เปิดภาพรวม ผลประกอบการ 10 ธนาคารพาณิชย์ ไตรมาสแรก ปี 66

เปิดภาพรวม ผลประกอบการ 10 ธนาคารพาณิชย์ ไตรมาสแรก ปี 66

เปิดภาพรวมผลประกอบการ 10ธนาคารพาณิชย์ โดยกำไรไตรมาสพุ่ง 6 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 37.17% หากเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า และเพิ่มขึ้น 13.45% จากช่วงเดียวกันปีก่อน ขณะที่สำรองหนี้ พบว่าโดยรวมอยู่ที่ 5.1หมื่นล้านบาท ลดลง 16.79% จากไตรมาสก่อนหน้า

        ผ่านพ้นไปแล้ว สำหรับผลประกอบการ “ธนาคารพาณิชย์”ไตรมาส 1ปี 2566  ภาพรวมถือว่าออกมาดีเกินคาด โดยเฉพาะ “กำไรสุทธิ” ที่หลายแบงก์ทำออกมาได้ดีกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ ปัจจัยบวกหนึ่งที่ทำให้ “กำไรสุทธิ”ของธนาคารพาณิชย์ปรับตัวดีขึ้น ส่วนหนึ่งมาจาก สำรองหนี้สูญ หรือผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ปรับลดลดลง จากการตั้งสำรองมาแล้วค่อนข้างมากในช่วงที่ผ่านมา 
    ประกอบกับ ธนาคารยังได้รับผลบวกจาก ทิศทางดอกเบี้ยขาขึ้น จากการปรับขึ้นดอกเบี้ย ทำให้รายได้ดอกเบี้ยสุทธิของหลายธนาคารปรับตัวเพิ่มขึ้น 

เปิดภาพรวม ผลประกอบการ 10 ธนาคารพาณิชย์ ไตรมาสแรก ปี 66 หากดูไส้ในของผลประกอบการ ธนาคารพาณิชย์ 10แห่ง ซึ่งประกอบไปด้วย ธนาคารกรุงไทย(KTB) ธนาคารกรุงเทพ(BBL)ธนาคารไทยพาณิชย์ หรือSCB ธนาคารกรุงศรีอยุธยา(BAY) ธนาคารทีเอ็มบีธนชาต(TTB) ธนาคารเกียรตินาคินภัทร (KKP) ธนาคารทิสโก้( TISCO) ธนาคารแลนด์แอนด์เฮ้าส์(LHFG) และธนาคารซีไอเอ็มบีไทย(CIMBT)
    โดยภาพรวมกำไรสุทธิ 10แบงก์ไตรมาสแรก ปี 2566 โดยรวมอยู่ที่ 60,136ล้านบาท  เพิ่มขึ้น 13.45% หากเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ที่มีกำไรสุทธิอยู่ที่ 53,007ล้านบาท  และเพิ่มขึ้น 37.17% หากเทียบกับ ไตรมาสก่อนหน้าที่มีกำไรสุทธิอยู่ที่ 43,840ล้านบาท

         ธนาคารที่ทำผลประกอบการเติบโตที่โดดเด่นในไตรมาสปีนี้ และมีกำไรมากที่สุดคือ SCB โดยกำไรสุทธิไตรมาสแรกอยู่ที่ 10,995 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 9.47% หากเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน และเพิ่มขึ้น 53.93%จากไตรมาสก่อนหน้า 
    ถัดมาคือ KBANK โดยกำไรสุทธิอยู่ที่ 10,741 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 236% จากไตรมาสก่อนหน้า แต่ปรับลดลง -4.19%หากเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน และอันดับ3 BBL โดยกำไรสุทธิอยู่ที่ 10,129 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 42.30%จากช่วงเดียวกันปีก่อน และ33.82%จากไตรมาสก่อนหน้า
        ในด้าน “การสำรองหนี้สูญ” อยู่ในทิศทางลดลง โดยภาพรวมสำรองทั้ง10แบงก์อยู่ที่ 51,796ล้านบาท ลดลงหากเทียบกับไตรมาสก่อนหน้าที่ 16.79% แต่เพิ่มขึ้นหากเทียบกับ ช่วงเดียวกันปีก่อน 18.63% 
        โดยธนาคารที่มีการตั้งสำรองลดมากที่สุดในไตรมาสนี้ หากเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า ดือ TISCO สำรองลดลง 66% ถัดมาคือKKP และ KBANK แต่หากเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน พบว่า แบงก์ที่มีการตั้งสำรองลดลงมากที่สุดคือ BAY 14.15% และTTB 11.06% และ LHFG 7.27%
       ขณะที่แบงก์ ที่มีการสำรองเพิ่มขึ้น หากเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน พบว่าคือ CIMBT สำรองเพิ่มขึ้น 128% ถัดมา KTB 48.15% และTISCO ที่ 47.06% 
       ส่วนภาพรวม “หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ หรือเอ็นพีแอลในไตรมาสนี้ ส่วนใหญ่ปรับลดลงเล็ก หากเทียบกับ สิ้นปีที่ผ่านมา

       โดยภาพรวมหนี้เสียโดยรวมทั้ง 10แบงก์อยู่ที่ 510,399 ล้านบาท ใกล้เคียงกับไตรมาสก่อนหน้า