6 ปัญหาสุขภาพจิต วัยทำงาน วิธีรับมือ หลังหยุดยาว

6 ปัญหาสุขภาพจิต วัยทำงาน วิธีรับมือ หลังหยุดยาว

สุขภาพจิตวัยทำงาน เฝ้าระวัง 6 ปัญหา “ซึมเศร้าหลังวันหยุด”-“หมดไฟในการทำงาน” –“พึงพอใจในตัวเองต่ำ” เตรียมปรับใจ กลับมาทำงาน หลังหยุดยาว  พร้อมวิธีจัดการสุขภาพจิตในที่ทำงาน

KEY

POINTS

  • 6 ปัญหาสุขภาพจิตวัยทำงาน ที่ควรต้องเฝ้าระวัง เมื่อกลับมาทำงาน หลังหยุดยาวเทศกาลสงกรานต์ 2567 
  • ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการเกิดปัญหาสุขภาพจิตวัยทำงาน เช่น สภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม ความไม่ลงตัวระหว่าง ความคาดหวังในงานและอำนาจการควบคุมงาน
  • วิธีการจัดการดูแลสุขภาพจิตในที่ทำงานที่ดี ส่งผลต่อสุขภาพที่ดีส่วนบุคคล เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน  และ 6 แนวทางดำเนินการเพื่อให้คนวัยทำงาน ปรับตัวได้ ใจเป็นสุข มีสุขภาพจิตที่ดี 

สุขภาพจิตวัยทำงาน เฝ้าระวัง 6 ปัญหา “ซึมเศร้าหลังวันหยุด”-“หมดไฟในการทำงาน” –“พึงพอใจในตัวเองต่ำ” เตรียมปรับใจ กลับมาทำงาน หลังหยุดยาว  พร้อมวิธีจัดการสุขภาพจิตในที่ทำงาน

หยุดยาวเทศกาลสงกรานต์ 2567 เป็นเวลาต่อเนื่อง 5 วัน  เมื่อต้องกลับมาทำงาน หลายคนอาจจะมีภาวะใจที่ไม่พร้อม ฉะนั้นแล้ว จะต้องรู้วิธีปรับใจตัวเองและปัญหาสุขภาพจิตที่ควรจะต้องเฝ้าระวังตัวเอง เพื่อจะได้แก้ไขทัน  ซึ่งมีอย่างน้อย 6 ปัญหาสุขภาพจิตวัยทำงาน

6ปัญหาสุขภาพจิตวัยทำงาน

1.อาการซึมเศร้าหลังวันหยุดยาว (Post - Vacation Blues) อาการหลัก จะเบื่องาน ความกระตือรือร้นลดลงอย่างมาก ซึม เศร้า หดหู่ ขี้เกียจ หมดไฟ ไม่พร้อมทำงาน โดยปกติแล้วจะสามารถหายไปเองใน 2 – 3 วันค่ะ แต่สำหรับคนที่เป็นหนัก ๆ อาการอาจอยู่ยาวถึง 2 – 3 สัปดาห์ ซึ่งวิธีการรับมือป้องกันเรื่องนี้ คือ

  • หาแรงจูงใจในการไปทำงาน
  • การสร้างคุณค่าในการทำงาน
  • อยู่กับปัจจุบัน
  • เปลี่ยนรูปแบบการทำงาน
  • หาคู่หู หรือสร้างทีมในการทำงาน
  • วางแผนเที่ยวในวันหยุดครั้งต่อไป

2.เครียดสะสม สังเกตได้จากพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปทั้งด้านอารมณ์และการใช้ชีวิต เช่น นอนไม่หลับ ตื่นกลางดึก นิ่งเงียบ เบื่อหน่ายชีวิต เศร้าหมอง ความต้องการทางเพศลดลง เป็นต้น ซึ่งหากปล่อยทิ้งไว้อาจกลายเป็นภาวะอันตรายที่นำไปสู่ความเสี่ยงต่อการเกิดโรคทางกายตามมาได้ ทั้งหัวใจ ความดันโลหิต ไมเกรน เครียดลงกระเพาะ และอื่นๆ ได้

3. ภาวะหมดไฟในการทำงาน (Burnout Syndrome) สาเหตุมักเกิดจากความเครียดเรื้อรังในการทำงาน ภาระงานที่หนักซับซ้อนเกินกว่าที่จะรับผิดชอบได้ไหว บั่นทอนจิตใจจนกลายสภาพเป็นความหมดไฟในที่สุด ความเหนื่อยล้าทางอารมณ์ส่งผลให้มุมมองที่มีต่อการทำงานเป็นไปในด้านลบ ขาดความสุข หมดแรงจูงใจไม่อยากลุกไปออฟฟิตในยามเช้า และอาจส่งผลให้ประสิทธิภาพในการทำงานต่ำลง ซึ่งหากปล่อยให้นานวันเข้าอาจมีแนวโน้มรุนแรงขึ้นและเสี่ยงต่อการเกิดโรคซึมเศร้าได้        

