ส่อง แผน "วัคซีนโควิด-19" ปี 65 เตรียมเข้าสู่ระยะ Post-pandemic 

ส่อง แผน "วัคซีนโควิด-19" ปี 65 เตรียมเข้าสู่ระยะ Post-pandemic 

การระบาดของ "โอมิครอน" สายพันธุ์ BA.4 / BA.5 ทำให้ทั่วโลกยังคงเฝ้าระวัง ที่ประชุม ศบค. ขยายระยะเวลาประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน อีก 2 เดือน เพื่อป้องกัน ควบคุมการระบาด พร้อมแนะประชาชนให้ฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้น เพื่อสร้างภูมิคุ้มกัน

หลังจากที่วานนี้ (8 ก.ค. 65) ที่ประชุม ศบค. มีมติเห็นชอบ ขยายระยะเวลาประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินทั่วราชอาณาจักร (คราวที่ 19) ต่อไปอีก 2 เดือน ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคมไปจนถึงวันที่ 30 กันยายน 2565 เพื่อยังคงมาตรการป้องกันและควบคุมโรคโควิด-19 จากการระบาดของโอมิครอน สายพันธุ์ BA.4 / BA.5 

 

อีกทั้ง ระยะ Post-pandemic  (ก.ค. - ธ.ค. 65) คาดว่าจะพบ Small wave ด้วยปัจจัย ภูมิคุ้มกันต่อโรค ลดลงหลังได้รับวัคซีนเกิน 6 เดือน ประชาชนลดการสวมหน้ากาก และเลี่ยงปฏิบัติ ตามมาตรการ การติดเชื้อเป็นกลุ่มก้อน และการเพิ่มขึ้นของ สายพันธุ์ BA.4 / BA.5 ทั้งในประเทศและทั่วโลก 

 

ส่อง แผน \"วัคซีนโควิด-19\" ปี 65 เตรียมเข้าสู่ระยะ Post-pandemic 

 

ทั้งนี้ หนึ่งในกิจกรรมประเมินเพื่อเตรียมความพร้อมบริหาร โควิด-19 นอกจาก ผู้ป่วยรายใหม่ในรพ.ไม่เกิน 4,000 รายต่อวัน ป่วยตายน้อยกว่า 0.1% หรือเสียชีวิตจากโควิดไม่เกิน 40 รายต่อวัน ครองเตียง ป่วยหนัก วิกฤติน้อยกว่า 25% หรือผู้ป่วยใส่ท่อช่วยหายใจ ไม่เกิน 400 รายต่อวัน 

 

การ "ฉีดวัคซีน" ยังเป็นสิ่งสำคัญ โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยง 608 ได้แก่ กลุ่มสูงอายุ 60 ปีขึ้นไป โรคเรื้อรัง 7 กลุ่มโรค และหญิงตั้งครรภ์ ได้รับวัคซีนเข็ม 2 มากกว่า 80% และ ได้รับวัคซีนเข็มกระตุ้น มากกว่า 60% 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง : 

เช็ก สูตร "วัคซีนเข็มกระตุ้น" ป้องกัน BA.4/BA.5 ลดป่วยหนัก เสียชีวิต 

"หมอยง"ยันฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นmRNA ตามหลังวัคซีนเชื้อตาย ได้ผลดี

 

 

ไทยฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้น 43.1%

 

สำหรับ ผลการดำเนินการฉีดวัคซีนโควิด 19 เข็มกระตุ้น ในการเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าสู่ระยะหลังการระบาดของโรคโควิด-19 ความครอบคลุมการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นภาพรวมของประเทศไทย ข้อมูล ณ วันที่ 8 กรกฎาคม 2565 

  • ร้อยละ 43.1 ของประชากรทุกกลุ่มเป้าหมาย
  • ร้อยละ 46.9 ของกลุ่มเป้าหมายอายุ 60 ปีขึ้นไป

4 จังหวัดฉีดเข็มกระตุ้นเกิน 60%

 

สำหรับ 4 จังหวัด ที่มีผลการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นมากกว่าร้อยละ 60 ในประชากรทุกกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ 

  • กรุงเทพมหานคร
  • ภูเก็ต
  • นนทบุรี
  • สมุทรปราการ

 

10 จังหวัดฉีดเข็มกระตุ้นน้อยที่สุด

 

10 จังหวัดที่มีผลการฉีด วัคซีนเข็มกระตุ้น น้อยที่สุด ในประชากรทุกกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ 

  • นราธิวาส
  • ปัตตานี
  • ยะลา
  • สตูล
  • บึงกาฬ
  • สกลนคร
  • หนองบัวลำภู
  • แม่ฮ่องสอน
  • นครศรีธรรมราช
  • พัทลุง

 

4 จังหวัด สูงวัย ฉีดเข็มกระตุ้นเกิน 60%

 

ขณะเดียวกัน ในกลุ่มผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป ใน 4 จังหวัดที่มีผลการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นมากกว่าร้อยละ 60 ได้แก่

  • ภูเก็ต
  • น่าน
  • สมุทรปราการ
  • กรุงเทพมหานคร

 

สูงวัย 10 จังหวัด ฉีดเข็มกระตุ้นน้อยที่สุด

 

