สภาธุรกิจเอเปคผงะ“รายย่อย” ไม่เข้าใจBCGแต่รู้ว่าสำคัญ

สภาธุรกิจเอเปคผงะ“รายย่อย”     ไม่เข้าใจBCGแต่รู้ว่าสำคัญ

สภาที่ปรึกษาทางธุรกิจเอเปค (APEC Business Advisory Council - ABAC) อันมีผู้แทนจาก 3 หน่วยงาน ประกอบด้วย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(สอท.) สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และสมาคมธนาคารไทย หรือในนาม คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สภาบัน (กกร.) ได้ตอกย้ำบทบาทในการเป็นตัวแทนของภาคเอกชน

อันมีหน้าที่ส่งมอบข้อเสนอจากภาคเอกชนสู่นโยบายบนเวทีผู้นำความร่วมมือทางเศรษฐกิจภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก (เอเปค) 

สนั่น อังอุบลกุล ประธานกรรมการหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และในฐานะประธานคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) กล่าวว่า  ในฐานะของผู้ผลักดันด้านการค้าของภาคเอกชน ต้องเห็นความสำคัญในการผลักดันผู้ประกอบการไทยให้ก้าวขึ้นสู่ระดับสากลด้วยการปรับตัวทางธุรกิจดิจิทัลเพื่อการเข้าถึงและเชื่อมโยงกัน ไปจนถึงการขยายโครงสร้างพื้นฐานที่ถือเป็นส่วนสำคัญที่ภาครัฐควรเร่งสนับสนุน 

โดยสภาที่ปรึกษาธุรกิจเอเปค 2022 ดำเนินการโครงการสำรวจ “Business of the People Poll” จัดทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจความคิดเห็น รับรู้ มุมมอง ของนักธุรกิจไทยต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจในเขตเศรษฐกิจไทยและภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค ผ่านสถาบันยุทธศาสตร์การค้า มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เนื่องในวาระที่ไทยรับหน้าที่เจ้าภาพการจัดประชุมสภาที่ปรึกษาทางธุรกิจ เอเปค 2022 (ABAC 2022)

การศึกษาครั้งนี้ได้ทำการศึกษาผ่านผู้ประกอบการไทย จำนวน 451 ตัวอย่าง ทั่วประเทศโดยกำหนดประเด็นมุ่งเน้นไปที่ ‘ปัจจัย ความท้าทาย โอกาส และความเป็น ไปได้ในการเติบโตทางธุรกิจในอนาคต’ มีผลลัพธ์ และประเด็นที่น่าสนใจ ว่าด้วยความมั่นใจจากภาคธุรกิจไทยในอนาคต 5 – 10 ปีข้างหน้า ที่เชื่อว่าสถานะทางธุรกิจน่าจะฟื้นกลับมาดีขึ้น มีโอกาสในการขยายตัวและเติบโตได้ โดยปัจจัยที่จะช่วยขับเคลื่อนประกอบไปด้วยการนำเทคโนโลยีและดิจิทัลเข้ามาสนับสนุน การปรับตัวให้เข้ากับพฤติกรรมของผู้บริโภค การให้ความสำคัญต่อความยั่งยืนหรือการนำ BCG Model [เศรษฐกิจชีวภาพ( Bioeconomy)เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy)เศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy)]มาปรับใช้ เป็นต้น 

อย่างไรก็ตาม วิสาหกิจขนาดย่อมและขนาดย่อย (Small & Micro Enterprise) ยังมีความเปราะบางในด้านเข้าถึงแหล่งเงินทุน การได้รับการสนับสนุนด้านองค์ความรู้ และการช่วยเหลือด้านนโยบายจากภาครัฐเพื่อลดการผูกขาดของรายใหญ่ในตลาด เหล่านี้จะทำให้การประกอบการของวิสาหกิจขนาดย่อมและขนาดย่อย สามารถดำเนินต่อไปได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น สภาธุรกิจเอเปคผงะ“รายย่อย”     ไม่เข้าใจBCGแต่รู้ว่าสำคัญ

