โมเดล“ธุรกิจคาร์บอนต่ำ” เสริมขีดแข่งขันใหม่ทางการค้า

โมเดล“ธุรกิจคาร์บอนต่ำ” เสริมขีดแข่งขันใหม่ทางการค้า

การสร้างมูลค่าเพิ่มให้ธุรกิจปัจจุบันนี้มีช่องทางใหม่ว่าด้วย การสร้างความยั่งยืนและการใส่ใจสิ่งแวดล้อมผ่านการลดสัดส่วนการปล่อยคาร์บอน และก๊าซเรือนกระจก ทั้งที่เกิดจากกระบวนการผลิตสินค้าหรือบริการนั้นๆ และการสร้างคาร์บอนจากการปฎิบัติการขององค์กรเอง

ล่าสุดกระทรวงพาณิชย์ และ องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน)ร่วมลงนามMOU  “การทำธุรกิจคาร์บอนต่ำ”เพื่อผลักดัน SMEs ให้สามารถรับคาร์บอนฟุตพริ้นท์

  กีรติ รัชโน ปลัดกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า การผลักดัน ส่งเสริม และสนับสนุนผู้ประกอบการไทยในด้านการ บริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก เพื่อให้ผู้ประกอบการไทยสามารถปรับตัวและเข้าถึงการบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก การลดการปลดปล่อยคาร์บอนในการดำเนินธุรกิจ และสามารถประกอบธุรกิจได้อย่างยั่งยืนและสามารถ แข่งขันด้านการค้าระหว่างประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสร้างการรับรู้ที่ยั่งยืน

“สร้างขีดความสามารถทางการแข่งขันด้านการสร้างความเชื่อมั่นให้กับสินค้าและบริการของไทยให้เป็นที่ยอบรับใน ระดับสากล และยังช่วยสร้างคุณภาพสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิตที่ดีด้วย”

เกียรติชาย ไมตรีวงษ์ ผู้อำนวยการองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก หรือ TGO กล่าวว่า การสนับสนุนทางเทคนิคและจัดให้มีแนวทางที่เกี่ยวข้องกับการตรวจวัด รายงาน ทวนสอบ และให้การ รับรองปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก การส่งเสริมให้เกิดการลดและการชดเชยคาร์บอน ยินดีให้ความร่วมมือ เพื่อส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพ ตลอดจนให้คำแนะนำเกี่ยวกับการจัดการก๊าซเรือนกระจกแก่DITP ซึ่งสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ในการเป็นองค์กรหลักขับเคลื่อนให้เกิดการลดก๊าซเรือนกระจก เพื่อให้ประเทศไทยมุ่งสู่เศรษฐกิจสังคมคาร์บอนต่ำอย่างยั่งยืน

โมเดล“ธุรกิจคาร์บอนต่ำ” เสริมขีดแข่งขันใหม่ทางการค้า

ภูสิต รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กล่าวว่า หน้าที่หลัก ของ DITP คือการส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ขยายช่องทางการค้า รวมทั้งพัฒนาและสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับ สินค้าและบริการ เพื่อผลักดันให้ผู้ส่งออกไทยเปิดตลาดต่างประเทศ สามารถแข่งขันและรักษาตลาดต่างประเทศ ได้อย่างยั่งยืน พร้อมกันนี้ รัฐบาลได้ให้ความสำคัญกับพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน โดยกำหนดให้ Bio-Circular- Green Economy เศรษฐกิจชีวภาพ-เศรษฐกิจหมุนเวียน-เศรษฐกิจสีเขียว หรือ BCG Model เป็นโมเดล เศรษฐกิจใหม่และสร้างการรับรู้ทางการค้าสีเขียว เพื่อยกระดับการพัฒนาอุตสาหกรรมให้สามารถแข่งขันได้อย่างยั่งยืน

การค้าของไทยในอนาคต จะต้องปรับตัวเนื่องจากเกิดการกีดกันทางการค้าจากต่างประเทศ ในอนาคตสินค้าสีเขียวจะเป็นพื้นฐานการค้าขายในอนาคตอย่างแน่นอน

โดยได้เร่งดำเนินการทั้งในด้านพัฒนาและส่งเสริมผู้ประกอบการ โดยสร้างผู้ประกอบการนำร่อง ที่ เรียกว่า BCG Heroes และส่งเสริม SMEs รายใหม่ๆ ให้สามารถนำความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ผลักดันให้ เกิดการยกระดับประสิทธิภาพการผลิต ลดความสูญเสียในกระบวนการผลิตให้เป็นศูนย์ การหมุนเวียนทรัพยากร กลับมาใช้ หรือ การนำไปสร้างมูลค่าเพิ่มตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน อาทิ  โครงการ DEsign from Waste of Agriculture and Industry พัฒนาผลผลิตเหลือใช้ทางการเกษตรและอุตสาหกรรมเพื่อแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์เชิง สร้างสรรค์สู่ตลาดสากล (DEWA & DEWI) 

ส่วนโครงการล่าสุดนี้ คือ โครงการเสริมสร้างศักยภาพและส่งเสริม ผู้ประกอบการไทยสู่ความยั่งยืน (BCG Heroes to Low Carbon Pioneers) โดยให้ความรู้และฝึกอบรมเชิง ปฏิบัติการด้านการลดการปลดปล่อยคาร์บอนในวัฏจักรผลิตภัณฑ์ และไปสู่การขอรับรองคาร์บอนฟุตพริ้นท์ต่อไป มุ่งเน้นการยกระดับผู้ประกอบการไทยเตรียมความพร้อมด้านการค้า สร้างการรับรู้ให้กับผู้ประกอบการเข้าใจถึง ความสำคัญและประโยชน์ของการดำเนินธุรกิจแบบคาร์บอนต่ำที่เริ่มลงมือปฏิบัติและจัดทำแผนลดการปลดปล่อย คาร์บอนในตัวสินค้ามาจัดแสดงในวันนี้ด้วย 

ในปัจจุบัน (ปี 2565) 10 สินค้าจากทั้งสิบรายนี้ ได้ประเมินการ ปล่อยคาร์บอน รวมทั้งปี 9,696,467 KgCO2 e โดยตั้งเป้าหมายที่ท้าทาย ภายในสิ้นปี 2566 ผู้ประกอบการทั้ง 10 ราย จะสามารถลดการปล่อยคาร์บอนจากเดิม เฉลี่ย 20 – 50% คาดว่าจะสามารถเป็นส่วนหนึ่งในการลด การปล่อยคาร์บอน 3,183,805 KgCO2 e ในปี 2566 จากผู้ประกอบการนำร่อง 10 ราย

ภายในปี 2567 กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ มีเป้าหมายในการส่งเสริมผู้ประกอบการส่งออก สร้างความเข้มแข็งทางการค้าและสร้างมูลค่าเพิ่มด้วยเครื่องมือทางการตลาด อีกทั้งสร้างผู้ประกอบการ BCG Heroes กว่า 200 ราย และผลักดันให้เป็นผู้ประกอบการที่ดำเนินธุรกิจคาร์บอนต่ำ “BCG Low Carbon Pioneers” สามารถลดการปล่อยคาร์บอนอย่างเป็นรูปธรรม 30 - 40 ราย

การสร้างความแตกต่างทางธุรกิจด้วยการทำให้ธุรกิจมีแต้มต่อจากการใส่ใจสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืนจะเป็นการสร้างขีดความสามารถการแข่งและยกระดับธุรกิจสู่สากลได้