‘GenNX Model’ กลยุทธ์จ้างงานเน้น‘ทักษะ’ แก้วิกฤติขาดคนไอที

‘GenNX Model’ กลยุทธ์จ้างงานเน้น‘ทักษะ’ แก้วิกฤติขาดคนไอที

ในภาวะที่บุคลากรด้านเทคโนโลยีดิจิทัลขาดแคลนอย่างหนัก ‘กลยุทธ์การจ้างงานเน้นทักษะ’ หรือ ‘Skills-Based Hiring’ ที่ให้ความสำคัญกับ ‘ทักษะ’ ในตัวของผู้สมัครงานมากกว่า ‘วุฒิการศึกษา’ เป็นทางออกที่องค์กรใหญ่ระดับโลก

Keypoint:

  • การจ้างงานใเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ผู้สมัครงานเป็นผู้เลือกงาน ยิ่งในกลุ่มสาขางานด้านไอที เทคโนโลยี เป็นที่ต้องการตลาดแรงงาน ช็อปบริษัทที่ต้องการได้
  • 'GenNX Model' โภายใต้ความร่วมมือระหว่าง มจธ.และเจเนเรชั่น ประเทศไทย ยกระดับบัณฑิต คนทำงานด้านไอทีตรงใจผู้จ้างงาน
  • 10 ทักษะที่องค์กรต้องการในปี 2023 และการจ้างงานในปัจจุบันไม่สนใจโปรไฟล์ รับทักษะข้ามสายขอเพียงทำงานได้จริง

Boeing, Walmart และ IBM เริ่มหันมาใช้ พร้อมทั้งได้ยกเลิก ข้อกำหนด ด้านการศึกษาออกจากประกาศรับสมัครงาน บริษัท McKinsey & Company ที่ปรึกษาด้าน ธุรกิจชั้นนำ ของโลก ร่วมกับ Rework America Alliance ซึ่งเป็นกลุ่มที่ช่วยให้พนักงานหลายล้านคน ได้เปลี่ยน ตำแหน่ง ที่มีค่าจ้างต่ำเข้าสู่ตำแหน่งที่ให้ค่าจ้างสูงกว่า ได้ร่วมทำการศึกษา

พบว่า กลยุทธ์ การจ้างงาน เน้น ทักษะ ช่วยให้บริษัทค้นหาและดึงดูดกลุ่มผู้มีความสามารถที่กว้างขึ้น สร้างโอกาสในการเข้าถึงการจ้างงานที่เท่าเทียม ซึ่งการจ้างงานแบบเน้นทักษะนี้สามารถคาดการณ์ผลการปฏิบัติงานได้มากกว่าการจ้างงานแบบเดิมถึง 5 เท่าและพนักงานมีแนวโน้มที่จะอยู่ในงานนานกว่าถึง 34%

‘GenNX Model’ กลยุทธ์จ้างงานเน้น‘ทักษะ’ แก้วิกฤติขาดคนไอที

‘โครงการพัฒนาทักษะเพื่อการจ้างงานตามความต้องการของประเทศ โดย GenNX Model’ ภายใต้การสนับสนุน โดยสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.) ได้เริ่มดำเนินการนับตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2564

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

แนวโน้มจ้างงานในไทยปี 66 พุ่ง เช็ก 3 สายงานที่ตลาดแรงงานต้องการ

ปี 66 ปีทองตลาดผู้สมัครงาน แนะผู้ประกอบการปรับตัวก่อนขาดบุคลากร

'HR' ยุคใหม่ เร่งเฟ้นหา คนทักษะไอที ตอบโจทย์องค์กร

 

ก้าวข้ามอุปสรรคด้วย ‘กลยุทธ์การจ้างงานเน้นทักษะ’

โครงการดังกล่าวมีวัตถุประสงค์ในการพัฒนาระบบการศึกษา เพื่อการจ้างงานในบริบทของประเทศ ด้วยการพัฒนากำลังคนให้มีทักษะเฉพาะด้านที่ ตรงกับความต้องการ ของผู้ประกอบการและตลาดแรงงาน ผ่านโมเดลเฉพาะขององค์กรเจเนเรชั่น มุ่งสร้างโอกาสงานด้านดิจิทัลให้ กลุ่มคนว่างงาน ผู้มีความสามารถในการทำงานต่ำกว่าเกณฑ์ และนักศึกษาชั้นปีสุดท้ายที่กำลังจะสำเร็จ การศึกษา อย่างน้อย 225 คน

