"ราคาน้ำมัน"บนฐานดีมานต์สูงหนุน"พลังงานทดแทน"เร่งตัว"แย่งส่วนแบ่งตลาด

"ราคาน้ำมัน"บนฐานดีมานต์สูงหนุน"พลังงานทดแทน"เร่งตัว"แย่งส่วนแบ่งตลาด

ปี 2022 ที่กำลังจะผ่านไป "ราคาน้ำมัน" เป็นหัวข้อสำคัญของทุกคน ไม่ว่าจะเป็นด้านเศรษฐกิจ มหภาคและครัวเรือน เพราะน้ำมันเป็นต้นทุนและต้นเหตุของปัญหาเศรษฐกิจที่ทำให้ค่าครองชีพสูงขึ้น

การประชุม World Oil Outlook (WOO)  ของกลุ่มองค์กรร่วมประเทศผู้ผลิตน้ำมันเพื่อการส่งออก หรือ OPEC มีการประเมินสถานการณ์"น้ำมันและพลังงาน"ในระยะกลางและยาว หรือมองไปถึงอีก 20 กว่าปีข้างหน้า คือ 2045สาระสำคัญการประชุมชี้ว่า เรื่องของพลังงงานจากนี้ ไม่ใช่แค่การมองตลาดราคา  หรือ ดีมานด์ซับพลายเท่านั้น แต่ต้องมองไปถึงความสามารถการเข้าถึงพลังงาน สามารถหาซื้อได้ด้วย นอกจากนี้ก็ต้องพูดถึงประเด็นเรื่องความมั่นคงด้านพลังงาน คือ มีใช้ในยามฉุกเฉิน และ ที่น่าสนใจคือพลังงานนั้นๆ ต้องไม่ปลดปล่อยก๊าซที่ทำลายสิ่งแวดล้อม 
"ปัจจัยเหล่านี้ผลักดันและสร้างความเกี่ยงข้องเชื่อมโยงทั้งหมดของธุรกิจพลังงานทั้งฝั่งอุปสงค์และอุปทานพลังงาน การกลั่น รวมไปถึงเศรษฐกิจโลก นโยบายและการพัฒนาเทคโนโลยี โครงสร้างประชากร สิ่งแวดล้อมและประเด็นการพัฒนาที่ยั่งยืน"
 

ฮาทาม อัล ไกส์ ( Haitham Al Ghais) เลขาธิการOPEC กล่าวว่า การประชุม WOO ปี 2022 นี้ เป็นการได้ย้ำความซับซ้อนของอุตสาหกรรมน้ำมันและพลังงานซึ่่งมีประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมเข้ามาท้าทายภาคอุตสาหกรรมนี้ อย่างไรก็ตาม หากวิเคราะห์อย่างละเอียดก็จะพบว่า เรื่องดังกล่าวเป็นได้ทั้งความท้าทายและโอกาสต่อภาคอุตสาหกรรมในอนาคต 
โดยที่ประชุมคาดว่าขนาดเศรษฐกิจโลกจะขยายตัวเพิ่มเป็น 2 เท่าและจำนวนประชากรจะเพิ่มขึ้น 1.6 พันล้านคน จากปัจจุบันจนถึง 2545 หรือ อีก 20 ปีข้างหน้า ด้านความต้องการใช้พลังงานนี้ พยากรณ์ว่าจะยังเติบโตต่อเนื่องในระยะกลางและระยะยาวโดยเพิ่มอย่างมีนัยสำคัญถึง 23% ในช่วงเวลาเดียวกัน  ส่วนปริมาณความต้องการเฉลี่ยต่อปีจะอยู่ที่ 2.7 ล้านบาร์เรลต่อวันในปี 2045
 

