ค่าดัชนีความร้อน 4-5 พ.ค.66 สูงสุด 53 องศา คาดการณ์พยากรณ์อากาศ 7 วันข้างหน้า

ค่าดัชนีความร้อน 4-5 พ.ค.66 สูงสุด 53 องศา คาดการณ์พยากรณ์อากาศ 7 วันข้างหน้า

กรมอุตุนิยมวิทยา คาดหมายค่าดัชนีความร้อนสูงสุดรายวันช่วงวันที่ 4-5 พฤษภาคม 2566 พื้นที่รายภาคส่วนใหญ่อยู่ในระดับอันตราย ขณะที่ พยากรณ์อากาศ 7 วันข้างหน้า ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด กับมีฟ้าหล้วในตอนกลางวัน

กรมอุตุนิยมวิทยา คาดหมายค่าดัชนีความร้อนสูงสุดรายวันช่วงวันที่ 4-5 พฤษภาคม 2566 รายภาคพื้นที่เขตบางนา กรุงเทพมหานคร , สัตหีบ จ.ชลบุรี ค่าดัชนีความร้อนสูงสุด 53 องศาเซลเซียส ขณะที่พื้นที่อื่นๆส่วนใหญ่อยู่ในระดับอันตราย

คาดการณ์ค่าดัชนีความร้อนวันที่ 4 พฤษภาคม 2566

  • เพชรบูรณ์ ค่าคาดหมายดัชนีความร้อน 44.1 องศาเซลเซียส (ระดับอันตราย)
  • ศรีสะเกษ ค่าคาดหมายดัชนีความร้อน 44.4 องศาเซลเซียส (ระดับอันตราย)
  • บางนา กรุงเทพมหานคร ค่าคาดหมายดัชนีความร้อน 49.6 องศาเซลเซียส (ระดับอันตราย)
  • ชลบุรี ค่าคาดหมายดัชนีความร้อน 51.4 องศาเซลเซียส (ระดับอันตราย)
  • ภูเก็ต ค่าคาดหมายดัชนีความร้อน 50.9 องศาเซลเซียส (ระดับอันตราย)

คาดการณ์ค่าดัชนีความร้อนวันที่ 5 พฤษภาคม 2566

  • เพชรบูรณ์ ค่าคาดหมายดัชนีความร้อน 49.6 องศาเซลเซียส (ระดับอันตราย)
  • ศรีสะเกษ ค่าคาดหมายดัชนีความร้อน 46.4 องศาเซลเซียส (ระดับอันตราย)
  • บางนา กรุงเทพมหานคร ค่าคาดหมายดัชนีความร้อน 53 องศาเซลเซียส (ระดับอันตราย)
  • สัตหีบ ชลบุรี ค่าคาดหมายดัชนีความร้อน 52.1 องศาเซลเซียส (ระดับอันตราย)
  • ภูเก็ต ค่าคาดหมายดัชนีความร้อน 52.7 องศาเซลเซียส (ระดับอันตราย)

ค่าดัชนีความร้อนคือ อุณหภูมิที่คนเรารู้สึกได้ในขณะนั้นว่าอากาศร้อนเป็นอย่างไร หรือ อุณหภูมิที่ปรากฏขณะนั้นเป็นเช่นไร โดยค่าดัชนีความร้อนนั้นคำนวณมาจากค่าอุณหภูมิของอากาศที่ตรวจวัดได้จริงและความชื้นสัมพัทธ์ สามารถนำมาประยุกต์ใช้เพื่อระบุความเสี่ยงที่ร่างกายจะได้รับผลกระทบจากความร้อนได้ ซึ่งต่างจากอุณหภูมิที่เครื่องวัดหรือโทรศัพท์แสดง

 

ค่าดัชนีความร้อน 4-5 พ.ค.66 สูงสุด 53 องศา คาดการณ์พยากรณ์อากาศ 7 วันข้างหน้า

 

