันสมัย เท่าทันการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ทุกหลักสูตรต้องเน้นความเป็นดิจิตอลมากขึ้น บุคลากร คณาจารย์ของคณะก็ต้องมีความเข้าใจ และปฎิบัติตามกลยุทธ์ที่กำหนดไว้ได้ ซึ่งอาจารย์จะทำได้หรือไม่นั้น ดูได้จากผลลัพธ์ นั้นคือ Output Outcome ของเด็ก ซึ่งพิจารณาจากการประเมินโครงงานของเด็กมากกว่าการสอน"ผศ.ดร.ศิริเดช กล่าว

 

อย่างไรก็ตาม นักบริหารรุ่นใหม่ ควรมีอัตลักษณ์ เปิดหูให้กว้าง และพูดให้น้อย รวมถึงเปิดรับการเรียนรู้สิ่งใหม่ โดยเฉพาะการทำงานกับเด็กรุ่นใหม่ ต้องรับฟังพวกเขา เพราะความคิดของพวกเขาแม้จะแตกต่างแต่เป็นมุมมองใหม่ๆที่ผู้ใหญ่ควรเปิดใจยอมรับ

 

\'ฟังมากกว่าพูด เรียนรู้ด้วยกัน\' ศิลปะทำงานร่วม \'ต่าง Gen\'