Sports team หัวใจเคลื่อนทัพ 'มาสเตอร์พีซ' จากคลินิก 1 คูหา สู่ตลาดหลักทรัพย์

Sports team หัวใจเคลื่อนทัพ 'มาสเตอร์พีซ' จากคลินิก 1 คูหา สู่ตลาดหลักทรัพย์

9 ปีของการเคลื่อนทัพจาก มาสเตอร์พีซคลินิก 1 คูหา สู่ รพ. ศัลยกรรมมาสเตอร์พีซ และเข้าตลาดหลักทรัพย์เรียกว่าไม่ใช่เรื่องง่าย หมอเส – นพ.ระวีวัฒน์ มาศฉมาดล เผยหลักการบริหารพนักงานกว่า 600 คน ว่า ต้องมองทุกคนเป็น Sports team ผ่านหลักคิดการทำงานแบบ Work-life Integration

การเปลี่ยนแปลงของตลาดศัลยกรรม 9 ปีที่ผ่านมา ซึ่งเรียกได้ว่าเติบโตขึ้นเป็นอย่างมาก ความท้าทายสำหรับผู้เล่นในตลาด คือ ทำอย่างไรให้ดีกว่าเดิม ง่ายกว่าเดิม และเร็วกว่าเดิม สำหรับมาสเตอร์พีซ ปัจจุบันถือว่าเติบโตมากกว่าวันแรกหลายเท่าตัว 

 

“หมอเส” ฐานะประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท มาสเตอร์ สไตล์ จำกัด (มหาชน) ในนาม โรงพยาบาลมาสเตอร์พีช (Masterpiece Hospital) เล่าย้อนให้ฟังว่า ที่นี่เริ่มต้นด้วยเงินลงทุน 400,000 บาท กับความตั้งใจ มีแพทย์ 1 คน คือคุณหมอเอง และพนักงาน 3 คน จนขณะนี้มีแพทย์กว่า 50 คน และพนักงานร่วม 600 คน มูลค่ามากกว่า 20,000 ล้านบาท

 

“ผมออกแบบเองแม้กระทั่งโลโก้และเริ่มจากการผ่าตัดตาสองชั้น ในวันนั้นที่ตัดสินใจเริ่มต้นธุรกิจ เราจินตนาการและเล็งไปที่เป้าหมาย มองว่าอะไรคือความยั่งยืนในอนาคต คติประจำใจคำหนึ่ง ซึ่งชอบมากของ “วินสตัน เชอร์ชิล” (Sir Winston Churchill) รัฐบุรุษของอังกฤษ เขาบอกว่า มันจะเป็นการดีมากหากเรามองเห็นอนาคต แต่มันยากมากที่จะมองเห็นอนาคตเกินกว่าสายตาเรามองเห็น ดังนั้น การคาดการณ์อนาคตที่มองไม่เห็นต้องใช้ประสบการณ์ ความรู้ การกล้าตัดสินใจ และความเชื่อ เมื่อมีความเชื่อทำให้เดินหน้าสู่เป้าหมายโดยที่ไม่ต้องสนใจระหว่างทาง”

 

Sports team หัวใจเคลื่อนทัพ \'มาสเตอร์พีซ\' จากคลินิก 1 คูหา สู่ตลาดหลักทรัพย์

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง 

 

“ขณะเดียวกัน สิ่งที่มักบอกกับพนักงานเสมอ คือ เมื่อมองเห็นอนาคตแล้ว ทำให้คนเชื่อและเดินตามยากกว่า ต้องอาศัยศรัทธา เราเริ่มจากศูนย์ จนกระทั่ง เป็นโรงพยาบาลศัลยกรรมความงามครบวงจรบริษัทแรก และรายเดียวที่เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ได้ในวันนี้ ทุกอย่างไม่มีความฟลุค แต่มาจากการวางแผน”

 

ทุกคนเป็น Sports team

 

วัฒนธรรมองค์กร ว่าด้วยเรื่องแบบแผนการฟังและการพูด เป็นหนึ่งในแนวทางสำคัญต่อการทำงานร่วมกันภายในองค์กรมาสเตอร์พีซ และสิ่งสำคัญ คือ การให้ Feedback ด้วยวิสัยทัศน์ที่มองว่า เป็นเรื่องปกติมากที่คนเราจะทำผิดพลาด แต่การผิดพลาดแต่ละครั้ง ต้องเกิดการเรียนรู้ และปรับปรุงแก้ไข พัฒนาให้ดีขึ้น เพื่อจะไม่ผิดซ้ำในครั้งต่อไป ในฐานะผู้ให้ Feedback จะให้คำแนะนำภายใต้เจตนารมณ์ที่ต้องการให้พัฒนาไปสู่จุดที่ดีขึ้น ขณะที่ ในฐานะผู้รับ Feedback ควรรับฟังอย่างเปิดใจเพื่อสำรวจจุดที่ยังพัฒนาได้เพิ่มเติม

 

