ยานยนต์ไฟฟ้าโลกแข่งดุเดือด ธุรกิจปักหมุดอาเซียนพัฒนาแบต

อุตสาหกรรมผลิตยานยนต์ไฟฟ้า หรือ อีวี กำลังเป็นสนามแข่งขันใหม่ที่ผู้เล่นรายเก่าที่เปลี่ยนผ่านตัวเอง จากยานยนต์แบบสันดาปไปสู่อีวี และผู้เล่นหน้าใหม่ที่ทำให้ตลาดอีวีอยู่ในภาวะแข่งขันอย่างดุเดือด
ข้อมูลจากสถาบันการจัดการนานาชาติ ระบุว่า อุตสาหกรรมที่ปั่นป่วนที่สุดอย่าง “ผู้ผลิตรถยนต์”ที่เห็นการเพิ่มขึ้นของผู้เล่นรายใหม่อย่าง BYD และ Xpeng
ผู้ผลิตรถยนต์ชั้นนำต่างเร่งพัฒนาความเชี่ยวชาญภายในบริษัทด้วยชุดไมโครชิป แทนที่จะพึ่งพาซัพพลายเออร์ หรือซัพพลายเออร์รายย่อยสิ่งนี้บอกเป็นนัยถึงการเปลี่ยนแปลงขั้นพื้นฐานในความสามารถหลักของผู้ผลิตรถยนต์ ในอดีต อย่าง Volkswagen (VW), GM และ Toyota ที่ต่างให้ความสำคัญกับการประกอบขั้นสุดท้าย
“ตั้งแต่ห้องประชุมจนถึงโรงงานตอนนี้เกิดความเปลี่ยนแปลงแล้วโดยความเชี่ยวชาญเรื่องเครื่องกลมาเป็นรองจากความเชี่ยวชาญด้าน ดิจิทัลโดยเน้นที่ซอฟต์แวร์”
ดังนั้น ปัจจัยท้าทายสำหรับอุตสาหกรรมอีวีสูงสุดคือ เรื่องของเทคโนโลยีโดย ในปี 2023 มีผู้ผลิตใหม่ในอุตสาหกรรมรถไฟฟ้ายังต้องเผชิญความต้องการชิปเซตยังคงไม่สามารถคาดเดาได้ เพราะไม่เพียงอีวีเท่านั้นที่ต้องการชิปแต่ยังมีการเติบโตอย่างรวดเร็วของการเปิดตัวเทคโนโลยีใหม่ๆ อย่าง AI คลาวด์คอมพิวติ้ง อินเทอร์เน็ตในทุกสิ่ง และ 5G หรือ 6Gที่มาแย่งชิปไปใช้ทำให้โรงงานผลิตชิปเซตมักจะทำงานจนเกือบถึงความจุสูงสุด
“นอกจากการแข่งขันที่รุนแรงแล้ว อุตสาหกรรมการผลิตอีวียังต้องเผชิญกับความอ่อนไหวจากปัญหา ภัยธรรมชาติ เช่น แผ่นดินไหว และน้ำท่วมอาจทำให้เกิดปัญหาใหญ่ได้ เช่นเดียวกับอุบัติเหตุ เช่น ไฟไหม้และไฟฟ้าดับ ความตึงเครียดด้านภูมิรัฐศาสตร์ รวมถึงความตึงเครียดระหว่างสหรัฐและจีน ซึ่งปัจจัยต่างๆ ทำให้การผลิตอีวีอาจไม่เพียงพอต่อความต้องการตลาด”
สถานการณ์การแข่งขันของอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าได้นำมาพูดคุยกันในเวทีเสวนาจัดโดยS&P Global Ratings ซึ่งเป็นสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือชั้นนำของโลก ซึ่งมีการฉายภาพสถานการณ์อีวีในอาเซียน (the outlook for Asian EV) ไว้อย่างน่าสนใจ
ลีอาห์ เฉิน บรรณาธิการ โลหะนอกกลุ่มเหล็ก (โลหะในแบตเตอรี่) S&P Global Commodity Insights กล่าวว่า ราคาวัตถุดิบแบตเตอรี่ดีดตัวขึ้นตามความต้องการเติมสต็อกเพื่อให้ทันกับความต้องการ และความสามารถการเติมสต็อกให้สินค้าคงคลังมีราคาที่สอดคล้องกับต้นทุน เช่น ราคาลิเธียมที่เพิ่มสูงขึ้น จะเป็นเงื่อนไขสำคัญที่จะเพิ่มความเชื่อมั่นให้ตลาดผลิตแบตเตอรี่ส่งต่อสินค้าไปยังตลาดอีวี
