‘2024 ปีที่ร้อนสุดเท่าที่มีมา’ อุณหภูมิเฉลี่ยทะลุ 1.6 °C ทั่วโลกเจอภัยธรรมชาติ

‘2024 ปีที่ร้อนสุดเท่าที่มีมา’ อุณหภูมิเฉลี่ยทะลุ 1.6 °C ทั่วโลกเจอภัยธรรมชาติ

ปี 2024 จะเป็นปีที่ร้อนที่สุดในโลกนับตั้งแต่มีการบันทึกข้อมูล โดยคาดว่าอุณหภูมิที่สูงผิดปกติจะคงอยู่ต่อไปอย่างน้อยในช่วงไม่กี่เดือนแรกของปี 2025

KEY

POINTS

  • ข้อมูลจากเดือนมกราคม-พฤศจิกายนได้ยืนยันแล้วว่าปี 2024 จะเป็นปีที่ร้อนที่สุดเท่าที่มีการบันทึกไว้ ด้วยอุณหภูมิ 1.62 องศาเซลเซียส
  • ในเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา น้ำแข็งทะเลแอนตาร์กติกามีปริมาณต่ำกว่าค่าเฉลี่ยถึง 10% ซึ่งถือเป็นสถิติใหม่ที่ต่ำที่สุด
  • ความเสียหายทางเศรษฐกิจที่เกิดจากสภาพอากาศมีมูลค่าความเสียหายทางเศรษฐกิจที่คาดการณ์ไว้ในปี 2024 เพิ่มขึ้น 6% เป็น 320,000 ล้านดอลลาร์ 

ข้อมูลจาก สถาบันการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโคเปอร์นิคัสของสหภาพยุโรป หรือ C3S ระบุว่า ข้อมูลจากเดือนมกราคม-พฤศจิกายนได้ยืนยันแล้วว่าปี 2024 จะเป็นปีที่ร้อนที่สุดเท่าที่มีการบันทึกไว้ ด้วยอุณหภูมิ 1.62 องศาเซลเซียส โดยนักวิทยาศาสตร์คาดว่าอุณหภูมิเฉลี่ยทั้งปีจะอยู่ที่ 1.60 องศาเซลเซียสซึ่งเป็นครั้งแรกที่อุณหภูมิเฉลี่ยทั่วโลกสูงเกิน 1.5 องศาเซลเซียส เหนือช่วงก่อนอุตสาหกรรมระหว่างปี 1850-1900 ทำลายสถิติเดิมของปี 2023 ที่ 1.48 องศาเซลเซียส

ซาแมนธา เบอร์เกส รองผู้อำนวยการ C3S กล่าวว่า “ตอนนี้เราสามารถยืนยันได้อย่างแน่นอนว่าปี 2024 จะเป็นปีที่มีอุณหภูมิร้อนที่สุดในประวัติศาสตร์ และเป็นปีปฏิทินแรกที่มีอุณหภูมิสูงกว่า 1.5 องศาเซลเซียส ซึ่งไม่ได้หมายความว่าข้อตกลงปารีสถูกละเมิด แต่หมายความว่าการดำเนินการด้านสภาพภูมิอากาศอย่างเร่งด่วนมากกว่าที่เคย”

ในปี 2024 ทั่วโลกเกิดสภาพอากาศเลวร้ายไปทั่วโลก โดยในอิตาลีและอเมริกาใต้เกิดภัยแล้งรุนแรง ขณะที่เนปาล ซูดาน และยุโรปเจอกับน้ำท่วมร้ายแรง ส่วนเม็กซิโก มาลี และซาอุดีอาระเบีย เจอคลื่นความร้อนคร่าชีวิตผู้คนไปหลายพันคน ด้านสหรัฐและฟิลิปปินส์เจอพายุถี่มากขึ้นและรุนแรงยิ่งขึ้น ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ที่มีสาเหตุมาจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิล ที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกสู่ชั้นบรรยากาศ

