ส.อ.ท. ชง 4 ข้อเสนอนายกฯ ดัน E20 เป็นน้ำมัน 'เบนซิน' พื้นฐานใน Oil Plan

ส.อ.ท. ชง 4 ข้อเสนอนายกฯ ดัน E20 เป็นน้ำมัน 'เบนซิน' พื้นฐานใน Oil Plan

ส.อ.ท. ชง 4 ข้อเสนอรัฐบาล ส่งเสริม BCG Economy Model : Thailand Ethanol Hub เคลื่อนอุตสาหกรรมเอทานอลไทย สู่เป้า Net Zero หนุนส่งเสริมการใช้ E20 เป็น้ำมันเบนซินพื้นฐานใน Oil Plan 

KEY

POINTS

  • ส.อ.ท. ชง 4 ข้อเสนอรัฐบาล ส่งเสริม BCG Economy Model : Thailand Ethanol Hub เคลื่อนอุตสาหกรรมเอทานอลไทย สู่เป้า Net Zero
  • "อิศเรศ รัตนดิลก ณ ภูเก็ต" รองประธาน ส.อ.ท. หารือ "นพ.พรหมินทร์" เลธิการนายกฯ เพื่อหาแนวทางในการสนับสนุนอุตสาหกรรมเอทานอลไทย
  • ส.อ.ท. เสนอ ปรับเปลี่ยนและเพิ่มวัตถุดิบทางเลือก ในการผลิตเอทานอล ลดต้นทุนสร้างรายได้เพิ่มให้เกษตรกร 
  • สภาอุตสาหกรรมฯ แนะ ส่งเสริมการใช้ E20 เป็นน้ำมันเบนซินพื้นฐานใน Oil Plan (2567-2580)
     

ส.อ.ท. ชง 4 ข้อเสนอรัฐบาล ส่งเสริม BCG Economy Model : Thailand Ethanol Hub เคลื่อนอุตสาหกรรมเอทานอลไทย สู่เป้า Net Zero หนุนส่งเสริมการใช้ E20 เป็น้ำมันเบนซินพื้นฐานใน Oil Plan 

นายอิศเรศ รัตนดิลก ณ ภูเก็ต รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า เมื่อวันที่ 23 ก.พ. 2567 ตนพร้อมด้วย นางเกศมณี เลิศกิจจา ประธานคลัสเตอร์อุตสาหกรรมและความงาม, นายเสกสรรค์ พรหมนิช ประธานคณะทำงานย่อยฯ เอทานอลด้านเชื้อเพลิง และนายทัศน์ วนากรกุล ที่ปรึกษาคณะทำงานย่อยฯ เอทานอลด้านเชื้อเพลิง ได้หารือกับ นพ.พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช เลธิการนายกรัฐมนตรี พร้อมยื่นข้อเสนอถึงนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เพื่อส่งเสริม BCG Economy Model : Thailand Ethanol Hub ใน 4 ประเด็นหลัก คือ 

1. ปรับเปลี่ยนและเพิ่มวัตถุดิบทางเลือก ในการผลิตเอทานอล ลดต้นทุนเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน และสร้างรายได้เพิ่มให้เกษตรกร 

2. เปิดเสรีเอทานอลบริสุทธิ์ เปิดโอกาสในการสร้างมูลค่าเพิ่มของเอทานอล ลินค้า และอุตสาหกรรมมูลค่าสูงในประเทศด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG 

3. ลดการส่งออกสินค้า Commodities ผลิตสินค้ามูลค่าสูง และช่วยลดการปลดปล่อยคาร์บอน นำพาประเทศไปถึงเป้าหมาย Carbon Neutrality และ Net Zero 

4. ส่งเสริมการใช้ E20 เป็นน้ำมันเบนซินพื้นฐานใน Oil Plan (2567-2580)

นายอิศเรศ กล่าวว่า ในหนังสือที่ยื่นเสนอนายกฯ ลงนามโดย นายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธาน ส.อ.ท. ระบุว่า ตามที่ประเทศไทยได้มีการส่งเสริมการผลิตและการใช้เชื้อเพลิงเอทานอลในรูปแบบของน้ำมันแก๊สโซฮอล์มาตั้งแต่ปี 2546 โดยมีวัดถุประสงค์เพื่อยกระดับราคาพืชผลทางการเกษตร ลดการนำเข้าเชื้อเพลิงจากต่างประเทศ และลดมลภาวะทางสิ่งแวดล้อม โดยในปี 2558 ได้มีแผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก พ.ศ. 2558 - 2579 (AEDP 2015) ซึ่งมีความชัดเจนทางด้านนโยบาย มีเป้าหมายการส่งเสริมเชื้อเพลิงเอทานอลถึง 11.3 ล้านลิตรต่อวัน 