4. ภาวะความพึงพอใจในตนเองต่ำ (Low self esteem) สัญญาณเตือนที่เห็นได้ชัดเจนสำหรับผู้กำลังเผชิญวิกฤติ Low self esteem คือความอ่อนไหวไปกับเรื่องเล็กน้อยได้ง่าย วิตกกังวล ไปจนถึงกลัวการเข้าสังคมเพราะกลัวที่ต้องถูกปฏิเสธ ขณะเดียวกันก็ไม่กล้าปฏิเสธคำขอของผู้อื่นเนื่องจากกลัวไม่เป็นที่ยอมรับ ซึ่งอาการเหล่านี้เกิดจากการขาดความเชื่อมั่นและศรัทธาในตนเองที่สะสมมาเป็นเวลานาน

5. โรคซึมเศร้า (Depression) สามารถสำรวจตัวเองและคนรอบข้างว่าเข้าข่ายโรคซึมเศร้าหรือไม่ ด้วยอาการเศร้าซึม หม่นหมอง หดหู่ เก็บเนื้อเก็บตัว รู้สึกเบื่อหน่ายกับสิ่งที่เคยทำให้มีความสุข ซึ่งอาจรุนแรงไปจนถึงขั้นคิดทำร้ายตัวเอง หรือทำแบบทดสอบภาวะซึมเศร้า เพื่อประเมินสุขภาพจิตของตัวเองเบื้องต้น

6.กลุ่มโรควิตกกังวลและแพนิค (Panic Disorder) มักแสดงอาการได้หลายอย่างร่วมกัน เช่น หัวใจเต้นแรง ใจสั่น เหงื่อออกมาก หายใจหอบ อาเจียน วิงเวียนแบบฉับพลัน ตัวชา ควบคุมตัวเองไม่ได้ ไปจนถึงการหวาดกลัวสิ่งรอบตัวจนส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวัน ซึ่งเป็นอีกหนึ่งปัญหาสุขภาพจิตที่คุกคามชีวิตของคนวัยทำงานไม่มากก็น้อย

ปัจจัยเกิดปัญหาสุขภาพจิตวัยทำงาน

ทั้งนี้ ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการเกิดปัญหาสุขภาพจิตในวัยทำงาน ได้แก่ ความเครียดจากงาน สภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม การไม่มีสมดุลงานและชีวิต Work-life Balance และความไม่ลงตัวระหว่าง ความคาดหวังในงานและอำนาจการควบคุมงาน

วิธีจัดการสุขภาพจิตในที่ทำงาน

การจัดการดูแลสุขภาพจิตในที่ทำงานที่ดี ส่งผลต่อสุขภาพที่ดีส่วนบุคคล เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน และประหยัดค่าใช้จ่ายขององค์กรในระยะยาว โดยต้องอาศัยความร่วมมือ จาก นายจ้าง พนักงาน และบุคลากรทางการแพทย์  ดังนี้

1. ลดปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเครียด
2.ปรับปรุงการสื่อสารในที่ทำงาน พัฒนาการทำงานเป็นทีม
3.จัดสถานที่ทำงานและสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสม
4.ส่งเสริมให้ผู้บริหารสนับสนุนความเป็นอยู่ที่ดีของพนักงาน
5.ให้ความรู้พนักงานเกี่ยวกับประเด็นสุขภาพจิต
6.ให้การสนับสนุนกิจกรรมต่าง ๆ  เช่น การออกกำลังกาย การทำสมาธิ
6เรื่องวัยทำงาน ปรับตัวสร้างสุขภาพจิตดี

ในการดำเนินการเพื่อให้คนวัยทำงาน ปรับตัวได้ ใจเป็นสุข มีสุขภาพจิตที่ดี  สนุกกับการทำงานและไม่เครียม อย่างน้อย 6 แนวทาง

  1. ฝึกมองโลกในแง่ดี  เพราะทุกสิ่งย่อมมีด้านบวกและด้านลบ มองให้พบคุณค่าของสิ่งที่ไม่ดี 
  2. ปรับเปลี่ยนความคิด  เปิดใจกว้าง มองอย่างรอบด้าน ก้าวผ่านอคติ ลดทิฐิ สร้างกำลังใจ
  3. ความเข้มแข็งทางใจ  อึด ฮึด สู้
  4. การสร้างวัฒนธรรมการมีส่วนร่วมเพื่อนำไปสู่องค์กรสร้างสุข  ยอมรับความคิดเห็น เน้นการมีส่วนร่วม
  5. หลักพักใจในการดำเนินชีวิต ค้นหาพลังใจและยึดเหนี่ยวไว้ เมื่อเกิดวิกฤตินำมาใช้เป็นพลัง
  6. พึงใจในสิ่งที่มี พอดีในความพอเพียง

    อ้างอิง : กรมสุขภาพจิต , รพ.จุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย, รพ.วิมุต