เวิลด์แบงก์แนะไทยเร่งแผน ความยั่งยืนก่อนกระทบจีดีพี

เวิลด์แบงก์แนะไทยเร่งแผน  ความยั่งยืนก่อนกระทบจีดีพี

นโยบายที่เกี่ยวกับการรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รวมถึงการกำหนดนโยบายให้มีความยืดหยุ่นมากขึ้น ด้วยการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้จ่ายภาครัฐ การเพิ่มการจัดเก็บรายได้ภาครัฐ และการใช้นโยบายช่วยเหลือกลุ่มเปราะบาง

ล้วนเป็นปัจจัยที่จะสร้างความยั่งยืนทางการคลังเพื่อส่งต่อเป็นการพัฒนาที่ยั่งยืนในอนาคต 

 ข้อมูลจาก “รายงานรายรับ และรายจ่ายภาครัฐของประเทศไทย” ระบุว่าแม้ประเทศไทยจะไม่ใช่ประเทศหลักในการปล่อยก๊าซเรือนกระจก แต่หากไม่มีการดำเนินนโยบายเพิ่มเติม การปล่อย ก๊าซเรือนกระจกจะเพิ่มขึ้นตามการขยายตัวของเศรษฐกิจ ในปี พ.ศ.2561 สัดส่วนการปล่อยก๊าซคาร์บอนของประเทศไทย เทียบกับทั่วโลกน้อยกว่า 0.9% และสัดส่วนการปล่อยก๊าซต่อประชากรต่ำกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลก แต่สูงกว่าค่าเฉลี่ยของกลุ่มประเทศอาเซียนซึ่งสะท้อนถึงระดับรายได้ที่เพิ่มสูงขึ้น 

ประเทศไทยได้ให้คำมั่นที่จะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลง 20% จากระดับของกรณีฐานในการดำเนินงานตามปกติ ภายในปี พ.ศ.2573 ซึ่งกำหนดให้สามารถปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพิ่มขึ้น ได้เพียงเล็กน้อยในช่วงปี พ.ศ.2563 - 2573

ขณะที่การปรับอัตราภาษีสรรพสามิตที่บังคับใช้อยู่สำหรับเชื้อเพลิงที่ใช้ในการขนส่งทางถนนให้สะท้อนถึงปริมาณคาร์บอน ปัจจุบันมีภาษีสรรพสามิตสำหรับน้ำมันปิโตรเลียม แต่เชื้อเพลิงสำหรับการขนส่งอื่นๆ ไม่ได้มีการเก็บภาษี และกองทุน น้ำมันจะอุดหนุนราคาเชื้อเพลิงอย่างมีประสิทธิภาพเมื่อราคาสินค้าโภคภัณฑ์สูง 

“อัตราภาษีสรรพสามิตจึงควรมีการปรับ ให้สะท้อนถึงปริมาณคาร์บอนของเชื้อเพลิงที่ถูกใช้ ซึ่งจะจูงใจให้มีการผสมเชื้อเพลิงชีวภาพเพิ่มมากขึ้น โดยจะทำให้การกําหนดภาษีคาร์บอนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพโดยไม่จำเป็นต้องมีการกำหนดมาตรการใหม่”

รวมถึงการส่งเสริมให้เปลี่ยนไปใช้รถยนต์ไฟฟ้า เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของรัฐบาล รวมถึงการใช้รายได้ที่เพิ่มขึ้นจากภาษี คาร์บอนของเชื้อเพลิงเพื่อสนับสนุนค่าใช้จ่ายบางส่วนในระยะสั้น รวมทั้งการจัดหาโครงสร้างพื้นฐานสำหรับการชาร์จไฟ เรือสาธารณะไฟฟ้า และเพิ่มการใช้จ่ายเพื่อการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยให้ความสำคัญกับการปรับปรุง การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ รวมถึงการลงทุนในเขื่อนกั้นตลิ่ง และระบบระบายน้ำเพิ่มเติมเพื่อลดผลกระทบจาก ปริมาณน้ำฝนที่เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับแผนปัจจุบัน การป้องกันความเสียหายจากน้ำท่วมในกรุงเทพฯ 

การเพิ่มความพร้อมในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในด้านการขนส่ง และโครงสร้างพื้นฐานสาธารณะ อื่นๆ รวมถึงการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานที่มีอยู่ในกรณีที่มีความจำเป็น  รวมไปถึงการลงทุนในการปลูกป่า ซึ่งจะก่อให้เกิดประโยชน์ทั้งในด้านการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การป้องกันพายุ น้ำท่วม และการกัดเซาะชายฝั่ง การควบคุมวัฏจักรของน้ำ และการสนับสนุนการผลิตทางการเกษตร และในด้านการลดปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศการดูดซับการปล่อยก๊าซเรือนกระจกซึ่งอาจได้รับการสนับสนุนค่าใช้จ่ายจากการเพิ่มรายจ่ายภาครัฐ การลงทุนภาคเอกชนในป่าเชิงพาณิชย์ และการใช้กลไกการจ่ายค่าชดเชยของโครงการกำหนดราคาคาร์บอน โดยนโยบายการคลังมีบทบาทสำคัญในการลดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย และในการปรับตัวต่อผลกระทบที่จะเกิดขึ้น การลดการปล่อยคาร์บอนสามารถทำได้ โดยการจัดทำนโยบายภาษีที่ได้รับการออกแบบมาอย่างดี โดย การออกกฎหมาย และเครื่องมืออื่นๆ ที่ไม่ใช่ภาษีเพื่อเพิ่มราคาคาร์บอน รายได้ที่เพิ่มขึ้นจากเครื่องมือดังกล่าวจะถูกใช้เพื่อสนับสนุนนโยบายด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศด้านอื่นๆ

คิม อลัน เอ็ดเวิร์ด นักเศรษฐศาสตร์อาวุโสและหัวหน้าโครงการของธนาคารโลก กล่าวว่า การรับมือกับการเปลี่ยนแปลง สภาพภูมิอากาศ ประเทศไทยมีความเสี่ยงสูงต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ด้วยแนวชายฝั่งที่ยาว ระบบการเกษตรที่เปราะบาง และความอ่อนไหวต่อสภาพอากาศที่รุนแรง ทำให้ประเทศไทยได้รับการ โดยกรุงเทพฯ ยังคง เป็นพื้นที่ ที่มีความเปราะบางเป็นพิเศษต่อน้ำท่วม และต้องประสบกับเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่มาแล้ว 6 ครั้งตั้งแต่ปี พ.ศ.2523 แม้จะมีมาตรการควบคุมแล้วก็ตาม