วิเคราะห์แนวโน้มตลาด : บล.กรุงไทย เอ็กซ์สปริง จับตา ภาคบริการโลก และเงินเฟ้อไทย

วิเคราะห์แนวโน้มตลาด : บล.กรุงไทย เอ็กซ์สปริง จับตา ภาคบริการโลก และเงินเฟ้อไทย

ทางเทคนิค คาด SET Index เคลื่อนไหว Sideways Down แนวต้าน 1,556/1,560 จุด แนวรับ 1,545/1,540 จุด (EMA 25/75 วัน) หลังจากดัชนีฯ ทาจุด Lower High, Lower Low ลงต่อเนื่องเป็นวันที่สาม ทั้งนี้ สัญญาณขายจะเพิ่มขึ้น หากดัชนีฯ ร่วงต่ากว่า 1,540 จุด (EMA 75 วัน)

วิเคราะห์แนวโน้มตลาด : บล.กรุงไทย เอ็กซ์สปริง จับตา ภาคบริการโลก และเงินเฟ้อไทย

ประเด็นวันนี้ ปัจจัยต่างประเทศ ติดตาม 1. รายงานภาคบริการโลกเดือน ส.ค. ของประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจ โดย Japan (Jibun Bank) คาดดีขึ้นเป็น 54.3 (Vs เดือน ก.ค. 53.8) เพราะยังคงได้ประโยชน์จากภาคท่องเที่ยว ส่วน China (Caixin) คาดลดลงเป็น 53.6 (Vs เดือน ก.ค. 54.1) เช่นเดียวกันกับ EU (HCOB) คาดลดลงเป็นระดับหดตัวที่ 48.3 (Vs เดือน ก.ค. 50.9) และมีความเสี่ยงลดลงต่อเนื่อง จากมาตรการคุมเข้มทางการเงินของอีซีบี (วันนี้ ECB จะมีการจัดงานสัมมนา โดยตลาดคาดว่าประธานอีซีบี Lagarde และคณะกรรมการอีซีบีส่วนใหญ่ ยังคงส่งสัญญาณสนับสนุนการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อเนื่องของ ECB เพื่อสกัดเงินเฟ้อที่ยังคงอยู่ในระดับสูง ทำให้เศรษฐกิจอียูมีความเสี่ยงเกิดภาวะถดถอยในครึ่งหลังปีนี้)

ส่วนปัจจัยในประเทศ จับตารายงานเงินเฟ้อไทยเดือน ส.ค. (Figure 1) โดย Consensus คาดเติบโต +0.61% YoY (Vs เดือน ก.ค. +0.38% YoY) สอดคล้องกับมุมมองของกระทรวงพาณิชย์ที่คาดว่าในช่วงที่เหลือปีนี้ เงินเฟ้อเติบโตต่ำกว่า 1% YoY และทำให้เป้าหมายเงินเฟ้อปีนี้ต่ำกว่าคาดการณ์เดิม 1.5% (กรอบ 1-2%) ขณะที่สภาพัฒน์เพิ่งปรับลดเป้าหมายเงินเฟ้อปีนี้ลงเป็น 1.95% (กรอบ 1.7%-2.2%) จากเดิม 3% (กรอบ 2.5%-3.5%) ส่วน Core Inflation Rate คาดลดลงเป็น +0.82% YoY ใกล้เคียงกับเดือน ก.ค. ที่เติบโต +0.86% YoY

 

 

KTX อัตราเงินเฟ้อไทยเดือน ส.ค. คาดต่ำ 1% เสี่ยงเข้าสู่ภาวะเงินฝืด การรับประโยชน์จากการเข้าสู่ช่วงฐานสูง และการตรึงราคาน้ำมันดีเซลไว้ที่เดิม 31.94 บาท/ลิตร อย่างต่อเนื่อง ทำให้อัตราเงินเฟ้อฝั่งต้นทุน (Cost push Inflation) ไม่สร้างแรงกดดันต่ออัตราเงินเฟ้อทั่วไปมากนัก หากอัตราเงินเฟ้อเดือน ส.ค. เป็นไปตามคาดการณ์ของ Consensus จะทำให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปและพื้นฐานของไทยชะลอตัวลงอย่างมาก โดยเฉลี่ย 8 เดือน จะอยู่ที่ 1.98% และ 1.61% ตามลำดับ ซึ่งต่ำกว่าเป้าหมายธปท. ที่ 2.5% และ 2.0% และยังต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายระดับปัจจุบันที่ 2.25% จนทำให้อัตราดอกเบี้ยแท้จริงขยายตัวมากขึ้นเป็น 0.27% และ 0.64% ตามลำดับ ซึ่งแม้จะไปสร้างแรงจูงใจในการออม แต่ในทางตรงกันข้ามกลับเป็นการเพิ่มต้นทุนการกู้ยืมของภาคเอกชนให้สูงขึ้น (เพิ่มความเสี่ยงต่อการผิดนัดชำระหนี้ หาก Re-finance ไม่สำเร็จ) จนอาจกระทบสินเชื่อภาคเอกชนให้ชะลอลง เป็นปัจจัยเร่งให้ภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวมากขึ้น ด้วยปัจจัยดังกล่าว เราจึงมองว่ากนง. จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมรอบถัดไป (วันที่ 27 ก.ย.) หากรัฐบาลชุดใหม่ไม่ได้ใช้นโยบายการคลังเร่งกระตุ้นเศรษฐกิจ จนอาจทำให้เกิดความเสี่ยงด้านเงินเฟ้อสูง จากแรงกดดันด้าน อุปสงค์ (สอดคล้องกับ Bloomberg Consensus) หลังจากอัตราเงินเฟ้อทั่วไปกลับสู่กรอบเป้าหมาย (1-3%) และต่ำกว่าคาดการณ์ของธปท. กระทรวงพาณิชย์

