สารเคมีรั่ว นครปฐม คาดเป็นโทลูอีน ผลกระทบต่อสุขภาพ อาการ กลุ่มเสี่ยงถึงตาย

สารเคมีรั่ว นครปฐม คาดเป็นโทลูอีน ผลกระทบต่อสุขภาพ อาการ กลุ่มเสี่ยงถึงตาย

ประเด็น "สารเคมีรั่ว" จ.นครปฐม รศ.ดร.วีรชัย พุทธวงศ์ (อาจารย์อ๊อด) อธิบายถึงสารเคมีจากเหตุการณ์สารเคมีรั่ว ที่ บริษัท อินโดรามา โพลีเอสเตอร์ อินดัสตรีส์ จำกัด (มหาชน) คาดเป็นโทลูอีน ผลกระทบต่อสุขภาพ อาการ กลุ่มเสี่ยงถึงตาย

ประเด็น "สารเคมีรั่ว" จ.นครปฐม ล่าสุด (22 ก.ย.2565) รศ.ดร.วีรชัย พุทธวงศ์ (อาจารย์อ๊อด) อาจารย์ภาควิชาเคมี คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โพสต์เฟซบุ๊กอธิบายถึงสารเคมีจากเหตุการณ์สารเคมีรั่ว ที่ บริษัท อินโดรามา โพลีเอสเตอร์ อินดัสตรีส์ จำกัด (มหาชน) ถ.เพชรเกษม ต.ขุนแก้ว อ.นครชัยศรี เมื่อเช้านี้ เผยเบื้องต้นทราบแล้วว่าเป็นสารกลุ่มอะโรมาติกเบนซีน (Aromatic Benzene) ที่ใช้ในการทำพลาสติกคาดว่าน่าจะเป็นโทลูอีน (Toluene)

 

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

- "สารเคมีรั่ว" รู้แล้วที่ไหน กรมควบคุมมลพิษ เร่งตรวจสอบ เผยสาเหตุเบื้องต้น

- "สารเคมีรั่ว" โรงงานอินโดรามา กลิ่นเหม็น สั่งหยุดเรียน ให้ผู้ปกครองมารับกลับ

- "สารเคมีรั่ว" สาธิตนานาชาติ ม.มหิดล ประกาศด่วน แจ้งเตือนแนะ 3 ข้อปฏิบัติ

- ด่วน "สารเคมีรั่วไหล" ในโรงงาน จ.นครปฐม กลิ่นฟุ้งกระจายเป็นวงกว้าง

 

โทลูอีน (Toluene) มีคุณสมบัติหลายๆอย่างคล้าย เบนซีน (Benzene) เป็นพิษคล้ายกันแต่อ่อนกว่าเบนซีนจึงมักถูกนำมาใช้แทนเบนซีน

โทลูอีน เป็นของเหลวใส มีกลิ่นคล้ายเบนซีน ไวไฟเหมือนกัน และมีชื่อเรียกอีกหลายชื่อ เช่น โทลูอีน , เมทิลเบนซีน และเมทิลเบนซอล เป็นต้น เป็นส่วนประกอบในน้ำมันเบนซิน (Benzine)

ขณะที่ โทลูอีน 1% ใช้ในตัวทำลายสี หมึก กาว หรือใช้เป็นสารสำหรับชะล้าง ในอุตสาหกรรมจะมีการใช้ โทลูอีน เป็นสารตั้งต้นสำหรับสังเคราะห์สารอื่นๆมากมาย เช่น ใช้ทำโฟม ยูรีเทน ใช้สังเคราะห์สีย้อม ผลิตภัณฑ์ยาและเครื่องสำอาง และใช้ทำลายพยาธิปากขอ

ผลต่อสุขภาพ

เหมือนเบนซีน คือ ทำลายระบบประสาทส่วนกลาง ถ้าสูดดมนานๆหรือเข้าผิวหนัง อย่างเช่น พวกดมกาว ระยะยาวมีผลต่อไขกระดูกและโลหิต อาจกลายเป็นมะเร็งในเม็ดเลือด และทำให้เกิดการกลายพันธุ์ได้

การสูดดมระยะสั้นๆ เช่น อยู่ในโรงงานที่มีไอระเหยจางๆ ทำให้อ่อนเพลีย อาการเหมือนมึนเมา คลื่นใส้ ความจำเสื่อมและในเยื่ออาหาร แม้ว่าจะสูดเข้าไปเดี๋ยวเดียว แต่ถ้าไอเข้มข้นมากก็ทำให้วิงเวียน หมดสติและอาจตายได้ เพราะหายใจไม่ออก คนสูบบุหรี่และผู้เป็นโรคพิษสุราเรื้อรัง จะมีความเสี่ยงต่อพิษ โทลูอีน มากกว่าคนทั่วไป

สำหรับผิวหนัง ถ้าถูก โทลูอีน เป็นเวลานานซ้ำที่เดิมจะเป็นแผลอักเสบ เพราะโทลูอีน ละลายไขมันตามธรรมชาติบนผิวหนังจนเกิดการอักเสบ ในที่ทำงานไม่ควรปล่อยให้มีการระเหยฟุ้งกระจาย ต้องระบายอากาศให้บริสุทธิ์อยู่เสมอ จะได้ไม่สูดดมเข้าไป ถ้าหากให้ใช้ทรายซับและเก็บในถังมิดชิด แล้วนำไปเผาทิ้งในที่ปลอดภัย ประการสำคัญอย่าลืมว่า โทลูอีน ไวไฟ ต้องระวังไม่ให้มีการจุดไฟ หรือประกายไฟในบริเวณใกล้เคียง