ส.อ.ท. ชง 4 ข้อเสนอนายกฯ ดัน E20 เป็นน้ำมัน \'เบนซิน\' พื้นฐานใน Oil Plan

จนต่อมาส่งผลให้อุตสาหกรรมเชื้อเพลิงเอทานอลเติบโต มีการลงทุนก่อสร้างโรงงานถึง 27 แห่ง กำลังการผลิตติดตั้งรวม 7 ล้านลิตรต่อวัน และมีการใช้เชื้อเพลิงเอทานอลปริมาณมากสุดถึง 4.5 ล้านลิตรต่อวัน ช่วยยกระดับราคาอ้อยและมันสำปะหลังให้สูงขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง และในช่วงวิกฤติการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (covid-19) ที่ผ่านมา อุดสาหกรรมเชื้อเพลิงเอทานอลก็ยังสามารถพัฒนากระบวนการผลิตจนสามารถผลิตแอลกอฮอล์สำหรับผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดและป้อนเข้าสู่ตลาดเป็นจำนวนมากในช่วงที่ตลาดทั่วโลกขาดแคลน จนเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ประเทศสามารถผ่านพันวิกฤติการณ์ดังกล่าวมาได้ด้วยดี

ต่อมาประเทศไทยได้มีการให้พันธสัญญาที่จะมุ่งสู่เป้าหมาย Carbon Neutrality และ Net Zero ในการประชุมรัฐภาตีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 26 หรือ COP26 เป็นส่วนหนึ่งในการแก้ปัญหาวิกฤติการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) และวิกฤติการณ์โลกเดือด (Global Boiling) โดยมีแนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศสู่ธุรกิจ BCG Economy Model และการนำแนวทาง ESG มาใช้เพื่อความยั่งยืน 

ทั้งนี้ อุตสาหกรรมเอทานอลก็ยังคงเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยลดการปลดปล่อยคาร์บอนของประเทศเพิ่มขึ้นได้อีกมาก หากมีการส่งเสริมตามแนวทาง BCG Economy Model พัฒนาต่อยอดสู่ Thailand Ethanol Hub ผ่านการใช้น้ำมันแก๊สโซฮอล์ 20 เพิ่มมากขึ้น รวมทั้งน้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยานยั่งยืน (Sustainable Aviation Fuel : SAF) ไบโอเอทิลีน (Bio ethylene) สำหรับไบโอพลาสติก ตลอดจนอุตสาหกรรมสมุนไพรสกัด อุตสาหกรรมยา เครื่องสำอาง และผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด เป็นต้น

ในการนี้ เพื่อให้อุตสาหกรรมเอทานอลเป็นส่วนหนึ่งในการบรรลุเป้าหมาย Carbon Neutrality และ Net Zero ของประเทศด้วย BCG Economy Model และ Thailand Ethanol Hub ผ่านการส่งเสริมอุตสาหกรรมยานยนต์ในปัจจุบันให้ลดการปลดปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ได้เพิ่มมากขึ้น สร้างมูลค่าเพิ่มในอุตสาหกรรมการบินด้วยเชื้อเพลิงอากาศยานยั่งยืน และการพัฒนาอุตสาหกรรมเคมีชีวภาพ ไปพร้อมกันกับการสร้างความมั่นคงทางพลังงาน ลดการนำเข้าพลังงานฟอสซิลจากต่างประเทศ สร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรและภาคแรงงานในอุสสาหกรรมยานยนต์ 

ทางสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นผู้แทนของภาคเอกชน จึงขอความอนุเคราะห์จากท่าน ในการขับเคลื่อนการพัฒนาอุตสาหกรรมเอทานอลต่อไป โดยการส่งเสริมการพัฒนาต่อยอดไปสู่อุตสาหกรรมปลายน้ำตามแนวทาง BCG Economy Model