เรื่องเล่า"ครูจิ๋ว-ทองศรี"ครูข้างถนนสะท้อนเด็กตกขอบ เรียนฟรีไม่มีจริง

เรื่องเล่า"ครูจิ๋ว-ทองศรี"ครูข้างถนนสะท้อนเด็กตกขอบ เรียนฟรีไม่มีจริง

ข้อมูลจากกรมกิจการเด็กและเยาวชน (ดย.) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ปี 2565 พบว่ามีเด็กอายุน้อยกว่า 18 ปี เพียง 13,023,268 คน และเยาวชนอายุ 18-25 ปี 6,805,099 คน  รวมเด็กและเยาวชนอายุ 0-25 ปี มีประมาณ 19 ล้านคน หรือ 30% ของประเทศเท่านั้น

Keypoint:

  • โควิด-19 พิษซ้ำเด็กด้อยโอกาส กลุ่มเปราะบาง ขาดปัจจัยพื้นฐาน การศึกษา การรักษา ความเป็นอยู่มากขึ้น
  • กลุ่มเด็กด้อยโอกาสแบ่งได้เป็น 4 กลุ่ม กลุ่มเร่ร่อนถาวร กลุ่มเร่ร่อนชั่วคราว กลุ่มเด็กต่างชาติ และกลุ่มเด็กก่อสร้าง
  • เรียนฟรี ไม่มีจริง พ่อแม่ยังต้องแบกภาระค่าใช้จ่ายทางการศึกษาอีกมาก หนึ่งปัจจัยที่ทำให้เด็กไทยหลุดจากระบบการศึกษา
  • ทุกฝ่ายต้องช่วยกัน โดยเฉพาะภาครัฐ ต้องดูแลให้เด็กทุกคนเข้าถึงปัจจัยพื้นฐาน ลดความเหลื่อมล้ำที่เกิดขึ้นในสังคม

ขณะที่รูปแบบครอบครัวพบว่า ครอบครัวแบบพ่อ แม่ ลูกลดลง แต่ครอบครัวข้ามรุ่น/ครอบครัวแหว่งกลาง ครอบครัวเลี้ยงเดี่ยว ครอบครัวคนเดียว และครอบครัวสามีภรรยาที่ไม่มีลูก กลับมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

เช่นเดียวกับสถานการณ์ปัญหาเด็กและเยาวชน กลับเพิ่มสูงมากขึ้น พบว่า

  • ร้อยละ 10.1 ของเด็กไทยอาศัยอยู่ในครอบครัวที่ต่ำกว่าเส้นยากจน(2,600 บาทต่อเดือน) 
  • เด็กกำพร้าจากโควิดเพิ่มขึ้น 487 คน
  • เด็กถูกกระทำด้วยความรุนแรง เฉลี่ย 52 คนต่อวัน 
  • เด็กถูกล่วงละเมิดทางเพศปี 2565  มี 245 คน มาเข้าใช้บริการที่บ้านพักเด็กและครอบครัว 

เรื่องเล่า\"ครูจิ๋ว-ทองศรี\"ครูข้างถนนสะท้อนเด็กตกขอบ เรียนฟรีไม่มีจริง

  • เด็กตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรอายุ 10-14 ปี อัตรา 0.9 ต่อพัน และอายุ 15-19 ปี มีอัตรา 24.4 ต่อพัน
  • เด็กอายุ 12-17 ปี  ประมาณ 400,000 คน ถูกแสวงหาประโยชน์ทางเพศออนไลน์
  • เด็กหลุดจากระบบการศึกษา ร้อยละ2 จากเด็กทั้งหมด
  • เด็ก-เยาวชนกระทำความผิด ปี 2565 มี 12,192 คดี  เป็นฐานความผิดยาเสพติด มากที่สุด 4,885 คดี หรือ 40.07%

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

กว่า 50 ผู้ประกอบการรุ่นใหม่มุ่งแก้ปัญหาโรงเรียนขนาดเล็ก

พลิกชีวิต "เด็ก Drop out" เปลี่ยนการใช้อำนาจเป็นการให้โอกาส

"ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา" ปัญหาที่ต้องว่ากันไปเป็นพื้นที่