 ตลอดจนการฝึกอบรมวิทยากร (Trainer) ให้เชี่ยวชาญในการ ฝึกอบรม เพื่อการ จ้างงาน และขยายผลด้วยการถ่ายทอดโมเดลดังกล่าว ให้กับสถาบันการ ศึกษา โดยเริ่มจากการพัฒนา ทักษะอาชีพ ‘นักพัฒนาซอฟต์แวร์’ ซึ่งเป็นที่ต้องการอย่างสูง ในตลาดแรงงานเป็นอาชีพแรก

‘GenNX Model’ กลยุทธ์จ้างงานเน้น‘ทักษะ’ แก้วิกฤติขาดคนไอที

ในปี 2565 ที่ผ่านมา โครงการพัฒนาทักษะเพื่อการจ้างงานตามความต้องการของประเทศโดย GenNX โมเดล ในสายงานดิจิทัล ได้จัดโมเดล GenNX ขององค์กรเจเนเรชั่นคือ กระบวนการ 7 ขั้นตอน (7-Steps Model) ในพัฒนาทรัพยากรบุคคลผ่านการพัฒนาทักษะการทำงานในอาชีพที่เป็นที่ต้องการด้วยการฝึกอบรมเข้มข้น ระยะสั้น ด้วยหลักสูตรที่ผ่านการออกแบบและ กำหนดทักษะเฉพาะร่วม กับผู้ประกอบการ ในอุตสาหกรรม ซึ่งผู้เรียนจะได้รับการฝึกอบรมทักษะเฉพาะทาง

ทักษะชีวิตและทักษะ ในการหางานสมัครงาน และเจเนเรชั่นจะช่วยจับคู่ (matching) ระหว่างผู้ที่ต้องการหางานหรือผู้ว่างงานกับ ผู้ประกอบการ เพื่อให้ได้ บุคลากรคุณภาพ ตลอดจนการทำให้ผู้ประกอบการเห็นถึงความสำคัญของ ‘กลยุทธ์การจ้างงาน เน้นทักษะ (‘Skills-Based Hiring’)’ และนำไปปฏิบัติ

 

จ้างงานเปิดโอกาสทักษะข้ามสายแบบไม่ดูโปรไฟล์

‘ภัทรเศรษฐ์ หนุนภักดี’ ตัวแทนองค์กร Thailand Country Team Lead LinkedIn กล่าวว่า Skill based hiring เป็น Trend ที่เกิดขึ้นในตลาดงานทั่วโลกและเริ่มเป็นที่สนใจขององค์กรต่างๆ ในการคัดสรรบุคลากร วันนี้การพัฒนา Skill เฉพาะทางเพื่อรองรับ Demand ขององค์กร เช่น Bootcamp ทีองค์กร อย่าง Generation ทำเป็นตัวอย่างที่สำคัญในเรื่องของ Skill based hiring ที่สร้างงานให้คนในหลากหลายกลุ่ม

หลักสูตรบูทแคมป์ Junior Software Developer- JSD ประสบความสำเร็จ ในการผลิตนักพัฒนา ซอฟต์แวร์ แล้วจำนวน 3 รุ่น กว่า 80% ของผู้เรียนเป็นผู้ย้ายสายอาชีพและไม่มีประสบการณ์ด้านไอทีมาก่อน เช่น เลขานุการ ผู้ประสานงาน นักกฎหมาย เป็นต้น โดยมีผู้จบการศึกษาแล้วจำนวน 140 คน ได้เข้าทำงานแล้ว ในบริษัทกว่า 50 แห่งในอุตสาหกรรมต่างๆ และผู้เรียนมีรายได้เพิ่มขึ้นเกือบ 2 เท่า เท่าหลังจากเข้า ร่วมโครงการฯ

