แนะใช้สมุนไพรปรับสมดุล ต้านลมแดด ฮีทสโตรก

แนะใช้สมุนไพรปรับสมดุล ต้านลมแดด ฮีทสโตรก

“อภัยภูเบศร”เตือนอันตรายโรคลมแดด หรือ ฮีทสโตรก เช็กอาการเบื้องต้นที่ต้องเฝ้าระวัง แนะใช้สมุนไพรทางเลือก ปรับสมดุลร่างกาย ต้านลมแดด ป้องกันเกิดฮีทสโตรก

ประเทศไทยกำลังเข้าสู่ฤดูร้อน อุณหภูมิตอนกลางวันบางวันสูงถึง 40 องศา และอาจมีความร้อนเพิ่มขึ้นในบางพื้นที่ ซึ่งอุณหภูมิที่เพิ่มสูงขึ้นสามารถส่งผลกระทบต่อสุขภาพได้ ทั้งในระยะสั้น ระยะยาว และในหลากหลายระบบของร่างกาย

รวมถึงโรคลมแดด หรือ ฮีทสโตรก (Heat Stroke) คือ ภาวะที่ร่างกายมีความร้อนสูงมากกว่า 40 องศาเซลเซียส เป็นเวลานานเกิน 10-15 นาที และไม่สามารถระบายความร้อนออก หรือขับเหงื่อออกได้ ซึ่งมีสาเหตุหลักมาจากอากาศที่ร้อนสูงขึ้น การใช้แรงมากๆในสภาพอากาศร้อน ซึ่งมีโอกาสทำให้เสียชีวิตได้
 

อาการโรคลมแดด หรือ ฮีทสโตรก (Heat STroke)

ภญ.อาสาฬา เชาวน์เจริญ เภสัชกรชำนาญการ รพ.เจ้าพระยาอภัยภูเบศร กล่าวว่า อาการโรคลมแดดที่สามารถสังเกตได้ เช่น

  • ตัวร้อนจัด
  • ผิวสีแดงกว่าปกติ
  • บางรายพบมีผื่นแดง
  • ไม่มีเหงื่อออก
  • ปัสสาวะออกน้อย
  • เวียนศีรษะ มึนงง
  • หายใจเร็ว ใจสั่น
  • อ่อนแรง หน้ามืด เป็นลม
  • แขนขาตะคริว

เมื่ออุณหภูมิสูงขึ้นเรื่อย ๆ อาจทำให้เกิดอาการรุนแรงได้ เช่น สับสน เพ้อ พูดไม่ชัดเจน กระสับกระส่าย ชัก ช็อก กล้ามเนื้อลายสลาย

แนะใช้สมุนไพรปรับสมดุล ต้านลมแดด ฮีทสโตรก

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

 

สมุนไพรที่ใช้ในช่วงอากาศร้อน ต้านฮีทสโตรก

อวัยวะต่างๆ เกิดการล้มเหลว เช่น ไตล้มเหลว เซลล์ตับตาย กล้ามเนื้อหัวใจตาย หัวใจวาย หากพบว่าเริ่มมีอาการควรรีบบรรเทาอาการ โดยการอยู่ที่ร่ม อากาศถ่ายเทสะดวก นอนราบ ยกขาสูงเล็กน้อย พยายามทำให้เสื้อผ้าระบายอากาศได้ดี ใช้ผ้าเย็น ผ้าชุบน้ำเย็นเช็ดตามตัว เน้นตามข้อพับ คอ หลัง หากมีสติให้รีบดื่มน้ำสะอาด หากหมดสติควรรีบเรียกรถพยาบาล

เภสัชกรชำนาญการ รพ.เจ้าพระยาอภัยภูเบศร กล่าวว่า ในส่วนของการเลือกใช้สมุนไพรทางเลือกในช่วงอากาศร้อนเช่นนี้ ช่วยเพิ่มโอกาสในการลดความเสี่ยงที่อุณหภูมิในร่างกายจะสูงขึ้นได้ โดยใช้สมุนไพรฤทธิ์เย็น ช่วยปรับให้ร่างกายสมดุล ลดไฟธาตุที่จะกำเริบได้ในช่วงนี้ 

