เจนเซน ฮวง: จาก ‘ดีไซเนอร์การ์ดจอ’ สู่ซีอีโอ ‘บริษัทชิป’ หลายล้านล้านดอลลาร์

เจนเซน ฮวง: จาก ‘ดีไซเนอร์การ์ดจอ’ สู่ซีอีโอ ‘บริษัทชิป’ หลายล้านล้านดอลลาร์

ส่องแนวคิดการทำงานและการใช้ชีวิต เจนเซน ฮวง (Jensen Huang) ประธานเจ้าหน้าที่บริหารสูงสุดและผู้ร่วมก่อตั้งอินวิเดีย ผ่านคอลัมน์ The Thought Leaders ผู้นำทางความคิด

“คงไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะยอมรับว่าตัวเองผิดแล้วขอความช่วยเหลือเพื่อแก้ไขความผิดพลาดนั้น แต่ทั้งสองอย่างกลับเป็นตัวช่วยที่ทำให้อินวิเดีย (Nvidia) ยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยีรอดพ้นจากการล้มละลาย” เจนเซน ฮวง (Jensen Huang) ประธานเจ้าหน้าที่บริหารสูงสุดและผู้ร่วมก่อตั้งอินวิเดียเล่าให้ฟัง  

ปัจจุบันอินวิเดียมีมูลค่ามากกว่า 2.2 ล้านล้านดอลลาร์ ซึ่งได้รับแรงหนุนบางส่วนจากการเติบโตของอุตสาหกรรมเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) และความต้องการชิปคอมพิวเตอร์ขั้นสูงตั้งแต่ในปี 1996 ทว่าความจริงแล้วบริษัทมีอายุเพียงสามปี รวมทั้งเคยเผชิญกับการปลดพนักงานและใกล้จะเลิกกิจการเนื่องจาก “สัญญาที่ทำไว้กับหุ้นส่วนรายใหญ่” อย่างบริษัทวิดีโอเกมเซกา (Sega) ที่ล้มละลาย

เจนเซน ฮวง: จาก ‘ดีไซเนอร์การ์ดจอ’ สู่ซีอีโอ ‘บริษัทชิป’ หลายล้านล้านดอลลาร์

กลยุทธ์ของฮวงในการช่วยให้บริษัทอยู่รอดคือ “ความอ่อนน้อมถ่อมตน” ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่หายากในกลุ่มซีอีโอที่มีความสามารถ ทั้งหมดคือสิ่งที่เขาบอกกับบัณฑิตระหว่างการกล่าวสุนทรพจน์ในวันจบการศึกษาช่วงเดือน พ.ค. 2023 ณ มหาวิทยาลัยแห่งชาติไต้หวัน

"ที่อินวิเดียผมเคยประสบกับความล้มเหลวครั้งใหญ่ซึ่งค่อนข้างน่าอับอายและขายหน้า"

ย้อนกลับไปตอนนั้น  อินวิเดียจําเป็นต้องสร้างชิปสําหรับแสดงผลกราฟิก 3 มิติบนคอนโซลเกมเพราะเป็นส่วนหนึ่งของสัญญากับเซกา โดยสัญญานั้นเป็นดีลใหญ่สําหรับธุรกิจหน้าใหม่

จากนั้นบริษัทใช้แนวทางการทดลองเพื่อบรรลุเป้าหมายโดยสร้างชิปต้นทุนต่ำที่แตกต่างจากมาตรฐานซอฟต์แวร์อื่นๆ ในอุตสาหกรรม "เวลาผ่านไปสุดท้ายเราตระหนักว่าผลิตภัณฑ์ของเรามีสิ่งที่ไม่ถูกต้อง อันที่จริงมันค่อนข้างแย่ในทางเทคนิค"

เจนเซน ฮวง: จาก ‘ดีไซเนอร์การ์ดจอ’ สู่ซีอีโอ ‘บริษัทชิป’ หลายล้านล้านดอลลาร์

ซ้ำร้ายช่วงเวลานั้นไมโครซอฟท์เปิดตัวอินเทอร์เฟซซอฟต์แวร์ไดเร็กเอ็กซ์ (DirectX Software Interface) ซึ่งกลายเป็นมาตรฐานสําหรับแพลตฟอร์มเกม และเข้ากันไม่ได้กับชิปของอินวิเดีย

"ถ้าตอนนั้นเราสร้างเกมคอนโซลของเซกาจนเสร็จ มันก็คือการที่เราทำเทคโนโลยีที่ด้อยกว่า เทคโนโลยีที่ครั้งหนึ่งเข้าไม่ได้กับระบบปฏิบัติการวินโดวส์ (Windows) และล้าหลังเกินกว่าเทคโนโลยีในขณะนั้น" ฮวงกล่าว

"แต่เราจะหมดเงินถ้าไม่ทําตามสัญญา ซึ่งนั้นหมายความว่า ไม่ว่าจะด้วยวิธีใด เราก็จะต้องเลิกกิจการ"

ในเวลานั้นฮวงตัดสินใจว่า วิธีแก้ปัญหาที่ดีที่สุดคือการบอกความจริงกับเซกา และบอกให้เขาหาพันธมิตรรายอื่น พร้อมตั้งข้อสังเกตว่า "ผมต้องการให้เซกาจ่ายเงินให้เราทั้งหมด ไม่งั้นอินวิเดียจะต้องปิดกิจการ"

"ตอนนั้นผมอายที่จะขอเขาแบบนั้น" ฮวงกล่าว "แต่ผลลัพธ์คือซีอีโอของเซกาเห็นด้วย โดยจากทั้งเครดิต ความประหลาดใจ ความเข้าใจและความเอื้ออาทรของเขาทําให้อินวิเดียอยู่ได้อีกหกเดือน"

จากนั้นเซกาซื้อสัญญาจากอินวิเดีย และใช้ชิปจากพาวเวอร์วีอาร์ (PowerVR) ของอิมเมจิน เทคโนโลยี (Imagine Technologies) สําหรับคอนโซลดรีมแคสต์ (Dreamcast) โดยฮวงใช้เงินจากสัญญาของเซกาเพื่อยกเลิกความพยายามเริ่มต้นของอินวิเดียและสร้างชิปใหม่ “RIVA 128” ที่เข้ากันได้กับไดเร็กเอ็กซ์

ชิปใหม่รองรับความละเอียดกราฟิกที่สูงกว่าคู่แข่งและในปี 1997 ยอดขายของอินวิเดียทะลุ 1 ล้านเครื่องในสี่เดือน ซึ่งถือเป็นผลิตภัณฑ์ยอดนิยมตัวแรกของบริษัทและพลิกฟื้นโชคชะตาที่กำลังอยู่ในขาลง 

ไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะยอมรับความผิดพลาดของอินวิเดียและขอความเข้าใจอย่างนอบน้อม "ลักษณะเหล่านี้คือสิ่งที่หายากที่สุดในกลุ่มคนที่ฉลาดที่สุดและประสบความสําเร็จมากที่สุดเช่นพวกคุณทุกคน"

เขายังยืนยันว่าการ “กลืน” ความภาคภูมิใจเป็นสิ่งที่ถูกต้องที่ช่วยให้บริษัทอยู่รอด

"การเผชิญหน้ากับความผิดพลาดของเรา และขอความช่วยเหลือด้วยความอ่อนน้อมถ่อมตน ช่วยอินวิเดียไว้"

อ้างอิง

CNBC