"ศูนย์เรียนรู้ไฟ-ฟ้า นนทบุรี" ค้นหาศักยภาพ จุดประกายอาชีพ สร้างโอกาสเยาวชน

 

เด็กขาดโอกาสพุ่งสูง  ไม่ได้รับแม้ปัจจัยพื้นฐาน

ด้วยปัญหาเด็กและเยาวชนที่รุนแรงต่อเนื่องมายาวนาน แม้ทุกหน่วยงาน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม พยายามแก้ไขปัญหา แต่ก็ใช่ว่าจะสร้างโอกาสให้แก่เด็กทุกคนได้ 

ตลอดระยะเวลากว่าครึ่งชีวิตที่ ‘ครูจิ๋ว’ หรือ ทองพูล บัวศรี ผู้จัดการโครงการครูข้างถนน มูลนิธิสร้างสรรค์เด็ก ที่ทำงานคลุกคลีกับเด็กเปราะบางอย่างลูกแรงงานก่อสร้างและเด็กเร่ร่อน ได้สะท้อนเรื่องเล่าของเด็กด้อยโอกาสในสังคมว่า

เรื่องเล่า\"ครูจิ๋ว-ทองศรี\"ครูข้างถนนสะท้อนเด็กตกขอบ เรียนฟรีไม่มีจริง

โควิด-19 ได้ส่งผลกระทบต่อเด็กด้อยโอกาส เด็กเปราะบาง  เด็กเร่ร่อน กลุ่มเด็กต่างด้าว และกลุ่มเด็กก่อสร้างมากขึ้น เพราะหลายคนจากเดิมยังมีโอกาสเรียนหนังสือ ก็ต้องออกจากระบบการศึกษา เนื่องจากต้องมาช่วยพ่อแม่ทำมาหากิน เลี้ยงครอบครัว พวกเขาเผชิญทั้งเรื่องปากท้อง การศึกษา และการรักษาพยาบาล ซึ่งเป็นเรื่องพื้นฐานที่ทุกคนควรจะได้รับ

“หลายครอบครัว พ่อแม่ตกงานทำให้ครอบครัวเด็กเกิดภาวะยากจนเฉียบพลัน เป็นสาเหตุหลักๆและกระตุ้น ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำเพิ่มมากขึ้น นอกจากนั้น เด็กหลายคนยังขาดโอกาสมากขึ้น ทุกคนต้องเอาให้ตัวเองรอด เพื่อความพออยู่พอกิน แต่กระบวนการที่ทำให้เขาอยู่รอดในระยะยาวนั้นหายไป" ครูจิ๋ว เล่า 

เรื่องเล่า\"ครูจิ๋ว-ทองศรี\"ครูข้างถนนสะท้อนเด็กตกขอบ เรียนฟรีไม่มีจริง

 

ทำความเข้าใจประเภทของเด็กด้อยโอกาสไทย

ที่ผ่านมา "กลุ่มทำงานของครูจิ๋ว" พยายามอย่างเต็มที่ให้เด็กด้อยโอกาส กลุ่มเปราะบางทุกกลุ่มได้อยู่ในระบบการศึกษานานที่สุดเท่าที่จะนานได้ แต่ในปี2565 ที่ผ่านมา กลับพบว่ามีเด็กออกกลางคันมากขึ้น ทั้งที่เป็นเด็กที่เรียนดีและอยู่ในระบบการศึกษามานาน เพราะพ่อแม่ขาดรายได้ และการจะทำให้พวกเขาคืนสูงระบการศึกษาเป็นเรื่องยากมาก

การดูแลเด็กข้างถนนนั้น "ครูจิ๋ว" แบ่งเด็กออกเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ 

