ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน (1) เพื่ออนาคตที่ยั่งยืน

ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน (1) เพื่ออนาคตที่ยั่งยืน

ความหมาย : ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน หรือ Circular economy หมายถึงระบบเศรษฐกิจที่มีแบบจำลองเกี่ยวกับการผลิต (Production) และการบริโภค (Consumption) ในลักษณะเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับ การแบ่งปัน (Sharing) การให้เช่า (Leasing) การใช้ซ้ำ (Reusing) การซ่อมแซม (Repairing)

 การทำให้ใหม่ (Refurbishing) การนำกลับมาใช้ซ้ำ (Recycling)  

 โดยเป็นกิจกรรมที่ทำให้ทรัพยากรที่เป็นวัตถุดิบ และสินค้า (Existing materials and products) ถูกยืดอายุการใช้งานให้นานที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้

ในทางปฏิบัติ :การขับเคลื่อน Circular economy ถูกคาดหวังว่า ขยะจะเกิดขึ้นน้อยลง (เพราะการยืดอายุการใช้งานของผลิตภัณฑ์ ทำให้ช่วยชะลอการใช้วัตถุดิบ อีกทั้งมีกระบวนการใช้ซ้ำ ทำให้การเพิ่มขยะมีอัตราการเติบโตที่ลดลง

ในทางเศรษฐศาสตร์ : มีการวิพากษ์วิจารณ์ระบบเศรษฐกิจแบบเดิมว่า มีรูปแบบ “A take-make-consume-throw away pattern” ซึ่งมีความเจ็บแสบอยู่พอสมควรเพราะกล่าวหาว่าระบบเศรษฐกิจแบบเดิมที่เป็นอยู่นั้นเอาแต่เน้นเอาทรัพยากรมาผลิตให้ได้มากๆ จะได้มีต้นทุนต่ำๆ แต่ก็ต้องใช้วัตถุดิบ และพลังงานเป็นจำนวนมาก จากนั้นก็ส่งเสริมให้บริโภคมากๆ จะได้ขายได้มากๆ บริโภคเสร็จก็จะเกิดขยะกันมากขึ้นเป็นทวีคูณ

นอกจากนี้ ผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่จากระบบเศรษฐกิจแบบเดิมมีลักษณะอายุสั้น (A limied lifespan) เพราะต้องเร่งให้บริโภค และกระตุ้นให้รีบกลับมาซื้ออีก

นอกจากนี้ ผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่จากระบบเศรษฐกิจแบบเดิมมีลักษณะอายุสั้น (A limied lifespan) เพราะต้องเร่งให้บริโภค และกระตุ้นให้รีบกลับมาซื้ออีก

ทำไมเราถึงต้องการ Circular economy

-ประชากรโลกมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ส่งผลให้เกิดความต้องการทรัพยากรธรรมชาติ และทรัพยากรอื่นๆเพิ่มขึ้น แต่อุปทานของทรัพยากรเหล่านั้นมีจำกัด

-การใช้ทรัพยากรอย่างมหาศาลส่งผลต่อความเสื่อมโทรมในสภาพแวดล้อมของโลก นอกจากนี้กระบวนการเปลี่ยนวัตถุดิบเป็นสินค้า และบริการยังต้องใช้พลังงานจำนวนมาก (Energy consumption) และเป็นแหล่งสำคัญในการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกสู่ชั้นบรรยากาศ ( CO2 emissions) มีการคาดการณ์ว่ากระบวนการใช้ทรัพยากรผลิตสินค้าบริการ เป็นแหล่งใหญ่ถึง 45% ในการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์

ประโยชน์ของ Circular economy

-ช่วยลดความกดดันเรื่องการทำลายสภาพแวดล้อม

-ช่วยปรับปรุง รักษาไม่ให้อุปทานของทรัพยากรธรรมชาติที่มีจำกัดลดลงเร็วเกินไป

-ช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจให้เกิดความยั่งยืนที่แท้จริง

-ช่วยกระตุ้นให้เกิดการพัฒนานวัตกรรมที่เกี่ยวข้อง

-ช่วยกระตุ้นให้เกิดการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง และการเติบโตของเศรษฐกิจโดยรวม

-ช่วยสร้างงานใหม่ๆ ให้เกิดขึ้นในอุตสาหกรรมต่างๆ

ผลประโยชน์เหล่านี้ยังตกไปถึงผู้บริโภคที่จะได้รับผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ที่มีความคงทนถาวรมากขึ้น (More durable) และมีนวัตกรรมที่ก้าวหน้าขึ้น (Innovative) ซึ่งยังคงดีต่อคุณภาพของชีวิตและคุ้มค่า ประหยัดเงินที่จ่ายไป

 

 

 

พิสูจน์อักษร....สุรีย์  ศิลาวงษ์