โรคหืด...เรื่องใกล้ตัวที่ไม่ควรมองข้าม เช็คความเสี่ยงก่อนสาย

โรคหืด...เรื่องใกล้ตัวที่ไม่ควรมองข้าม เช็คความเสี่ยงก่อนสาย

เชื่อหรือไม่ว่าโรคหืดเป็นภัยเงียบที่คร่าชีวิตคนไทยกว่า 4,000 คนต่อปี และมีอัตราการเสียชีวิตสูงเป็นอันดับ 8 ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งปัจจัยที่เป็นตัวกระตุ้น เช่น สารก่อภูมิแพ้ ฝุ่นควัน เกสรดอกไม้ ขนสัตว์ รวมถึงมลพิษทางอากาศ และอุณหภูมิ

หลายคนอาจคิดว่าอาการเหล่านี้เป็นเรื่องไกลตัว ข้อมูลจาก องค์การอนามัยโลก (WHO) เผยให้เห็นว่า กลุ่มโรคทางเดินหายใจและโรคหืด  ไม่เพียงแต่ฝุ่นควันจะเป็นปัจจัยกระตุ้นเท่านั้น แต่ยังส่งผลโดยตรงต่อคุณภาพชีวิต และกลายเป็นอุปสรรคในการดำเนินชีวิตประจำวัน

'หอบหืด' เป็นโรคที่เกิดจากการอักเสบเรื้อรังของหลอดลม ซึ่งมีผลทำให้หลอดลมของผู้ป่วยมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อสารก่อภูมิแพ้และสิ่งแวดล้อมมากกว่าคนปกติ โดยผู้ป่วยมักมีประวัติของอาการไอ แน่นหน้าอก หายใจลำบาก หายใจมีเสียงหวีด หรือหอบเหนื่อย

จากข้อมูลผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในสถานพยาบาลของรัฐปี 2563 พบผู้ป่วยโรคหอบหืดและภาวะหอบหืดกำเริบรุนแรง รวม 488,449 ราย คิดเป็นอัตราความชุกที่ 737.99 ต่อประชากรหนึ่งแสนคน โดยผู้ที่เสียชีวิตจากโรคนี้ มักมีสาเหตุส่วนใหญ่มาจากภาวะหอบหืดเฉียบพลัน ไม่สามารถดูแลตนเองได้ขณะที่มีอาการ พ่นยาไม่ถูกต้อง พ่นยาช้า การใช้ยาไม่ถูกต้อง หรือหลอดลมของผู้ป่วยมีความไวต่อสิ่งกระตุ้นอย่างรุนแรง

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

ยิ่ง ‘โลกร้อน’ ขึ้น ยิ่งทำให้ผู้ป่วย ‘โรคหอบหืด’ อาการกำเริบง่ายกว่าเดิม

“โรคหืด” อัตราการสูญเสียมากกว่าโควิด - 19”

Asthma Excellence แอปฯ ดูแลผู้ป่วยโรคหืด "นวัตกรรม" ดิจิทัลโดยคนไทย

WHO เผย "PM 2.5 - โลกร้อน - โรคร่วม" ทำผู้ป่วยโรคหืด กลับมามีอาการหอบรุนแรง

 

รับมืออย่างไร? เมื่อโรคหืดกำเริบ

โรคหืด ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตในหลายปัจจัย เช่น นอนหลับไม่สนิท ประสิทธิภาพในการทำงานลดถอยลง ในบางรายอาจทำให้สูญเสียรายได้ ปัจจุบันพบว่า คนไทยป่วยเป็นโรคหืดมากถึง 3 ล้านคน โดยผู้ป่วยโรคหืดกว่า 60% ใช้เพียงยาสูดพ่นขยายหลอดลมสำหรับบรรเทาอาการเป็นประจำซึ่งไม่ถูกต้อง

พญ.เปี่ยมลาภ แสงสายัณห์ นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ สถาบันโรคทรวงอก กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้ให้คำแนะนำเกี่ยวกับวิธีการป้องกันและดูแลโรคหืดว่า ปัจจุบันมีการใช้ยาสูดพ่นขยายหลอดลม ที่ออกฤทธิ์เร็วและต้านการอักเสบที่เป็นสาเหตุหลักของโรคหืด โดยสามารถช่วยป้องกันการเกิดอาการและบรรเทาอาการโรคหืดได้เป็นอย่างมีประสิทธิภาพเมื่อได้รับยาอย่างสม่ำเสมอ

อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยก็ยังควรต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมควบคู่กันไปด้วย เช่น การงดจุดธูปในบ้าน ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และการใส่หน้ากากอนามัยเพื่อหลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้น ซึ่งจะทำให้การดูแลสุขภาพและประคองโรคหืดได้ดียิ่งขึ้น

นอกจากนี้ ปัจจัยกระตุ้นหลายอย่างในปัจจุบัน เช่น ฝุ่นควัน และมลพิษในอากาศยังมีความสัมพันธ์กับความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นของการกำเริบของโรคหอบหืดในเด็กอีกด้วย ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการกำเริบของโรคหืด และส่งผลต่อเนื่องในการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น การขาดเรียน และอาจก่อให้เกิดความผิดปกติของร่างกายหากไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสม

 

เสี่ยงเป็นโรคหืดหรือไม่? เช็คได้ง่ายในคลิกเดียว

ดังนั้น เพื่อเป็นการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีการดูแลผู้ป่วยเด็กที่เป็นโรคหืดอย่างถูกต้อง แอสตร้าเซนเนก้า จึงได้จัดทำแคมเปญ ปาร์คเกอร์แพนด้า (Parker Panda) และ คุณหมอบันนี่ (Dr. Bunny) เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับโรคหืดในเด็กพร้อมแนะนำวิธีดูแลผู้ป่วยเด็กผ่านสื่อการเรียนรู้ให้กับแพทย์และครอบครัวผู้ดูแล โดยผู้ที่สนใจสามารถติดตามได้ทาง Facebook AstraZeneca Thailand หรือดาวน์โหลด e-book เพื่ออ่านหนังสือฉบับเต็มได้ที่นี่

นอกเหนือจากการประเมินตัวเองเบื้องต้นผ่านการสังเกตอาการตนเอง เช่น อาการไอ แน่นหน้าอก หายใจมีเสียงหวีด และเหนื่อยหอบ ก่อนไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยหาสาเหตุเพิ่มเติม ท่านสามารถประเมินแนวทางการรักษาโรคหืด แบบเบื้องต้นได้ที่เว็บไซต์ Rate Your Reliance ผ่านแบบทดสอบเพื่อประเมินภาวะการพึ่งพายาสูดพ่นขยายหลอดลมชนิดออกฤทธิ์สั้นเพื่อบรรเทาอาการหอบหืด (SABA) และเป็นแหล่งข้อมูลความรู้เกี่ยวกับโรคหืด

เนื่องในโอกาสวันโรคหืดโลกประจำปีนี้ แอสตร้าเซนเนก้า ประเทศไทย ได้จัดทำวิดีโอสั้นภายใต้โครงการ Healthy Lung โดยมีวัตถุประสงค์ในการให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลคนไข้โรคหืด เพื่อการเข้าถึงการรักษาที่มีประสิทธิภาพและการใช้ยาเพื่อบรรเทาอาการ ซึ่งคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้ป่วยเป็นสำคัญ สามารถติดตามรับชมได้ที่ YouTube  AstraZeneca Thailand และ Facebook AstraZeneca Thailand