สำหรับอุณหภูมิเฉลี่ยทั่วโลกเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2024 อยู่ที่ 14.10 องศาเซลเซียส ส่วนอุณหภูมิเฉลี่ยทั่วโลกของปีที่แล้วอยู่ที่ 14.98 องศาเซลเซียส ทำให้เดือนพฤศจิกายน 2024 กลายเป็นเดือนเดือนพฤศจิกายนที่มีอุณหภูมิร้อนที่สุดในประวัติศาสตร์อันดับที่ 2 รองจากเดือนพฤศจิกายน 2023

“อุณหภูมิโลกของเรายังคงอยู่ในระดับใกล้สูงสุดเป็นประวัติการณ์ และมีแนวโน้มว่าจะคงอยู่ต่อไปอีก อย่างน้อยในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า” จูเลียน นิโคลัส นักวิจัยด้านสภาพอากาศของ C3S กับรอยเตอร์

ขณะที่ ฟรีเดอริเก ออตโต อาจารย์อาวุโสแห่งวิทยาลัยอิมพีเรียลลอนดอนกล่าวว่า ในปี 2025 อาจจะเย็นกว่าปี 2024 เล็กน้อย แต่หากเกิดปรากฏการณ์ลานีญาขึ้นอีก อาจทำให้อุณหภูมิไม่อยู่ในสภาวะปรกติ

“เราจะยังคงเผชิญกับอุณหภูมิที่สูง ส่งผลให้เกิดคลื่นความร้อนที่เป็นอันตราย ภัยแล้ง ไฟป่า และพายุหมุนเขตร้อน” ออตโตกล่าว

สำหรับปี 2023 อุณหภูมิที่สูงขึ้นเป็นผลมาจากปรากฏการณ์เอลนีโญ ที่ทำให้สภาพอากาศทั่วโลกเปลี่ยนแปลงไป แต่เอลนีโญสิ้นสุดลงแล้ว ตั้งแต่ช่วงต้นปี 2024 และตอนนี้เป็นช่วงของปรากฏการณ์ลานีญา ทำให้นักวิทยาศาสตร์งุนงงว่า ทำไมอุณหภูมิจึงยังคงสูงอยู่ 

โจนาธาน โอเวอร์เพ็ค นักวิทยาศาสตร์ด้านภูมิอากาศจากมหาวิทยาลัยมิชิแกนกล่าวว่า “คำอธิบายประการหนึ่งก็คือ ปรากฏการณ์เอลนีโญจะปล่อยความร้อนสู่ชั้นบรรยากาศมากขึ้นเนื่องจากน้ำทะเลอุ่นขึ้น และโลกก็ได้ได้รับอากาศที่เย็นลง ที่ช่วยให้อุณหภูมิลดลงเหมือนกันเหมือนกับที่เคยเป็นมา ซึ่งอาจเป็นปัจจัยที่ทำให้โลกร้อนเร็วขึ้น นั่นเป็นเรื่องที่น่ากลัว”

นอกจากนี้ อีกปัจจัยสำคัญที่ทำให้อุณหภูมิในปี 2024 สูงขึ้น คือ คลื่นความร้อนเหนือมหาสมุทร และ การละลายของหิมะและน้ำแข็งในทะเลที่ทำหน้าที่สะท้อนแสงอากาศ โดยข้อมูลจาก C3S ระบุว่าในเดือนพฤศจิกายน น้ำแข็งทะเลแอนตาร์กติกามีปริมาณต่ำกว่าค่าเฉลี่ยถึง 10% ซึ่งถือเป็นสถิติใหม่

มหาสมุทรดูดซับความร้อนที่กักเก็บโดยก๊าซเรือนกระจกได้ประมาณ 90% จากนั้นจึงปล่อยความร้อนและไอน้ำกลับสู่ชั้นบรรยากาศ

