ปี 2566 Green Bond กลับมาเติบโตอีกครั้ง

ปี 2566 Green Bond กลับมาเติบโตอีกครั้ง

ผลิตภัณฑ์ทางการเงินในช่วงที่ผ่านมามีเงื่อนไขการนำเสนอตัวเองที่ต่างกันไป เดิมทีอาจต้องใช้ผลประกอบการ โอกาสทำกำไร แต่ปัจจุบัน การเกิดขึ้นของพันธบัตรสีเขียว กำลังเป็นผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่น่าจับตามอง

บริษัทS&P Global Ratings (S&P) ได้เผยแพร่รายงาน ถึงคาดการณ์พันธบัตรเพื่อสิ่งแวดล้อม สังคม ความยั่งยืน  หรือ green, social, sustainable, and sustainability-linked bond (GSSSB) โดยประเมินว่าพันธบัตรประเภทนี้จะกลับมาเติบโตได้ในปี 2566 นี้ และมากกว่านั้นยังพบโอกาสการขยายตลาดออกไปได้อีกท่ากลางความไม่แน่นอนของท่าทีภาครัฐ การปรับปรุงด้านการเงิน และการจัดอันดับสินทรัพย์เพื่อตอบสนองเครดิต 

ตามสาระสำคัญที่ระบุไว้ในรายงาน“Sustainable Bond Issuance Will Return To Growth In 2023,จัดทำโดย S&P ที่เผยแพร่ออกมา ระบุว่า รายงานเชื่อได้ว่าในปี2566 นี้ พันธบัตรเพื่อความยั่งยืนทั่่วโลกจะกลับมาเติบโตอีกครั้ง โดยคาดว่าจะมีมูลค่าสูงถึง 900 พันล้านดอลลาร์ -1ล้านล้านดอลลาร์ ซึ่งใกล้เคียงกับสถิติในปี 2564 ที่มีมูลค่าที่ 1.06 ล้านล้านดอลลาร์ Dennis Sugrue ผู้อำนวยการอาวุโส 

S&P Global Ratings กล่าว 

พร้อมระบุว่า ในช่วงปี 2565 ที่ผ่านมา การดำเนินโยบายการเงินแบบหดตัวและความไม่แน่นอนของเศษรฐกิจมหภาคได้ฉุดรั้้งการออกพันธบัตรทั่วโลก ในทัศนะของรายงานได้ชี้ว่า การออกพันธบัตรโดยรวมทั่วโลกจะเติบโตในระดับกลางๆเท่านั้นในช่วงปี 2566 นี้ อย่างไรก็ตาม    S&P คิดว่าการเติบโตอย่างรวดเร็วสำหรับการออกGSSSB นั้นจะนำไปสู่ส่วนแบ่งตลาดขนาดใหญ่ซึ่งสินทรัพย์นี้สามารถครอบคลุมด้วยการก้าวข้ามด้านภูมิภาคและภาคส่วนธุรกิจที่ต่างออกไปด้วย 

แม้รายงานดังกล่าวจะมีมุมมองในทางบวกแต่ในความเป็นจริงธนาคารกลางหลายแห่งยังมีแผนขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างต่อเนื่อง เช่น 

คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ครั้งที่ 1 /2566 ( 25 ม.ค. 2566) มีมติเอกฉันท์ขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย0.25%ต่อปี จาก 1.25% เป็น 1.50% โดยมีผลทันทีนั้นจะกระทบต่อแผนส่งเสริมสินเชื่อเพื่อความยั่งยืนของสถาบันการเงินต่างหรือไม่ 

จอร์โจ กัมบา ประธานคณะเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารเอชเอสบีซีประเทศไทย ระบุว่า การขึ้นอัตราดอกเบี้ยอาจส่งผลกระทบระยะสั้นต่อดีมานด์ด้านการขอสินเชื่อ ทั้งสินเชื่อแบบปกติและสินเชื่อเพื่อความยั่งยืน อย่างไรก็ตาม ความจำเป็นเร่งด่วนของการเปลี่ยนผ่านสู่เศรษฐกิจคาร์บอนต่ำก็ไม่ได้ลดลง และเนื่องจากการเงินสีเขียวและการเงินเพื่อความยั่งยืนยังมีแรงจูงใจคือสามารถช่วยให้ธุรกิจสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ด้านความยั่งยืนได้ 

ดังนั้น การขึ้นของอัตราดอกเบี้ยจึงอาจเป็นปัจจัยกระตุ้นที่ทำให้องค์กรธุรกิจต่างๆหันมาสนใจขอสินเชื่อเพื่อความยั่งยืน เพื่อนำไปลงทุนในโครงการสีเขียวเพิ่มมากขึ้น ก็เป็นได้ เนื่องจากประเทศไทย มีความจำเป็นต้องลงทุนด้านเทคโนโลยีเพื่อการลดก๊าซเรือนกระจกอีกเป็นจำนวนมาก ดังนั้น ภาครัฐและหน่วยงานภาครัฐที่กำกับดูแลจึงควรออกอินเซนทีฟ เช่นการลดภาษีหรืออัตราดอกเบี้ยต่ำสำหรับกิจกรรมหรือโครงการธุรกิจสีเขียว เพื่อสร้างแรงจูงใจให้ภาคธุรกิจหันมาลงทุนด้านนี้กันมากขึ้น และช่วยให้ประเทศไทยบรรลุเป้าหมาย net zero ได้ตามที่ตั้งเป้าไว้

สอดคล้องกับการหารือในเวที World Economic Forum (WEF) ประจำปี 2566 ณ เมืองดาวอส สมาพันธรัฐสวิส ช่วงต้นเดือนม.ค.ที่ผ่านมาซึ่งกระทรวงการคลังของไทยได้ร่วมการเสวนาหัวข้อบทบาทของผู้นำอาเซียนในการเปลี่ยนผ่านพลังงานที่เป็นธรรม (ASEAN Leaders for Just Energy Transitions) ซึ่งไทยได้เน้นย้ำการให้ความสำคัญต่อปัญหาสิ่งแวดล้อมของไทย โดยไทยได้ตั้งเป้าหมายที่จะบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี 2593 และปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี 2608 รวมถึงได้ปรับปรุงเป้าหมายการดำเนินงานในการลดก๊าซเรือนกระจกและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Nationally determined contributions: NDCs) พร้อมเดินหน้าบทบาทของกระทรวงการคลังในการเปลี่ยนผ่านดังกล่าว อาทิ การระดมทุนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Finance) ไม่ว่าจะเป็นพันธบัตรเพื่อความยั่งยืน (Sustainable Bond) หรือตราสารหนี้ข้ามพรมแดน และการออกมาตรการเพื่อสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานด้วย

ความจำเป็นเร่งด่วนเพื่อดูแลสิ่งแวดล้อมไม่ใช่โจทย์ของใครคนใดคนหนึ่ง แต่เป็นความจำเป็นที่ทุกฝ่ายต้องร่วมกันบรรลุเป้าหมายโดยมีเครื่องมือทางการเงินเป็นตัวช่วยให้เป้าหมายไม่ไกลเกินไป