‘GenNX Model’ กลยุทธ์จ้างงานเน้น‘ทักษะ’ แก้วิกฤติขาดคนไอที

“ส่วนใหญ่สะท้อนว่าการพัฒนาทักษะเฉพาะทาง และได้งานในสายดิจิทัลนี้ทำให้ พวกเขา ก้าวข้ามอุปสรรคด้านการศึกษาและประสบการณ์ที่มักเป็นข้อกำหนดในการจ้างงานแบบเดิมและมีโอกาสเข้าถึงอาชีพใหม่ๆที่สอดคล้องกับความต้องการและได้ค่าจ้างที่เหมาะสมเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตได้มากขึ้น องค์กรผู้นำคว้าโอกาสในการจ้างงานแบบเน้นทักษะเปิดโอกาสธุรกิจและการทำงานให้คนข้ามสายแบบไม่ดูโปรไฟล์”ภัทรเศรษฐ์ กล่าว

องค์กรจัดวางกลยุทธ์ดึงดูดแรงงานทักษะสูง

‘เด่นชัย เพชรชมรัตน์’ Head of People จากบริษัท กสิกร บิซิเนส-เทคโนโลยี กรุ๊ป หรือ KBTG ระบุว่า ปัญหาเรื่องการขาดแคลนแรงงานที่มีทักษะสูง (Highly-skilled labour) เป็นหนึ่งในปัญหาที่ พวกเรามักจะได้ยินบ่อยๆในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ด้วยสาเหตุนี้ทำให้ธุรกิจต้องพยายามอย่างมาก ในการรักษา แรงงานที่มีทักษะในปัจจุบัน และมองหากลยุทธ์ที่จะดึงดูดแรงงานที่มีคุณสมบัติตามต้องการ (Qualified Worker) ได้มากยิ่งขึ้น เพื่อให้มั่นใจว่าบริษัท ยังสามารถแข่งขันกับตลาดได้

‘อุราภรณ์ เอียดการ’ HR Director จาก บริษัท เอ็ม เอฟ อี ซี จำกัด (มหาชน) หรือ MFEC กล่าวว่า สาเหตุที่เราจับมือร่วมกับโมเดล GenNX เพราะเราต้องการสนับสนุนการจ้างงาน โดยดูที่ทักษะ ศักยภาพ และไม่จำเป็นต้องมีประสบการณ์ด้านไอทีมาก่อนและแก้ปัญหาให้กับองค์กรในเรื่องของการขาดแคลนทรัพยากร เพื่อให้ธุรกิจเดินต่อได้ไม่สะดุด ผ่านการลดเวลาในกระบวนการสรรหาลดต้นทุน

‘GenNX Model’ กลยุทธ์จ้างงานเน้น‘ทักษะ’ แก้วิกฤติขาดคนไอที

ในการจ้างและบริษัท สามารถรักษาคนเหล่านี้ไว้เป็นทรัพยากรที่มีค่าขององค์กรในระยะยาวซึ่งถึงเวลาแล้วที่ผู้ประกอบการเองต้องปรับแนวคิดและพิจารณาการรับคนด้วยทักษะและความสามารถ

เจเนเรชั่น ผนึกมจธ. พลิกโฉมการศึกษาเพื่อการจ้างงาน

วันนี้ (15 พ.ค.2566)สำนักเคเอกซ์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) ลงนามสัญญาข้อตกลงความร่วมมือ (partnership agreement) เจเนเรชั่น ประเทศไทย ในฐานะพันธมิตรในการถอดองค์ ความรู้เต็มรูปแบบ (delivery partner)  5 ปี ภายใต้โครงการพัฒนาทักษะเพื่อการจ้างงานตามความต้องการของ ประเทศ

โดย GenNX Model  เพื่อร่วมผลิตนักพัฒนาซอฟต์แวร์คุณภาพ เสริมสร้างความเข้มแข็งด้าน บุคลากรให้กับผู้ประกอบการดิจิทัลไทย พร้อมเดินหน้าจัดบูทแคมป์ Junior Software Developer รุ่นที่ 4 ซึ่งปัจจุบันมีผู้เรียนจำนวน 50 คนที่กำลังจะจบการศึกษาและพร้อมจับคู่กับสถานประกอบการเพื่อเข้า ทำงานในตำแหน่งนักพัฒนาซอฟต์แวร์ในเดือนพ.ค.นี้

รวมทั้ง การเข้าถึงแพลตฟอร์มด้าน เทคโนโลยีของเจเนเรชั่น โดยเคเอกซ์ได้สังเกตการณ์การทำงานของเจเนเรชั่นมานับตั้งแต่บูทแคมป์รุ่นที่ 3 และทำงานร่วมกันอย่างเต็มรูปแบบในบูทแคมป์รุ่นที่ 4 เพื่อให้สำนักเคเอกซ์ สามารถจัดบูทแคมป์ในรุ่นต่อไป ได้ด้วยตนเองและพร้อมเป็นต้นแบบให้กับสถาบันสังเกตการณ์ (Observer Partner) และสถาบันการศึกษา อื่นในอนาคต