กลุ่มที่ 1.เด็กเร่ร่อนถาวร  หมายถึงกลุ่มที่เคยอยู่ในองค์กรเอกชน หน่วยงานภาครัฐ พออายุ 11-12 ปี เมื่อเขาไม่อยากเรียนหนังสือ เขาก็จะมาใช้ชีวิตอยู่บนท้องถนน โดยอายุ 12-25 ปี เรียกว่ากลุ่มเร่ร่อนวัยรุ่น เขาจะทำงานหาเงินโดยการขอทาน เก็บขยะ ขายบริการทางเพศ หรือวิ่งยา ซึ่งกลุ่มนี้เสี่ยงติดยาเสพติด และเข้าสู่วงจรสีเทาได้ง่าย ส่วนเรื่องการศึกษา ไม่มีใครต้องการเรียนเขาต้องการอาชีพ ทำงานเพื่อเลี้ยงตัวเอง 

เรื่องเล่า\"ครูจิ๋ว-ทองศรี\"ครูข้างถนนสะท้อนเด็กตกขอบ เรียนฟรีไม่มีจริง

ครูจิ๋ว เล่าต่อว่าปัญหากลุ่มเด็กเร่ร่อน คือ พวกเขาจะไม่มีเอกสารทางทะเบียนใดๆ หลายคนไม่ได้ทำบัตรประชาชน ซึ่งพวกเขาเร่ร่อนมาตั้งแต่เด็กอายุ 3 ขวบขึ้นไป ทำให้พวกเขาไม่สามารถเข้ารับสวัสดิการขั้นพื้นฐานใดๆ ของรัฐได้ หน้าที่ของครูจิ๋ว ต้องช่วยพวกเขาหาพ่อแม่ หาครอบครัว รู้ว่ารากเหง้าของพวกเขาเป็นใคร เพื่อให้พวกเขาสามารถจดทะเบียน ทำเอกสารทางราชการต่างๆ เพื่อรับโอกาสที่พวกเขาควรจะได้  แต่การจะรู้ไปถึงรากเหง้าของพวกเขาเป็นไปได้ยาก เนื่องจากต้องได้รับการยืนยันอีกมากมาย กว่ารัฐจะยอมให้จดทะเบียนเป็นคนไทย หรือเป็นใคร

กลุ่มที่ 2 เด็กเร่ร่อนชั่วคราว คือ กลุ่มที่ขายดอกไม้ ขายพวกมาลัยตามสีแยก เด็กขอทาน หรือเด็กที่ขาของตามสถานที่ต่างๆ ซึ่งเด็กกลุ่มนี้ส่วนหนึ่งจะมีผู้ปกครอง แต่ผู้ปกครองของพวกเขาจะให้ออกมาทำงานมากกว่าจะไปเรียนหนังสือ ดังนั้น การช่วยเด็กกลุ่มนี้ คือ การทำความเข้าใจกับพ่อแม่ของเขา และให้เขาได้มีโอกาสเข้าระบบการศึกษา โดยเด็กคนไหนได้เข้าเรียน จะช่วยเรื่องอุปกรณ์การเรียน รองเท้า กระเป๋า ชุดนักเรียน(พิจารณารายบุคคล) เพื่อแบ่งเบาภาระผู้ปกครอง 

กลุ่มที่ 3.กลุ่มเร่ร่อนต่างด้าว เด็กจะอาศัยอยู่ในชุมชนต่างๆ อาทิ ชุมชนเปรมฤทัย ชุมชนพระโขนง ชุมชนคลองตัน ชุมชนบางนา  และชุมชนบ่อนไก่ เป็นต้น ซึ่งกลุ่มนี้จะเป็นการผลักดันให้ได้เข้าเรียนหนังสือ โดยจะทำความร่วมมือกับสถานศึกษาต่างๆ โดยทางกลุ่มอาจจะต้องสนับสนุนเรื่องค่าใช้จ่ายอื่นๆ ให้แก่เด็ก

"การช่วยให้เด็กเร่ร่อนให้เข้าสู่ระบบการศึกษา ย่อมดีกว่าปล่อบให้เขาวิ่งบนถนน และเติบโตเข้าสู่วงจนอุบาทว์ ดังนั้น ไม่ว่าจะเป็นเด็กเร่ร่อนไทย หรือต่างด้าว พวกเขาควรได้รับการดูแล ช่วยเหลือ"ครูจิ๋ว กล่าว