แม้ว่า"น้ำมัน"ยังเป็นพลังงานที่มีส่วนแบ่งสูงสุดในกลุ่มพลังงานรูปแบบต่างๆ สัดส่วน 29% ในปี 2045 แต่พลังงานหมุนเวียน ได้แก่ โซลาร์ ลม พลังงานความร้อนใต้พิภพ (Geothermal Energy) จะมีสัดส่วนขยายตัวได้ถึง 7.1% โดยเฉลี่ย ซึ่งเป็นสัดส่วนที่เติบโตเร็วหากเทียบกับแหล่งพลังงานอื่นๆ
"ความต้องการเชื้อเพลิงทุกชนิดสูงขึ้น ยกเว้นกลุ่มถ่านหินโดยรวมแล้วความต้องการน้ำมันอย่างเดียวคาดว่าจะเพิ่มขึ้นจาก 97 ล้านบาร์เรลต่อวันในปี 2564 เพิ่มขึ้นเป็น 110 ล้านบาร์เรลต่อวันในปี 2045"
ด้านกลุ่มไม่ใช่สมาชิกโอเปค จะขับเคลื่อนความต้องการน้ำมันให้ขยายเพิ่มขึ้นใกล้เคียงที่ 24 ล้านบาร์เรลต่อวัน ซึ่งมากกว่าคาดการณ์ไว้ในช่วงเวลาดังกล่าว ส่วนกลุ่ม OECD (องค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ ปัจจุบันมีสมาชิก 34ประเทศ ) จะมีต้องการการลดลงอยู่ที่ 10 ล้านบาร์เรลต่อวัน ในช่วงเวลา 20 ปี จากนี้ 
 ส่วนความต้องการในอุตสาหกรรมการบินพบว่าจะมีเพียง 4.1 ล้านบาร์เรลต่อวัน ในช่วง 20 ปีนี้ เพราะอยู่ในช่วงการฟื้นตัวหลังได้รับผลกระทบจากโควิด-19 เช่นเดียวกับการขนส่งทางบกและปิโตรเคมี
คาดการณ์ว่ากลุ่มน้ำมันทั่วโลกจะมีการลงทุนสะสม ที่ 12.1 พันล้านดอลลาร์สำหรับอุตสาหกรรมต้นน้ำ กลางน้ำและปลายน้ำ ในปี 2045 หรือมีมูลค่าเฉลี่ยราว 500 พันล้านดอลลาร์ต่อปี 
อย่างไรก็ตาม อุตสาหกรรมพลังงานจะมุ่งเป้าไปที่การให้ความสำคัญต่อ ESG  ได้แก่ สิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล environmental, social, and governance (ESG) 
การเพิ่มความร่วมมือระหว่างกันจะมุ่งไปสู่เป้าหมายร่วมกันว่าด้วยความสมดุลในการผลักดันร่วมกันต่อข้อตกลงปารีส Paris Agreement และการเชื่อมโยงซึ่งกันและกันสู่เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนSustainable Development Goals
สำหรับข้อตกลงความตกลงปารีส (Paris Agreement) ข้อมูลจากกระทรวงการต่างประเทศ อธิบายว่ามีสาระสำคัญสรุปดังนี้ 
      (1) ประเทศต่าง ๆ ตั้งเป้าหมายร่วมกันขั้นพื้นฐานที่จะรักษาการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิเฉลี่ย ของโลกให้ต่ำกว่า 2 องศาเซลเซียส และในขณะเดียวกัน กำหนดเป้าหมายที่สูงขึ้นไว้ควบคู่กันว่าจะพยายามรักษาการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกให้น้อยลงไปอีกจนถึงต่ำกว่า 1.5 องศาเซลเซียส หากสามารถกระทำได้ โดยการดำเนินการดังกล่าวจะยึดหลักความเป็นธรรม (equity) และหลักความรับผิดชอบร่วมกันในระดับที่แตกต่างของประเทศพัฒนาแล้วและประเทศกำลังพัฒนาด้วย โดยคำนึงถึงศักยภาพของแต่ละประเทศตามสภาวการณ์ของประเทศที่แตกต่างกัน (common but differentiated responsibilities and respective capabilities, in the light of different national circumstances)
      (2) ความตกลงฯ ครอบคลุมการดำเนินการในประเด็นต่าง ๆ อาทิ (1) การลดก๊าซเรือนกระจก (2) การปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (3) การเพิ่มความสามารถในการฟื้นตัวจากผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (4) ความโปร่งใสของการดำเนินการ และ (5) การให้การสนับสนุนในด้านต่าง ๆ ซึ่งรวมถึงทางการเงิน โดยรัฐภาคีต้องมีข้อเสนอการดำเนินการที่เรียกว่า nationally determined contribution (NDC) ของประเทศทุก ๆ 5 ปี