‘GenNX Model’ กลยุทธ์จ้างงานเน้น‘ทักษะ’ แก้วิกฤติขาดคนไอที

‘GenNX Model’ กลยุทธ์จ้างงานเน้น‘ทักษะ’ แก้วิกฤติขาดคนไอที

‘รศ. ดร.สุวิทย์ แซ่เตีย’  อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) กล่าวว่า การเป็นพันธมิตรในโครงการนี้สอดคล้องกับพันธกิจหลักของ มจธ. ในการสร้างคุณค่า ด้านบุคลากรของประเทศ ด้วยการผลิตกำลังคนด้านเทคโนโลยีที่มีทักษะและความสามารถสอดคล้องกับความต้องการของภาคอุตสาหกรรม และสังคม

อีกทั้งยังเป็นโอกาสสำคัญที่จะได้ร่วมเรียนรู้โมเดลการศึกษา การจ้างงาน และแนวคิดกลยุทธ์ การจ้างงานแบบเน้นทักษะ ที่เป็นนวัตกรรมที่พิสูจน์แล้วว่ามีประสิทธิภาพในกว่า 17 ประเทศทั่วโลกมาปรับ ใช้ในบริบทของประเทศไทย

“มจธ.จะร่วมเป็นกำลังหลักในการขยายผลสู่สถาบันการศึกษาอื่นๆ รวมถึงการขยายสาขาทักษะงานและจำนวนผู้เรียนในอนาคต เพื่อเป็นการติดอาวุธ ทักษะให้แก่นักศึกษา ดังนั้นเรามีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้ร่วม งานกับเจเนเรชั่น ประเทศไทย เพื่อร่วมกันสร้างสรรค์ผลงานที่เป็นประโยชน์ทั้งต่อ มหาวิทยาลัย และสังคม ไทยต่อไป” อธิการบดี มจธ.กล่าว

หมุดหมายพัฒนาคนไอทีตอบโจทย์ประเทศ

‘ดร.ภัทรชาติ โกมลกิติ’ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารสำนักเคเอกซ์ กล่าวว่า สำนักเคเอกซ์ มจธ. มุ่งสร้างเสริมผู้ประกอบการไทยผ่านกระบวนการนวัตกรรม ให้มีความเข้มแข็งในทุกๆมิติมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งการผลิตบุคลากร คุณภาพสูงที่มีความรู้และทักษะใหม่ ๆ ที่จำเป็นต่อความต้องการของอุตสาหกรรมนั้นเป็นมิติที่สำคัญที่จะสามารถพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันและการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศได้

“ความร่วมมือระหว่าง มจธ โดยสำนักเคเอกซ์ และเจเนเรชั่น ประเทศไทย ถือเป็นหมุดหมายสำคัญของการพัฒนาทรัพยากรบุคคลของประเทศ เคเอกซ์จะได้รับการถ่ายทอดองค์ความรู้โมเดล GenNX และจะทำหน้าที่เป็นผู้นำในการขับเคลื่อนการพัฒนาอุตสาหกรรม ผ่านแผนงานขยายผลในการถ่ายโอนความรู้นี้ให้กับองค์กรที่สนใจหรือองค์กรภาคการศึกษา เพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงและภาคการศึกษาสามารถเสริมความแข็งแร่งให้กับผู้ประกอบการได้ทันเวลายิ่งขึ้น” ดร.ภัทรชาติ กล่าว

ส่งเสริมผู้เรียนเข้าถึงการจ้างงาน ผู้ประกอบการได้คนทำงาน

‘ปุณยนุช พัธโนทัย’ ซีอีโอ เจเนเรชั่น ประเทศไทย กล่าวว่า เจเนเรชั่น พร้อมถ่ายทอดโมเดล GenNX  โดยในระยะแรกเจเนเรชั่นเป็นผู้ดำเนินการ ด้วยการสนับสนุนจากองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน จากนั้นจะมุ่งสู่การขยายผล เพื่อให้องค์กร หรือ สถาบันการศึกษาอื่นๆ สามารถสร้างหลักสูตรที่ใช้กระบวนการของเจเนเรชั่นได้โดยมีเป้าหมายในการขยาย

