Wood Pellets พลังงานใหม่ ตัวช่วยเข้าใกล้เป้าหมาย Carbon Neutrality

Wood Pellets  พลังงานใหม่ ตัวช่วยเข้าใกล้เป้าหมาย Carbon Neutrality

อุตสาหกรรมการผลิตเชื้อเพลิงชีวมวลอัดเม็ด (Wood Pellets) เป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมในกลุ่ม BCG economy ที่มีแนวโน้มเติบโตตามกำลังการผลิตของโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน ที่ได้รับการสนับสนุนและส่งเสริมจากภาครัฐของทั่วโลกมากขึ้นในอนาคต หลังหลายประเทศ เช่น ญี่ปุ่น เกาหลีใต้

ที่มีการใช้ Wood Pellets ในการผลิตไฟฟ้ามีเป้าหมายที่จะเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ภายในปี 2593 โดยอุตสาหกรรมการผลิต Wood Pellets เป็นอุตสาหกรรมที่แปรรูปเชื้อเพลิงชีวมวล เช่น เศษไม้ยางพารา ทะลายปาล์ม ฟางข้าว ให้เป็น Wood Pellets เพื่อนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงในโรงไฟฟ้าชีวมวล โรงไฟฟ้าถ่านหิน และโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งจะทำให้สามารถผลิตพลังงานความร้อน และผลิตไฟฟ้า อีกทั้งยังปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในกระบวนการผลิตน้อยกว่าการใช้เชื้อเพลิงทั่วไป
      ข้อมูลจากสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงโซล ระบุบถึงสถานการณ์ตลาด Wood Pelletในเกาหลีใต้ (ปี2561) ราคาการส่งออก Wood Pellet ในปี 2017 ราคาเฉลี่ยในการส่งออกเชื้อเพลิง Wood Pellet อยู่ที่ 115 เหรียญสหรัฐ และราคาที่ต่ำที่สุดในบรรดาประเทศส่งออก คือประเทศเวียดนาม อยู่ที่ 113 ดอลลาร์สหรัฐ 

โดยเกาหลีใต้นำเข้าจากประเทศแคนาดา ในราคาเฉลี่ยอยู่ที่ 129 เหรียญสหรัฐ และจากประเทศไทย อยู่ที่ราคา 116 ดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งถือสูงกว่าประเทศส่งออกประเทศอื่นในอาเซียน ในบรรดาประเทศผู้ส่งออก เวียดนามส่งออกเชื้อเพลิง Wood Pellet 1,515,203 เมตริกตันคิดเป็นมูลค่า 171 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ถือเป็น 61% ของตลาดพลังงาน Wood Pellet  ตามด้วยมาเลเซีย 405,431 ตันคิดเป็นมูลค่า 47 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ถือเป็น 17% ของไทยที่ส่งออก 94,597 เมตริกตัน มูลค่า 11 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และคิดเป็น 4% ของตลาด Wood Pellet ทั้งหมดในปี 2017

ซึ่งสอดคล้องกับข้อของมูลค่าอุตสาหกรรมการผลิต Wood Pellets มีแนวโน้มเติบโตเฉลี่ยปีละ 17% CAGR จาก 1.4 พันล้านบาทในปี 2564 เป็น 2.4 พันล้านบาทในปี 2568 ตามความต้องการจากกลุ่มโรงงานและโรงไฟฟ้าชีวมวล ทั้งในประเทศและตลาดส่งออกหลัก โดย พงษ์ประภา นภาพฤกษ์ชาติ Krungthai COMPASS กล่าวว่ากลุ่มธุรกิจที่มีศักยภาพในการเติบโตมากที่สุดในห่วงโซ่อุปทานของอุตสาหกรรมการผลิต Wood Pellets คือ กลุ่มธุรกิจผลิต โดยเฉพาะผู้ประกอบการที่เป็นเครือข่ายของบริษัทที่มี By-product เป็นวัตถุดิบโดยในช่วงปี 2561-64 มียอดขายเติบโตเฉลี่ยถึง 25% CAGR ในอนาคตยอดขายมีแนวโน้มเติบโตตามความต้องการ Wood Pellets อีกทั้งยังสามารถจะขายโดยตรงกับผู้ใช้มากขึ้น ซึ่งอาจแย่งส่วนแบ่งการตลาดจากกลุ่มผู้จัดจำหน่าย Wood Pellets ได้ในอนาคต

  อย่างไรก็ดี ธุรกิจผลิต Wood Pellets บางรายมีผลประกอบการที่ไม่ดีนัก จึงควรมีการปรับตัว ดังนี้ 1. ควรลงทุนเครื่องจักรที่มีประสิทธิภาพเหมาะสมในทุกขั้นตอนของการผลิต 2. ควรได้รับการรับรองจาก FSC และ 3. ควรหันมาผลิต Torrefied Pellets มากขึ้น

