อบก. สร้างการรับรู้ คาร์บอนเครดิต ป่าไม้ คำตอบสู่เป้าหมาย NET ZERO

อบก. สร้างการรับรู้ คาร์บอนเครดิต ป่าไม้ คำตอบสู่เป้าหมาย NET ZERO

จากเจตนารมณ์ของประเทศไทยที่ให้ความสำคัญสูงสุดต่อการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยจะยกระดับการแก้ไขอย่างเต็มที่และด้วยทุกวิถีทาง เพื่อให้บรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ภายในปี ค.ศ. 2050

และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Greenhouse Gas Emission) ภายในปี ค.ศ. 2065 องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) หรือ TGO เห็นถึง ความสำคัญและความจำเป็นในการขับเคลื่อนไปสู่เป้าหมาย Carbon Neutrality / Net Zero GHG Emissions และ การดำเนินงานเพื่อส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาโครงการลดก๊าซเรือนกระจกจากภาคส่วนต่าง ๆ จึงได้ริเริ่มดำเนิน โครงการจัดตั้งเครือข่ายคาร์บอนนิวทรัลประเทศไทย หรือ Thailand Carbon Neutral Network หรือ TCNN ขึ้น เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคท้องถิ่น/ชุมชนในการยกระดับการลดก๊าซเรือนกระจก สร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนบนสังคมที่เป็นมิตรต่อสภาพภูมิอากาศ และมุ่งสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ตามเจตนารมณ์ของประชาคมโลกที่ปรากฏในเป้าหมายของความตกลงปารีสว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ปัจจุบันเครือข่าย TCNN มีจำนวนสมาชิก 401 องค์กร (ข้อมูล ณ วันที่ 20 เม.ย. 66) และมี “องค์กรผู้นำด้านการ จัดการก๊าซเรือนกระจก” (Climate Action Leading Organization: CALO) ได้แสดงเจตนารมณ์ที่จะลดการ ปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพื่อมุ่งสู่การบรรลุเป้าหมายคาร์บอนนิวทรัล / การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ใน ระดับองค์กรแล้ว 77 องค์กร จึงเป็นที่น่ายินดีเป็นอย่างยิ่งที่องค์กร CALO มีความตั้งใจที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการ ขับเคลื่อนการดำเนินงานการลดก๊าซเรือนกระจก และสนับสนุนนโยบายของประเทศไทย และเป้าหมายของ ประชาคมโลก โดยให้ความสนใจพัฒนาโครงการคาร์บอนเครดิต ป่าไม้ เพราะเล็งเห็นว่าการปลูกป่าหรือการเพิ่มพื้นที่ สีเขียว นอกจากจะมีประโยชน์ในเรื่องการดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งเป็นสาเหตุของปัญหาโลกร้อนแล้ว ยังมี ผลประโยชน์ร่วมในเรื่องความหลากหลายทางชีวภาพ ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจและสังคม ลดปัจจัยเสี่ยงสุขภาพที่ เป็นผลจากมลพิษ 

 

เกียรติชาย ไมตรีวงษ์ ผู้อำนวยการองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก กล่าวว่า “TGO ซึ่งเป็น องค์กรส่งเสริมและต่อต้านการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในทุกรูปแบบ จากองค์กรธุรกิจ ภาครัฐ และเมือง ผ่านกลไก การประเมินการปล่อย ในลักษณะต่างๆ เพื่อให้ทราบถึงปริมาณที่แต่ละภาคส่วน มีส่วนร่วมในการทำให้โลกร้อนขึ้น มากน้อยอย่างไร สอดรับกับนโยบายของภาครัฐ หรือข้อกำหนดจากสากล และยังส่งเสริมให้เกิดโครงการ ลด ละ กักเก็บ ก๊าซเรือนกระจก โดยเป็นผู้ประเมินผลลัพธ์ได้อย่างถูกต้องและน่าเชื่อถือ ซึ่งได้แก่ โครงการคาร์บอนเครดิต T-VER นอกจากนั้น เรายังส่งเสริมให้สามารถใช้กลไกตลาดแลกเปลี่ยน (Offset) คาร์บอนเครดิต เพื่อใช้ลดคาร์บอน ฟุตพริ้นท์ตามมาตรฐานสากลอีกด้วย TGO ได้มีการพัฒนาระเบียบวิธีการตรวจวัด รายงาน และทวนสอบ (Measurement, Reporting and Verification: MRV) ของกลไกการรับรองคาร์บอนเครดิตและคาร์บอนฟุตพริ้นท์ ซึ่งมีมาตรฐานเทียบเท่าสากล โดยกระบวนการทวนสอบต้องผ่านผู้ประเมินภายนอก หรือ Third party ที่ดำเนินการ ด้วยความเป็นกลาง มีมาตรฐานการทำงานอย่างเป็นระบบสอดคล้องตามมาตรฐานการรับรองระบบงาน (ISO 14065) และผ่านการอนุมัติจากคณะกรรมการ TGO ซึ่งมีองค์ประกอบของภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคการศึกษา และหน่วยงาน อิสระ ดังนั้น จึงเป็นส่วนสำคัญที่แสดงถึงความน่าเชื่อถือ โปร่งใส ตรวจสอบได้”

อบก. สร้างการรับรู้ คาร์บอนเครดิต ป่าไม้ คำตอบสู่เป้าหมาย NET ZERO อบก. สร้างการรับรู้ คาร์บอนเครดิต ป่าไม้ คำตอบสู่เป้าหมาย NET ZERO อบก. สร้างการรับรู้ คาร์บอนเครดิต ป่าไม้ คำตอบสู่เป้าหมาย NET ZERO