“ราคานิเกิลที่สูงขึ้น ผลักดันให้อินโดนีเซียเร่งหาแหล่งแร่ให้มากขึ้น และต้องทำให้เร็วขึ้น จนทำให้อินโดนีเซียเลื่อนชั้นมาเป็นซัพพลายแร่หายากแทนจีนแล้ว”
ดร.เดยา ดาส นักวิเคราะห์วิจัยอาวุโสฝ่ายซัพพลายเชนและเทคโนโลยี S&P กล่าวว่า ความต้องการเซลล์แบตเตอรี่จากกลุ่มรถยนต์ขนาดเล็กควรเพิ่มขึ้นจาก 535 GWh (กิโลวัตต์-ชั่วโมง) ในปี 2022 เป็น 2738 GWh ในปี 2028 ซึ่งในปัจจุบันมี 188 โรงงานผลิตเซลล์แบตเตอรี่ครอบคลุมทั่วโลกในจำนวนนี้มี 131 โรงงานครอบคลุมในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก และ 107 โรงงานอยู่ในประเทศจีน
การเติบโตสามารถพบได้ในอีวี ที่กำลังเติบโตแต่มีการแข่งขันสูงขึ้นเรื่อยๆ และโดยหลักแล้วคือ อุตสาหกรรมแบตเตอรี่ แม้ว่ายอดขายของ BEV : BEVย่อมาจาก Battery Electric Vehicleคือ รถยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรี่จะเพิ่มขึ้น แต่การขาดดุลวัสดุ และราคาที่คาดการณ์ไว้ก็สร้างความท้าทายที่สำคัญ โดยความต้องการแบตเตอรี่ทั้งหมดสำหรับรถยนต์โดยสารขนาดเล็กคาดว่าจะอยู่ที่ประมาณ 2.7 TWh (เทระวัตต์-ชั่วโมง)
" การรับประกันความยืดหยุ่นของแพลตฟอร์มแบตเตอรี่เพื่อรองรับวัสดุ และความจุที่หลากหลายนั้นเป็นสิ่งจำเป็น และผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่กำลังจัดตั้งบริษัทร่วมทุนกับผู้ผลิตเซลล์เพื่อให้แน่ใจว่ามีอุปทาน และคุณภาพของเซลล์แบตเตอรี่จะเพียงพอ และไม่กระทบต่อ ส่วนแบ่งการตลาดโดยรวม"
การเปลี่ยนผ่านในอุตสาหกรรมรถยนต์ และกำลังจะเกิดการเปลี่ยนผ่านอีกครั้งในอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า หรืออีวี กำลังสร้างความปั่นป่วนภายในอุตสาหกรรม และบทบาทของผู้เล่นไม่ว่าจะเป็นบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ หรือประเทศผู้ผลิตแร่หายากจากกลุ่มหนึ่งไปสู่อีกกลุ่มหนึ่ง
เทสลายังคงรักษาตำแหน่งสูงสุดไว้ได้ โดยเห็นได้จากรายได้ และกำไรที่เพิ่มขึ้นแม้จะมีแรงกดดันจากการแข่งขันที่สูงขึ้น จาก BYD ผู้ผลิตรถยนต์สัญชาติจีนที่หายใจรดต้นคอมาเป็นลำดับที่สอง ซึ่งปัจจัยส่งเสริมให้การแข่งขันนี้เข้มข้นมากขึ้นมาจากความสามารถในการผลิตทั้งแบตเตอรี่ และไมโครชิปนั่นเอง
พิสูจน์อักษร....สุรีย์ ศิลาวงษ์