ตารางแสดงค่าดัชนีความร้อน

สำหรับ ตารางแสดงค่าดัชนีความร้อนที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ (ข้อมูลจาก กรมอนามัย)

- ระดับ 27 -32 องศาเซลเซียส (เฝ้าระวัง) 

ผลกระทบต่อสุขภาพ คือ อ่อนเพลีย วิงเวียน คลื่นไส้ อาเจียน ปวดศรีษะ ปวดเมื่อยตามตัวจากการสัมผัสความร้อนออกกำลังกาย หรือ ใช้แรงงานท่ามกลางอากาศที่ร้อน

- ระดับ 32 -41 องศาเซลเซียส (เตือนภัย) 

ผลกระทบต่อสุขภาพ คือ เกิดอาการตะคริวจากความร้อนและอาจเกิดอาการเพลียแดด หากสัมผัสความร้อนเป็นเวลานาน

- ระดับ 41-54 องศาเซลเซียส (อันตราย)

ผลกระทบต่อสุขภาพ คือ ตะคริวที่น่อง ต้นขา หน้าท้อง หรือไหล่ ทำให้ปวดท้องเกร็ง มีอาการเพลียแดด และอาจเกิดภาวะลมแดดได้หากสัมผัสความร้อนเป็นเวลานาน

- ระดับมากกว่า 54 องศาเซลเซียส (อันตรายมาก)

ผลกระทบต่อสุขภาพ คือ เกิดภาวะลมแดด (Heat Stroke)

พยากรณ์อากาศ 7 วันข้างหน้า ในช่วงวันที่ 4-7 พฤษภาคม 2566 ความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้บริเวณดังกล่าวมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด กับมีฟ้าหล้วในตอนกลางวัน ประกอบกับลมใต้พัดปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้บริเวณดังกล่าวยังคงมีฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงบางแห่งเกิดขึ้นได้

ขอให้ประชาชนในบริเวณประเทศไทยตอนบนระวังอันตรายจากฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงที่อาจจะเกิดขึ้นไว้ด้วย ส่วนในช่วงวันที่ 8-10 พฤษภาคม 2566 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ประกอบกับลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมประเทศไทยตอนบนมีกำลังแรงขึ้น ในขณะที่บริเวณดังกล่าวมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนจะมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น ซึ่งมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง รวมถึงอาจมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ โดยจะเริ่มมีผลกระทบบริเวณด้านตะวันออกของภาคตะวันออกเฉียงเหนือก่อน ส่วนภาคอื่นๆจะได้รับผลกระทบในระยะถัดไป

ในช่วงวันที่ 5-10 พฤษภาคม 2566 ลมตะวันตกและลมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย ทำให้ภาคใต้ยังคงมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ โดยคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันมีกำลังแรงขึ้น โดยมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

อนึ่ง หย่อมความกดอากาศต่ำที่ปกคลุมบริเวณอ่าวเบงกอลตอนล่าง คาดว่าจะทวีกำลังแรงขึ้นในช่วงวันที่ 8-10 พฤษภาคม 2566 และจะเคลื่อนขึ้นไปปกคลุมบริเวณอ่าวเบงกอลตอนกลางในระยะถัดไป

ข้อควรระวัง

ช่วงวันที่ 4-7 พฤษภาคม 2566 ขอให้ประชาชนดูแลรักษาสุขภาพ และระวังโรคลมแดดเนื่องจากสภาพอากาศที่ร้อนถึงร้อนจัด

ส่วนในช่วงวันที่ 8-10 พฤษภาคม 2566 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนระวังอันตรายจากพายุฤดูร้อน โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ สิ่งปลูกสร้างและป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง ไม่ควรสวมใส่โลหะ และหลีกเลี่ยงการใช้โทรศัพท์มือถือขณะเกิดพายุฝนฟ้าคะนอง

ส่วนเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรและอันตรายต่อสัตว์เลี้ยงไว้ด้วย ชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง ตลอดช่วง