จำนวนผู้เรียนเพื่อสร้างโอกาสในการเข้าถึงการจ้างงาน การส่งเสริมให้ผู้ประกอบการเข้าใจกลยุทธ์ การจ้างงาน เน้นทักษะและสาขาทักษะงาน เพราะระบบการศึกษาและระบบการจ้างงานเป็น 2 กลไกที่ต้องทำงาน ร่วมกัน เพื่อแก้ไขปัญหาของประเทศในด้านการว่างงานและการขาดแคลนแรงงานได้อย่างยั่งยืน

"กลยุทธ์การจ้างงานเน้นทักษะ (skill-based hiring)คือหนทางการแก้ไขวิกฤติการขาดแคลนคน ไอที เมื่อแม่พิมพ์การศึกษาแบบเดิมไม่สามารถผลิตบัณฑิตออกมาได้ตรงตามความต้องการของตลาดที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วอีกต่อไป การขยายความเข้าใจตระหนักรู้ในกลุ่มองค์กรผู้ว่าจ้างจึงเป็นเรื่องเร่งด่วน และต้อง อาศัยพันธมิตรในการปรับความเข้าใจ ทำการประชาสัมพันธ์ ให้นายจ้างเปิดมุมมองร่วมกันเข้ามาแก้ปัญหา และปรับเปลี่ยนวงการการจ้างงานผ่านการทำงานร่วมกับแพลตฟอร์ม และ community คนหางานในสาย เทคโนโลยี เพื่อปรับมุมมองการจ้างงานคนข้ามสาย”ปุณยนุช กล่าว

‘GenNX Model’ กลยุทธ์จ้างงานเน้น‘ทักษะ’ แก้วิกฤติขาดคนไอที

เจเนเรชั่น และสำนักเคเอกซ์ มจธ. มีเป้าหมายร่วมกันในการดึงดูดให้ภาคธุรกิจมาร่วมแลกเปลี่ยนความต้องการเฉพาะด้านและเรียนรู้ถึงความเชี่ยวชาญของแต่ละหน่วยงาน เพื่อให้ภาคการศึกษาเข้าใจ และผลิต บุคลากรที่ตอบโจทย์ภาคอุตสาหกรรม และทำงานร่วมกับภาคเอกชนให้ใกล้ชิดขึ้น โดยพัฒนาแผนงาน ขยายผลถ่ายทอดความรู้และกระบวนการศึกษาเพื่อการจ้างงานตามโมเดล GenNX นี้ให้กับสถาบันการศึกษา และองค์กรภาคธุรกิจที่สนใจจะผลิตบุคลากรคุณภาพจำนวนมากในเวลาอันสั้น ได้มีโอกาสร่วมกัน พัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมทักษะสาขาอาชีพใหม่ๆที่ตอบโจทย์เฉพาะ และทำงานในรูปแบบของเจเนเรชั่นได้ด้วย

หลักสูตรอบรม 4 กลุ่มอาชีพที่ตลาดแรงงานต้องการ

‘ปุณยนุช’ กล่าวต่อว่า เจเนเรชั่น ยังมีหลักสูตรการพัฒนาบุคลากร สำหรับอาชีพที่เป็นที่ต้องการของตลาดแรงงานทั่วโลกอีกกว่า 29 อาชีพใน 4 ภาคส่วน เช่น วิศวกรสนับ สนุน ระบบคลาวด์ นักวิเคราะห์และวิศวกรข้อมูล นักการตลาดดิจิทัล ผู้ช่วยพยาบาล พนักงานขายดูแลลูกค้าองค์กร เป็นต้น โดยเจเนเรชั่นพร้อมที่จะถ่ายทอดความรู้ และกระบวนการทำงาน ในรูปแบบของเรา เพื่อให้เกิด การเชื่อมโยงระหว่างภาคการศึกษาและภาคธุรกิจ และขยายโอกาสให้กับผู้หางานในอนาคต

องค์กรภาคธุรกิจหรือสถาบันการศึกษาใดสนใจการทำงานพัฒนาทักษะเพื่อการจ้างงานผ่านโมเดล GenNX สามารถติดต่อเจเนเรชั่น ประเทศไทยได้ที่ [email protected] และ thailand.generation.org