ซีพีเอฟ ชู Smart Process เคลื่อนธุรกิจอาหาร สู่ความยั่งยืน

ซีพีเอฟ ชู Smart Process เคลื่อนธุรกิจอาหาร สู่ความยั่งยืน

ซีพีเอฟ ตอกย้ำการขับเคลื่อนสู่เป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ด้วยการนำนวัตกรรมมาใช้ตลอดห่วงโซ่การผลิต หรือ CPF Smart Process และด้านเกษตรอุตสาหกรรมและอาหาร ด้วยพลังงานสะอาด ลดของเสียจากกระบวนการผลิต และลดการปล่อยคาร์บอนช่วยโลกอย่างยั่งยืน

นายพีรพงศ์ กรินชัย รองกรรมการผู้จัดการบริหาร ด้านวิศวกรรมกลาง บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ กล่าวว่าซีพีเอฟ ให้ความสำคัญกับธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมและอาหารชั้นนำของไทยและของโลก มุ่งมั่นพัฒนาอาหารคุณภาพปลอดภัย มีคุณค่าทางโภชนาการ และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ด้วยความรับผิดชอบต่อสังคมอย่างยั่งยืน โดยมีกระบวนการบริหารจัดการองค์กรด้วย BCG และตั้งเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net-Zero) ในปี 2050 เพื่อร่วมขับเคลื่อนโลกสู่ความยั่งยืน


โดยมีการชูแนวคิด Sustainable Kitchen of the World Towards Net-Zero ขับเคลื่อนธุรกิจสู่ความยั่งยืน ผ่าน CPF Smart Process ประกอบด้วย SMART SOURCING SMART PRODUCTION และ SMART CONSUMPTION  การจัดการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ในส่วนของการจัดหาวัตถุดิบอย่างยั่งยืน โดยปัจจุบัน ซีพีเอฟ ใช้ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ทั้ง 100% จากแหล่งผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและไม่มีการตัดไม้ทำลายป่า ช่วยปกป้องพื้นที่ป่าไม้ได้ถึง 2 ล้านไร่ และภายในปี 2030 วัตถุดิบหลักอื่นๆ ได้แก่ น้ำมันปาล์ม ถั่วเหลือง และมันสำปะหลัง จะมาจากแหล่งผลิตที่ไม่ตัดไม้ทำลายป่าทั้งหมดเช่นกัน โดยสามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ทุกขั้นตอนตลอดกระบวนการ

MART PRODUCTION เป็นการจัดการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ในส่วนของโรงงานอาหารสัตว์ ฟาร์ม และโรงงานแปรรูปอาหาร โดยนำนวัตกรรมด้านการผลิตและด้านพลังงานมาใช้ ปัจจุบัน ซีพีเอฟ ใช้พลังงานหมุนเวียน 27 % ของพลังงานทั้งหมด ซึ่งนับเป็น 1 ใน 5 องค์กรที่ดำเนินธุรกิจด้านอาหารที่มีการใช้พลังงานหมุนเวียนสูงที่สุดของไทย ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ถึง 680,000 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า หรือเทียบได้กับการปลูกต้นไม้จำนวน 73 ล้านต้น หรือการลดปริมาณรถบนท้องถนน 150,000 คัน ส่วนพลังงานหมุนเวียนที่นำมาใช้ในกระบวนการผลิต ได้แก่ พลังงานชีวมวล (Biomass) พลังงานชีวภาพ (Biogas) และพลังงานแสงอาทิตย์ (Solar Energy) นอกจากนี้ ซีพีเอฟ ยังเป็นบริษัทแรกและบริษัทเดียวในประเทศไทยที่ประกาศเป้าหมาย การยกเลิกใช้ถ่านหิน 100% ในปี 2022 ซีพีเอฟ ชู Smart Process เคลื่อนธุรกิจอาหาร สู่ความยั่งยืน

             เน้นการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์เพื่อการบริโภคเป็นอีกหนึ่งมิติสำคัญของการผลิตและการบริโภคอย่างรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ซีพีเอฟ ไม่เพียงแต่มุ่งมั่นผลิตอาหารที่ได้คุณภาพ มาตรฐานระดับโลก มีคุณค่าทางโภชนาการเท่านั้น แต่ยังคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม โดยมีผลิตภัณฑ์ที่ติดฉลากคาร์บอนฟุตพริ้นท์และฉลากลดโลกร้อนที่ได้รับการรับรองมากกว่า 790 รายการ ซึ่งนับเป็นจำนวนมากถึง 1 ใน 4 ของผลิตภัณฑ์คาร์บอนฟุตพรินท์ที่ได้รับการรับรองในประเทศไทย และตั้งเป้าหมายเพิ่มสัดส่วนการผลิต ผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อมไม่ต่ำกว่า 40% ของผลิตภัณฑ์รวมทั้งหมดของบริษัท นอกจากนี้ ซีพีเอฟ ประกาศเป้าหมายการใช้บรรจุภัณฑ์ที่ยั่งยืน “100% Sustainable Packaging” โดยบรรจุภัณฑ์ทั้งหมด สามารถนำกลับมาใช้ซ้ำ (Reusable), รีไซเคิล (Recycle) หรือย่อยสลายได้ (Compostable) ซึ่งปัจจุบันดำเนินการตามเป้าหมายไปแล้ว 99.9%

อนรรฆวี ชูรัตน์ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ด้านการตลาด บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ กล่าวว่า  ซีพีเอฟให้ความสำคัญในการพัฒนาสินค้าใหม่อย่างต่อเนื่อง โดยคำนึงถึงปัจจัย 3 เรื่อง ได้แก่ Innovation  Wellness และ Planet  โดยในส่วนของ Innovation เป็นเรื่องที่ซีพีเอฟให้ความสำคัญมาโดยตลอด นวัตกรรมอาหารของซีพีเอฟมุ่งเน้นตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภค เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รวมทั้งมีกระบวนการผลิตที่ยั่งยืน  ส่วนเรื่อง Wellness  เราพัฒนาสินค้าที่ช่วยยกระดับสุขภาพของผู้บริโภค ที่ผ่านมาเราก็เปิดตัวผลิตภัณฑ์หมู ไก่ CP Selection ที่ใช้นวัตกรรมการเลี้ยงด้วย โปรไบโอติก ไม่ใช้ยาปฏิชีวนะ  ปัจจัยที่ 3 คือ เรื่อง Planet  ซีพีเอฟร่วมกับ RD Center และทีมงานวิศวกรรม และซัพพลายเชน เพื่อให้มั่นใจว่าการพัฒนาสินค้าทุกตัวตอบโจทย์ความยั่งยืนตลอดห่วงโซ่การผลิต

ซีพีเอฟ ชู Smart Process เคลื่อนธุรกิจอาหาร สู่ความยั่งยืน

โดยมุ่งเน้นการลด - เลี่ยงการปล่อยก๊าซเรือนกระจกแล้ว ซีพีเอฟ ยังดำเนินโครงการปลูกป่าเพื่อช่วยดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ ทั้งป่าบกตามโครงการ “ซีพีเอฟรักษ์นิเวศ ลุ่มน้ำป่าสักเขาพระยาเดินธง” และป่าชายเลนภายใต้โครงการ “ซีพีเอฟ ปลูก ปัน ป้อง ป่าชายเลน” รวมไปถึงการเพิ่มพื้นที่สีเขียวในสถานประกอบการทั่วโลก รวมพื้นที่กว่า 10,900 ไร่ ช่วยดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้กว่า 11,400 ตันต่อปีเพื่อความยั่งยืนต่อไป