แนวโน้มอุตสาหกรรมการผลิต Wood Pellets ในไทยโดย Krungthai COMPASS ประเมินว่า มูลค่าอุตสาหกรรมการผลิต Wood Pellets ของไทยมีแนวโน้มขยายตัวเป็น 2.6 พันล้านบาทในปี 2568 จาก 1.4 พันล้านบาทในปี 2564 หรือเติบโตเฉลี่ยที่เร่งขึ้น 17%CAGR โดยปัจจัยหนุนมาจากการขาย Wood Pellets ภายในประเทศและการส่งออกดังนี้

แนวโน้มอุตสาหกรรมการผลิต Wood Pellets ในไทยโดย Krungthai COMPASS ประเมินว่า มูลค่าอุตสาหกรรมการผลิต Wood Pellets ของไทยมีแนวโน้มขยายตัวเป็น 2.6 พันล้านบาทในปี 2568 จาก 1.4 พันล้านบาทในปี 2564 หรือเติบโตเฉลี่ยที่เร่งขึ้น 17%CAGR โดยปัจจัยหนุนมาจากการขาย Wood Pellets ภายในประเทศและการส่งออกดังนี้

1. ยอดขายในประเทศคาดว่าจะเติบโตเป็น 1.8 พันล้านบาทในปี 2568 จาก 1.3 พันล้านบาทในปี 2564 หรือเติบโตเฉลี่ยที่ 7.8%CAGR ตามความต้องการ Wood Pellets จากโรงงานอุตสาหกรรม โดยเฉพาะอุตสาหกรรมแปรรูปเกษตร และเคมีภัณฑ์ รวมทั้งโรงไฟฟ้าชีวมวลและโรงไฟฟ้าถ่านหิน โดยรายละเอียดสามารถอ่านได้ในบทความเรื่อง “Wood Pellets ตัวช่วยบรรลุเป้าหมาย Carbon Neutrality” Wood Pellets  พลังงานใหม่ ตัวช่วยเข้าใกล้เป้าหมาย Carbon Neutrality

2.ยอดส่งออก Wood Pellets ของไทย คาดว่าจะขยายตัวเป็น 872 ล้านบาทในปี 2568 จาก 104 ล้านบาทในปี 2564 หรือเติบโตเฉลี่ย 70.2% CAGR แม้ว่ายอดส่งออก Wood Pellets ของไทยลดลงเฉลี่ย 59% CAGR ในช่วงปี 2562-64 เนื่องจากผู้ผลิต Wood Pellets ไม่สามารถส่งออก Wood Pellets ที่ตรงตามมาตรฐานของลูกค้าต่างประเทศ เช่น ญี่ปุ่น ได้เต็มที่นัก ซึ่งเกิดจากคุณภาพเชื้อเพลิงและการได้รับใบรับรองจาก Forest Stewardship Council (FSC) ที่รับรองว่าวัตถุดิบของสินค้าดังกล่าวมาจากป่าที่มีการจัดการดูแลอย่างรับผิดชอบ แต่คาดว่ายอดส่งออกจะกลับมาเติบโตอีกครั้ง เพราะนอกเหนือจากผู้ประกอบการบางรายของไทยในอุตสาหกรรมนี้ได้เริ่มปรับตัวในการปรับปรุงกระบวนการผลิตและการขอใบรับรอง FSC แล้ว ยังมีแรงหนุนเพิ่มเติม 

 ความต้องการ Wood Pellets ของเกาหลีใต้ ซึ่งเป็นตลาดส่งออกที่ใหญ่สุดของไทย ซึ่งคิดสัดส่วนการส่งออกสูงถึง 80% คาดว่าจะเพิ่มขึ้นจาก 3.3 ล้านตันในปี 2564 เป็น 4.6 ล้านตันในปี 2568 ตามกำลังการขยายกำลังการผลิตของโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน ซึ่งรวมถึง Wood Pellets นอกจากนั้น ยังมีปัจจัยหนุนเพิ่มเติมจากนโยบายของภาครัฐที่กำหนดให้โรงไฟฟ้าพลังงานฟอสซิลขนาดกำลังการผลิตมากกว่า 500 เมกะวัตต์ ต้องผลิตไฟฟ้าจาก

 จะเห็นได้ว่าความยอดส่งออก  Wood Pellets ของไทยมีการเติมโตมากยิ่งขึ้นนับเป็นเรื่องที่ดีที่มีเชื้อเพลิงในการผลิตกระแสไฟฟ้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและช่วยลดก๊าซคาร์บอนได้อย่างยั่งยืนต่อไป