เรื่องเล่า\"ครูจิ๋ว-ทองศรี\"ครูข้างถนนสะท้อนเด็กตกขอบ เรียนฟรีไม่มีจริง

กลุ่มที่ 4.เด็กก่อสร้าง ทางมูลนิธิฯ ได้จัดทำโครงการโรงเรียนเด็กก่อสร้างเคลื่อนที่ เพื่อดูแลกลุ่มเด็กลูกกรรมกรก่อสร้าง เดิมใครอยากเรียนหนังสือจะประสานงานและเข้ามาบ้านอุปถัมภ์ โดยแคมป์ก่อสร้างตั้งอยู่ไหนก็จะให้เขาเรียนโรงเรียนใกล้ๆ แต่ปัญหาคือ พ่อแม่ที่ทำงานก่อสร้างจะย้ายไปตามพื้นที่ต่างๆ เด็กจะมีปัญหาออกกลางคันจำนวนมาก เพราะต้องย้ายตามพ่อแม่

“เด็กลูกกรรมกรก่อสร้างส่วนใหญ่กว่า70%  เป็นเด็กข้ามชาติ ซึ่งปัญหาที่เราพบอยู่ตลอด คือพวกเขาไม่มีใบเกิดและใบรับรองการเกิด ไม่มีเอกสารหรือหลักฐานประจำตัว และพ่อแม่ก็ต้องย้ายสถานที่ไปตามแคมป์งานอยู่ตลอด ทำให้เด็กกลุ่มนี้ไม่ได้เรียนหนังสือและเข้าไม่ถึงระบบการศึกษา”ครูจิ๋ว กล่าว

เรียนฟรี ไม่มีอยู่จริง การศึกษาไทยมีค่าใช้จ่ายเพียบ

ครูจิ๋ว เล่าต่อไปว่าจริงๆ เด็กกลุ่มนี้ ต้องได้รับการดูแลจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งหมด  ไม่ว่าจะเป็นกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงสาธารณสุข แต่ในความเป็นจริง พวกเขาได้เพียงถุงยังชีพ และได้รับความช่วยเหลือเมื่อมีการจัดโครงการเท่านั้น 

เรื่องเล่า\"ครูจิ๋ว-ทองศรี\"ครูข้างถนนสะท้อนเด็กตกขอบ เรียนฟรีไม่มีจริง

"เรียนฟรี 15 ปี ไม่มีจริง เพราะตนเองต้องหางบประมาณมาสนับสนุนเด็กกลุ่มเปราะบาง ราว 200,000 บาทต่อปี โดยเด็กส่วนใหญ่ในชุมชนโค้งรถไฟยมราช ศึกษาในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร ได้ค่าอาหารเช้า และอาหารกลางวัน ประกันอุบัติเหตุ ค่าชุดนักเรียน 360 บาทต่อคนต่อปี ค่าอุปกรณ์การเรียน 195 บาทต่อคนต่อปี ซึ่งไม่เพียงพอ เพราะเด็กหนึ่งคนต้องเสียค่าใช้จ่ายโดยเฉพาะค่าชุดนักเรียนอย่างน้อย 2,000 บาทต่อคน" ครูจิ๋ว กล่าว

ขณะนี้มีเด็กหลายส่วนหลุดจากระบบการศึกษาไปแล้ว และได้กลับคืนมาเพียงจำนวนหนึ่งเท่านั้น แต่เด็กกลุ่มนี้ก็น่าเป็นห่วง เพราะเขาอาจจไปต่อไปไม่ไหว ถ้าไม่มีใครดูแล คอยประคับ ประคองเขา