หมอเส กล่าวต่อไปว่า มีคนถามว่าเขาสร้างคนพวกนี้มาอย่างไร ได้บอกไปว่าไม่ได้สร้าง แต่เชื้อเชิญคนประเภทเดียวกันมาอยู่ด้วยกัน มาร่วมกันสร้างวัฒนธรรม ที่นี่จะมี Framework ในการทำงาน มีการ Feedback ตลอดเวลา การจริงใจที่จะบอกเป็นสิ่งสำคัญ และต้องมีเทคนิคในการสื่อสาร ขณะเดียวกัน มองว่าทุกคนเป็น Sports team เหมือนทีมฟุตบอล ทุกคนในองค์กรต้องวิ่งพร้อมกัน ไม่ควรจะมีจุดอ่อนในองค์กร ต้องมีคนที่มีความเชี่ยวชาญ และเป็นออกซิเจนให้คนอื่น อยู่ใกล้ๆ แล้วสดชื่น มีคุณค่าต่อองค์กร และให้เกียรติทุกคนไม่ว่าคนที่อยู่หรือออกไป

 

Sports team หัวใจเคลื่อนทัพ \'มาสเตอร์พีซ\' จากคลินิก 1 คูหา สู่ตลาดหลักทรัพย์

 

Work-life Integration

 

ขณะเดียวกัน แนวคิดในการทำงานของมาสเตอร์พีซ คือ การทำงานแบบ Work-life Integration วัดคุณค่าของคนทำงานจากประสิทธิภาพของผลงานจริง ด้วยความเชื่อที่ว่า บุคลากรสามารถหลอมรวมการทำงานให้เข้ากับชีวิตส่วนตัวได้ มุ่งมั่น และจริงจังกับการทำงานเพื่อสร้างความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่

 

หมอเส อธิบายว่า ที่มาสเตอร์พีซ ไม่ใช้คำว่า Work life balance แต่ใช้แนวคิดการทำงานแบบบูรณาการชีวิตเข้ากับการทำงาน หรือ Work-life Integration คือ การทำงานเน้นที่ 'ผลงาน' มากกว่า 'ชั่วโมงทำงาน' เป็นการ Integrate งานเข้ากับชีวิต เป็นความรับผิดชอบ

 

“โลกใบนี้ต้องการคนที่รับผิดชอบและจัดการชีวิตตัวเองได้ ขณะเดียวกัน Work-life Integration ไม่ได้หมายถึงว่า ต้องทำงานหนัก แต่ต้องมีช่วงหนักบ้าง ผ่อนบ้าง ชีวิตไม่มีทางเป็นเส้นกราฟเดียวกัน ยุคหนึ่งก่อนหน้านี้ คือ ยุคอุตสาหกรรม เป็นชีวิตที่แบ่ง 3 ช่วงเวลา คือ 8 – 8 – 8 ทำงาน 8 ชั่วโมง พักผ่อน 8 ชั่วโมง และ นอน 8 ชั่วโมง ซึ่งเหมาะในยุคนั้น แต่ถามว่าทุกวันนี้ หากใช้ชีวิต 8 – 8 – 8 อาจจะอยู่ไม่รอด”

 

จาก Waterfall สู่ระบบ Scrum

 

หากพูดถึงอุปสรรคที่ผ่านมา หมอเส เผยว่า กว่าจะมาถึงจุดนี้ ผ่านอุปสรรคมานับครั้งไม่ถ้วน ขณะที่ช่วงโควิด-19 นอกจากจะมีการเพิ่มบริการตรวจโควิด-19 แล้ว ในฐานะแม่ทัพที่ต้องบริหารจัดการกองทัพ จึงต้องคิดกลยุทธ์ทั้งหมด และค่อยๆ ปรับกลยุทธ์จากการทำงานแบบ Waterfall หรือ การทำงานแบบไล่ระดับลงมา เปลี่ยนเป็นการทำงานระบบ Scrum คือ การนำแนวคิดในการทำงานแบบ Agile มาใช้ในการปฏิบัติงาน ไม่มีแผนก

 

“หากไม่มีโควิด-19 ก็อาจจะไม่กล้าทำ หรืออาจจะใช้เวลานานในการปรับเปลี่ยน สิ่งเหล่านี้ ต้องกล้าตัดสินใจ กล้าสั่งการ ต้องไม่กลัวผิด มีองค์ความรู้เพียงพอ เรียนรู้ และนำมาปรับใช้”

 

ปัจจุบัน โรงพยาบาลศัลยกรรมมาสเตอร์พีซ มีลูกค้าชาวไทย 90 % และต่างชาติ 10 % ส่วนใหญ่ลูกค้าต่างชาติมาจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อาทิ สิงคโปร์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ลาว เมียนมา กัมพูชา เวียดนาม บริการที่ได้รับความนิยม คือ ทำจมูก ทำตา ยกคิ้ว ดึงหน้า ปลูกผม ดูดไขมัน เสริมหน้าอก โดยเป้าหมายในปี 2566 นี้ คือ การเติบโต 40 % ตามที่ Commit ไว้กับตลาด และพร้อมรับโอกาสทั้งหมดที่จะเข้ามาในอนาคต

 

Sports team หัวใจเคลื่อนทัพ \'มาสเตอร์พีซ\' จากคลินิก 1 คูหา สู่ตลาดหลักทรัพย์