กลยุทธ์ลงทุน แนะนำ กลุ่มพาณิชย์ที่ได้รับผลบวกจากเงินเฟ้อที่ปรับลดลง CPALL CPAXT และกลุ่มพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่คาดว่าขาขึ้นของดอกเบี้ยสิ้นสุดลงแล้ว แนะนำ SPALI

 

 

Strategic daily picks

CPALL     ปิด 64.50 บาท/แนวรับ 63.25 บาท แนวต้าน 67.75 บาท

CPALL ลงทุนในหุ้นสามัญเพิ่มทุนจำนวน 38.70 ล้านหุ้น ใน Ascend Commerce (บริษัท แอสเซนด์ ดิจิตอล คอมเมิร์ซ กรุ๊ป จำกัด (ADCG) ถือหุ้น 100% โดยจะสามารถดำเนินการเข้าลงทุนได้ภายใน 30 ก.ย. 23 เพื่อเป็นการเพิ่มยอดขายและบริการ จากฐานลูกค้าสมาชิกที่เพิ่มขึ้น Bloomberg Consensus ประมาณการกำไรสุทธิ 3Q23 และปี 2023 ที่ 4.41 พันล้านบาท และ 1.76 หมื่นล้านบาท ตามลำดับ และประเมินราคาเป้าหมายที่ 74.62 บาท

 

CPAXT     ปิด 35.00 บาท/แนวรับ 34.25 บาท แนวต้าน 37.00 บาท

CPAXT เผยทิศทางผลการดำเนินงานใน 2H23 ยังขยายตัวจากช่วงเดียวกันของปีก่อน เพราะได้รับปัจจัยบวกจากกำลังซื้อในประเทศที่ปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง ส่งผลให้ยอดขายสินค้าผ่านช่องทางต่าง ๆ เติบโตมากขึ้น ตลอดจนธุรกิจยังสามารถบริหารจัดการต้นทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่วนยอดขายปี 24 คาดเติบโต 15-20% จากปี 2023 เนื่องจากธุรกิจมีการปรับแนวทางการดำเนินธุรกิจ โดยหันมาขยายฐานในรูปแบบไฮบริดมอลล์เพิ่มเติม อาทิ การนำแอปพลิเคชันมาช่วยเพิ่มยอดขายสินค้า ทั้งนี้ Bloomberg Consensus ประมาณการกำไรสุทธิ 3Q23 และปี 2023 ที่ 1.99 พันล้านบาท และ 9.80 พันล้านบาท ตามลำดับ และประเมินราคาเป้าหมายที่ 38 บาท

 

SPALI    ปิด 21.50 บาท/แนวรับ 21.00 บาท แนวต้าน 22.80 บาท

SPALI เผยทิศทางการดำเนินงานในช่วง 2H23 จะดีขึ้นตามลำดับ จาก 1H23 โดยมีแผนเปิดตัวโครงการใหม่ 27 โครงการ มูลค่ารวม 2.86 หมื่นล้านบาท (แนวราบ 26 โครงการ และคอนโดมิเนียม 1 โครงการ) ซึ่งจะผลักดันให้ยอดขาย (Presale) ในปี 2023 เติบโตตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ 3.6 หมื่นล้านบาท (1H23 มียอดขาย 1.43 หมื่นล้านบาท) ทั้งนี้ Bloomberg Consensus ประมาณการกำไรสุทธิปี 2023 ที่ 7.09 พันล้านบาท และประเมินราคาเป้าหมายที่ 25.35 บาท

 

วิเคราะห์แนวโน้มตลาด : บล.กรุงไทย เอ็กซ์สปริง จับตา ภาคบริการโลก และเงินเฟ้อไทย