ทั้งนี้ จากผลสำรวจยังชี้ว่า ผู้ประกอบการรายย่อย(Micro)และรายย่อม(Small)ซึ่งเป็นกลุ่มที่ไม่เข้าใจเรื่องBCG Model สูงสุด โดยสัดส่วนถึง 39.9% ตอบว่ายังไม่เข้าใจเรื่องBCG  ส่วนภาคธุรกิจที่เข้าใจในระดับน้อยถึงไม่เข้าใจเลยมีมากกว่า 50% โดยภาคที่มีระดับความเข้าใจมากที่สุดคือภาคอุตสาหกรรม โดยเป็นธุรกิจขนาดกลาง ถึงขนาดใหญ่ ในขณะที่ธุรกิจรายย่อยและขนาดย่อม อาจเห็นว่า BCG เป็นเรื่องไกลตัว

อย่างไรก็ตาม ภาคธุรกิจในปัจจุบันให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมในระดับมากถึง 65.8% ปานกลาง 29.9% น้อย 3.1% ไม่สำคัญเลย 0.9% แต่ในอนาคตภาคธุรกิจเชื่อว่าสิ่งแวดล้อมน่าจะมีความสำคัญมากขึ้นกว่าในปัจจุบัน ในขณะที่เมื่อสอบถามถึงเรื่อง BCG Model พบว่า

ส่วนข้อเสนอแนะจากภาคธุรกิจส่งมอบไปยังภาคนโยบายในแง่มุมที่สำคัญและเร่งด่วนต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการที่ภาครัฐและภาคเอกชนควรร่วมมือและส่งเสริมการเชื่อมโยงระหว่างภาคธุรกิจทุกขนาดเข้าด้วยกัน เพื่อเชื่อมโยงกันเพื่อสร้างความยั่งยืนให้กับสิ่งแวดล้อม เช่น Green Economy รวมทั้งการเข้าถึงชุมชนให้มากขึ้น

ผยง ศรีวณิช ประธานสมาคมธนาคารไทย กล่าวว่า สถาบันการเงิน ต้องการสนับสนุนให้เกิดการสร้างโครงสร้างพื้นฐานของตลาดดิจิทัลสำหรับสินเชื่อหมุนเวียนธุรกิจ หรือสินเชื่อหมุนเวียนคู่ค้า (Supply Chain Finance) โดยการนำดิจิทัลเข้ามาประมวลผลจะช่วยลดปัญหาการกู้ยืมของภาคธุรกิจ 

โดยเฉพาะรายย่อยและรายย่อมได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ การส่งเสริมให้ผู้ประกอบการตระหนักรู้ถึงการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ และหันมาใช้ระบบการเงินสีเขียว(Green Finance) ทั้งในและต่างประเทศ ก็ถือเป็นประเด็นที่สำคัญ 

สำหรับสภาที่ปรึกษาทางธุรกิจเอเปค มีบทบาทหลักในการทำหน้าที่ส่งมอบข้อเสนอแนะให้กับผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปคเพื่อต่อยอดเป็นนโยบายในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจระดับภูมิภาค ภายใต้กลยุทธ์หลัก 5 ประการ ได้แก่ 1.Regional Economic Integration – การบูรณาการเศรษฐกิจระดับภูมิภาค 2. Digital – การสร้างโครงสร้างพื้นฐานทางดิจิทัลและการนำเครื่องมือดิจิทัลมาใช้เพื่ออำนวยความสะดวกทางการค้า 3. MSME and Inclusiveness – การเสริมสร้างแนวทางปฏิบัติที่ยั่งยืนของผู้ประกอบการระดับ MSME เพื่อทำให้ธุรกิจในทุกระดับมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ 4. Sustainability – การส่งเสริมระบบเศรษฐกิจที่ยั่งยืน การฟื้นตัวของเศรษฐกิจสีเขียวและระบบอาหารที่ยั่งยืน และ 5. Finance and Economics – การส่งเสริมด้านการเงินเพื่อเร่งการฟื้นตัวและการสร้างระบบนิเวศที่เอื้ออำนวยสำหรับการเงินดิจิทัล 

โดย 5 กลยุทธ์ที่สำคัญดังกล่าวจะสามารถถูกนำไปปฏิบัติและเกิดความเป็นไปได้ ก็ต่อเมื่อเกิดความร่วมมือร่วมใจจากภาคเอกชน อันเป็นหัวใจสำคัญของการขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจ