การท่องเที่ยว “คาร์บอนต่ำ” สู่ยุคใหม่แห่งอนาคต

การท่องเที่ยว “คาร์บอนต่ำ” สู่ยุคใหม่แห่งอนาคต

การท่องเที่ยว “คาร์บอนต่ำ” ถือเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ผู้ประกอบการเริ่มให้ความสำคัญ ควบคู่กับการออกแบบ รูปแบบการท่องเที่ยวใหม่ๆ ให้กับนักท่องเที่ยว กิจกรรมที่เกิดจากการเดินทางท่องเที่ยวอาจก่อให้เกิดการปล่อยก๊าซคาร์บอนสู่ชั้นบรรยากาศ

เป็นส่วนหนึ่งที่เร่งให้เกิดผลกระทบที่ร้ายแรงต่อสิ่งแวดล้อมและโลกใบนี้ เพื่อเป็นการช่วยลดโลกร้อนนักท่องเที่ยวและผู้ประกอบการการท่องเที่ยวเริ่มให้ความสำคัญกับการท่องเที่ยวแบบ คาร์บอนต่ำ Low Carbon Tourism

องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก หรือ TGO และ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ทดสอบเส้นทางการท่องเที่ยวแบบคาร์บอนต่ำหรือ Low Carbon Tourism ณ พื้นที่จังหวัดภูเก็ต-พังงา 1 ใน 20 เส้นทางต้นแบบคาร์บอนต่ำ ที่มุ่งเน้นการทำกิจกรรมลดการใช้พลังงานไฟฟ้า พลังงานเชื้อเพลิง เปลี่ยนมาใช้พลังงานสะอาด ลดการใช้สารเคมีในกระบวนการต่างๆ เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ออร์แกนิคจากธรรมชาติ รวมไปถึงลดการใช้วัสดุสิ้นเปลืองเพื่อลดปริมาณขยะให้น้อยลง

ซึ่งกระบวนการต่างๆ เหล่านี้จะช่วยลดก๊าซเรือนกระจกลงได้ จากนั้นก็ทำการชดเชยปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่เหลือปล่อยที่ออกมาจากกิจกรรมท่องเที่ยวในเส้นทางนั้นๆ โดยการซื้อคาร์บอนเครดิตจากโครงการ T-VER มาชดเชย เพื่อให้การปล่อยก๊าซเรือนกระจกเกิดความสมดุลกับค่าการลดคาร์บอน และเท่ากับศูนย์ หรือ Carbon Neutral

 โดยมีวัตถุประสงค์ในการพัฒนาศักยภาพด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศให้แก่บุคลากรในภาครัฐและภาคเอกชนของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวอย่างมีประสิทธิภาพ และเพื่อสนับสนุนให้เกิดการขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศร่วมกัน อย่างเป็นรูปธรรมในประเทศไทย ซึ่ง ททท. ได้ดำเนินการออกแบบและสร้างสรรค์เส้นทางการท่องเที่ยว สินค้าและบริการทางการท่องเที่ยว ต้นแบบการท่องเที่ยวคาร์บอนต่ำทุกภูมิภาคทั่วประเทศ เพื่อนำเสนอให้ ททท. สำนักงานสาขาทั้งในประเทศและต่างประเทศ บริษัทนำเที่ยวและหน่วยงานพันธมิตรทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ในการนำไปพัฒนาเส้นทางและรูปแบบกิจกรรมทางการท่องเที่ยวเสนอขายต่อไป

สอดคล้องกับการประชุมทางด้านเอเปค โดย ทิพานัน ศิริชนะ รองโฆษกรัฐบาล กล่าวว่า มีรองรับการขยายตัวทางด้านเศรษฐกิจของภูมิภาคและของโลก กำหนดทิศทางการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนภายใต้แนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจ BCG ที่เป็นประเด็นหลักของการประชุมเอเปคในครั้งนี้ ทำให้นานาชาติเห็นความสำคัญของ BCG มากขึ้น เพราะไม่เพียงสร้างรายได้ใหม่ให้กับประเทศ แต่ยังเสริมสร้างภาพลักษณ์ และความเชื่อมั่นว่าไทยเป็นประเทศที่น่าอยู่ น่าลงทุน น่าท่องเที่ยว และยังใส่ใจสิ่งแวดล้อมช่วยแก้ปัญหาโลกร้อน ด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG ที่มีรูปแบบผสมผสานระหว่างเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียนและเศรษฐกิจสีเขียว สอดคล้องกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

โดยผลสำเร็จจากการประชุมเอเปคครั้งนี้ ประเทศไทยได้รับประโยชน์ในหลากหลายมิติ ที่รัฐบาลได้วางรากฐานเพื่อส่งต่ออนาคตที่ดีให้กับคนรุ่นถัดไป ดังนั้นแม้การประชุมจะเสร็จสิ้นลงแล้ว แต่ภารกิจการขับเคลื่อนให้บรรลุเป้าหมายในการพัฒนาประเทศยังคงดำเนินต่อไปโดยอาศัยปัจจัยสำคัญคือ การมีส่วนร่วมของพี่น้องประชาชน ความร่วมมือร่วมใจของพี่น้องประชาชนในการเป็นเจ้าบ้านที่ดี มอบรอยยิ้ม และ ข้อมูลที่ถูกต้อง การดำเนินกิจกรรมเคลื่อนไหวต่างๆ ในทิศทางที่สร้างสรรค์สงบเพื่อสร้างบรรยากาศที่ดีรองรับโอกาสในการพัฒนาเศรษฐกิจให้ไทยกลับมาเติบโต เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตและลดเหลื่อมล้ำทางสังคม

เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตและลดเหลื่อมล้ำทางสังคมได้โดยเร็วโดยผลสำเร็จจากการประชุมเอเปคครั้งนี้ ประเทศไทยและประชาชนทุกคนจะได้รับประโยชน์ในหลากหลายมิติ ที่รัฐบาลได้วางรากฐานเพื่อส่งต่ออนาคตทให้กับคนรุ่นถัดไป ดังนั้นแม้การประชุมจะเสร็จสิ้นลงแล้ว แต่ภารกิจการขับเคลื่อนให้บรรลุเป้าหมายในการพัฒนาประเทศเพื่อความอยู่ดีกินดีของพี่น้องประชาชนยังคงดำเนินต่อไปโดยอาศัยปัจจัยสำคัญคือ การมีส่วนร่วมของพี่น้องประชาชน ความร่วมมือร่วมใจของพี่น้องประชาชน การดำเนินกิจกรรมเคลื่อนไหวต่างๆ ในทิศทางที่สร้างสรรค์สงบเพื่อสร้างบรรยากาศที่ดีรองรับโอกาสในการพัฒนาเศรษฐกิจให้ไทยกลับมาเติบโต