"ทุกหลักการ ทุกนโยบายต่างเขียนไว้ดี แต่ปัญหา คือทางปฎิบัติ หลายประเด็น ครูจิ๋วและกลุ่มทำงานต้องทำร่วมกับหน่วยงานต่างๆ โดยเฉพาะหน่วยงานรัฐ แต่ระเบียบไม่เอื้อต่อเด็ก ทำให้เด็กหลายคนอยากเรียน อยากศึกษาต่อแต่ไปไม่ได้  ทั้งที่ระเบียบเป็นสิ่งที่สร้างขึ้นมาแต่ก็ไม่เข้าใจว่าทำไมระเบียบถึงเป็นสิ่งที่ทำขัดขวางเด็กให้ไม่ได้อยู่ในระบบการศึกษา และต้องมาอยู่ข้างถนนแทน"ครูจิ๋ว กล่าว

 

 

4 ปัจจัยที่ต้องเร่งแก้ อย่าผลักให้เด็กหลุดระบบการศึกษา

ครูจิ๋ว เล่าอีกว่า จากการทำงานกับมูลนิธิมากกว่า 35 ปี พบว่า 4 ปัจจัยที่ทำให้เด็กด้อยโอกาสไม่สามารถเข้าถึงระบบการศึกษา ระบบสาธารณสุข หรือทำให้ความเป็นอยู่บากท้องที่ดีขึ้นได้ มีดังนี้ 

1.ระเบียบต่างๆ ที่หน่วยงานรัฐกำหนด  ทำให้เด็กไม่สามารถเข้าถึงการศึกษา หรือหลุดจากระบบการศึกษาได้ง่าย

2.ทัศนคติของครู เด็กจะอยู่หรือไม่อยู่ในโรงเรียนส่วนหนึ่งเกิดจากครูร่วมด้วย เพราะครูเก่าก็จะมีความเอาใจใส่เรื่องระเบียบวินัยเยอะ ขณะที่ครูใหม่ก็ปล่อยนักเรียนเยอะ ทำให้พฤติกรรมของพวกเขาอาจจะไม่ถูกใจครู ยิ่งเมื่อเข้าสู่วัยรุ่น พวกเขาจะติดมือถือ สนใจเกม ครูก็จะไม่เข้าใจเข้า ทำให้เขาไม่อยากไปโรงเรียน อยากให้มีแนวทางในการสร้างครูในดวงใจ หรือครูที่คอยแนะแนวทางการใช้ชีวิตแก่พวกเขา

เรื่องเล่า\"ครูจิ๋ว-ทองศรี\"ครูข้างถนนสะท้อนเด็กตกขอบ เรียนฟรีไม่มีจริง

3.ค่าใช้จ่าย เรียนฟรีไม่มีจริง เพราะมีค่าใช้จ่ายอีกมากมายที่พ่อแม่ต้องแบกภาระ ทั้งที่เงินที่เขาจะใช้กินจ่ายยังไม่มี เขาจะมีค่าใช้จ่ายสำหรับค่าเรียนได้อย่างไร 

4.ต้องเข้าใจพฤติกรรม เพราะตอนนี้พฤติกรรมเด็กเปลี่ยนแปลงไปมาก และเปลี่ยนตลอดเวลา จึงต้องเข้าใจเด็กเหล่านี้ การเล่นเกมในโรงเรียนดีกว่าเล่นเกมในร้านเกม ตอนนี้เด็กป.3 และป.4 เริ่มลองบุหรี่ไฟฟ้า ใบกระท่อม ใบกัญชาแล้วทั้งนั้น ทุกภาคส่วนต้องช่วยจัดสภาพแวดล้อมใหม่ให้แก่เด็ก

อย่างไรก็ตาม  การจะลดความเหลื่อมล้ำได้ต้องมีหน่วยงานเข้าไปประคอง และไม่ใช่ประคองแค่ครั้งเดียว แต่ต้องประคองไปเรื่อยๆ จนกว่าชีวิตเขาจะดีขึ้นจริงๆ ดังนั้นการแก้ไขปัญหาเด็กยากจนที่ซ้ำซ้อนแบบนี้ เพียงแค่การให้ทุนการศึกษาหรือให้การช่วยเหลือเป็นครั้งคราว อาจทำให้แก้ปัญหาไม่สำเร็จ ต้องมีการวางแผนในระยะยาว และทุกฝ่ายต้องช่วยกันแก้ปัญหาเรื่องนี้อย่างจริงจัง