'ชัชชาติ' เตือน ฝนถล่มกรุง เย็นนี้ (27 ก.ย.66) เฝ้าระวังน้ำท่วม

'ชัชชาติ' เตือน ฝนถล่มกรุง เย็นนี้ (27 ก.ย.66) เฝ้าระวังน้ำท่วม

"ชัชชาติ" เตือน ฝนถล่มกรุง เย็นนี้ (27 ก.ย.66) หลายพื้นที่ใน กทม. ยังมีฝนตกหนัก 70% เฝ้าระวังน้ำท่วม พร้อมตั้ง 6 จุดใหญ่เตรียมช่วยเหลือประชาชน

ฝนถล่มกรุง เย็นนี้ (27 ก.ย.66) นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า ตาม พยากรณ์อากาศ คาดว่าฝนจะตกที่เขตลาดกระบัง ดอนเมือง บางเขน จึงได้จัดให้มีเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่ไปเตรียมความพร้อมรับมือ

ขณะที่สถานการณ์น้ำท่วม ในเช้าวันนี้ (27 ก.ย.) ส่วนใหญ่น้ำแห้งหมดแล้ว ยกเว้นในซอยย่อย ซึ่งกทม.จะตรวจสอบว่าจะสามารถช่วยเยียวยาเรื่องความเสียหายให้ประชาชนที่โดนน้ำท่วม แถวถนนถนนสรรพาวุธ บางนา ได้อย่างไร รวมทั้งให้แต่ละเขตไปสำรวจความเสียหายของชุมชน

ปัญหาที่เจอในครั้งนี้ฝนไม่ได้ตกปูพรมทั้งกรุงเทพ อย่างสถานการณ์เมื่อวานนี้ ฝั่งธนบุรี แทบไม่มีฝนหรือมีเพียงนิดหน่อย 80 มิลลิเมตร และตกช่วงดึก ๆ จึงกำลังหาวิธีทำอย่างไรจะรวมทรัพยากรจากหน่วยที่น้ำไม่ได้ท่วม ให้มาช่วยหน่วยที่มีน้ำท่วม จึงสั่งให้จัดตั้งจุดรวมพล 6 แห่ง ตามพื้นที่ โดยมีเจ้าหน้าที่เตรียมพร้อมตลอด 24 ชั่วโมง ดังนี้

1. พื้นที่กรุงเทพฯเหนือ ณ สำนักงานเขตหลักสี่

2. พื้นที่กรุงเทพฯกลาง ณ สำนักงานเขตดินแดง

3. พื้นที่กรุงเทพฯใต้ ณ สำนักงานเขตบางนา

4. พื้นที่กรุงเทพฯตะวันออก ณ สำนักงานเขตมีนบุรี

5. พื้นที่กรุงธนเหนือ ณ สำนักงานเขตบางพลัด

6. พื้นที่กรุงธนใต้ ณ สำนักงานเขตบางแค

\'ชัชชาติ\' เตือน ฝนถล่มกรุง เย็นนี้ (27 ก.ย.66) เฝ้าระวังน้ำท่วม

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง :

สถานการณ์ฝนตกเมื่อวานนี้ได้มีหลานเขตมาช่วยกัน ทำให้การช่วยเหลือประชาชนเป็นไปได้ด้วยดี ที่ผ่านมาถ้ามีฝนตก จะมีลมแล้วมรสุมเข้า ฝนตกจะผ่านไป แต่รอบนี้ฝนจะไม่ผ่าน ตกแช่อยู่บริเวณนั้น จนเป็นสีแดงในเรดาร์ กว่า 2–3 ชั่วโมง จนทำให้มีปริมาณฝนกว่า 140 มิลลิเมตร ซึ่งปริมาณฝนเท่านี้ไม่ค่อยเจอบ่อย รอบนี้กทม. เจอ 2 วันไม่ห่างกันมากภายใน 1 สัปดาห์ คือในวันพฤหัสบดีและวันอังคารที่ผ่านมา มีปริมาณฝนกว่า 300 มิลลิเมตร ดังนั้นในระยะยาวต้องเตรียมตัว

ส่วนบางจุดมีการปรับปรุงโครงสร้างอยู่ ซึ่งยังไม่เสร็จ เช่น 101/1 เนื่องจากอุโมงค์บึงหนองบอนทิศทางไป ยังสร้างไม่เสร็จ อุโมงค์บึงหนองบอนที่พังตรงอุดมสุข คือตัวที่รับน้ำแถวนั้นทั้งหมด เมื่อมีปัญหาเรื่องพัง การซ่อมค่อนข้างยาก อีกประมาณ 2 ปี จึงจะเสร็จ ทำให้การระบายน้ำบริเวณอุดมสุข 101/1 66/1 62 มีปัญหา เป็นการก่อสร้างที่ยังมีปัญหาอยู่

ส่วนเมื่อวานที่สุรวงศ์น้ำท่วม ไปช่วงหนึ่งเนื่องจากบ่อดูดน้ำที่เจริญกรุง 36 มีการซ่อมโดยเอกชนอยู่ ยังไม่ได้เอาเครื่องลงไปจุ่ม ทำให้การดูดน้ำช้าลง ต้องเร่งดำเนินการ เชื่อว่าถ้าโครงการเหล่านี้แล้วเสร็จจะไม่มีปัญหา

สำหรับสถานการณ์ในขณะนี้ แจ้งเตือนล่วงหน้าค่อนข้างยาก ต้องติดตามข่าวสารให้ดี เป็นไปได้ถ้าเลิกงานแล้วให้กลับบ้านก่อน ซื้ออาหารไปทานที่บ้าน ถ้ามีความจำเป็นไม่ต้องห่วง ถ้ามีปัญหากทม.ช่วยดูแลให้

ด้านเพจเฟซบุ๊ก กรุงเทพมหานคร รายงานเพิ่มเติมว่า วันนี้กรุงเทพมหานครและปริมณฑลมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 25-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.

ส่วนในรอบ 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา (07.00 น.) : พื้นที่กรุงเทพมหานครมีฝนตกปานกลางถึงหนัก ปริมาณฝนสูงสุดวัดได้ที่จุดวัดสำนักงานเขตพระโขนง 145.0 มม. จุดวัด ส.พระโขนง เขตคลองเตย 137.5 มม. จุดวัดสำนักงานเขตบางนา 99.5 มม. จุดวัด ส.คลองบางจาก เขตบางแค 88.0 มม.

\'ชัชชาติ\' เตือน ฝนถล่มกรุง เย็นนี้ (27 ก.ย.66) เฝ้าระวังน้ำท่วม

ลักษณะอากาศทั่วไปประเทศไทย

พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบกับแนวร่องมรสุมกำลังปานกลางพาดผ่านประเทศไทยตอนบน ขณะที่มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังค่อนข้างแรงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคกลางตอนล่าง ภาคตะวันออก ภาคใต้ และอ่าวไทย ลักษณะเช่นนี้ทำให้ภาคเหนือ ภาคกลางรวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ มีฝนตกหนักหลายพื้นที่และมีฝนตกหนักมากบางแห่ง

ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม รวมทั้งเพิ่มความระมัดระวังในการสัญจรผ่านบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองและหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ และป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรงไว้ด้วย

สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีกำลังแรงขึ้น โดยทะเลอันดามันตอนบนมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนทะเลอันดามันตอนล่างและอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง เรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันตอนบนควรงดออกจากฝั่งในระยะนี้