แนะใช้สมุนไพรปรับสมดุล ต้านลมแดด ฮีทสโตรก

โดยปรับใช้เป็นรูปแบบของอาหาร เครื่องดื่มได้ เช่น การเลือกดื่มน้ำสมุนไพรที่ทำจากสมุนไพรฤทธิ์เย็นจาก ใบบัวบก ใบเตย ว่านหางจระเข้ น้ำมะพร้าว รากบัว เก๊กฮวย มะขาม มะตูม กระเจี๊ยบแดง

รับประทานผลไม้ฤทธิ์เย็น แก้ร้อนใน กระหายน้ำ อาทิ แตงโม แตงไทย แคนตาลูป เมล่อน แก้วมังกร กระท้อน ส้มโอ ชมพู่ (ผลไม้ฤทธิ์ร้อน ควรลดหรืองด เช่น ทุเรียน ขนุน เงาะ ลิ้นจี่ ลำไย ละมุด มะม่วงสุก ยิ่งกินพร้อมข้าวเหนียว จัดเป็นของฤทธิ์ร้อน)

แนะใช้สมุนไพรปรับสมดุล ต้านลมแดด ฮีทสโตรก

กลุ่มพืชผักที่มีฤทธิ์เย็น คลายร้อน เช่นตระกูลฟัก แฟง แตงกวา หัวไชเถ้า บวบ ตำลึง มะระขี้นก ใบหูเสือ ดอกแค ขี้เหล็ก สะเดา ผักบุ้ง กวางตุ้ง ผักกาด สายบัว รากผักชี

 

ควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสการอากาศร้อนเป็นเวลานานๆ 

“ในทางการแพทย์แผนไทย มีการแนะนำใช้ มหาพิกัดตรีผลา ที่ช่วยปรับสมดุลร่างกายในช่วงฤดูร้อน ประกอบด้วยสมุนไพร 3 ชนิด ได้แก่ โดยสูตรช่วยแก้กองปิตตะ แก้ธาตุไฟกำเริบในช่วงฤดูร้อน หรือธาตุร้อนในร่างกาย จะใช้ในสัดส่วน สมอพิเภก 12 ส่วน ต่อสมอไทย 8 ส่วน ต่อ มะขามป้อม 4 ส่วน ต้มใส่น้ำพอท่วม ต้มจนยาเดือดประมาณ 15-30 นาที กรองเอาแต่น้ำดื่มครั้งละ 1 แก้ว วันละ 1-3 ครั้ง อาจแต่งรสด้วยน้ำผึ้งหรือหญ้าหวานได้ช่วยให้รับประทานง่ายขึ้น” ภญ.อาสาฬา กล่าว

แนะใช้สมุนไพรปรับสมดุล ต้านลมแดด ฮีทสโตรก แนะใช้สมุนไพรปรับสมดุล ต้านลมแดด ฮีทสโตรก แนะใช้สมุนไพรปรับสมดุล ต้านลมแดด ฮีทสโตรก

นอกจากการใช้สมุนไพรแล้ว ภญ.อาสาฬา กล่าวด้วยว่า เพื่อป้องกันภาวะลมแดด ควรเลี่ยงการสัมผัสกับอากาศร้อนสูงเป็นเวลานานๆ และดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอ อย่างน้อย 2 ลิตรต่อวัน หรือเสียเหงื่อมากอาจดื่มน้ำหรือเกลือแร่เพิ่ม (ยกเว้นผู้ป่วยที่ต้องจำกัดการดื่มน้ำควรทำตามคำแนะนำแพทย์) และ งดหรือลดเครื่องดื่มที่ทำให้ร่างกายเสียน้ำ เช่น ชา กาแฟ แอลกอฮอล์ ร่วมด้วยเนื่องจากอาจทำให้เกิดอาการขาดน้ำได้