สถาบันวิจัยของบริษัทประกันภัย Swiss Re ระบุว่าความเสียหายทางเศรษฐกิจที่เกิดจากสภาพอากาศเลวร้ายกำลังเพิ่มสูงขึ้น มีมูลค่าความเสียหายทางเศรษฐกิจที่คาดการณ์ไว้ในปี 2024 เพิ่มขึ้น 6% เป็น 320,000 ล้านดอลลาร์ ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาถึง 25%

ความตกลงปารีส” กำหนดให้แต่ละประเทศต้องควบคุมให้อุณหภูมิโลกร้อนไม่เกิน 1.5 องศาเซลเซียส เพื่อจำกัดผลกระทบจากภัยพิบัติทางสภาพอากาศ โดยจะต้องคุมอุณหภูมิให้ได้อย่างน้อย 10-20 ปี แต่ดูเหมือนว่าการรักษาอุณหภูมิให้ต่ำกว่า 1.5 องศาเซลเซียสในระยะยาวนั้นดูจะเลือนลางเต็มที เพราะจะต้องลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากเชื้อเพลิงฟอสซิลจะต้องลง 45% ภายในปี 2030 มิหนำซ้ำยังคาดว่าการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ทำให้โลกร้อนขึ้นจะยังคงเพิ่มขึ้นในปี 2024 แม้จะมีคำมั่นสัญญาจากทั่วโลกในช่วงปลายปี 2023 ว่าจะ เปลี่ยนผ่านจากเชื้อเพลิงฟอสซิลเข้าสู่พลังงานสะอาดแล้วก็ตาม

วิกฤติสภาพอากาศที่เลวร้ายส่งผลกระทบไปทั่วโลก และสร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจได้อีกด้วย ตามสถาบันวิจัยของบริษัทประกันภัย Swiss Re ระบุว่าความเสียหายทางเศรษฐกิจที่เกิดจากสภาพอากาศเลวร้ายกำลังเพิ่มสูงขึ้น โดยมูลค่าความเสียหายทางเศรษฐกิจที่คาดการณ์ไว้ในปี 2024 เพิ่มขึ้น 6% เป็น 320,000 ล้านดอลลาร์ ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาถึง 25%

พายุเฮอริเคนเฮเลนและมิลตัน รวมถึงพายุฝนฟ้าคะนองที่รุนแรงกว่าในสหรัฐ รวมถึงอุทกภัยในยุโรปและสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ล้วนเป็นปัจจัยที่ก่อให้เกิดความสูญเสียที่เอาประกันภัยไว้ แต่ความสูญเสียทั่วโลกไม่ถึงครึ่งหนึ่งที่ได้รับความคุ้มครองจากการประกันภัย เนื่องจากคนจนไม่สามารถจ่ายเบี้ยประกันได้

Swiss Re กล่าวว่า “ความสูญเสียมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศที่เลวร้ายลง ขณะเดียวกันมูลค่าสินทรัพย์ก็เพิ่มขึ้นในพื้นที่เสี่ยงสูงเนื่องจากการขยายตัวของเมือง ดังนั้นการปรับตัวจึงเป็นสิ่งสำคัญ และมาตรการป้องกัน เช่น เขื่อนกั้นน้ำ เขื่อน และประตูระบายน้ำ มีประสิทธิภาพด้านต้นทุนมากกว่าการสร้างใหม่ถึง 10 เท่า”

หากไปถึงจุดที่อุณหภูมิโลกสูงขึ้นอย่างรวดเร็วมากจนพืชและสัตว์ไม่สามารถปรับตัวได้เหมือนอย่างเคย สิ่งมีชีวิตหลายสายพันธุ์จะสูญพันธุ์ ซึ่งจะไปรบกวนห่วงโซ่อาหารตามธรรมชาติที่พวกมันเป็นส่วนหนึ่งด้วย เกษตรกรรมจะได้รับผลกระทบ เนื่องจากแมลงผสมเกสรลดจำนวนลงและศัตรูพืชเจริญเติบโต 


ที่มา: AP NewsReutersThe Guardian