ขณะเดียวกัน ในกลุ่มเป้าหมายอายุ 60 ปีขึ้นไป 10 จังหวัดที่มีการฉีด วัคซีนเข็มกระตุ้นน้อยที่สุด ได้แก่

  • นราธิวาส
  • ปัตตานี
  • บึงกาฬ
  • ยะลา
  • สตูล
  • สกลนคร
  • หนองบัวลำภู
  • แม่ฮ่องสอน
  • สระแก้ว
  • หนองคาย

 

เหลือประชาชนที่ยังไม่ได้รับการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้น (เข็มที่ 3) จำนวน 23.4 ล้านคน

 

แผนบริการวัคซีน ปี 2565 

 

สำหรับแผนการบริการวัคซีนโควิด-19 ของประเทศไทย ในปี 2565 เพื่อให้ประชาชนทุกคนในแผ่นดินไทย ได้รับวัคซีนด้วยความสมัครใจและครอบคลัม เตรียมรองรับการระบาดรวมถึงเชื้อกลายพันธุ์ ลดความรุนแรง เสียชีวิตในประชากรทุกกลุ่มอายุ และขับเคลื่อนเศรษฐกิจ โดยเป้าหมาย การให้บริการ มีดังนี้ 

  • กลุ่มเป้าหมาย 12 ปีขึ้นไป ยังไม่เคยได้รับวัคซีน สามารถเข้ารับวัคซีนแบบ Walk in ในสถานพยาบาลที่คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด / กรุงเทพมหานครกำหนดไว้ 
  • ผู้ที่ฉีดวัคซีนครบตามเกณฑ์ หรือผู้ที่ติดเชื้อโควิด-19 สามารถเข้ารับวัคซีนเข็มกระตุ้น ตามแนวทางที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดไว้ 
  • กลุ่มเป้าหมายอายุ 5 - 11 ปี ได้รับการฉีดวัคซีนได้ตามความสมัครใจของเด็กและผู้ปกครอง

 

ส่อง แผน \"วัคซีนโควิด-19\" ปี 65 เตรียมเข้าสู่ระยะ Post-pandemic 

วัคซีนรอรับมอบในปี 2565

 

สำหรับ แผนการบริหารจัดการ "วัคซีนโควิด-19" ที่รอรับมอบ ในปี 2565

 

1. วัคซีน AstraZeneca

  • ปรับลดการจัดซื้อวัคซีน AZ จากเดิม 60 ล้านโดส กรอบวงเงิน 18,762.5160 ล้านบาท
  • เป็นการจัดซื้อวัคซีน AZ จำนวน 35.4 ล้านโดส กรอบวงเงิน 11,069.8845 ล้านบาท
  • เปลี่ยนวัคซีนบางส่วนเป็นภูมิคุ้มกันสำเร็จรูป (Long-acting antibody : LAAB) จำนวน 257,500 โดส กรอบวงเงิน 7,569.2228 ล้านบาท
  • รับมอบวัคซีน AstraZeneca ไปแล้ว 8.3 ล้านโดส เหลือการรับมอบวัคซีน AstraZeneca 27.1 ล้านโดส

 

2. วัคซีน Pfizer

  • เหลือการรอรับมอบ จำนวน 3.6 ล้านโดส (รับมอบแล้ว 26.4 ล้านโดส)
  • พิจารณาปรับเป็นวัคซีน Pfizer (Maroon cap) สำหรับฉีดในกลุ่มเป้าหมายเด็กอายุ 6 เดือน ถึงอายุน้อยกว่า 5 ปี จำนวน 3 ล้านโดส

 

จองฉีดวัคซีน สถานีกลางบางซื่อ

 

ศูนย์ฉีดวัคซีนสถานีกลางบางซื่อ เปิดจองคิวฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้น ตั้งแต่เข็มที่ 3 ขึ้นไป ชนิดวัคซีน ไฟเซอร์ และ โมเดอร์นา (ลงทะเบียนล่วงหน้าผ่านเครือข่ายมือถือ) ตั้งแต่วันศุกร์ ที่ 8 กรกฎาคม 2565 เวลา 09.00 น. เป็นต้นไป

 

เพื่อฉีดวัคซีนในวันที่ 11-31 กรกฎาคม 2565 ณ ศูนย์ฉีดวัคซีนกลางบางซื่อ เข้าประตู 2 เวลา 09.00-16.00 น. ทุกวัน

 

ช่องทางการจองวัคซีน  

 

1. AIS ลงทะเบียนได้ที่ เว็บไซต์ ais.th

2. TRUE ลงทะเบียนได้ที่ ระบบ USSD กด *707# โทรออก หรือ เว็บไซต์ vaccine.trueid.net

3. DTAC ลงทะเบียนได้ที่ ดีแทค แอปฯ และ เว็บไซต์ app.dtac.co.th

4. NT ลงทะเบียนได้ที่ บมจ.โทรคมนาคมแห่งชาติ เว็บไซต์ covid19vaccine.ntplc.co.th

 

ส่อง แผน \"วัคซีนโควิด-19\" ปี 65 เตรียมเข้าสู่ระยะ Post-pandemic